หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รักษาความปลอดภัยบริเวณอาคารที่ทำงานและทรัพย์สิน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-5-241ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รักษาความปลอดภัยบริเวณอาคารที่ทำงานและทรัพย์สิน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการรักษาความปลอดภัยบริเวณอาคารที่ทำงานและทรัพย์สิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจลาดตระเวนสถานที่ การรับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น การตอบโต้กับภัยคุกคามด้านความปลอดภัย การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย การจัดการการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ และการดำเนินงานธุรการของการรักษาความปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม 5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.04.140.01 ตรวจลาดตระเวนสถานที่ 1.1 จัดเตรียมการลาดตระเวนสถานที่ 3.04.140.01.01 48472
3.04.140.01 ตรวจลาดตระเวนสถานที่ 1.2 ดำเนินการลาดตระเวนสถานที่และพื้นที่ที่กำหนด 3.04.140.01.02 48473
3.04.140.01 ตรวจลาดตระเวนสถานที่ 1.3 ติดตามประเมินความปลอดภัยของสถานที่และสินทรัพย์ 3.04.140.01.03 48474
3.04.140.01 ตรวจลาดตระเวนสถานที่ 1.4 บ่งชี้ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น ความเสี่ยงและสถานการณ์ที่น่าสงสัย 3.04.140.01.04 48475
3.04.140.02 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น 2.1 กำหนดสภาพและพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย 3.04.140.02.01 48476
3.04.140.02 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น 2.2 ติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน 3.04.140.02.02 48477
3.04.140.02 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น 2.3 ติดต่อประสานงานผู้บริหารอย่างเหมาะสม 3.04.140.02.03 48478
3.04.140.02 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น 2.4 ให้ความช่วยเหลือหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินในการเข้าถึงพื้นที่และการอำนวยความสะดวกอื่น 3.04.140.02.04 48479
3.04.140.02 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น 2.5 ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น 3.04.140.02.05 48480
3.04.140.02 รับมือกับอัคคีภัยและการเตือนภัยอื่น 2.6 กำหนดระดับการเตือนภัยให้สอดคล้องกับหน่วยงานกำกับดูแล/ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 3.04.140.02.06 48481
3.04.140.03 ตอบโต้กับภัยคุกคามด้านความปลอดภัย 3.1 จัดหน่วยลาดตระเวนเพื่อติดตาม/บ่งชี้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 3.04.140.03.01 48482
3.04.140.03 ตอบโต้กับภัยคุกคามด้านความปลอดภัย 3.2 รักษาความปลอดภัยพื้นที่เสี่ยง 3.04.140.03.02 48483
3.04.140.03 ตอบโต้กับภัยคุกคามด้านความปลอดภัย 3.3 รับมือกับสิ่งของต้องสงสัย 3.04.140.03.03 48484
3.04.140.03 ตอบโต้กับภัยคุกคามด้านความปลอดภัย 3.4 รับมือกับคำขู่หรือการลอบวางระเบิด 3.04.140.03.04 48485
3.04.140.04 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4.1 กำหนดลักษณะและขอบเขตของสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.04.140.04.01 48486
3.04.140.04 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4.2 ประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน 3.04.140.04.02 48487
3.04.140.04 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4.3 นำแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินไปใช้ปฏิบัติ 3.04.140.04.03 48488
3.04.140.04 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4.4 ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น 3.04.140.04.04 48489
3.04.140.04 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 4.5 รักษาความปลอดภัยสูงสุดให้กับพื้นที่และสินทรัพย์ในระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.04.140.04.05 48490
3.04.140.05 ดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย 5.1 รายงานและจดบันทึกการแจ้งเตือนสถานการณ์และกรณีที่ระบบการแจ้งเตือนไม่ทำงาน 3.04.140.05.01 48491
3.04.140.05 ดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย 5.2 ตรวจสอบสภาพและประสิทธิผลของระบบรักษาความปลอดภัยและระบบการบริหารจัดการพลังงาน 3.04.140.05.02 48492
3.04.140.05 ดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย 5.3 จัดทำปูม/สมุดบันทึกกิจกรรมตามข้อกำหนด 3.04.140.05.03 48493
3.04.140.05 ดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย 5.4 ดำเนินกิจกรรมติดตามผลที่จำเป็น 3.04.140.05.04 48494
3.04.140.05 ดูแล/เฝ้าสังเกตระบบรักษาความปลอดภัย 5.5 กำหนดระดับการเตือนภัยให้สอดคล้องกับหน่วยงานกำกับดูแล/ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 3.04.140.05.05 48495
3.04.140.06 จัดการการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ 3.1 ระบุข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ 3.04.140.06.01 48496
3.04.140.06 จัดการการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ 3.2 จัดเตรียมและติดตามมาตรการควบคุมความเสี่ยง 3.04.140.06.02 48497
3.04.140.06 จัดการการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ 3.3 ระบุและจัดทำแผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินและการจัดการความบกพร่อง 3.04.140.06.03 48498
3.04.140.06 จัดการการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟ 3.4 จัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟตามความเหมาะสม 3.04.140.06.04 48499
3.04.140.07 ดำเนินงานธุรการของการรักษาความปลอดภัย 7.1 จัดทำเอกสารและรายงานที่จำเป็น 3.04.140.07.01 48500
3.04.140.07 ดำเนินงานธุรการของการรักษาความปลอดภัย 7.2 ประสานงานกับฝ่ายบริหารในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงการรักษาความปลอดภัย 3.04.140.07.02 48501

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการใช้เทคนิค วิธีการ มาตรฐานด้านความปลอดภัย รวมถึงการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัย การตั้งค่าและการใช้งานระบบเตือนภัย

-    ทักษะในการใช้เครื่องดับเพลิง

-    ทักษะในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ฉุกเฉิน

-    ทักษะในการประเมินความเสี่ยงและภัยคุกคามในสถานที่ทำงาน 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของอาคารที่ทำงานและทรัพย์สิน รวมถึงข้อกำหนดด้านการรายงานที่ประยุกต์ใช้หลักการด้านความมั่นคงปลอดภัยของสถานที่ทำการและการบริหารความเสี่ยง

-    ข้อกำหนดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักความระมัดระวัง (Duty of Care) 

-    หลักการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้นโยบายขององค์กรด้านความมั่นคงปลอดภัยของอาคารที่ทำงานและทรัพย์สิน

-    แสดงความสามารถในการตอบสนองอย่างมีประสิทธิผลต่อการเตือนภัยประเภทที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่ที่กำหนด

-    แสดงความสามารถในการขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม

-    แสดงความสามารถให้การช่วยเหลือหรือการตอบสนองเบื้องต้นตามประเภทสถานการณ์ที่ได้รับมอบหมาย

-    แสดงความสามารถในการป้องกัน คุ้มครอง ลาดตระเวนพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย

-    แสดงความสามารถในการเฝ้าระวัง ติดตามระบบรักษาความปลอดภัยและการรายงานที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

-    แสดงความสามารถในการบริหารจัดการการแสดงพลุหรือดอกไม้ไฟ

-    แสดงความสามารถในการดำเนินการตามแผนอพยพสำหรับพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายตามข้อกำหนดขององค์กร  



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของอาคารที่ทำงานและทรัพย์สิน รวมถึงข้อกำหนดด้านการรายงานที่ประยุกต์ใช้หลักการด้านความมั่นคงปลอดภัยของสถานที่ทำการและการบริหารความเสี่ยง

-    แสดงความรู้ความเข้าใจในข้อกำหนดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหลักความระมัดระวัง (Duty of Care) 

-    แสดงความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้

-    ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

-    การฝึกซ้อมกับสถานการณ์จำลอง

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    ตั้งโจทย์ปัญหาและประเมินทักษะการแก้ปัญหา

-    ทดสอบโดยให้แสดงบทบาทสมมติ 

-    พิจารณาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

-    รายงานการประเมินจากหน่วยงานภายนอก

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่ อาจหมายรวมถึง 

•    การกำหนดพื้นที่รักษาความปลอดภัยตามความเหมาะสม กำหนดขอบเขตที่แน่ชัดว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ควบคุม หรือพื้นที่หวงห้าม เพื่อควบคุมการเข้า-ออกของบุคคลและยานพาหนะ

•    วางระบบป้องกันทางวัตถุเพื่อเป็นเครื่องหน่วงเหนี่ยว กีดขวาง ป้องกันบุคคล หรือยานพาหนะที่ไม่มีสิทธิเข้าไปในพื้นที่ เช่น รั้ว เครื่องกีดขวาง ช่องทางเข้า-ออก รวมถึงระบบการให้แสงสว่างในยามวิกาล

•    การควบคุมบุคคลและยานพาหนะ เพื่อตรวจสอบให้ทราบว่าเป็นบุคคลและ/หรือยานพาหนะที่ได้รับอนุญาตให้ผ่านเข้าพื้นที่เฉพาะ/หวงห้าม โดยจัดทำบัตรผ่าน บัตรแสดงตน และบันทึกหลักฐานการผ่านเข้า-ออก ตลอดจนการบันทึกสิ่งของต่างๆบนยานพาหนะ

•    ระบบรักษาการณ์ จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำวัน วางระบบการติดต่อสื่อสารและสัญญาณแจ้งภัยสำหรับตรวจและเตือนให้ทราบเมื่อมีภัย รวมถึงการติดตั้งอุปกรณ์เสริมมาตรการการรักษาความปลอดภัยทางเครื่องมือเครื่องใช้อิเล็กทรกนิกส์หรืออื่น ๆ เพื่อให้การรักษาความปลอดภัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

•    ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ซึ่งประกอบด้วย ส่วนของระบบป้องกันอัคคีภัย หมายถึง อุปกรณ์ที่ป้องกันการเกิดอัคคีภัยหรืออุปกรณ์แจ้งเหตุ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Call Point) อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง (Strobe Light) และอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง (Bell) เป็นต้น และส่วนอุปกรณ์ระบบระงับอัคคีภัย หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมและดับอัคคีภัย เช่น ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงแบบอัตโนมัติ (Sprinkler System) สายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire Hose Cabinet) ถังดับเพลิง (Fire Extinguisher) และระบบก๊าซดับเพลิง (Gas Suppression System) เป็นต้น

-    การเตรียมการลาดตระเวน หมายถึง การกำหนดจุดตรวจ (Checkpoint) การกำหนดแผนงานการตรวจลาดตระเวนทั้งภายนอกหรือภายในอาคาร แผนการตรวจอุปกรณ์และสิ่งต่างๆโดยรอบบริเวณ การกำหนดรายละเอียดของการตระเวนตรวจทั้งหมด รวมถึงวัน เวลา และสถานที่ ตลอดจนการดูแลรักษาการแต่งกาย อุปกรณ์ป้องกัน รถยนต์ลาดตระเวน และอุปกรณ์สื่อสารอย่างเหมาะสม

-    การลาดตระเวน หมายถึง การตรวจตามจุดที่ได้มีการระบุไว้ การตรวจตามแผนงานทั้งภายนอกหรือภายในอาคาร พร้อมตรวจดูอุปกรณ์และสิ่งต่างๆโดยรอบบริเวณ (เช่น อุปกรณ์ดับเพลิง ประตูมีการปิดล็อคเรียบร้อยหรือไม่ เป็นต้น) การตรวจตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด การคุ้มกันพนักงานและลูกค้า การให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าตามที่ได้รับการร้องขอ นอกจากนี้ ยังรวมถึงการที่เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายต้องสามารถติดต่อได้ทางวิทยุตลอดเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยต้องได้รับการทดสอบตามข้อกำหนด

-    ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น ความเสี่ยงและสถานการณ์ที่น่าสงสัย อาจหมายรวมถึง 

•    อุทกภัย 

•    อัคคีภัย

•    มีผู้บุกรุก ผู้ข่มขู่เพื่อเรียกร้องทรัพย์สิน บุคคลมึนเมา

•    สถานการณ์ที่ทำให้ผู้คนจำนวนมากมารวมตัวกัน

•    ยานพาหนะ บุคคลหรืออุปกรณ์ในที่ต้องสงสัย

•    สิ่งของวางทิ้งในที่สาธารณะ

•    พายุฝนฟ้าคะนอง ไฟฟ้าดับ

•    การจลาจล

•    อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยได้รับความเสียหาย หรือกระจก/ประตูทางเข้าแตกหักเสียหาย

•    บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามายังพื้นที่หวงห้าม

•    อุปกรณ์ป้องกัน/ป้ายเตือนภัยได้รับความเสียหาย

•    มีสัตว์บุกรุก  

-    สภาพและพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ อาจหมายรวมถึง 

•    การติดตั้งอุปกรณ์ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ในทุกชั้นของอาคาร

•    การติดตั้งถังดับเพลิงแบบมือถือตามข้อกำหนดของกฎหมาย และต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นง่ายสะดวกต่อการดูแลรักษา

•    ป้ายบอกตำแหน่งชั้นและทางหนีไฟพร้อมไฟฉุกเฉิน ต้องติดตั้งทุกชั้นของอาคาร

•    ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง ที่สามารถจ่ายไฟในกรณีฉุกเฉินได้ไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะจุดที่มีเครื่องหมายทางออกฉุกเฉิน บันไดหนีไฟ ทางเดินและระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้

•    อุปกรณ์เสริมมาตรการการรักษาความปลอดภัย เช่น ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งควรมีผู้รับผิดชอบในการควบคุม เฝ้าดู และตรวจสอบให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตลอดเวลา

-    กำหนดลักษณะและขอบเขตของสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจดำเนินการได้โดย

•    ทบทวนอุบัติการณ์ที่บันทึกในไว้ 5 ปีที่ผ่านมา

•    ตรวจสอบสถิติประเภทอุบัติการณ์และเหตุฉุกเฉินที่เคยเกิดขึ้นรวมทั้งพื้นที่ เวลาที่เกิด กะ (shifts) สภาพการปฏิบัติการ สภาพอากาศและปัจจัยสำคัญอื่น ๆ (รวมทั้งที่เคยเกิดในอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน)

•    ทบทวนประเด็นปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่อาจเกิดเป็นเหตุฉุกเฉินได้ภายใต้สภาพการปฏิบัติงานที่ผิดปกติ

•    ระดมความคิดจากกลุ่มบุคคลที่ทำงานในพื้นที่ต่าง ๆ ถึงเหตุการณ์ฉุกเฉินและอุบัติการณ์ที่เป็นไปได้

•    กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการเฉพาะ ที่กำหนดให้องค์กรต้องจัดทำแผนฉุกเฉินและซักซ้อม

-    วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อ 

•    เพื่อลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ และจำกัดความเสียหายที่จะเกิดต่อชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมให้เกิดน้อยที่สุด

•    ช่วยผู้ที่ตกอยู่ในอันตราย รักษาชีวิตผู้ปฏิบัติตามแผน และผู้ที่บาดเจ็บจากเหตุฉุกเฉิน

•    เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทุกระดับในองค์กรอย่างเหมาะสม โดยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแนวทางการประสานความร่วมมือ

•    เพื่อเตรียมความพร้อมตอบโต้สำหรับภาวะฉุกเฉิน

•    เพื่อให้ทุกคนรู้หน้าที่ของตนเองโดยการฝึกซ้อมการปฏิบัติการตามแผนฉุกเฉินและทำให้เกิดความคุ้นเคย

•    เพื่อให้เกิดการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกในการช่วยเหลือและกู้ภัย

-    แผนแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินของหลาย ๆ องค์กร อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ

•    สามารถจัดการได้โดยบุคคลในแผนกนั้น ๆ เอง  (ความรุนแรงระดับที่องค์กรสามารถจัดการได้เอง จึงต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติ เกณฑ์วิธีการ เทคนิค ในการจัดการกับเหตุฉุกเฉินแต่ละกรณี เป็นการเฉพาะ เพื่อใช้ในการอบรม เตรียมการ และนำไปใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์ได้ทันที) 

•    ต้องการความช่วยเหลือจากทีมแก้ไขปัญหากรณีเหตุการณ์ฉุกเฉินในโรงแรมและอาจต้องการอพยพคนออกจากโรงแรม

•    ต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกอย่างเต็มที่ อาจต้องอพยพคนในพื้นที่ใกล้เคียงหรือทำการป้องกันอันตราย

-    แผนกู้ภัยฉุกเฉิน (Emergency Response) ควรมุ่งเน้นว่าองค์กรต้องทำอะไรบ้าง ต้องตระเตรียมอะไรบ้าง ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ในการป้องกันการเกิดการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย และลดผลกระทบต่อผู้ซึ่งประสบเหตุฉุกเฉินนั้น โดยขั้นตอนสำหรับการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินควรได้รับการจัดทำและพิจารณาถึงข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ขั้นตอนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินนี้ต้องกระชับและชัดเจนเพื่อใช้ในสถานการณ์ที่ฉุกเฉินได้ และต้องพร้อมเรียกหายามเกิดเหตุ หากมีการเก็บเอกสารนี้ในคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ที่อาจเรียกใช้ไม่ได้ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ ต้องมีเอกสารชุดสำรองที่พร้อมให้หยิบใช้ในจุดปฏิบัติงาน

-    ในการจัดทำแผน ต้องพิจารณาถึง

•    ลักษณะและพื้นที่ของสถานประกอบการ

•    พื้นที่เสี่ยงภัย เช่น อาคารเก็บวัตถุไวไฟ เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์

•    บริเวณโดยรอบ เส้นทางจราจร

•    จำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในแต่ละช่วงเวลา

•    ความรู้พื้นฐานด้านการระงับเหตุฉุกเฉินของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ

•    ระบบดับเพลิง เครื่องมือ และ อุปกรณ์ฉุกเฉิน หน้ากาก เครื่องช่วยหายใจ ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมี ชุดผจญเพลิง

•    ตำแหน่งห้องสำคัญ ห้องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ห้องควบคุมไฟฟ้าหลัก ห้องเก็บเอกสารสำคัญ

•    ระบบติดต่อสื่อสารในภาวะปกติและฉุกเฉิน

•    ทางออกฉุกเฉิน บันไดหนีไฟ

•    การทำงานของสัญญาณแจ้งเหตุ ระบบตรวจจับการรั่วไหลของก๊าซ ระบบดับเพลิง ระบบสนับสนุนอื่นๆ

•    จุดที่ตั้งอำนวยการชั่วคราว พื้นที่สำรอง แหล่งน้ำสำรอง

-    การประสานงานกับหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน เกี่ยวข้องกับ 

•    วิธีการติดต่อและหมายเลขติดต่อกับสมาชิกของทีมกู้ภัย (รายชื่อของสมาชิกและหมายเลขติดต่อจะต้องได้รับการแก้ไขโดยผู้รับผิดชอบ ทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลง) 

•    ข้อมูลของส่วนบริการที่เกี่ยวข้อง มีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทันที ดังนั้นควรรวบรวมและจัดทำให้อ่านง่ายพร้อมใช้งานได้ทันที โดยทั่วไปข้อมูลประกอบด้วย ชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ผู้ที่จะติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือ

-    หากองค์กรเลือกใช้องค์กรภายนอกในการกู้ภัยฉุกเฉิน เช่นการจัดการสารเคมีอันตราย หรือ ห้องปฏิบัติการภายนอก สัญญาจ้างต้องจัดให้มีไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่จำนวนพนักงานมีจำกัด หรือ มีข้อจำกัดด้านทักษะความสามารถ อุปกรณ์การกู้ภ้ย

-    การใช้พลุหรือดอกไม้ไฟถูกควบคุมโดยกฎหมายหรือเทศบัญญัติ ซึ่งจะต้องได้รับเอกสารการอนุญาตให้จัดแสดงงานโดยขออนุญาตจากเขตปกครอง อำเภอ จังหวัดหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง แม้องค์กรจะใช้บริการจากหน่วยงานภายนอกสำหรับบริการการจุดพลุหรือดอกไม้ไฟ แต่องค์กรยังจำเป็นต้องดำเนินการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้พลุหรือดอกไม้ไฟให้กับพนักงานของตนตามความเหมาะสม เช่น การกำกับดูแลการเก็บรักษาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพลุ/ดอกไม้ไฟ การป้องกันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปยังพื้นที่จุดพลุ เป็นต้น

-    งานธุรการของการรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ในการประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร จัดทำประวัติการทำงานของบุคลากร จัดทำ ผลิต และรวบรวมเอกสารต่าง ๆ ของแผนก จัดทำเอกสารขออนุมัติปฏิบัติงานนอกเวลา จัดทำบัญชีวัสดุครุภัณฑ์ของแผนกรักษาความปลอดภัย เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ