หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตระหนักถึงจรรยาบรรณอาชีพด้านการแปล

1 สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUB-ZZZ-4-013ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตระหนักถึงจรรยาบรรณอาชีพด้านการแปล

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2643  นักแปล ล่าม และนักภาษาศาสตร์อื่นๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่ไฝ่หาความรู้ ตระหนักถึงจรรยาบรรณอาชีพด้านการแปลทั้งระดับชาติและนานาชาติ คุณสมบัติของนักแปลที่ดี เพื่อนำไปปฏิบัติให้เหมาะสม  ตลอดจนรู้จัดบทบาทและหน้าที่ของนักแปลเพื่อส่งเสริมวิชาชีพให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและสากล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษและภาษาไทยดีมาก และมีความสนใจด้านงานแปล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20103.01 คำนึงถึงคุณสมบัติของนักแปล 1.1 ค้นคว้า ศึกษา ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของการเป็นนักแปลให้ละเอียดรอบคอบ 20103.01.01 17544
20103.01 คำนึงถึงคุณสมบัติของนักแปล 1.2 ทำความเข้าใจและปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวอย่างถูกต้องเหมาะสม 20103.01.02 17545
20103.02 คำนึงถึงบทบาทของนักแปล 2.1 ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ของนักแปลให้ละเอียดรอบคอบ 20103.02.01 17546
20103.02 คำนึงถึงบทบาทของนักแปล 2.2 ทำความเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของนักแปลอย่างถูกต้องและเหมาะสม 20103.02.02 17547

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

N/A

(ข) ความต้องการด้านความรู้

    1. ความรู้เกี่ยวกับระบุถึงคุณสมบัติการเป็นักแปลที่ดี

    2. ความรู้เกี่ยวกับการระบุถึงบทบาทหน้าที่ของนักแปลที่ดี

    3. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนักแปล เช่น กฎหมายลิขสิทธิ์หนังสือและสิ่งพิมพ์

    4. ความรู้เกี่ยวกับการใฝ่หาความรู้ทั่วไปและความรู้รอบตัวเพื่อช่วยในการทำงานแปล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    - ไม่มี -



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ

    2. ใบบันทึกการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำต้นฉบับงานเขียน อุปกรณ์สำหรับการผลิตต้นฉบับ ประเภทงานเขียน งบประมาณในการผลิตต้นฉบับ การติดต่อนัดหมาย และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้ที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน

    1. การทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ใช้แบบทดสอบความรู้ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

    ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



    (ก) คำแนะนำ 

    ไม่มี



    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

    จรรยาบรรณอาชีพงานของนักแปล ระดับ 4 และ 5 มีลักษณะขอบเขตต่างกันตามลักษณะของเนื้อหางานแปล ดังนี้

    นักแปลระดับ 4  คำนึงถึงบทบาทหน้าที่ และคุณสมบัติของการทำงานแปลที่ถูกต้องเหมาะสมให้ความสำคัญกับการรับรู้ ทำความเข้าใจและถือปฏิบัติตามกฎหมายอันเกี่ยวข้องกับงานหนังสือ สิ่งพิมพ์ ที่กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานแปลให้ความสำคัญต่อความถูกต้องในบริบทงานแปล เช่น เชิงวัฒนธรรม ความเหมาะสมในการเลือกใช้คำให้ตรงกับความหมายและบริบทของเนื้อหางานแปล เป็นต้น

    นักแปลระดับ 5  คำนึงถึงบทบาทหน้าที่ และคุณสมบัติของการทำงานแปลที่ถูกต้องเหมาะสมให้ความสำคัญกับการรับรู้ ทำความเข้าใจและถือปฏิบัติตามกฎหมายอันเกี่ยวข้องกับงานหนังสือ สิ่งพิมพ์ ที่กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานแปลให้ความสำคัญต่อความถูกต้องชัดเจนในข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานแปล โดยเฉพาะงานแปลเชิงวิชาการ งานแปลอิงประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมศาสนา ความเชื่อ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย

1)    ข้อสอบข้อเขียนแบบอัตนัย



ยินดีต้อนรับ