หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

หมั่นศึกษาและพัฒนาความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-6-243ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ หมั่นศึกษาและพัฒนาความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการหมั่นศึกษาและพัฒนาความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้ท้องถิ่น การปรับปรุงความรู้ท้องถิ่นให้ทันสมัย และการรักษาการติดต่อกับชุมชนท้องถิ่น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม  5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม  5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม  5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว  7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ   

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.01.006.01 พัฒนาความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.1 ระบุและเข้าถึงแหล่งที่มาของข้อมูลในท้องที่ 3.01.006.01.01 47697
3.01.006.01 พัฒนาความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.2 ระบุและขอรับข้อมูลที่จะช่วยตั้งคำถามเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวท้องถิ่น/แห่งชาติได้อย่างถูกต้อง 3.01.006.01.02 47698
3.01.006.01 พัฒนาความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.3 จัดเก็บและปรับปรุงข้อมูลตามระเบียบขั้นตอนขององค์กร 3.01.006.01.03 47699
3.01.006.01 พัฒนาความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.4 แบ่งปันข้อมูลกับเพื่อนร่วมงาน 3.01.006.01.04 47700
3.01.006.02 ปรับปรุงความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ทันสมัย 2.1 ใช้ผลจากงานวิจัยทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อปรับปรุงความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น 3.01.006.02.01 47701
3.01.006.02 ปรับปรุงความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ทันสมัย 2.2 แบ่งปันความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นกับลูกค้าและเพื่อนร่วมงานตามความเหมาะสม 3.01.006.02.02 47702
3.01.006.02 ปรับปรุงความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ทันสมัย 2.3 ประยุกต์ใช้ความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่การปฏิบัติหน้าที่ประจำวัน 3.01.006.02.03 47703
3.01.006.03 ดำรงรักษาการติดต่อกับชุมชนท้องถิ่น 3.1 ให้ข้อมูลการท่องเที่ยวในท้องถิ่นเพื่อตอบสนองกับคำถามหรือข้อเรียกร้อง 3.01.006.03.01 47704
3.01.006.03 ดำรงรักษาการติดต่อกับชุมชนท้องถิ่น 3.2 ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสินค้าและบริการของการท่องเที่ยวและกระตุ้นการซื้อขาย 3.01.006.03.02 47705
3.01.006.03 ดำรงรักษาการติดต่อกับชุมชนท้องถิ่น 3.3 สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 3.01.006.03.03 47706
3.01.006.03 ดำรงรักษาการติดต่อกับชุมชนท้องถิ่น 3.4 เก็บรักษาข้อมูลการติดต่อสื่อสารผู้นำชุมชนและ/หรือปราชญ์ชาวบ้าน 3.01.006.03.04 47707

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการนำเสนอและ/หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างถูกต้อง เพื่อตอบสนองคำสั่งที่ได้รับมอบหมายหรือการปฏิบัติหน้าที่ของตน

-    การสื่อสาร การเป็นผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ และการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปรับปรุงภูมิปัญญาท้องถิ่น การแบ่งปันข้อมูลท้องถิ่นและตอบสนองต่อคำสั่ง

-    ข้อมูล/ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งงานที่ได้รับมอบหมายหรือหน้าที่ที่รับผิดชอบ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการนำเสนอและ/หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างถูกต้อง เพื่อตอบสนองคำสั่งที่ได้รับมอบหมายหรือการปฏิบัติหน้าที่ของตน

-    แสดงความสามารถในการสื่อสาร การเป็นผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ และการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและปรับปรุงภูมิปัญญาท้องถิ่น การแบ่งปันข้อมูลท้องถิ่นและตอบสนองต่อคำสั่ง

-    รับทราบหรือมีข้อมูล/ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งงานที่ได้รับมอบหมายหรือหน้าที่ที่รับผิดชอบ



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ทำแบบทดสอบกรณีศึกษา

-    ทดสอบความรู้โดยการสัมภาษณ์ 

-    ทดสอบความรู้โดยทำข้อสอบข้อเขียน 

-    สังเกตการปฏิบัติงานหน้างาน 

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    ตั้งโจทย์ปัญหาและประเมินทักษะการแก้ปัญหา

-    ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานจากการจำลองสถานการณ์และ/หรือบทบาทสมมติ

-    พิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    ข้อมูลหมายอาจถึง 

•    ข้อมูลทั่วไปในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 

•    พื้นที่ท่องเที่ยวแบบท้องถิ่น 

•    สิ่งอำนวยความสะดวก 

•    การเดินทาง

•    ผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยว 

•    การบริการ 

•    ราคา 

•    เรื่องสิ่งแวดล้อมต่างๆ 

•    เรื่องการขนส่ง 

•    สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ 

-    งานวิจัยทั้งแบบทางการและไม่ทางการ หมายถึง 

•    กิจกรรมสานสัมพันธ์ 

•    กิจกรรมนันทนาการ 

•    การค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต 

•    วรรณกรรมด้านการท่องเที่ยว

•    การเดินทาง

-    ผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยว รวมไปถึง

•    จุดหมายการเดินทาง 

•    สิ่งอำนวยความสะดวก 

•    ที่พัก

•    สถานที่ท่องเที่ยว 

•    การเดินทางโดยขนส่งมวลชน

-    ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในตัวตนของผู้รู้เอง เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิต ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดวิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ได้แยกย่อยออกมาเป็นศาสตร์เฉพาะสาขาวิชาต่าง ๆ แต่จัดเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหา การจัดการ และการปรับตัวในการดำเนินชีวิตประจำวัน

-    ความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สามารถนำมาแบ่งปัน หมายรวมถึง  

•    ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการประกอบอาหาร การถนอมอาหาร สภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น พรรณพืชท้องถิ่น สมุนไพร

•    งานฝีมือหรืองานหัตถกรรมท้องถิ่น เครื่องจักสาน เครื่องปั้นดินเผา ผ้าทอพื้นบ้าน

•    การแพทย์แผนไทย การนวดแผนโบราณ การดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน

•    ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านศิลปะการแสดง ดนตรี วัฒนธรรม ประเพณี การละเล่นพื้นบ้าน

-    การประยุกต์ใช้ความรู้/ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายรวมถึง

•    การอนุรักษ์ - การบอกหรือสร้างคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่ให้ปรากฏด้วยวิธีการต่าง ๆ พร้อมทั้งรักษาและใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดและนานที่สุด

•    การฟื้นฟู – การรื้อฟื้นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงาม ที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์อีกครั้ง

•    การพัฒนาต่อยอด - การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการด้วยศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาภูมิปัญญาให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น 

-    การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน แบ่งได้เป็นระดับต่าง ๆ ดังนี้ 

•    การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ชุมชน โดยใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น เอกสารสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ จดหมายข่าว การจัดงานแถลงข่าว การติดประกาศ เป็นต้น

•    การเกี่ยวข้องและความร่วมมือ เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และดำเนินกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ