หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดตารางทำงานและมอบหมายงานให้พนักงาน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-4-224ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดตารางทำงานและมอบหมายงานให้พนักงาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
              หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดตารางทำงานและมอบหมายงานให้พนักงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุบทบาทของตารางการทำงาน การอธิบายมิติต่างๆ ของการดำเนินงานตามเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้ การจัดทำตารางการทำงาน และการปรับปรุงข้อมูลพนักงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม  5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม  5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม  5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว  7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ  1229 (ISCO-88:TH) สำรองบัตรโดยสาร  3414 (ISCO-88:TH) ที่ปรึกษาการเดินทางท่องเที่ยว  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.09.108.01 ระบุบทบาทของตารางการทำงาน 1.1 อธิบายการใช้งานรูปแบบต่างๆ ของตารางการทำงาน 3.09.108.01.01 48100
3.09.108.01 ระบุบทบาทของตารางการทำงาน 1.2 อธิบายสถานการณ์ต่างๆที่ทำให้เกิดการปรับปรุงตารางการทำงาน 3.09.108.01.02 48101
3.09.108.01 ระบุบทบาทของตารางการทำงาน 1.3 ระบุความรับผิดชอบส่วนบุคคลในการจัดทำตารางการทำงาน 3.09.108.01.03 48102
3.09.108.01 ระบุบทบาทของตารางการทำงาน 1.4 ระบุผลกระทบต่องบประมาณค่าแรงงานจากการจัดตารางการทำงาน 3.09.108.01.04 48103
3.09.108.01 ระบุบทบาทของตารางการทำงาน 1.5 จัดทำตารางการทำงานในหลายๆ รูปแบบที่แตกต่างกัน 3.09.108.01.05 48104
3.09.108.01 ระบุบทบาทของตารางการทำงาน 1.6 ระบุปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรพนักงานในตารางการทำงาน 3.09.108.01.06 48105
3.09.108.02 อธิบายมุมมองด้านการดำเนินงานของเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้ 2.1 อธิบายขอบเขตของเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรม 3.09.108.02.01 48106
3.09.108.02 อธิบายมุมมองด้านการดำเนินงานของเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้ 2.2 แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างการจ้างงานรูปแบบต่างๆ 3.09.108.02.02 48107
3.09.108.02 อธิบายมุมมองด้านการดำเนินงานของเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้ 2.3 แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างอัตราค่าจ้างแต่ละอัตรา 3.09.108.02.03 48108
3.09.108.02 อธิบายมุมมองด้านการดำเนินงานของเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้ 2.4 ระบุสิทธิการลาที่ได้รับ 3.09.108.02.04 48109
3.09.108.02 อธิบายมุมมองด้านการดำเนินงานของเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้ 2.5 ระบุสวัสดิการอาหารและเวลาพักที่ได้รับ 3.09.108.02.05 48110
3.09.108.02 อธิบายมุมมองด้านการดำเนินงานของเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้ 2.6 ระบุเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับ 3.09.108.02.06 48111
3.09.108.02 อธิบายมุมมองด้านการดำเนินงานของเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้ 2.7 บ่งชี้ข้อกำหนดด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตารางการทำงาน 3.09.108.02.07 48112
3.09.108.02 อธิบายมุมมองด้านการดำเนินงานของเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้ 2.8 ระบุข้อกำหนดที่ปรับใช้กับและเหตุการณ์/การฏิบัติงานเฉพาะและสถานการณ์ต่างๆ 3.09.108.02.08 48113
3.09.108.03 จัดทำตารางการทำงาน 3.1 จัดทำตารางการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการด้านการดำเนินงาน 3.09.108.03.01 48114
3.09.108.03 จัดทำตารางการทำงาน 3.2 แจกจ่ายตารางการทำงานให้แก่พนักงาน 3.09.108.03.02 48115
3.09.108.04 ปรับปรุงข้อมูลพนักงาน 4.1 ตรวจสอบและอนุมัติใบลงเวลา เพื่อการจ่ายเงิน 3.09.108.04.01 48116
3.09.108.04 ปรับปรุงข้อมูลพนักงาน 4.2 ดูแลรักษาข้อมูลพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำตารางการทำงาน 3.09.108.04.02 48117

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ความสามารถในการใช้เครื่องมือ/โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นสำหรับการจัดตารางการทำงาน

-    ทักษะในการประมวลผล/คิดวิเคราะห์ความต้องการพนักงานและลักษณะบริการ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดตารางทำงานและมอบหมายงานให้พนักงาน

-    ความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงาน 

-    ความรู้เกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง เงื่อนไขและสภาพการจ้างงาน

-    ข้อกำหนดตามกฎหมายแรงงาน และระเบียบเกี่ยวกับการจ้างงานที่ส่งผลกระทบต่อการจัดตารางการทำงาน และเวลาปฏิบัติงาน 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการจัดตารางการทำงาน และมอบหมายการปฏิบัติหน้าที่ตามตารางที่กำหนดให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องทราบ ตลอดจนแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจัดตารางการทำงาน 

-    แสดงความสามารถในการใช้เครื่องมือ/โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นสำหรับการจัดตารางการทำงาน



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดตารางทำงานและมอบหมายงานให้พนักงาน

-    อธิบายผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดตารางการทำงานในแต่ละสถานการณ์ได้ 



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 



(ง)    วิธีการประเมิน

-    สังเกตการณ์ผลการดำเนินงาน

-    ทำแบบทดสอบกรณีศึกษา

-    ทำแบบฝึกหัด

-    ทดสอบความรู้โดยการตอบคำถามด้วยวาจาหรือข้อเขียน

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    ทดสอบโดยการฝึกซ้อมกับสถานการณ์จำลอง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    การจัดทำตารางการทำงานและการมอบหมายงาน หมายรวมถึง การจัดการและบริหารพนักงานขององค์กรเพื่อให้สามารถให้บริการได้ตามที่ต้องการ โดยต้องสร้างสมดุลระหว่างพนักงานที่มีประสบการณ์กับพนักงานใหม่หรือยังไม่มีประสบการณ์ หรือจัดตารางเวลาโดยคำนึงถึงพนักงานที่พูดภาษาต่างประเทศได้ และสื่อสารความต้องการพนักงานให้ทุกคนได้รับทราบ นอกจากนี้ การจัดตารางการทำงานยังช่วยในการควบคุมค่าแรงงาน และวางแผนวันหยุดของพนักงานอีกด้วย

-    ตารางการทำงาน หมายรวมถึง ตารางการทำงานสำหรับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ตารางการทำงานสำหรับทั้งองค์กร หรือตารางการทำงานสำหรับงานโครงการ/งานจัดเลี้ยง/งานสัมมมนาเฉพาะ

-    การจัดตารางการทำงานช่วยในการจัดเตรียมงบประมาณค่าแรง ทำให้ทราบถึงสัดส่วนของค่าแรงต่อค่าใช้จ่ายดำเนินงานรวม ทำให้เกิดการเปรียบเทียบค่าแรงงานที่จะเกิดขึ้นจากตารางเวลาการปฏิบัติงานที่จัดทำกับงบประมาณที่ได้รับ นอกจากนี้ ยังช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและวิธีการลดค่าแรงงานให้อยู่ในระดับที่ต้องการ 

-    ตารางการทำงานอาจจะอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นกระดาษ (manual) หรืออิเล็กทรอนิกส์ และควรมีคำอธิบายเกี่ยวกับระบบเวลาที่ใช้ในตารางการทำงาน ความหมายของคำย่อที่ใช้เป็นการทั่วไป ข้อกำหนดขั้นพื้นฐานของการจัดทำตารางการทำงาน การทำงานเป็นกะหรือผลัด และการหมุนเวียนกะและช่วงเวลาการทำงาน

-    รูปแบบการจ้างงาน อาจหมายถึง การจ้างพนักงานประจำ (Full-time Worker) พนักงานชั่วคราว (Part-time Worker) พนักงานสัญญาจ้าง (Contract/Temporary Worker) พนักงานฝึกงาน (Internship) พนักงานฝึกหัด (Trainee) การรับงานนอกสถานที่ (Offshoring) การนำพนักงานเกษียณกลับเข้ามาทำงาน (Retire Worker)  

-    สิทธิตามกฎหมายแรงงาน ครอบคลุมตั้งแต่ เวลาการทำงาน จำนวนชั่วโมงการทำงานสูงสุดต่อวัน ชั่วโมงการทำงานสูงสุดต่อสัปดาห์ เวลาพัก วันหยุดประจำสัปดาห์ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงการสะสมหรือเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ ข้อกำหนดการประกาศวันหยุดให้ทราบเป็นการล่วงหน้า วันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี สิทธิการลาประเภทต่าง ๆ ค่าจ้าง/ค่าตอบแทนสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

-    การบันทึกการลงเวลาเข้า-ออกการทำงาน เป็นการบันทึกเวลาการมาปฏิบัติงานและเลิกจากการปฏิบัติงาน ซึ่งครอบคลุมถึงแนวปฏิบัติกรณีที่พนักงานลืมรูดบัตรบันทึกเวลาการมาทำงาน และผลกระทบของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว การมาทำงานสาย การลา การส่งใบลาป่วย

-    ข้อมูลพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำตารางการทำงาน ได้แก่ ข้อมูลเวลาการปฏิบัติงาน ผลัดหรือกะงานที่มอบหมายให้พนักงาน การหมุนหรือแลกเปลี่ยนกะงาน การขาดงาน การมาสาย วันลา วันลาคงเหลือ เป็นต้น 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ