หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-2-207ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประเมินสถานการณ์ การประยุกต์ใช้เทคนิคการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการสื่อสารรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
5121(ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม  4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม 5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว  7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ  5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม   

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.01.012.01 ประเมินสถานการณ์ 1.1 ระบุอันตรายทางกายภาพของตนเองรวมถึงสุขภาพและความปลอดภัยของบุคคลอื่น 3.01.012.01.01 47747
3.01.012.01 ประเมินสถานการณ์ 1.2 ลดความเสี่ยงในปัจจุบันที่มีต่อภัยส่วนบุคคลสุขภาพ และความปลอดภัยโดยควบคุมสภาวะที่ทำให้เกิดความเสียหายตามแนวปฏิบัติมาตรฐาน 3.01.012.01.02 47748
3.01.012.01 ประเมินสถานการณ์ 1.3 ประเมินอาการบาดเจ็บและสภาพร่างกายตามแนวปฏิบัติมาตรฐาน 3.01.012.01.03 47749
3.01.012.02 ประยุกต์ใช้เทคนิคการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2.1 ดำเนินการปฐมพยาบาลตามขั้นตอนที่กำหนดด้วยอุปกรณ์และทรัพยากรที่มีอยู่ 3.01.012.02.01 47750
3.01.012.02 ประยุกต์ใช้เทคนิคการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2.2 ติดตามดูแลอาการบาดเจ็บและตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บตามหลักการปฐมพยาบาลที่ได้รับการยอมรับและตามแนวทางขององค์กร 3.01.012.02.02 47751
3.01.012.02 ประยุกต์ใช้เทคนิคการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2.3 ขอความช่วยเหลือปฐมพยาบาลจากบุคคลอื่นในเวลาที่เหมาะสม และตามความเหมาะสม 3.01.012.02.03 47752
3.01.012.02 ประยุกต์ใช้เทคนิคการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2.4 บันทึกการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บการตามขั้นตอนขององค์กร 3.01.012.02.04 47753
3.01.012.03 สื่อสารรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ 3.1 ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการสื่อสารที่เป็นไปได้และเหมาะสม 3.01.012.03.01 47754
3.01.012.03 สื่อสารรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ 3.2 ชี้แจงรายละเอียดการบาดเจ็บและการให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องแก่หน่วยบริการฉุกเฉิน 3.01.012.03.02 47755
3.01.012.03 สื่อสารรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ 3.3 จัดทำรายงานให้ผู้บังคับบัญชาในเวลาที่เหมาะสมนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตามแนวทางขององค์กร 3.01.012.03.03 47756

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะหรือเทคนิคพื้นฐานของการปฐมพยาบาล

-    ทักษะการรับมือกับสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อชีวิต

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการปฐมพยาบาล

-    ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    สามารถให้การปฐมพยาบาลในลักษณะที่ได้รับมอบหมาย หรือให้การปฐมพยาบาลขั้นต่ำที่องค์กรกำหนด เช่น การพันผ้า การเข้าเฝือกชั่วคราว การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การห้ามเลือด การปฐมพยาบาลสิ่งมีพิษกัดต่อย การช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บเนื่องจากเหตุต่างๆ เป็นต้น 

-    แสดงความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ที่เป็นภัยคุกคามต่อชีวิต จากสถานการณ์จำลองที่กำหนด



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการปฐมพยาบาล



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

(ง)    วิธีการประเมิน

-    ทดสอบความรู้โดยการสัมภาษณ์ 

-    ทดสอบความรู้โดยทำข้อสอบข้อเขียน 

-    สังเกตการปฏิบัติงานหน้างาน 

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานจากการจำลองสถานการณ์และ/หรือบทบาทสมมติ

-    พิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน

-    พิจารณาผลการประเมินจากหน่วยงานภายนอก

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    อันตรายทางกายภาพหมายถึง 

•    อันตรายในที่ทำงานที่เกิดจากเครื่องจักร 

•    อันตรายในที่ทำงานที่เกิดจากยานพาหนะ 

•    อันตรายในที่ทำงานที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม 

•    อันตรายที่เกิดจากระบบการบริหารหารจัดการผู้บาดเจ็บ เช่น โดนกัด หรือผู้บาดเจ็บที่ยังสับสนมีอาการบ้าคลั่งจนเป็นอันตรายต่อผู้อื่น

•    อันตรายจากสารคัดหลั่ง 

•    ความเสี่ยงด้านการบาดเจ็บอื่นๆที่นำไปสู่การเสียเชียวิต

-    สัญญาณชีพของผู้บาดเจ็บและสภาพร่างกาย หมายถึง

•    การตอบสนองว่าร่างกายรู้สึกตัวหรือไม่ 

•    ระบบการการหายใจติดขัดหรือไม่ 

•    อาการที่เกี่ยวข้องกับการหายใจว่าหายใจเป็นปกติหรือไม่ มีปัญหาเกี่ยวกับปอดหรือไม่ 

•    การไหลเวียน เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการเต้นของชีพจรว่าอ่อนแรงหรือไม่ 

•    การบาดเจ็บของคอและหลัง 

•    อาการช็อค 

•    อาการแพ้ 

•    เลือดออก

-    การจัดการการปฐมพยาบาล อาจรวมถึง 

•    การจัดการกับเลือดที่ไหล 

•    การจัดการกับสภาวะช็อค 

•    การจัดการบาดแผลเล็กๆและ

•    การควบคุมการติดเชิ้อ 

•    การจัดการบาดแผลที่โดนพิษ ติดเชื้อ 

•    การควบคุมอาการแพ้ สภาวะภูมิแพ้  

•    การจัดการกระดูกที่แตก 

•    การจัดการบาดแผลที่ศรีษะและกระดูกสันหลัง 

•    การจัดการอาการหืดหอบ 

-    การปฐมพยาบาล รวมถึง 

•    เทคนิคการช่วยชีวิต 

•    การช่วยชีวิตโดยการเป่าลมหายใจทางปาก (CPR)  

•    การห้ามเลือดและบาดแผล 

•    การเยียวยาแผลที่ถูกไฟไหม้และน้ำร้อนลวก 

•    การควบคุมการติดเชื้อ

•    การพันแผลและการเข้าเฝือก

-    การขอความช่วยเหลือปฐมพยาบาลอาจรวมถึง 

•    การหาคนช่วย 

•    การหาผู้ปฐมพยาบาล 

•    การเรียกรถพยาบาล 

•    การช่วยเหลือทางการแพทย์

-    รายละเอียด อาจเกี่ยวข้องกับ

•    เงื่อนไขสภาพร่างกายของผู้บาดเจ็บ

•    สถานที่เกิดเหตุ

•    การจัดหาผู้ช่วยเหลือ

•    จำนวนของผู้บาดเจ็บหรือผู้เสียชีวิต

•    ความต้องการการช่วยเหลือ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ