หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมและจัดการฝึกอบรม

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-3-217ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมและจัดการฝึกอบรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเตรียมและจัดการฝึกอบรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความต้องการฝึกอบรม การเตรียมแผนการฝึกอบรม และการจัดฝึกอบรม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม  5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม  5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม  5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว  7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.08.097.01 กำหนดความต้องการของการฝึกอบรม 1.1 ระบุสมรรถนะปัจจุบันของผู้เรียน 3.08.097.01.01 47967
3.08.097.01 กำหนดความต้องการของการฝึกอบรม 1.2 ระบุสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน 3.08.097.01.02 47968
3.08.097.01 กำหนดความต้องการของการฝึกอบรม 1.3 ระบุช่องว่างสำหรับการฝึกอบรม (TrainingGap) สำหรับผู้เรียน 3.08.097.01.03 47969
3.08.097.01 กำหนดความต้องการของการฝึกอบรม 1.4 ตรวจสอบรายละเอียดการฝึกอบรมที่ระบุกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 3.08.097.01.04 47970
3.08.097.01 กำหนดความต้องการของการฝึกอบรม 1.5 กำหนดทรัพยากรที่มีอยู่สำหรับการฝึกอบรม 3.08.097.01.05 47971
3.08.097.01 กำหนดความต้องการของการฝึกอบรม 1.6 นำเสนอข้อเสนอแนะในปัจจุบันสำหรับการฝึกอบรม 3.08.097.01.06 47972
3.08.097.02 เตรียมแผนการฝึกอบรม 2.1 พัฒนาหัวข้อ/หลักสูตรสำหรับการฝึกอบรมที่ได้รับอนุมัติ 3.08.097.02.01 47973
3.08.097.02 เตรียมแผนการฝึกอบรม 2.2 พัฒนาเนื้อหาการฝึกอบรม 3.08.097.02.02 47974
3.08.097.02 เตรียมแผนการฝึกอบรม 2.3 พัฒนาสื่อการสอนที่จำเป็น 3.08.097.02.03 47975
3.08.097.02 เตรียมแผนการฝึกอบรม 2.4 พัฒนาการฝึกอบรมสำหรับแต่ละชั้นเรียน 3.08.097.02.04 47976
3.08.097.02 เตรียมแผนการฝึกอบรม 2.5 บริหารจัดการความต้องการฝึกอบรม 3.08.097.02.05 47977
3.08.097.03 จัดฝึกอบรม 3.1 ยืนยันการเข้าร่วมของผู้เรียน ณสถานที่จัดฝึกอบรม 3.08.097.03.01 47978
3.08.097.03 จัดฝึกอบรม 3.2 จัดเตรียมสถานที่ฝึกอบรม 3.08.097.03.02 47979
3.08.097.03 จัดฝึกอบรม 3.3 แนะนำหัวข้อการฝึกอบรมแก่ผู้เรียน 3.08.097.03.03 47980
3.08.097.03 จัดฝึกอบรม 3.4 อธิบายการฝึกอบรมและกิจกรรมในการประเมินผลที่เกี่ยวข้องในการฝึกอบรม 3.08.097.03.04 47981
3.08.097.03 จัดฝึกอบรม 3.5 ให้การอบรมหัวข้อนั้น ๆ 3.08.097.03.05 47982
3.08.097.03 จัดฝึกอบรม 3.6 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ 3.08.097.03.06 47983
3.08.097.03 จัดฝึกอบรม 3.7 ให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้เรียน 3.08.097.03.07 47984
3.08.097.03 จัดฝึกอบรม 3.8 ตรวจสอบความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องของผู้เรียนในระหว่างการอบรมและการทำกิจกรรม 3.08.097.03.08 47985

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะและความสามารถในการฝึกอบรมอาชีวศึกษา

-    ทักษะและความสามารถในการใช้งานวิจัยที่เหมาะสม การวางแผนการประสานงาน การเจรจาต่อรองและเทคนิคการนำเสนอก่อนที่จะมีการฝึกอบรม

-    ทักษะและความสามารถในการใช้งานระหว่างบุคคล การสื่อสารและความเป็นผู้นำเทคนิคที่เหมาะสมในระหว่างการฝึก

-    ทักษะและความสามารถในการระบุความแตกต่างของแต่ละกลุ่มของผู้เรียน

-    ทักษะความสามารถในการวางแผนการฝึกอบรมรวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือในการฝึกอบรมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนการฝึกอบรม

-    ทักษะและความสามารถที่ใช้กลยุทธ์ในการจัดฝึกอบรม เทคนิคสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมในสภาพแวดล้อมและในสถานที่ที่แตกต่างกัน

-    ทักษะและความสามารถในการพัฒนาแผนการฝึกอบรม

-    ทักษะและความสามารถในการบันทึกขั้นตอนการประเมินและการสนับสนุนที่จำเป็นต่อฝึกอบรม

   

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรในเรื่องการจัดหาสถานที่จัดฝึกอบรมและการประเมินผลหลังการฝึกอบรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    ดำเนินการฝึกอบรมที่ได้รับมอบหมายแล้วเสร็จ ในเวลาที่กำหนด

-    ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการฝึกอบรมโดยมีค่าไม่ต่ำไปกว่ามาตรฐานที่องค์กรกำหนด



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความสามารถในการใช้งานวิจัยที่เหมาะสม การวางแผนการประสานงาน การเจรจาต่อรองและเทคนิคการนำเสนอก่อนที่จะมีการฝึกอบรม

-    แสดงความสามารถในการใช้งานระหว่างบุคคล การสื่อสารและความเป็นผู้นำเทคนิคที่เหมาะสมในระหว่างการฝึก

-    แสดงความสามารถในการระบุความแตกต่างของแต่ละกลุ่มของผู้เรียน

-    แสดงความสามารถในการวางแผนการฝึกอบรมรวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือในการฝึกอบรมวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนการฝึกอบรม

-    แสดงความสามารถที่ใช้กลยุทธ์ในการจัดฝึกอบรม เทคนิคสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมในสภาพแวดล้อมและในสถานที่ที่แตกต่างกัน

-    แสดงความสามารถในการพัฒนาแผนการฝึกอบรม



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ทำแบบทดสอบกรณีศึกษา

-    ทดสอบความรู้โดยการสัมภาษณ์ 

-    ทดสอบความรู้โดยทำข้อสอบข้อเขียน 

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    ตั้งโจทย์ปัญหาและประเมินทักษะการแก้ปัญหา

-    ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานจากการจำลองสถานการณ์และ/หรือบทบาทสมมติ

-    พิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน

-    พิจารณาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    ระบุสมรรถนะในปัจจุบันอาจจะเกี่ยวข้องกับ

•    การสังเกตการปฏิบัติ

•    การทบทวนการดำเนินการ

•    การบริหารการประเมินตนเองและการวิเคราะห์รูปแบบให้กับแรงงาน

•    ตรวจสอบข้อมูลประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่มีอยู่ในระบบฐานข้อมูล

•    การตรวจสอบจากแบบฟอร์มใบสมัคร

•    หาข้อมูลจากผู้บริหารผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน

•    ผลลัพธ์ที่ได้รับจากการตอบรับจากลูกค้า

•    การตรวจสอบคุณสมบัติของใบรับรองและใบอนุญาต

•    การระบุความต้องการของผู้เข้าฝึกอบรมแต่ละคน

•    การประเมินระดับของความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย

•    ระบุความแตกต่างของศักยภาพในแต่ละคนที่จะเข้าฝึกอบรม เช่น




  •     เพศอายุ

  •     ระดับของแรงจูงใจ

  •     ระดับของความรู้และการคิดคำนวณหรือปัญหาภาษา

  •     ภาระผูกพันจากการทำงานที่อาจจะกระทบกับความพร้อมสำหรับการฝึกอบรม

  •     ความเชื่อมั่นในตัวเอง

  •     ระดับของความยาก-ง่ายของการฝึกอบรมที่จะประสบความสำเร็จ

  •     ประสบการณ์/ระยะเวลาในการทำงาน 

  •     ความพิการทางร่างกายหรือจิตใจ

  •     ปัญหาทางวัฒนธรรม

  •     วุฒิการศึกษา



-    ระบุสมรรถนะที่จำเป็นอาจรวมถึง

•    ตรวจสอบโปรแกรมการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง

•    ตรวจสอบแผนธุรกิจ

•    การทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องและวิธีการ

•    การตรวจสอบวิเคราะห์งานและหน้าที่ที่คล้ายกัน

•    อธิบายมาตรฐานการปฏิบัติงาน

•    การระบุเกณฑ์สินค้าและบริการ

•    อธิบายบริบทของสถานประกอบการภายใต้เงื่อนไขที่มี

-    ช่องว่างสำหรับการฝึกอบรม (Training Gap) อาจรวมถึง

•    ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังขององค์กรที่มีต่อผลการดำเนินงานของพนักงาน/ผู้เรียน และผลการดำเนินงานจริงที่เกิดขึ้น 

•    การยืนยันช่องว่างสำหรับการฝึกอบรมกับพนักงาน/ผู้เรียน 

-    บุคลากรที่เกี่ยวข้อง อาจรวมถึง

•    หัวหน้างาน ผู้จัดการและเจ้าของ

•    บุคลากรในอุตสาหกรรม

•    ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่าง ๆ

•    สำนักงานใหญ่

•    ผู้แทนสหภาพ

•    แผนกทรัพยากรบุคคล

•    พนักงาน/ผู้เรียน

•    การฝึกอบรมและการประเมิน

•    ที่ปรึกษาภายนอก

-    การสนับสนุนสำหรับการให้การฝึกอบรม อาจรวมถึง

•    ระยะเวลา

•    ทรัพยากรทางกายภาพ

•    ทรัพยากรมนุษย์

•    ทรัพยากรทางการเงิน

•    สถานที่ฝึกอบรม

•    ทรัพยากรการฝึกอบรมและวัสดุ

•    การสนับสนุนการจัดการที่ริเริ่มใหม่

-    คำแนะนำในปัจจุบัน อาจรวมถึง

•    ให้นำเสนอด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษร

•    อธิบายความจำเป็นในการฝึกอบรม

•    ค่าใช้จ่ายในที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม และค่าใช้จ่ายในกรณีล้มเหลว

•    อธิบายถึงผลประโยชน์ที่จะได้จากการดำเนินการฝึกอบรม

•    การระบุวิธีการประเมิน และการนำไปใช้

•    ปริมาณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฝึกอบรม

•    ขออนุมัติและการสนับสนุนจากผู้บริหารและอื่นๆ

-    การพัฒนาโครงสร้างการฝึกอบรม อาจรวมถึง

•    การยืนยันเนื้อหาหรือหัวข้อทั่วไปที่จำเป็นต้องบรรจุไว้ในการฝึกอบรม ตลอดจนรูปแบบการฝึกอบรม เช่น อบรมกลุ่ม/อบรมเดี่ยว มุ่งเน้นทฤษฎีหรือการสาธิตหรือทั้งสองอย่าง

•    ตั้งเนื้อหาการฝึกอบรมและเรียงลำดับหัวข้อการฝึกอบรม

•    การจัดสรรกรอบเวลาสำหรับเนื้อหาและหัวข้อการฝึกอบรม

•    กล่าวถึงวัตถุประสงค์และผลการฝึกอบรมของแต่ละบุคคล

•    หาข้อมูล หัวข้อ เนื้อหาการฝึกอบรม จากสถานที่ทำงานและผู้เชี่ยวชาญ

•    ได้รับอนุมัติจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอการฝึกอบรม

•    เสนอขอทรัพยากรสนับสนุนการฝึกอบรม

-    พัฒนาเนื้อหาการฝึกอบรมอาจรวมถึง

•    ความถูกต้องของเนื้อหา

•    ความครอบคลุมของเนื้อหา

•    ความสอดคล้องด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ

•    การตรวจสอบลำดับของเนื้อหาที่นำเสนอ

•    ปฏิบัติตามเอกสารหลักสูตรการฝึกอบรมที่ได้มาตรฐาน

•    ระบุหัวข้อและหัวข้อย่อยสำหรับการฝึกอบรม

•    การระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการฝึกอบรม

•    การระบุทัศนคติ ทักษะและความรู้สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอ

•    การระบุความต้องการ รายละเอียด และบริบทที่สถานที่ทำงานต้องการฝึกอบรม

•    เนื้อหาการฝึกอบรมสอดคล้องกับความต้องการของพนักงาน

•    เน้นความปลอดภัยของเนื้อหา และสถานที่ในการจัดฝึกอบรมทั้งหมด

-    การพัฒนาสื่อการสอนที่จำเป็น อาจรวมถึง

•    การใช้สื่อการสอนที่ตรงกับความต้องการขององค์กร

•    การระบุสื่อการสอน รวมทั้งคู่มือ ตำราหนังสือการทำงาน คู่มือการฝึกอบรม เอกสารประกอบคำบรรยาย ขั้นตอนการดำเนินงานมาตรฐาน โปสเตอร์ วิดีโอ รายการตัวอย่าง รายการสาธิต

•    พิจารณาความแพร่หลาย/เป็นที่นิยมและความมีอยู่ของสื่อการสอนในอนาคต

•    การจัดซื้อสื่อการสอนสำเร็จรูป

•    การจัดเตรียมสื่อการสอนเฉพาะสำหรับองค์กร

•    การดำเนินการเพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าสื่อการสอนและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องสะท้อนความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล ซึ่งรวมถึงรูปแบบการเรียนรู้ ข้อจำกัดด้านภาษา ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับตัวเลขหรือความสามารถในการเรียนรู้ 

•    ขอรับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญในองค์กร ผู้ฝึกอบรมอื่น หน่วยงานที่ให้บริการฝึกอบรม และพนักงานที่ลาออกไปแล้วหรือผู้เรียนในชั้นเรียนก่อนหน้า 

•    ทบทวนการประเมินผลของการฝึกอบรมครั้งก่อนและรวบรวมบทเรียนที่ได้รับกับการฝึกอบรมครั้งใหม่

-    การพัฒนาการฝึกอบรมแต่ละชั้นเรียน อาจรวมถึง

•    การจัดเตรียมชั้นเรียนสำหรับรายบุคลลหรือสำหรับกลุ่ม 

•    การระบุเนื้อหาการฝึกอบรมเป็นโปรแกรมการฝึกอบรมที่เหมาะสม

•    การระบุวันที่และเวลาสำหรับการฝึกอบรม 

•    การฝึกซ้อมเพื่อให้สามารถใช้ทักษะในการฝึกอบรมได้เต็มที่ 

•    การอนุญาตให้มีการประเมินผลการทำงานที่จำเป็น รวมถึงรูปแบบของการประเมินที่จะใช้ในการพัฒนาเครื่องมือในการประเมินที่จำเป็น

•    การกำหนดสถานที่สำหรับการจัดฝึกอบรม

•    การระบุกลยุทธ์การฝึกอบรมและเทคนิคที่จะนำมาใช้เพื่อนำเสนอเนื้อหา เช่น การนำเสนอด้วยปากเปล่า การจำลองการทำงาน ใช้วิทยากร การแสดงบทบาทสมมติ การสัมภาษณ์การตรวจหลักฐานการให้คำปรึกษา การฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การบรรยาย การอภิปราย

•    การระบุรายการวัสดุอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองที่จำเป็นในการฝึกอบรม

•    การฝึกอบรมต้องให้บรรลุวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่ระบุ

•    การพัฒนาแผน การทำแผนการฝึกอบรมของแต่ละบุคคล

•    การจัดการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับทรัพยากรเนื้อหาการฝึกอบรมของแต่ละบุคคล

•    โปรแกรมการฝึกอบรมทั้งหมดรองรับความต้องการของผู้เรียนทั้งหมด

•    รองรับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนที่ปฏิบัติแตกต่างกัน

-    บริหารจัดการความต้องการฝึกอบรม อาจรวมถึง

•    การได้รับงบประมาณทางการเงินและอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการฝึกอบรม 

•    การระบุทรัพยากรในการฝึกอบรม

•    การส่งเสริมการฝึกอบรมภายในให้กับพนักงาน 

•    การได้รับอุปกรณ์ที่จำเป็นและเครื่องอุปโภคบริโภคให้การสนับสนุนการจัดฝึกอบรม

•    จัดให้มีการสนับสนุนการฝึกอบรมจากภายนอก เช่น วิทยากร เจ้าหน้าที่รัฐบาล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง

•    การจัดเตรียมวัสดุสนับสนุนการฝึกอบรม

•    รายละเอียดการบันทึกของผู้เรียนที่ประสงค์จะมีส่วนร่วมในการฝึกอบรม

•    ความรับผิดชอบงบประมาณที่ใช้ในการเตรียมความพร้อมของการฝึกอบรมและการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ

•    เตรียมสถานที่ฝึกอบรม

•    การประชุมกับผู้บังคับบัญชา อธิบายถึงกระบวนการการฝึกอบรม พร้อมขอความร่วมมือในการจัดการฝึกอบรมและการให้ความช่วยเหลือ

•    การเข้าถึงพื้นที่และอุปกรณ์อื่น ๆ สำหรับการฝึกอบรม การประเมินผลรวมทั้งการสาธิตและการฝึกปฏิบัติ

•    ดูแลรักษาอุปกรณ์และสถานที่ที่จะใช้สำหรับการฝึกอบรม รวมถึงความเข้าใจในการวางแผนการจัดการเหตุฉุกเฉินที่ใช้กับสถานที่ในการฝึกอบรม

•    การระบุเกณฑ์การกำหนดประสิทธิภาพการฝึกอบรม

-    ยืนยันการเข้าร่วมของผู้เรียน อาจรวมถึง

•    ระบุเวลาและสถานที่ของการฝึกอบรม

•    ประสานงานกับผู้บังคับบัญชาที่ในการเปิดการฝึกอบรม

•    สนับสนุนผู้เรียนที่จะเข้าร่วมฝึกอบรม

•    ขอความร่วมมือจากพนักงานลงชื่อเข้าร่วมฝึกอบรม

-    จัดเตรียมสถานที่การฝึกอบรม อาจรวมถึง

•    ทำความสะอาดและจัดระเบียบสถานที่

•    มั่นใจว่าอุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งหมดสามารถใช้งานได้

•    ตรวจสอบความพร้อมในการดำเนินงานและความปลอดภัยของอุปกรณ์

•    การทดสอบทุกขั้นตอนของการฝึกอบรม

•    การปรับสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับผู้เรียน

•    การเตรียมอาหารสำหรับผู้เรียน

•    จัดสรรทรัพยากรและวัสดุในการฝึกอบรมและวัสดุ รวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภค

•    การจัดเฟอร์นิเจอร์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกอบรม

-    แนะนำหัวข้อการฝึกอบรมอาจรวมถึง

•    อธิบายความจำเป็นในการฝึกอบรม

•    สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียน

•    การเสนอผลประโยชน์ให้กับผู้เรียนเมื่อประสบความสำเร็จในการฝึกอบรม

•    ตัวอย่างทางอุตสาหกรรมและการอ้างอิงประกอบ

•    การระบุผลของการฝึกอบรมสำหรับผู้เรียนแต่ละแผนกและองค์กร

•    อธิบายวิธีการฝึกอบรมตามความเหมาะสม

•    อธิบายโอกาสสำหรับการจัดฝึกอบรม

•    อธิบายขั้นตอนการประเมินที่เหมาะสม

•    การระบุช่วงเวลาที่ใช้กับการเรียนรู้

•    ให้ภาพรวมของการฝึกอบรม

-    อธิบายการฝึกอบรมและกิจกรรมการประเมิน อาจรวมถึง

•    อธิบายข้อ จำกัด เวลาที่ใช้กับทั้งการฝึกอบรมและการประเมินผล

•    การระบุระดับของสมรรถนะ (Competency) ที่ต้องการ

•    จับคู่กิจกรรมที่เสนอกับหัวข้อการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

•    อธิบายข้อผิดพลาดในการฝึกอบรมและกิจกรรมการประเมิน

•    ยืนยันการฝึกอบรมและการระบุวันที่ เวลาและสถานที่

•    อธิบายการประเมินรวมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

-    โอกาสสำหรับผู้เรียนในการฝึก อาจรวมถึง

•    โอกาสที่จะฝึกปฏิบัติในระหว่างการฝึกอบรม

•    โอกาสที่จะฝึกปฏิบัติในสถานที่เฉพาะ/นอกสถานที่ปฏิบัติงาน 

•    โอกาสที่จะได้รับการดูแลในระหว่างการปฏิบัติงาน ซึ่งรวมถึงการควบคุมดูแลโดยผู้ฝึกอบรม หัวหน้างาน และพนักงานอาวุโสอื่น ๆ

•    การบูรณาการโอกาสในหน้าที่งานและนอกหน้าที่งาน 

-    ให้ข้อเสนอแนะในการเรียน อาจรวมถึง

•    ข้อเสนอแนะโดยตรง

•    ใช้การตอบรับเชิงบวกเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้เรียน

•    ความพยายามและการไม่ประสบความสำเร็จของการรับรู้

•    ให้ข้อเสนอแนะเชิงลบโดยใช้วิธีการชั่งน้ำหนักบวกลบ

•    ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นความจริง

•    การเป็นผู้ให้คำปรึกษาข้อเสนอแนะจากผู้เรียน

•    การใช้เทคนิคในการให้ข้อเสนอแนะด้วยวาจาและที่ไม่ใช่คำพูด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ