หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการรายการซื้อและจัดเก็บสินค้า

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-3-218ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการรายการซื้อและจัดเก็บสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
         หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการรายการซื้อและจัดเก็บสินค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุความจำเป็นในการควบคุมสินค้าคงคลังและการจัดการพัฒนาและการดำเนินการจัดซื้อและ การจัดทำระบบจัดซื้อพัฒนาและดำเนินการตามขั้นตอนจัดเก็บสินค้าคงคลังพัฒนาและดำเนินการระบบการจัดเก็บสต็อก พัฒนาและดำเนินการระบบการจัดเก็บ พัฒนาและดำเนินการระบบการจัดการสต็อก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.09.103.01 ระบุความจำเป็นในการบริหารสินค้าคงคลัง 1.1 ระบุเงื่อนไข/ข้อกำหนดสำหรับการบริหารสินค้าคงคลัง 3.09.103.01.01 48012
3.09.103.01 ระบุความจำเป็นในการบริหารสินค้าคงคลัง 1.2 จัดทำรายการสินค้าคงคลังที่จะดำเนินการควบคุม 3.09.103.01.02 48013
3.09.103.01 ระบุความจำเป็นในการบริหารสินค้าคงคลัง 1.3 กำหนดบุคลากรที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุมสินค้า 3.09.103.01.03 48014
3.09.103.01 ระบุความจำเป็นในการบริหารสินค้าคงคลัง 1.4 กำหนดขั้นตอนในการบริหารและควบคุมสินค้าคงคลัง 3.09.103.01.04 48015
3.09.103.01 ระบุความจำเป็นในการบริหารสินค้าคงคลัง 1.5 ระบุและอธิบายถึงความสำคัญของเอกสารในการควบคุมสินค้าคงคลัง 3.09.103.01.05 48016
3.09.103.01 ระบุความจำเป็นในการบริหารสินค้าคงคลัง 1.6 พัฒนาความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่เกี่ยวข้อง 3.09.103.01.06 48017
3.09.103.02 พัฒนาและนำระบบการจัดซื้อมาใช้งาน 2.1 กำหนดเงื่อนไขการประเมินประสิทธิภาพของผู้ขาย/คู่ค้า 3.09.103.02.01 48018
3.09.103.02 พัฒนาและนำระบบการจัดซื้อมาใช้งาน 2.2 คัดเลือกผู้ขาย/คู่ค้าตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน 3.09.103.02.02 48019
3.09.103.02 พัฒนาและนำระบบการจัดซื้อมาใช้งาน 2.3 ระบุข้อกำหนด/ความต้องการด้านการจัดซื้อและจัดหา 3.09.103.02.03 48020
3.09.103.02 พัฒนาและนำระบบการจัดซื้อมาใช้งาน 2.4 กำหนดเงื่อนไข/รูปแบบการจัดซื้อ 3.09.103.02.04 48021
3.09.103.02 พัฒนาและนำระบบการจัดซื้อมาใช้งาน 2.5 ดำเนินการสั่งซื้อจากผู้ขาย/คู่ค้าที่ได้รับการคัดเลือก 3.09.103.02.05 48022
3.09.103.03 ดำเนินการรับสินค้า 3.1 ติดตามการส่งมอบสินค้าเข้าคลังสินค้า 3.09.103.03.01 48023
3.09.103.03 ดำเนินการรับสินค้า 3.2 ตรวจสอบสินค้าที่รับเข้า 3.09.103.03.02 48024
3.09.103.03 ดำเนินการรับสินค้า 3.3 คืนหรือตีกลับสินค้าที่ไม่ได้สั่งซื้อหรือสินค้าเสียหาย 3.09.103.03.03 48025
3.09.103.03 ดำเนินการรับสินค้า 3.4 ปฏิเสธสินค้าที่คุณภาพไม่ตรงตามข้อกำหนด 3.09.103.03.04 48026
3.09.103.03 ดำเนินการรับสินค้า 3.5 จัดทำเอกสารการรับมอบสินค้า 3.09.103.03.05 48027
3.09.103.04 พัฒนาและดำเนินการระบบการจัดเก็บสินค้า 4.1 กำหนดสถานที่เก็บรักษาที่เหมาะสมสำหรับสินค้าทั้งหมดที่จะต้องมีเก็บไว้ 3.09.103.04.01 48028
3.09.103.04 พัฒนาและดำเนินการระบบการจัดเก็บสินค้า 4.2 จัดเก็บสินค้าเป็นไปตามเงื่อนไขการจัดเก็บ 3.09.103.04.02 48029
3.09.103.04 พัฒนาและดำเนินการระบบการจัดเก็บสินค้า 4.3 บันทึกข้อมูลสินค้าในระบบงานที่เกี่ยวข้อง 3.09.103.04.03 48030
3.09.103.04 พัฒนาและดำเนินการระบบการจัดเก็บสินค้า 4.4 เก็บรักษาและปกป้องสินค้าจากความเสียหาย เสื่อมสภาพและการเบิกจ่ายที่ไม่ได้รับอนุญาต 3.09.103.04.04 48031
3.09.103.05 ดำเนินการเบิกจ่ายสินค้า 5.1 ระบุข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับการเบิกจ่ายสินค้า 3.09.103.05.01 48032
3.09.103.05 ดำเนินการเบิกจ่ายสินค้า 5.2 จัดทำเอกสารการเบิกจ่ายสินค้า 3.09.103.05.02 48033
3.09.103.05 ดำเนินการเบิกจ่ายสินค้า 5.3 เบิกจ่ายสินค้าและแจกจ่ายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.09.103.05.03 48034
3.09.103.05 ดำเนินการเบิกจ่ายสินค้า 5.4 บันทึกการเบิกจ่ายสินค้า 3.09.103.05.04 48035
3.09.103.06 ดำเนินระบบการบริหารสินค้าคงคลัง 6.1 สร้างและนำระบบการตรวจนับสินค้าคงคลังมาใช้งาน 3.09.103.06.01 48036
3.09.103.06 ดำเนินระบบการบริหารสินค้าคงคลัง 6.2 จัดให้มีระบบการประเมินมูลค่าสินค้าคงคลัง 3.09.103.06.02 48037
3.09.103.06 ดำเนินระบบการบริหารสินค้าคงคลัง 6.3 สร้างและจัดให้มีระบบการรายงานสินค้าคงเหลือ 3.09.103.06.03 48038
3.09.103.06 ดำเนินระบบการบริหารสินค้าคงคลัง 6.4 ให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบสินค้าที่มีอยู่ 3.09.103.06.04 48039

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะและความสามารถในการจัดหาแหล่งในการจัดซื้อ

-    ทักษะและความสามารถในการสั่งซื้อ การจัดเก็บ และการกระจายสินค้า

-    ทักษะและความสามารถในการเขียนข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์

-    ทักษะและความสามารถในการดำเนินการทดสอบผลผลิต/สินค้า

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิธีการสั่งซื้อ การชำระเงิน การจัดเก็บ การจัดการสินค้าและสถานที่ที่ใช้ในการจัดเก็บ

-    ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และความเข้าใจในการใช้งานทุกรายการที่สั่งซื้อ

-    ความรู้เกี่ยวกับปริมาณการสั่งซื้อสำหรับรายการสินค้าทั้งหมด

-    ความรู้เกี่ยวกับผู้จำหน่ายและความรู้ทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาและการสั่งซื้อ

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์และคู่ค้า

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการใช้งานระบบงานเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง ความสามารถในการดำเนินการตามขั้นตอนเกี่ยวกับการจัดการสินค้าที่กำหนด ตลอดจนความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่พนักงานที่เกี่ยวข้อง การจัดทำเอกสาร และการตรวจนับสินค้า



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความรู้เกี่ยวกับสินค้าในส่วนที่ได้รับมอบหมายให้บริหารจัดการ



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ทำแบบทดสอบกรณีศึกษา

-    ทดสอบความรู้โดยการสัมภาษณ์ 

-    ทดสอบความรู้โดยทำข้อสอบข้อเขียน 

-    สังเกตการปฏิบัติงานหน้างาน 

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    ตั้งโจทย์ปัญหาและประเมินทักษะการแก้ปัญหา

-    ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานจากการจำลองสถานการณ์และ/หรือบทบาทสมมติ

-    พิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน

-    พิจารณาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    เงื่อนไข/ข้อกำหนดของสำหรับการบริหารสินค้าคงคลัง อาจจะเกี่ยวข้องกับ

•    การรักษาสินค้าคงคลัง

•    ระดับสินค้าคงคลัง

•    มูลค่าของสินค้าคงคลัง

•    ข้อกำหนด ระยะเวลาและการส่งมอบ

•    ความต่อเนื่องของอุปทาน

•    ค่าใช้จ่ายและคุณภาพ

•    ทางเลือกต่าง ๆ สำหรับรายการสินค้าที่คุณภาพและระดับราคาต่าง ๆ

•    บริการฉุกเฉิน (จัดส่งสินค้ากะทันหัน)

•    เงื่อนไขการชำระหนี้ ระยะเวลาให้สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

-    รายการสินค้าคงคลังที่จะดำเนินการควบคุม อาจรวมถึง

•    อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งของสด ของแช่แข็ง และอาหารที่สำเร็จรูป เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

•    ผ้าลินินและเครื่องแบบพนักงาน

•    อุปกรณ์ทำความสะอาดและสารเคมี

•    เครื่องเขียน เครื่องใช้สำนักงาน

•    สินค้าทั้งหมดที่วางขายในร้าน

•    วัสดุส่งเสริมการขาย โบรชัวร์ ใบปลิว หนังสือโปสเตอร์และแคตตาล็อก

•    สินค้าคงคลังทั่วไป

-    บุคลากรที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมสินค้า อาจรวมถึง

•    เจ้าหน้าที่จัดซื้อ

•    เจ้าหน้าที่สโตร์

•    ผู้จัดการและเจ้าของ

•    หัวหน้าแผนก

-    ขั้นตอนในการบริหารและควบคุมสินค้าคงคลัง อาจเกี่ยวข้องกับ

•    การจัดซื้อ

•    การรับสินค้าเข้า

•    การจัดเก็บสินค้า

•    การจ่ายออก

•    การผลิต

•    การบริการ

•    ยอดขาย

-    เอกสาร อาจรวมถึง

•    เอกสารภายใน เช่น ใบสั่งซื้อ บัตรประจำสินค้า (Stock Card/Bin Card) ใบเบิกสินค้า ใบโอนย้ายสินค้า ใบตรวจนับสินค้า รายงานสินค้าคงเหลือ

•    เอกสารภายนอก เช่น ใบส่งสินค้า ใบกำกับภาษี รายงานการส่งมอบสินค้า ใบลดหนี้  

-    ความรู้เกี่ยวกับสินค้า อาจรวมถึง

•    คู่ค้าและตลาด

•    การทดสอบและการชิมอาหาร

•    การค้นคว้าหาข้อมูลจากเกษตรกร ผู้ผลิตและคู่ค้า

•    การได้รับตัวอย่างผลิตภัณฑ์

•    เข้าร่วมกิจกรรมทางอุตสาหกรรม การสัมมนา การเปิดตัวสินค้า และการประชุม

-    คู่ค้าที่เลือกใช้ ควรจะ

•    มีความสามารถในการผลิตเพื่อตอบสนองอุปทานขององค์กร

•    มีความต่อเนื่องในการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์

•    ส่งมอบสินค้าตรงเวลา และรองรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นได้

•    กำหนดการสั่งซื้อในปริมาณสูงสุด และต่ำสุดให้ชัดเจน

•    ระบุรายละเอียดราคาที่มีการแข่งขันรวมถึงการอ้างอิงถึงปริมาณและส่วนลดอื่น ๆ ข้อเสนอพิเศษส่วนลดและแรงจูงใจ

•    ระบุเงื่อนไขทางการเงิน เครดิตและการชำระเงิน

•    อ้างอิงจากลูกค้ารายอื่น ๆ ที่รับรองที่ระดับของความพึงพอใจต่อคู่ค้า

•    ระบุกระบวนการขั้นตอนซื้อขายและเวลาการส่งมอบของซัพพลายเออร์

•    สั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าในกรณีฉุกเฉิน นอกเวลาทำการ

-    การจัดซื้อตามความต้องการอาจรวมถึง

•    การพัฒนากระบวนการจัดซื้อตามรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ คำอธิบาย วิธีใช้ 

•    การดำเนินการทดสอบผลิตภัณฑ์

•    การใช้กระบวนการประมูลที่เหมาะสม

•    การควบคุมราคาและการทำแผนควบคุมราคา

•    รายละเอียดวงจรผลิตภัณฑ์

•    ความต้องการภายใน รวมถึงฤดูกาลและเหตุการณ์สถานะการณ์ปัจจุบัน  ประวัติและข้อมูลการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์และตัวเลขสต็อกคงเหลือ

•    ปริมาณการสั่งซื้อเมื่อเทียบจากเศรษฐกิจปัจจุบัน

•    การกำหนดขั้นต่ำและสูงสุดในการจัดซื้อ

-    เงื่อนไขการสั่งซื้ออาจจะหมายถึง

•    ตลาดการแข่งขันที่แตกต่างกัน

•    สัญญาซื้อขาย ใบเสนอราคา การเจรจาต่อรอง

•    เวลาที่ใช้ในการบริหารและการบัญชี การตรวจสอบและการชำระเงิน

•    ความแตกต่างระหว่างการซื้อปลีกและส่ง

•    การเปรียบเทียบการซื้อจากส่วนกลางก่อนการกระจายสินค้า

-    ตำแหน่งที่ทำการสั่งซื้อและคำสั่งซื้อซึ่งอาจรวมถึง

•    ยืนยันคำสั่งซื้อ

•    สายการสั่งซื้อ

•    คำสั่งซื้อ

•    คำสั่งซื้อทางโทรศัพท์

•    ยื่นคำสั่งซื้อที่มีพนักงานขาย/ผู้แทน

-    การตรวจสอบการส่งมอบอาจเกี่ยวข้องกับ

•    สถานที่จัดเก็บ

•    การตรวจสอบรับกับรายการสั่งซื้อ

•    การตรวจสอบสินค้าออกพร้อมกับการจัดส่งเอกสาร

•    การตรวจสอบรายละเอียดการกำหนดราคา

•    การตรวจสอบสต็อกกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์

-    การรับสินค้าเข้า ควรจะรวมถึง

•    ชื่อแบรนด์ ภาชนะ ขนาดแพคเกจ สีชนิด

•    ตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของรายการสินค้า

•    การสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยของอาหาร

•    มั่นใจได้ว่าสต็อคจะไม่ได้รับความเสียหาย

•    ปฏิบัติตามข้อกำหนดของความปลอดภัยด้านอาหาร 

-    เอกสารการจัดส่ง อาจเกี่ยวข้องกับ

•    เอกสารที่มีการลงนาม

•    เอกสารที่มีมูลค่าและการปฏิเสธไม่รับเข้าสต็อค

•    เงื่อนไขการจัดเก็บที่ต้องมี

•    การเก็บรักษาอาหารสดแช่เย็น แช่แข็ง

•    การเก็บรักษาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์

•    การเก็บรักษาสำหรับรายการอื่นๆ รวมทั้งผ้าลินิน เครื่องแบบ สารเคมี เครื่องเขียน อุปกรณ์

•    สินค้าและสื่อส่งเสริมการขาย

•    ปฏิบัติตามข้อกำหนดของแผนความปลอดภัยด้านอาหาร 

•    เงื่อนไขและกระบวนการในการลดการสูญเสียจากการโจรกรรม

•    หลักการหมุนเวียนของสินค้า

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ