หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติหน้าที่และบริหารงานแผนกซักรีด

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-1-201ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติหน้าที่และบริหารงานแผนกซักรีด

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่และบริหารงานแผนกซักรีด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดบทบาทของแผนกซักรีดภายในองค์กร (On-premise Laundry – OPL) การเก็บและคัดแยกผ้าลินินที่ใช้แล้ว การซักและรีดผ้า การจัดทำและรักษาข้อมูลรายการซักผ้า และการดำเนินการบำรุงรักษา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3.03.135.01 กำหนดบทบาทของแผนกซักรีดภายในองค์กร (On-premise Laundry – OPL) 1.1 กำหนดประเภทของผ้าลินินที่จะซักรีดภายในโรงแรม 3.03.135.01.01 48368
1.2 กำหนดความต้องการของการซักรีดและ/หรือจำนวนของผ้าที่OPL สามารถรองรับได้ 3.03.135.01.02 48369
1.3 กำหนดจำนวนผ้าที่จะจัดเก็บไว้ในห้องเก็บผ้า 3.03.135.01.03 48370
1.4 กำหนดสารเคมีที่ใช้ในการซักรีดภายในโรงแรม 3.03.135.01.04 48371
1.5 นำเสนอแนวคิดเรื่องเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับOPL 3.03.135.01.05 48372
1.6 นำเสนอแนวคิดเรื่องคุณลักษณะและตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานในแผนกซักรีด 3.03.135.01.06 48373
3.03.135.02 เก็บและคัดแยกผ้าลินินที่ใช้แล้ว 2.1 เก็บผ้าลินินที่ใช้แล้วจากห้องพักลูกค้า 3.03.135.02.01 48374
2.2 เก็บผ้าลินินจากห้องอาหาร 3.03.135.02.02 48375
2.3 ขนย้ายผ้าที่ใช้แล้วไปยังแผนกซักรีด 3.03.135.02.03 48376
2.4 คัดแยกผ้า 3.03.135.02.04 48377
2.5 ขจัดรอยเปื้อนเฉพาะจุดด้วยสารเคมีก่อนนำไปซัก 3.03.135.02.05 48378
3.03.135.03 ซักและรีดผ้า 3.1 ชั่งน้ำหนักผ้าที่จะซัก 3.03.135.03.01 48379
3.2 กำหนดเวลาและอุณหภูมิของการซักผ้า 3.03.135.03.02 48380
3.3 เลือกสารเคมีที่เหมาะสมสำหรับการซักผ้า 3.03.135.03.03 48381
3.4 ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าตามขั้นตอน 3.03.135.03.04 48382
3.5 อบผ้าด้วยเครื่องอบผ้าตามขั้นตอน 3.03.135.03.05 48383
3.6 รีดผ้าด้วยมือหรือด้วยเครื่องรีดผ้าแล้วแต่กรณี 3.03.135.03.06 48384
3.7 ตรวจและพับผ้า 3.03.135.03.07 48385
3.8 นับและบรรจุผ้าเพื่อการจัดส่ง 3.03.135.03.08 48386
3.9 ส่งคืนผ้าที่มีรอยเปื้อนหรือขาดที่ไม่พร้อมใช้งาน 3.03.135.03.09 48387
3.10 เก็บผ้าในสถานที่ที่กำหนด 3.03.135.03.10 48388
3.11 ขนย้ายผ้าไปยังสถานที่ที่ต้องการใช้ 3.03.135.03.11 48389
3.03.135.04 จัดทำและรักษาข้อมูลรายการซักผ้า 4.1 จดบันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการซักผ้าสำหรับใช้ภายใน 3.03.135.04.01 48390
4.2 จดบันทึกข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการซักผ้าสำหรับใช้ภายนอก 3.03.135.04.02 48391
3.03.135.05 ดำเนินการบำรุงรักษา 5.1 ดำเนินการบำรุงรักษาตามคู่มือการบำรุงรักษา 3.03.135.05.01 48392
5.2 จัดการบำรุงรักษาโดยหน่วยงานภายนอก 3.03.135.05.02 48393

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    เทคนิคการซักน้ำ (Laundry Technology) ตั้งแต่การใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ ผงซักผ้า เคมีต่าง ๆ ชนิดของผ้าและเส้นใย การคัดแยกชนิดของงานซักผ้า ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการป้องกันความปลอดภัยในระหว่างการทำงาน

-    เทคนิคการรีดผ้าซักน้ำ (Laundry Finishing Technology) ตั้งแต่การใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการรีดผ้าลินินที่ซักน้ำ เช่น เครื่องรีดแบบลูกกลิ้ง (Flat-ironer) เครื่องอบผ้า (Tumblers) เครื่องพับผ้า (Folder) เป็นต้น กำลังผลิตของเครื่องจักรแต่ละชนิด และวิธีการตรวจเช็คคุณภาพงานของผ้าที่รีดแล้ว

-    เทคนิคการซักแห้ง (Dry-Cleaning Technology) เทคนิคการซักแห้งขั้นพื้นฐาน การคัดเลือกผ้า การขจัดคราบเปื้อน เครื่องซักแห้งและการใช้เครื่อง การรีดผ้าซักแห้ง ตอลดจนเครื่องมือและอุปกรณ์ในการป้องกันความปลอดภัยในระหว่างทำงาน

-    เทคนิคการรีดผ้าซักแห้ง (Garment Finishing) เครื่องมือที่ใช้ในการรีด การใช้ไอน้ำและแรงอัด ระบบดูดความชื้น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรเกี่ยวกับการให้บริการซักรีด และการบริหารงานห้องผ้า

-    ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์และผงซักผ้าและเคมีต่าง ๆ

-    ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับน้ำทิ้งจากแผนกซักรีด 

-    ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของเส้นใยผ้าแต่ละประเภท ตลอดจนสัญญลักษณ์การดูแลรักษาผ้า

-    ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะและตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานตำแหน่งต่าง ๆ ในแผนกซักรีด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องในแผนกซักรีดตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้ง เครื่องสลัดผ้า เครื่องรีดผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องปั๊มหมายเลขผ้า เครื่องบรรจุผ้า 

-    แสดงความสามารถในการขจัดรอยเปื้อนพิเศษ หรือรอยเปื้อนเฉพาะจุด

-    แสดงความสามารถในการบริหารจัดการแผนกซักรีด และการดำเนินการด้านเอกสารของหน่วยงาน โดยบรรลุเป้าหมายของแผนกซักรีดที่ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับผ้าที่ขาวและสะอาด ทันเวลา และค่าใช้จ่ายอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณที่กำหนด

-    แสดงความสามารถในการให้บริการซักรีดผ้าแก่ลูกค้าของโรงแรม (Guest Laundry Service) ตั้งแต่การเก็บผ้า การคัดเลือกผ้าและการทำเครื่องหมาย ขบวนการซักน้ำและซักแห้ง ขบวนการรีดผ้า การตรวจเช็คคุณภาพ การจัดเตรียมเสื้อผ้าและบรรจุห่อ และการนำเสื้อผ้าที่ซักรีดแล้วส่งคืนแขก



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรเกี่ยวกับการให้บริการซักรีด และการบริหารงานห้องผ้า กฎหมายหรือข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับน้ำทิ้งจากแผนกซักรีด และคุณลักษณะและตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานตำแหน่งต่าง ๆ ในแผนกซักรีด

-    แสดงความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีในการซักผ้า คุณลักษณะเฉพาะของเส้นใยผ้าแต่ละประเภท และการอ่านสัญลักษณ์การดูแลรักษาผ้า



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    ทำแบบทดสอบกรณีศึกษา

-    ทดสอบความรู้โดยการสัมภาษณ์ 

-    ทดสอบความรู้โดยทำข้อสอบข้อเขียน 

-    สังเกตการปฏิบัติงานหน้างาน 

-    มอบหมายงาน/โครงการ

-    ตั้งโจทย์ปัญหาและประเมินทักษะการแก้ปัญหา

-    ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานจากการจำลองสถานการณ์และ/หรือบทบาทสมมติ

-    พิจารณาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

-    การกำหนดประเภทของผ้าลินินที่จะซักรีดภายในโรงแรม และการกำหนดความต้องการของการซักรีดและ/หรือจำนวนของผ้าที่ OPL สามารถรองรับได้ มีข้อควรพิจารณาได้แก่ 

•    การเปรียบเทียบกับบริการที่จะได้รับจากหน่วยงานภายนอก ทั้งค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น อัตราการสิ้นเปลืองของผ้าลินิน เวลาในการรับและส่งผ้าลินิน

•    ข้อจำกัดด้านสถานที่และเครื่องมือในการปฏิบัติงาน

•    จำนวนแขกที่เข้าพัก จำนวนแขกที่ใช้บริการห้องอาหารและเครื่องดื่ม

•    ช่วงเวลาที่กิจกรรมในโรงแรมสูงสุด

•    การตัดสินใจให้บริการซักรีดและซักแห้งให้กับลูกค้าที่เข้าพัก 

-    การใช้สารเคมีสำหรับการซักรีด มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กำจัดสิ่งสกปรกที่ตกค้างบนผ้า และยังควรช่วยถนอมเส้นใยผ้าให้ใช้ได้ยาวนานขึ้น สารเคมีที่ใช้ในแผนกซักรีดหมายรวมถึง

•    ผงซักฟอก

•    เคมีเสริมด่าง (Builder) 

•    สารฟอกขาว (Bleach) 

•    ผงล้างผ้า

•    น้ำยาปรับผ้านุ่ม

•    ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบไขมัน

•    แป้งลงผ้า

•    เคมีขจัดรอยเปื้อนเฉพาจุด

•    น้ำยาซักแห้ง

-    ตำแหน่งหน้าที่ของพนักงานในแผนกซักรีด หมายรวมถึง

•    หัวหน้าแผนกซักรีด และผู้ช่วย

•    หัวหน้างานย่อย (Supervisor) 

•    พนักงานซักผ้า

•    พนักงานรีดผ้า

•    พนักงานรับผ้า (Valet Boy) 

•    พนักงานตรวจสอบผ้า (Checker) 

•    เสมียนห้องผ้า

-    การเก็บผ้าลินินที่ใช้แล้ว รวมถึง

•    ผ้าลินินที่ใช้แล้วจากห้องพักลูกค้า

•    ผ้าลินินที่ใช้แล้วจากห้องอาหาร

•    วิธีการเก็บผ้าควรไม่ทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น หรือสกปรกมากขึ้น

•    คัดแยกผ้าตามความสกปรก หรือผ้าที่มีคราบอาหารติดอยู่แยกออกต่างหาก เช่น บรรจุในภาชนะต่างหาก หรือมัดปมผ้าเพื่อแสดงสัญญลักษณ์

•    ระมัดระวังไม่ให้อุปกรณ์ในห้องอาหาร เช่น ช้อม ส้อม มีด ปะปนไปกับผ้าที่ใช้แล้ว

-    การขนย้ายผ้าที่ใช้แล้วไปยังแผนกซักรีด หมายรวมถึง

•    การขนย้ายด้วยมือ หรือรถเข็น

•    ใช้ความระมัดระวัง ไม่ทำให้ผ้าสกปรกมากขึ้น หรือสร้างความอันตรายให้เกิดขึ้นแก่ตัวพนักงานเองหรือผู้อื่น

•    อุปกรณ์ควรช่วยให้พนักงานสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องตามหลักการยศาสตร์





-    การคัดแยกผ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อ

•    พิจารณาจากความสกปรกของผ้า และชนิดของผ้า

•    เพื่อให้สามารถเลือกใช้สารเคมี อุณหภูมิ ได้เหมาะสมกับการซักผ้า

•    เพื่อให้สามารถขจัดรอยเปื้อนเฉพาะจุดด้วยสารเคมีก่อนนำไปซัก

-    การขจัดรอยเปื้อนเฉพาะจุดด้วยสารเคมีก่อนนำไปซัก หมายถึง

•    การแยกชนิดของผ้าเพื่อให้เลือกใช้สารเคมีได้อย่างเหมาะสม

•    แยกประเภทของรอยเปื้อน

•    ทดสอบน้ำยาขจัดรอยเปื้อนบนผ้า เพื่อดูผลต่อผ้า และผลต่อสีผ้า

•    ขจัดรอยเปื้อนทันที

•    ทิ้งระยะเวลาให้น้ำยาขจัดรอยเปื้อนได้ทำงาน

•    ล้างน้ำยาขจัดรอยเปื้อนให้หมด     

-    การชั่งน้ำหนักผ้าที่จะซัก มีวัตถุประสงค์เพื่อ

•    ป้องกันไม่ให้ใช้เครื่องซักผ้าทำงานเกินความสามารถของเครื่อง

•    เป็นการวัดผลผลิตของแผนกซักรีด

-    การเก็บผ้า หมายรวมถึง

•    การเก็บผ้าในสถานที่ที่เหมาะสม ระบายอากาศได้ดี

•    เก็บผ้าแยกตามประเภทและขนาด

•    พิจารณาถึงระยะเวลาการพักผ้าเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของผ้า

-    การขนย้ายผ้า หมายรวมถึง

•    การแยกการใช้งานรถเข็นผ้า ระหว่างรถเข็นผ้าสะอาดและรถเข็นผ้าสกปรก 

•    ใช้ผ้าคลุมเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก    

-    ข้อมูล รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการซักผ้า หมายถึง

•    รายงานการปฏิบัติงาน

•    รายละเอียดแรงงานที่ใช้ปฏิบัติงาน

•    การใช้สารเคมี

•    รายงานการทำงานของเครื่องจักร

•    คำร้องขอให้ซ่อมแซม/บำรุงรักษาเครื่องจักร

•    เอกสารสำหรับการเรียกเก็บเงินจากลูกค้า

•    รายละเอียดของลูกค้าที่ใช้บริการ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน