หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดให้มีการรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-5-240ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดให้มีการรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัยในสถานที่ทำงาน การพัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย การจัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย การจัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย การจัดให้มีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย การสอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการประเมินความมีประสิทธิผลของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม  5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม  5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม  5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว  7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ   

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.04.139.01 ระบุหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัยในสถานที่ทำงาน 1.1 ระบุสิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของนายจ้าง 3.04.139.01.01 48439
3.04.139.01 ระบุหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัยในสถานที่ทำงาน 1.2 ระบุสิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของลูกจ้าง 3.04.139.01.02 48440
3.04.139.01 ระบุหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัยในสถานที่ทำงาน 1.3 จัดทำนโยบายด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 3.04.139.01.03 48441
3.04.139.02 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 2.1 จัดเตรียมคำบรรยายลักษณะงานที่สอดคล้องกับหน้าที่รับผิดชอบด้านสุขอนามัยความมั่นคงและปลอดภัย 3.04.139.02.01 48442
3.04.139.02 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 2.2 สถาปนาความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร 3.04.139.02.02 48443
3.04.139.02 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 2.3 สร้างโครงสร้างการรายงานผลการดำเนินงานด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 3.04.139.02.03 48444
3.04.139.02 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 2.4 เผยแพร่ข้อมูลด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 3.04.139.02.04 48445
3.04.139.02 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 2.5 เสนอการฝึกอบรมด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 3.04.139.02.05 48446
3.04.139.02 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 2.6 พัฒนาการเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 3.04.139.02.06 48447
3.04.139.03 จัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 3.1 ดำเนินการตรวจสอบสถานที่ทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับกายภาพ 3.04.139.03.01 48448
3.04.139.03 จัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 3.2 สนับสนุนให้พนักงานรายงานความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตราย 3.04.139.03.02 48449
3.04.139.03 จัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 3.3 วิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กร 3.04.139.03.03 48450
3.04.139.03 จัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 3.4 ระบุความเสี่ยงในขั้นตอนการวางแผนและการจัดซื้อ 3.04.139.03.04 48451
3.04.139.03 จัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 3.5 ติดตามประเมินแหล่งที่มาของความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายในสถานที่ปฏิบัติงาน 3.04.139.03.05 48452
3.04.139.04 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 4.1 ระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน 3.04.139.04.01 48453
3.04.139.04 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 4.2 กำหนดตารางเวลาการประเมินความเสี่ยง 3.04.139.04.02 48454
3.04.139.04 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 4.3 ดำเนินการให้มีกิจกรรมการประเมินความเสี่ยง 3.04.139.04.03 48455
3.04.139.04 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 4.4 บันทึกแนวความคิดที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมเพื่อประเมินความเสี่ยง 3.04.139.04.04 48456
3.04.139.04 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 4.5 อำนวยความสะดวกโดยการให้คำปรึกษาที่มีประโยชน์และมีประสิทธิผล 3.04.139.04.05 48457
3.04.139.04 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 4.6 ยึดถือหลักการให้ความปลอดภัยโดยรวมมากกว่าการสร้างความปลอดภัยส่วนบุคคล 3.04.139.04.06 48458
3.04.139.04 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 4.7 จัดลำดับและความสำคัญของปัจจัยเสี่ยงระดับต่างๆ 3.04.139.04.07 48459
3.04.139.04 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 4.8 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงและดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสม 3.04.139.04.08 48460
3.04.139.05 จัดให้มีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 5.1 วางแผนเพื่อนำกิจกรรมควบคุมมาใช้ปฏิบัติ 3.04.139.05.01 48461
3.04.139.05 จัดให้มีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 5.2 ริเริ่มกิจกรรมควบคุม 3.04.139.05.02 48462
3.04.139.05 จัดให้มีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 5.3 ติดตามประเมินกิจกรรมควบคุม 3.04.139.05.03 48463
3.04.139.05 จัดให้มีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 5.4 ดำเนินมาตรการแก้ไขความผิดพลาดในกรณีที่จำเป็น 3.04.139.05.04 48464
3.04.139.06 สอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 6.1 กำหนดวิธีการแจ้งการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ต่างๆ 3.04.139.06.01 48465
3.04.139.06 สอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 6.2 สอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ต่างๆ 3.04.139.06.02 48466
3.04.139.06 สอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 6.3 ระบุสาเหตุของการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ต่างๆ 3.04.139.06.03 48467
3.04.139.06 สอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 6.4 ดำเนินมาตรการแก้ไขความผิดพลาด 3.04.139.06.04 48468
3.04.139.07 ประเมินความมีประสิทธิผลของงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 7.1 ทบทวนและประเมินประสิทธิผลของระบบที่ใช้ 3.04.139.07.01 48469
3.04.139.07 ประเมินความมีประสิทธิผลของงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 7.2 ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในกรณีที่จำเป็น 3.04.139.07.02 48470
3.04.139.07 ประเมินความมีประสิทธิผลของงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 7.3 ประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อกำหนดภายในองค์กร 3.04.139.07.03 48471

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการประยุกต์ใช้หลักการยศาสตร์เบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความมั่นคง

-    ความรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดความปลอดภัยด้านอาหาร

-    ความรู้เกี่ยวกับการประเมินภัยคุกคาม (Hazard) ความเสี่ยง (Risk) รูปแบบต่างๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงาน

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรการ วิธีการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการควบคุมภัยคุกคามและความเสี่ยงข้างต้น 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความมั่นคงในสภาพแวดล้อมการทำงาน

-    แสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความมั่นคงไว้ในใบกำหนดหน้าที่งาน

-    แสดงความสามารถในการทำงานร่วมกันกับผู้บริหารเพื่อพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย 

-    แสดงความสามารถในการระบุภัยคุกคาม (Hazard) และความเสี่ยง (Risk) รูปแบบต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ได้รับมอบหมาย

-    แสดงความสามารถในการประเมินความรุนแรงของภัยคุกคามและความเสี่ยงรูปแบบต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ได้รับมอบหมาย

-    แสดงความสามารถในการใช้มาตรการ วิธีการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมภัยคุกคามและความเสี่ยงรูปแบบต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ได้รับมอบหมาย

-    แสดงความสามารถในการประเมินความมีประสิทธิผลของมาตรการ วิธีการที่เหมาะสมเพื่อควบคุมภัยคุกคามและความเสี่ยงรูปแบบต่างๆ ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ได้รับมอบหมาย



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความเข้าใจในข้อกำหนดและกฎระเบียบทางด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย 



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ทำแบบทดสอบกรณีศึกษา

-    ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้

-    ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    ตั้งโจทย์ปัญหาและประเมินทักษะการแก้ปัญหา

-    ทดสอบโดยให้แสดงบทบาทสมมติ 

-    พิจารณาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของนายจ้าง มักถูกกำหนดไว้ในกฎหมายที่บังคับใช้ในแต่ละประเทศ หรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ที่อุตสาหกรรมนำมาใช้ปฏิบัติ ซึ่งโดยทั่วไป สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของนายจ้างจะครอบคลุมถึงการจัดให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะแก่ลูกจ้าง ให้มีการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นไปตามมาตรฐานในสถานประกอบกิจการ ดำเนินการประเมินอันตรายและศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานและจัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย

-    สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของลูกจ้าง มักถูกกำหนดไว้ในกฎหมายที่บังคับใช้ในแต่ละประเทศ หรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ที่อุตสาหกรรมนำมาใช้ปฏิบัติ ซึ่งโดยทั่วไป สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของลูกจ้างจะกำหนดให้มีหน้าที่

•    ให้ความร่วมมือนายจ้างในการดำเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย 

•    ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านความปลอดภัยฯ ตามมาตรฐานที่กำหนด

•    ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนด

•    แจ้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) หรือหัวหน้างาน หรือผู้บริหาร ทราบถึงอันตรายที่มีที่ตนเองไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่อง/สิ่งที่ชำรุดนั้นๆ ได้ด้วยตนเอง 

•    สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และดูแลรักษาให้อุปกรณ์นั้น ๆ สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะงาน 

-    นโยบายด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย อาจจะครอบคลุมถึงกระบวนการ บริหารจัดการอาหารอย่างปลอดภัย การยกขน/ยกย้ายสิ่งของในการปฏิบัติงาน การเข้าใช้คลังสินค้า การใช้สารเคมี การใช้สิ่งของที่เป็นอันตราย การทำงานคนเดียว เป็นต้น

-    การสถาปนาความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร หมายความตั้งแต่ การให้ความร่วมมือกันในการปฏิบัติหน้าที่ การให้คำปรึกษา หรือ การจัดให้มีคณะกรรมการเป็นกลไกการทำงานที่ถาวร

-    โครงสร้างการรายงานผลการดำเนินงานด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย ครอบคลุมตั้งแต่การจัดให้มีการประชุมที่เป็นวาระประจำ การกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ การกำหนดให้มีกระบวนการรายงานและเผยแพร่ข้อมูลไปสู่พนักงานในระดับต่างๆ 

-    การเผยแพร่ข้อมูลด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย อาจจะอยู่ในรูปของการแจกจ่ายเอกสาร/คู่มือ/แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย การจัดให้มีโปสเตอร์/แผ่นพับติดไว้ในสถานที่ต่าง ๆ การจัดให้มีการอบรม การประชุมพนักงานเป็นการทั่วไป หรือการประชุมที่เป็นวาระนี้โดยเฉพาะ

-    ข้อมูลและเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย อาจหมายรวมถึง 

•    รายงานการตรวจสอบ รายงานการควบคุมภายใน 

•    รายงานการประเมินความเสี่ยง การวิเคราะห์ภัยคุกคาม 

•    รายงานการบาดเจ็บ รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ

•    รายงานการประชุมของคณะกรรมการด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยของบริษัท 

•    สรุปผลการฝึกอบรม 

•    มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedures) แผนภาพกระบวนการทำงาน (Flowchart) 

•    รายงานการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย

•    รายงานการบริหารและควบคุมความเสี่ยง

•    แผนการจัดการด้านความปลอดภัย แผนการจัดการในภาวะฉุกเฉิน

•    สถิติ/ข้อมูลการฝึกอบรมของพนักงาน

•    รายงานการซ่อมบำรุงอุปกรณ์/เครื่องจักร

•    รายงานการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก

•    ทะเบียนของสารควบคุม/สิ่งที่เป็นอันตราย

•    รายงานการปฐมพยาบาลและรายงานทางการแพทย์  

-    การดำเนินการตรวจสอบสถานที่ทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับกายภาพ  และสนับสนุนให้พนักงานรายงานความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตราย โดยพิจารณาอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งแบ่งได้ 4 ด้าน ดังนี้

•    อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางเคมี (Chemical Environmental Hazards) เกิดจากการใช้สารเคมีในการทำงาน หรือมีสารเคมีที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นจากขบวนการผลิตของงาน รวมทั้งวัตถุพลอยได้จากการผลิต เช่น กลุ่มสารเคมีที่เป็นพิษ ก๊าซพิษ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ตัวทำละลาย ฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดโรคปอด สารเคมีที่ก่อมะเร็ง

•    อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environmental Hazards) คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ประกอบอาชีพนั้น จะอยู่ในลักษณะของการได้รับหรือสัมผัสกับสภาพแวดล้อมในลักษณะที่ไม่พอดีหรือผิดจากปกติธรรมดา อันตรายทางด้านกายภาพ ได้แก่ เสียง แสงสว่าง ความสั่นสะเทือน อุณหภูมิที่ผิดปกติ ความดันบรรยากาศที่ผิดปกติ รังสี 

•    อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environmental Hazards) เกิดจากการทำงานที่ต้องเสี่ยงต่อการสัมผัสและได้รับอันตรายจากสารทางด้านชีวภาพ (Biohazardous Agents) แล้วสารชีวภาพนั้นทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย หรือมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น เช่นเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ฝุ่นละอองจากส่วนของพืชหรือสัตว์ การติดเชื้อจากสัตว์หรือแมลง การถูกทำร้ายจากสัตว์หรือแมลง 

-    อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางด้านการยศาสตร์ (Ergonomics) เป็นอันตรายที่เกิดจากการใช้ท่าทางทำงานที่ไม่เหมาะสม วิธีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง การปฏิบัติงานที่ซ้ำซาก และความไม่สัมพันธ์กันระหว่างคนกับงานที่ทำ

-    การระบุความเสี่ยงในขั้นตอนการวางแผนและการจัดซื้อ หมายถึง องค์กรได้จัดให้มีมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับการจัดซื้อและการจัดจ้าง ในส่วนที่จะมีผลต่อการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดย 

•    การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ต้องพิจารณาถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และมีการดำเนินการเพื่อป้องกันอันตราย โดยกำหนดข้อมูลรายละเอียดความต้องการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมทั้งตรวจรับตามข้อมูลรายละเอียดที่กำหนดไว้

•    ในกรณีที่เป็นสารเคมีอันตรายต้องมีเอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมี เพื่อจะได้ใช้สารเคมีนั้นอย่างถูกต้องและปลอดภัย

•    ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ เครื่องจักร ต้องมีเอกสารคู่มือการใช้งานที่ถูกต้องและปลอดภัย

•    การจัดซื้ออุปกรณ์ตรวจวัดที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัย และความปลอดภัยตรวจวัดที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ต้องพิจารณาถึงการสอบเทียบ (Calibration) อุปกรณ์ตรวจวัด เพื่อความถูกต้องในการตรวจวัด และต้องมีเอกสารคู่มือการใช้งาน

•    การจัดจ้างผู้รับเหมา และผู้รับเหมาช่วง ต้องจัดจ้างโดยพิจารณาถึงความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการขององค์กร ในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และต้องมีการกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งมีการดำเนินการเพื่อควบคุมดูแลการทำงานของผู้รับเหมาและผู้รับเหมาช่วงให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติที่กำหนด 

-    การควบคุมเอกสารการบริหารการจัดการด้านความปลอดภัย องค์กรควรมีการจัดทำ ดำเนินการ และคงไว้ซึ่งมาตรฐานการปฏิบัติงานในการควบคุมเอกสาร ทั้งที่จัดทำภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ที่มีความจำเป็นในการดำเนินการของระบบการจัดการ เพื่อให้มั่นใจว่า เอกสารที่เป็นฉบับล่าสุดมีไว้ในทุก ๆ พื้นที่ซึ่งมีการทำงาน มีผลกระทบต่อความมีประสิทธิผลของระบบการจัดการ มีการควบคุมการจัดทำ เปลี่ยนแปลง แก้ไข แจกจ่าย เรียกคืน และนำเอกสารที่ได้รับการยกเลิกออกจากจุดใช้งาน หรือ มีการป้องกันการนำเอกสารไปใช้โดยไม่ได้ตั้งใจ ในกรณีที่เอกสารได้รับการยกเลิกการใช้งานแล้ว แต่มีความจำเป็นในการเก็บเพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านกฎหมาย และ/หรือความรู้ จะมีระบบการบ่งชี้ที่เหมาะสม

-    การฝึกอบรม และวิธีการให้ความรู้แก่บุคลากร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

•    การสอนงาน โดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก หรือบุคลากรภายในองค์กรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อให้บุคลากรมีทักษะ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย

•    การฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะ ซึ่งอาจจะหมายถึง การฝึกอบรมภายนอกองค์กร ได้แก่การส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรม/ที่จัดโดยหน่วยงานภายนอก หรือการฝึกอบรมภายในองค์กร ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่จัดขึ้นเองภายในองค์กร โดยวิทยากรภายในหรือวิทยากรภายนอก

-    องค์กรต้องมีการประเมินประสิทธิผลของการฝึกอบรมโดยวิธีการที่เหมาะสม เช่น การประเมินหลักสูตรการฝึกอบรม การทดสอบก่อน และ/ หรือหลังการฝึกอบรม หรือวิธีการสัมภาษณ์เพื่อทดสอบความเข้าใจ การประเมินผลการปฏิบัติงานหลังการสอนงาน โดยผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

-    กระบวนการประเมิน หมายถึง การประเมินความสอดคล้องด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งองค์กรมีการจัดทำ ดำเนินการ และคงไว้ซึ่งระเบียบปฏิบัติงานในการประเมินความสอดคล้องในการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระยะเวลาที่เหมาะสม และบันทึกผลเป็นหลักฐาน โดยเครื่องมือที่ใช้วัดหรือทดสอบ จะได้รับการป้องกันจากการปรับแต่งโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และให้มีการรับรองผลกรณีใช้บริการสอบเทียบจากหน่วยงาน หรือบุคคลภายนอกตามกำหนดเวลาที่ได้วางแผนไว้ หรือเมื่อพบว่าผลลัพธ์ที่ได้อาจเกิดความคลาดเคลื่อน

-    กระบวนการควบคุมความเสี่ยง ประกอบด้วย

•    การระบุสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด และการดำเนินการเพื่อป้องกันผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น 

•    การวิเคราะห์สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเพื่อระบุถึงสาเหตุ และแนวทางการดำเนินการ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

•    ประเมินความจำเป็นในการดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหน

•    บันทึกผลการดำเนินการแก้ไขและป้องกัน

•    ทบทวนประสิทธิผลของการดำเนินการแก้ไขและป้องกัน

-    การบันทึกอุบัติเหตุอย่างละเอียดจะช่วยให้สังเกตเห็นการกระทำหรือสภาพที่ไม่ปลอดภัยซึ่งต้องแก้ไข การจดบันทึกอุบัติเหตุทำให้รู้ได้ว่าพนักงานฝ่ายใดมักจะเกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุควรตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุอย่างถี่ถ้วนทันที และรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในใบรายงานต้องประกอบด้วย ชื่อที่อยู่ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เวลาสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุ อธิบายสภาพอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น สาเหตุที่มองเห็นได้จะป้องกันอย่างไร ธรรมชาติของการบาดเจ็บ  การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และเวลาการปฏิบัติงานที่เสียไป 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ