หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

นำระเบียบปฏิบัติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไปใช้

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-6-244ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ นำระเบียบปฏิบัติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไปใช้

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับการนำระเบียบปฏิบัติด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไปใช้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัย การประสานงานการมีส่วนร่วมในปัญหาสุขภาพและความปลอดภัย การดำเนินการและตรวจสอบขั้นตอนในการควบคุมอันตรายและความเสี่ยง การดำเนินการและควบคุมการอบรมเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย การดูแลการบันทึกข้อมูลอาชีว อนามัยและความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม  5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม  5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม  5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว  7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ   

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.01.007.01 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1.1อธิบายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเฉพาะแนวปฏิบัติเฉพาะที่นำมาปรับใช้กับองค์กร 3.01.007.01.01 47708
3.01.007.01 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 1.2เผยแพร่และสื่อสารการบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3.01.007.01.02 47709
3.01.007.02 ติดตาม ประเมินขั้นตอนการควบคุมภัยคุกคามและความเสี่ยง 2.1 วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหา/บ่งชี้ความเสี่ยง และอันตรายเบื้องต้น 3.01.007.02.01 47710
3.01.007.02 ติดตาม ประเมินขั้นตอนการควบคุมภัยคุกคามและความเสี่ยง 2.2 เสนอแนะกระบวนการควบคุมความเสี่ยง/มาตรการความปลอดภัยในการทำงาน 3.01.007.02.02 47711
3.01.007.02 ติดตาม ประเมินขั้นตอนการควบคุมภัยคุกคามและความเสี่ยง 2.3 ตรวจประเมินการปฏิบัติงานตามกระบวนการควบคุมความเสี่ยง/มาตรการความปลอดภัยให้เป็นไปตามแผนงาน 3.01.007.02.03 47712
3.01.007.02 ติดตาม ประเมินขั้นตอนการควบคุมภัยคุกคามและความเสี่ยง 2.4 รายงานการประสบอันตรายการบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน 3.01.007.02.04 47713
3.01.007.02 ติดตาม ประเมินขั้นตอนการควบคุมภัยคุกคามและความเสี่ยง 2.5 ปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานตามกระบวนการควบคุมความเสี่ยง/มาตรการความปลอดภัยที่ไม่เป็นไปตามแผนงาน 3.01.007.02.05 47714
3.01.007.03 ดำเนินการฝึกอบรมการบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3.1 บ่งชี้ความจำเป็นในการฝึกอบรมตลอดจนจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม 3.01.007.03.01 47715
3.01.007.03 ดำเนินการฝึกอบรมการบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3.2 ออกแบบแผนงานและเนื้อหาในการฝึกอบรม และพัฒนากิจกรรมในการเรียนรู้ 3.01.007.03.02 47716
3.01.007.03 ดำเนินการฝึกอบรมการบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3.3 ดำเนินการฝึกอบรม 3.01.007.03.03 47717
3.01.007.03 ดำเนินการฝึกอบรมการบริหารจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3.4 ประเมินประสิทธิผลของแผนงานฝึกอบรมและนำข้อคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงแผนงานฝึกอบรมครั้งต่อไป 3.01.007.03.04 47718
3.01.007.04 จัดทำและควบคุมเอกสารการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4.1 จัดทำและควบคุมเอกสารการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในส่วนที่ได้รับมอบหมาย 3.01.007.04.01 47719
3.01.007.04 จัดทำและควบคุมเอกสารการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4.2 รวบรวมข้อมูลเอกสารหลักฐานเอกสารที่ใช้อ้างอิง/สนับสนุนการประเมินและบ่งชี้ภัยอันตรายและการควบคุมความเสี่ยง 3.01.007.04.02 47720
3.01.007.04 จัดทำและควบคุมเอกสารการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 4.3 จัดทำรายงานการสื่อสารลักษณะปัญหาด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและบันทึกผลการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องเป็นลายลักษณ์อักษร 3.01.007.04.03 47721

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในวิชาชีพความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เฉพาะส่วนที่ได้รับมอบหมาย (เช่น การยศาสตร์และสรีรวิทยาการทำงาน การจัดการวัตถุอันตราย การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ การจัดการคุณภาพอากาศ เป็นต้น)

-    ทักษะการระบุ ประเมิน และควบคุมความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่งานที่ได้รับมอบหมาย 

-    มีความรับผิดชอบ มนุษยสัมพันธ์ รอบคอบ และมีความสามารถในเชิงวิเคราะห์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

-    กฎหมายและข้อกำหนดการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

-    ความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุขทั่วไป และหลักการพื้นฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการติดตาม ประเมินกิจกรรม/โครงการตามแผนงานบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในส่วนที่ได้รับมอบหมาย



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

-    แสดงความรู้เกี่ยวกับการสาธารณสุขทั่วไป และหลักการพื้นฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ทำแบบทดสอบกรณีศึกษา

-    ทดสอบความรู้โดยการสัมภาษณ์ 

-    ทดสอบความรู้โดยทำข้อสอบข้อเขียน 

-    สังเกตการปฏิบัติงานหน้างาน 

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    ตั้งโจทย์ปัญหาและประเมินทักษะการแก้ปัญหา

-    ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานจากการจำลองสถานการณ์และ/หรือบทบาทสมมติ

-    พิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน

-    พิจารณาผลการประเมินจากหน่วยงานภายนอก

-    พิจารณาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง 

•    บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลากร

•    พันธกรณีทางกฏหมาย 

•    การเตรียมการมีส่วนร่วมเพื่อสุขภาพและความปลอดภัย

•    ข้อมูลด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย รวมถึงขั้นตอนและนโยบายต่างๆ

•    ความเสี่ยงเฉพาะด้านและการควบคุมที่จำเป็น 

-    การเผยแพร่และสื่อสารการบริหารจัดการความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง

•    ระเบียบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะปัญหาด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความเสี่ยงอันตราย รวมทั้งวิธีการสื่อสารภายในระหว่างหน่วยงาน และระดับต่าง ๆ ภายในองค์กร และภายนอกองค์กร

•    การเผยแพร่และสื่อสารควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อรับ บันทึก และตอบกลับไปยังบุคคลหรือกลุ่มคนภายนอกซึ่งได้รับผลกระทบจากระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

-    การวิเคราะห์งานเพื่อค้นหา/บ่งชี้ความเสี่ยงและอันตรายเบื้องต้น หมายถึง การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยหรือการวิเคราะห์อันตรายในงานแบบเป็นกิจวัตร เริ่มจากการแตกย่อยงานให้เข้าสู่แต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติงาน ซึ่งในการดำเนินการนี้ จะดีที่สุดหากมีการวิเคราะห์ร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับผลกระทบในแต่ละขั้นตอน เพื่อพิจารณาอันตรายและพฤติกรรมเสี่ยงที่ยังมีอยู่หรือมีโอกาสเกิดขึ้น

-    การบ่งชี้ความเสี่ยงหรืออันตราย  หมายถึง  กระบวนการในการค้นหาอันตรายที่มีอยู่  และการระบุลักษณะของอันตราย โดยความเสี่ยงและอันตราย อาจหมายถึง

•    ไฟไหม้และเหตุการณ์ฉุกเฉิน

•    ความเสี่ยงที่เกิดจากความชุลมุนของกลุ่มคน 

•    ระเบิด 

•    โจรขโมยและการปล้นอาวุธ

•    อุปกรณ์ชำรุด 

•    สัตว์ที่สร้างความรบกวน

•    อุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงก่อให้เกิดอันตราย

•    การลื่นล้ม 

•    การตกจากที่สูง 

•    การใช้ยาและแอลกอฮอล์ในที่ทำงาน

•    การใช้ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน

•    การใช้สารที่เป็นอันตราย

-    กระบวนการควบคุมความเสี่ยง/มาตรการความปลอดภัยในการทำงาน อาจหมายถึง

•    ไฟเตือน (Warning Lights) 

•    การควบคุมทางวิศวกรรม (Engineering Controls)

•    การปิดคลุมอันตราย (เช่น การปิดคลุมอย่างสมบูรณ์ของชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวของเครื่องจักร การจำกัดพื้นที่อย่างสมบูรณ์ของของเหลวที่เป็นพิษหรือก๊าซ หรือ การบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยในการขนส่ง เป็นต้น)

•    เครื่องกั้นหรือการระบายอากาศเฉพาะแห่ง 

•    วิธีปฏิบัติงานที่ปลอดภัย (Safe Work Practices) ซึ่งประกอบด้วยกฏระเบียบ ข้อบังคับทั่วไปและข้อบังคับเฉพาะของบริษัท

•    อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล/อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล  

•    ระบบบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

•    การตรวจสอบอันตรายที่เกิดจากผู้รับเหมา

-    การตรวจประเมิน  หมายถึง  การตรวจสอบโดยบุคคลภายใน  หรือภายนอก  อย่างเป็นระบบ และเป็นอิสระ เพื่อตัดสินว่ากิจกรรมต่าง ๆ  และผลที่เกิดขึ้น เป็นไปตามระบบที่องค์กรกำหนดไว้  และมีการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามนโยบาย  และวัตถุประสงค์ขององค์กร

-    การฝึกอบรม อาจหมายถึง 

•    สัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 

•    การให้ข้อมูล 

•    การจัดทำใบข้อมูล (Fact sheets) 

•    การให้พนักงานรุ่นพี่สอนงาน (Mentoring)

•    การสอนหรืออบรมในห้องเรียน (Lectures)

•    การสาธิตตามหลักปฏิบัติจริง

•    การเรียกประชุมกลุ่มสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย

-    การบ่งชี้ความจำเป็นในการฝึกอบรมตลอดจนจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม หมายรวมถึง 

•    การพิจารณาว่าปัญหาสามารถแก้ไขได้โดยการฝึกอบรมหรือไม่ เมื่อใดที่ผู้ปฏิบัติงานแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ทำงานอย่างถูกต้อง ก็มักมีข้อสันนิษฐานว่าการฝึกอบรมจะช่วยทำให้พวกเขาทำงานได้อย่างถูกวิธี แต่อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้ที่วิธีการอื่น ๆ เช่น การแก้ไขอันตรายหรือการควบคุมทางวิศวกรรม ก็สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการในงานที่รับผิดชอบได้อย่างถูกต้องเช่นกัน

•    การฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยควรที่จะถูกจัดสรรก่อนที่ปัญหาหรืออุบัติเหตุจะเกิดขึ้น ซึ่งการฝึกอบรมนี้จะครอบคลุมถึงกฏระเบียบทั่วไปด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยรวมถึงวิธีปฏิบัติงาน และควรดำเนินการซ้ำถ้าอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์เฉียดอุบัติเหตุได้บังเกิดขึ้น

•    แบ่งผู้ปฏิบัติงานออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามความเสี่ยงของงานที่ทำ เพื่อทำให้ทราบว่า ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มใดควรจะถูกจัดอันดับอยู่ในลำดับต้น ๆ ในการได้รับข้อมูลความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

•    การฝึกอบรมจะมีประสิทธิภาพน้อย (แต่ยังสามารถใช้งานได้) สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขาดแรงจูงใจของผู้ปฏิบัติงาน หรือขาดการดูแลเอาใจใส่ต่องานที่ทำ

-    วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม หมายรวมถึง

•    วัตถุประสงค์เชิงให้ข้อแนะนำ (Instructional Objectives) - สิ่งใดที่ต้องการให้ผู้ปฏิบัติงานกระทำ สิ่งใดที่ต้องการให้ดีกว่าเดิม และสิ่งใดที่ต้องการให้หยุด

•    วัตถุประสงค์เชิงการเรียนรู้ (Learning Objectives) - ระบุในสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนจะต้องทำเพื่อแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไป หรือแสดงให้เห็นว่าการฝึกอบรมนั้น ๆ บรรลุวัตถุประสงค์ โดยควรอธิบายสภาพการณ์ที่สำคัญภายใต้สิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนควรที่จะแสดงออกมาให้เห็นถึงศักยภาพ และรวมถึงจำกัดความว่าผลการดำเนินงานที่ยอมรับได้เป็นอย่างไร

-    กิจกรรมในการเรียนรู้ หมายถึง

•    การกระทำที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานได้แสดงออกมาว่าได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นต่องานแล้ว เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ปฏิบัติงานจะส่งผ่านทักษะหรือความรู้จากกิจกรรมการเรียนรู้ไปสู่งานที่ทำ 

•    ควรมีการจำลองสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับงานที่ทำจริงมากที่สุด และจะต้องจัดเรียงวัตถุประสงค์และกิจกรรมไปตามลำดับขั้นตอนของกิจกรรมในงาน 

•    การแบ่งกลุ่มกิจกรรมฝึกอบรมตามประเภทความสนใจ เช่น การบรรยาย บทบาทหน้าที่ และการสาธิต หรือออกแบบเป็นการเฉพาะให้เหมาะสมกับตัวบุคคลขึ้นอยู่กับความช้า–เร็วในการเรียนรู้ เป็นต้น

-    การประเมินประสิทธิผลของแผนงานฝึกอบรม ทำเพื่อให้มั่นใจว่าแผนงานฝึกอบรมได้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยแนวทางในการประเมินการฝึกอบรม มีดังนี้

•    ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 

•    การสังเกตของหัวหน้างานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติงานทั้งก่อนและหลังฝึกอบรม รวมถึงสังเกตการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ 

•    การปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงาน ที่ทำให้ลดอัตราการบาดเจ็บหรือการเกิดอุบัติเหตุ

-    การปรับปรุงแผนงานฝึกอบรมหลังจากการประเมิน หากพบว่าการฝึกอบรมไม่ได้ให้ความรู้และทักษะแก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับที่คาดหวังไว้ ก็จำเป็นต้องทบทวนแผนงานฝึกอบรมหรือจัดสรรการฝึกอบรมซ้ำอยู่เป็นระยะ 

-    เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง

•    นโยบายความปลอดภัย  อาชีวอนามัย  และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

•    คู่มือ (Manual)  หมายถึง  เอกสารหลักที่แสดงถึง นโยบาย  และแนวปฏิบัติขององค์กร  ซึ่งเป็นไปตามหลักการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยเป็นเอกสารที่อธิบายถึงกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรและความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

•    มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Procedure) หมายถึง เอกสารที่อธิบาย และใช้ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ  ขององค์กรโดยละเอียด ระบุผู้รับผิดชอบ รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานของกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการต่าง ๆ ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

•    วิธีปฏิบัติงาน (Work  Instrucktion) หมายถึง เอกสารที่อธิบายวิธีการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน สำหรับงานใดงานหนึ่งตั้งแต่เริ่มต้น จนเสร็จสิ้นการทำงานนั้น

•    เอกสารสนับสนุน  (Supporting  Document)  หมายถึง เอกสารที่ใช้อ้างอิง หรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน เช่น แบบฟอร์ม แผนควบคุมความเสี่ยง คู่มือต่าง ๆ มาตรฐานที่ใช้อ้างอิง ใบพรรณาหน้าที่งาน เอกสารอ้างอิงจากภายนอก และอื่น ๆ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ