หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อ่านข้อมูลทั่วไปและสื่อต่างๆ

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-2-209ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อ่านข้อมูลทั่วไปและสื่อต่างๆ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับการอ่านข้อมูลทั่วไปและสื่อต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุวัตถุประสงค์ของข้อมูลหรือสื่อที่อ่าน การประยุกต์กลยุทธ์การอ่านเพื่อจับใจความ และการประยุกต์กลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม  5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม  5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม  5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว  7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ   

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.10.116.01 ระบุวัตถุประสงค์ของข้อมูลหรือสื่อที่อ่าน 1.1 พิจารณาสาระที่ปรากฏอยู่ในข้อมูลทั่วไปหรือสื่อที่อ่าน 3.10.116.01.01 48205
3.10.116.01 ระบุวัตถุประสงค์ของข้อมูลหรือสื่อที่อ่าน 1.2 พิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลหรือสื่อ 3.10.116.01.02 48206
3.10.116.01 ระบุวัตถุประสงค์ของข้อมูลหรือสื่อที่อ่าน 1.3 พิจารณาการชี้แจงหรือการอธิบายที่ปรากฏ 3.10.116.01.03 48207
3.10.116.01 ระบุวัตถุประสงค์ของข้อมูลหรือสื่อที่อ่าน 1.4 พิจารณาแนวทางการบรรยาย/พรรณาของข้อมูลทั่วไปหรือสื่อ 3.10.116.01.04 48208
3.10.116.02 ประยุกต์กลยุทธ์การอ่านเพื่อจับใจความ 2.1 ใช้เทคนิคการอ่านอย่างเร็วเพื่อดึงความหมายหลัก/ใจความสำคัญขึ้นมา 3.10.116.02.01 48209
3.10.116.02 ประยุกต์กลยุทธ์การอ่านเพื่อจับใจความ 2.2 ใช้เทคนิคการอ่านผ่านเพื่อหาข้อความเฉพาะ/สำคัญ 3.10.116.02.02 48210
3.10.116.03 ประยุกต์กลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3.1 วิเคราะห์และระบุความเอนเอียงหรือการกล่าวอ้างเกินจริงที่มีอยู่ 3.10.116.03.01 48211
3.10.116.03 ประยุกต์กลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3.2 อ่าน/ค้นหาส่วนสำคัญที่มักไม่ได้รับความสนใจในเอกสาร 3.10.116.03.02 48212
3.10.116.03 ประยุกต์กลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3.3 ประเมินความถูกต้องของเนื้อหาที่เขียน 3.10.116.03.03 48213
3.10.116.03 ประยุกต์กลยุทธ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3.4 สังเคราะห์สิ่งที่อ่านด้วยการแสดงความเข้าใจเรื่องทั้งหมด 3.10.116.03.04 48214

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการประยุกต์เทคนิคการอ่านอย่างรวดเร็วเพื่อดึงความหมายหลัก/ใจความสำคัญ

-    ทักษะการประยุกต์เทคนิคการอ่านผ่านเพื่อหาข้อความเฉพาะ/สำคัญ

-    ทักษะการประยุกต์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

-    ทักษะการวิเคราะห์และระบุความเอนเอียงหรือการกล่าวอ้างเกินจริง 

-    ทักษะการประเมินความถูกต้องของเนื้อหาที่เขียน

-    ทักษะการสังเคราะห์ข้อมูล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    สามารถระบุรูปแบบต่างๆ ของข้อมูล เช่น การให้ข้อมูล คำสั่ง การเชิญชวน และการอธิบายรายละเอียด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคนิคการอ่านเอาเรื่องและการอ่านอย่างรวดเร็ว

-    แสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคนิคการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ อ่านการวิเคราะห์ การประเมิน และการสังเคราะห์เนื้อหา



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความสามารถในการระบุวัตถุประสงค์รูปแบบต่างๆ ของข้อมูลหรือสื่อ



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ทดสอบความรู้ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ/หรือแบบทดสอบความรู้

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    จัดทำรายงานสรุป

-    การประเมินจากหน่วยงานภายนอก

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    ข้อมูลทั่วไปหรือสื่อต่าง ๆ หมายถึง

•    งานเขียน (ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ที่เป็นบทความในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร 

•    ข้อเท็จจริง (Factual Information) หนังสือทั่วไป หนังสือตำรา คู่มือปฏิบัติงาน 

•    โบร์ชัวร์ สื่อโฆษณา จดหมายส่งเสริมการขายและจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 

•    สูตรอาหาร รายการอาหาร 

•    ตารางการนัดหมาย 

•    แผนที่อากาศ/รายงานการพยากรณ์อากาศ 

•    ตารางอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 

•    ข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ

-    ข้อมูล/สื่อที่ต้องการโน้มน้าวหรือเชิญชวน มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ 

•    การใช้รูปแบบของคำกริยาที่แสดงถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

•    ใช้ตัวหนังสือพิมพ์ใหญ่ (Capital Letters) ในภาษาอังกฤษ 

•    ใช้ประโยคที่เป็นคำอุทาน หรือใช้คำที่เลียนเสียงธรรมชาติ (มักจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ต่อท้าย) 

•    ใช้การตั้งคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ (Rhetorical Questions) 

•    การให้เหตุผลข้างเดียว (One-sided Arguments) 

-    ข้อมูล/สื่อที่ต้องการให้คำแนะนำหรือการสั่งการ เป็นการอรรถาธิบายวิธีการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ลักษณะของข้อมูล/สื่อประเภทนี้ ได้แก่ 

•    การใช้ประโยคคำสั่ง 

•    การใช้สรรพนามบุรุษที่สอง 

•    การใช้กริยาช่วยประเภท Modal Verbs (เช่น must, need, should เป็นต้น) เพื่อแสดงความเป็นไปได้ในระดับต่าง ๆ 

-    ข้อมูล/สื่อที่ต้องการบรรยายหรือพรรณนา (พรรณนาโวหาร) มักจะ

•    เป็นการกล่าวถึงความงามของธรรมชาติ สถานที่ เหตุการณ์ อาหาร วัฒนธรรม ประเพณี หรือ ความรู้สึกนึกคิดอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้ง ประทับใจและเกิดอารมณ์ความรู้สึก คล้อยตาม โดยใช้ถ้อยคำที่มีความไพเราะ และความหมายที่ลึกซึ้ง น่าสนใจ 

•    พรรณนาโวหารมักใช้คำคุณศัพท์หรือคำวิเศษณ์ ใช้การเปรียบเทียบขั้นกว่าหรือขั้นสูงสุด คำศัพท์ที่ใช้ในการพรรณณามักจะปรากฏในรูปแบบ Tense ต่าง ๆ ทั้ง 5 Tensesหลัก (Present Simple, Present Continuous, Past Simple, Present Perfect และ Future Simple) 

-    การอ่านอย่างเร็ว หรือ Skimming Reading คือ การอ่านข้อความอย่างเร็ว ๆ เป็นจุด ๆ เช่น อ่าน 2-3 คำแรก หรือ 2-3 ประโยคแรกแล้วข้ามไป อ่านเฉพาะหัวข้อใหญ่ และ/หรือหัวข้อย่อย หรืออ่านเฉพาะประโยคแรกและประโยคท้ายสุดของแต่ละย่อหน้า หรืออ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ ๆ เพื่อเก็บประเด็นหรือใจความสำคัญ และเพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญบางอย่าง

-    การอ่านผ่าน หรือ Scanning Reading เป็นการอ่านอย่างเร็ว ๆ คร่าว ๆ เพื่อจับประเด็นที่ต้องการ เช่น ชื่อคน เวลา ราคา เบอร์โทรศัพท์ เวลาเที่ยวบินขาออก สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีให้บริการ ระเบียบการสั่งซื้อขั้นต่ำ ราคาในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season Rate) หรือนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Low Season Rate) เป็นต้น

-    การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Reading) เป็นการอ่านที่ใช้เหตุและผลในการพิจารณาเหตุและผลที่นำเสนอไว้ในงานเขียน เนื่องจากงานเขียนมักจะต้องการนำเสนอข้อมูล ประเด็นความคิด แนวคิด หรือสารบางอย่างสู่ผู้อ่าน โดยใช้กลวิธีที่ทำให้ประเด็นต่างๆ มีความน่าเชื่อถือ โดยการให้เหตุผล ประจักษ์หลักฐาน หรือข้อมูลสนับสนุนในลักษณะต่าง ๆ เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความเชื่อว่า สิ่งที่เขียนนั้นเป็นจริงหรือควรเชื่อ ในขณะที่ผู้อ่านจำเป็นต้องตรวจสอบการให้เหตุผลในงานเขียน ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ อย่างไร การอ่านอย่างมีวิจารณญาณทำให้ผู้อ่านสามารถ

•    บอกได้ว่าการนำเสนอสารหรือแก่นเรื่องที่อ่านนั้น มีความถูกต้องหรือสมเหตุสมผลมากน้อยเพียงใด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่พบหรือได้รับทางอินเทอร์เน็ต)

•    ข้อมูลที่นำมาประกอบการสนับสนุนแก่นเรื่องหรือประเด็นความคิดนั้น มีความถูกต้อง/น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

•    อ่านเพื่อนำข้อเท็จจริงไปใช้ปฏิบัติ เช่น ในกรณีค่าปรับ/ค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บเพิ่มเติมเมื่อยกเลิกบริการ

-    การสังเคราะห์ข้อมูลหมายถึงความสามารถในการรวมองค์ประกอบหรือปัจจัยต่าง ๆ เข้าเป็นเรื่องหนึ่งเดียวกัน โดยที่กลั่นกรองและย่อความสารสนเทศในแต่ละเรื่อง หรือแต่ละแนวคิด จากหนึ่งแหล่งหรือมากกว่าหนึ่งแหล่ง และนำเสนอใหม่ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ