หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดระบบประเมินผลการฝึกอบรม

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-5-189ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดระบบประเมินผลการฝึกอบรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดระบบประเมินผลการฝึกอบรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการประเมิน การให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร การจัดเก็บบันทึกการประเมิน การควบคุมกระบวนการประกันคุณภาพ รวมถึงการรายงานผลการทำงานตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
พ่อครัว - 5122 (ISCO-88 : TH) หรือ 3434 (ISCO-08 : TH)พ่อครัวขนมปังอบ - 7412 (ISCO-88 : TH)พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม - 5123 (ISCO-88 : TH) หรือ 5131 (ISCO-08 : TH) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.08.093.1 เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการประเมิน 1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของระบบการประเมิน 1.08.093.1.01 45661
1.08.093.1 เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการประเมิน 1.2 เตรียมเอกสารเกี่ยวกับระบบการประเมินและแจกจ่ายไปยังผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.08.093.1.02 45662
1.08.093.1 เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการประเมิน 1.3 จัดทำขั้นตอนในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับลักษณะที่สำคัญของระบบประเมิน 1.08.093.1.03 45663
1.08.093.2 ให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร 2.1 ตรวจสอบสมรรถนะของผู้ประเมิน ตามที่มาตรฐานกำหนด 1.08.093.2.01 45664
1.08.093.2 ให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร 2.2 ระบุการฝึกอบรมที่จำเป็นสำหรับผู้ประเมิน 1.08.093.2.02 45665
1.08.093.2 ให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร 2.3 จัดการดูแลการประเมิน 1.08.093.2.03 45666
1.08.093.2 ให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร 2.4 จัดให้มีการเสนอแนะ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ประเมิน 1.08.093.2.04 45667
1.08.093.2 ให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร 2.5 อำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อเครือข่ายกลุ่มผู้ประเมิน 1.08.093.2.05 45668
1.08.093.3 จัดการเก็บบันทึกการประเมิน 3.1 ระบุและพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลภายในองค์กรเพื่อสนับสนุนระบบการประเมิน 1.08.093.3.01 45669
1.08.093.3 จัดการเก็บบันทึกการประเมิน 3.2 ระบุข้อกำหนดที่จำเป็นในการจัดเก็บข้อมูลการประเมินให้สมบูรณ์ 1.08.093.3.02 45670
1.08.093.3 จัดการเก็บบันทึกการประเมิน 3.3 จัดเก็บข้อมูลการประเมิน 1.08.093.3.03 45671
1.08.093.3 จัดการเก็บบันทึกการประเมิน 3.4 หมั่นทบทวนและศึกษาระบบการจัดเก็บข้อมูลการประเมิน 1.08.093.3.04 45672
1.08.093.4 ควบคุมกระบวนการประกันคุณภาพ 4.1 กำหนดกระบวนการประกันคุณภาพสำหรับระบบการประเมิน 1.08.093.4.01 45673
1.08.093.4 ควบคุมกระบวนการประกันคุณภาพ 4.2 ดำเนินการตรวจสอบภายในของระบบการประเมิน 1.08.093.4.02 45674
1.08.093.4 ควบคุมกระบวนการประกันคุณภาพ 4.3 ใช้ผลการตรวจสอบการประกันคุณภาพเพื่อปรับปรุงระบบการประเมิน 1.08.093.4.03 45675
1.08.093.4 ควบคุมกระบวนการประกันคุณภาพ 4.4 ทบทวนผลการใช้งานของกระบวนการประกันคุณภาพให้มีความคล่องตัวต่อระบบการประเมิน 1.08.093.4.04 45676
1.08.093.5 รายงานผลการทำงาน ตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร 5.1 ระบุถึงผลลัพธ์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบการประเมินได้ถูกนำไปใช้ 1.08.093.5.01 45677
1.08.093.5 รายงานผลการทำงาน ตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร 5.2 ทบทวนการทำงานของระบบการประเมิน 1.08.093.5.02 45678
1.08.093.5 รายงานผลการทำงาน ตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร 5.3 ให้คำแนะนำ สำหรับนำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงระบบการประเมิน 1.08.093.5.03 45679
1.08.093.5 รายงานผลการทำงาน ตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร 5.4 จัดทำและเผยแพร่รายงาน 1.08.093.5.04 45680
1.08.093.5 รายงานผลการทำงาน ตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร 5.5 แก้ไขระบบการประเมินที่ใช้อยู่จากคำแนะนำหรือข้อเสนอแนะต่อรายงานที่ได้เผยแพร่ออกไป 1.08.093.5.05 45681

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ความสามารถในการใช้เทคนิคการออกแบบ การพัฒนา การตรวจสอบ และการประเมินผล/การวิเคราะห์ 

-    ความสามารถในการใช้เทคนิค กลยุทธ์ และวิธีการการประกันคุณภาพ

-    ความสามารถในการขอความคิดเห็น 

-    ความสามารถในการสร้างและรักษาระบบการบันทึกที่มีประสิทธิภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและกระบวนการขององค์กรในการฝึกอบรมและการประเมินผล

-    ความรู้เกี่ยวกับหลักการการฝึกอบรมและการประเมินวิชาชีพ บนพื้นฐานของความรู้และความสามารถที่จำเป็น

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับองค์กร รวมทั้ง กรอบมาตรฐานสมรรถนะที่ได้รับการรับรอง และมาตรฐานภายใน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

-    แฟ้มสะสมผลงาน 

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลสอบข้อเขียน

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร     

(ง) วิธีการประเมิน

-    ข้อสอบข้อเขียน

-    แฟ้มสะสมผลงาน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



วัตถุประสงค์ของระบบการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  • รับทราบถึงขีดความสามารถขององค์กรในปัจจุบัน

  • ระบุความต้องการในการฝึกอบรม

  • รักษาระดับทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในสถานที่ทำงาน

  • วินิจฉัยการทำงานของพนักงาน

  • จัดกลุ่มพนักงานให้สัมพันธ์กับระดับค่าตอบแทน

  • ช่วยยืนยันความสามารถของพนักงาน ในการโยกย้าย และ/หรือ การเลื่อตำแหน่ง

  • ช่วยในการออกใบรับรองหรือให้รางวัลแก่พนักงานภายในองค์กร

  • ช่วยยืนยันความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของพนักงาน



ข้อมูลสำคัญและกระบวนการเกี่ยวกับระบบการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  • ข้อกำหนดขั้นต่ำเกี่ยวกับสมรรถนะและหลักฐานการรับรองของผู้ประเมิน

  • บันทึกข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการเก็บรักษา รวมทั้ง นโยบายและกระบวนการ การพัฒนาเอกสารประกอบ

  • ระยะเวลาและช่วงเวลาในการประเมิน รวมทั้ง การรวมการประเมินเข้ากับการปฏิบัติงาน ในขณะที่ยังคงมีความยืดหยุ่นและความสมบูรณ์ของระบบการฝึกอบรมและการประเมินภายใน

  • การปรับเปลี่ยนที่สามารถทำได้ในการประเมิน เพื่อให้สอดคล้องกับผู้เข้าร่วม ได้แก่ ภาษา ความรู้ และข้อกำหนดอื่น ๆ

  • ข้อกำหนดด้านกฎหมายเกี่ยวกับ การจ้างงาน ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ข้อกำหนดในการออกใบอนุญาตสถานที่ทำงาน และความเสมอภาค

  • สถานที่จัดการประเมิน ทั้งการประเมินภายในและภายนอก

  • กระบวนการตรวจสอบและการประเมินผล

  • นโยบายขององค์กรและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน รวมทั้ง การร้องทุกข์ การประเมินใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะและผลตอบแทน



ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย อาจเกี่ยวข้องกับ




  • ผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน รวมทั้ง ผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมินจากภายนอก

  • ผู้นำคณะทำงาน หัวหน้างาน ผู้จัดการ และเจ้าของธุรกิจ

  • ผู้ประสานงานการฝึกอบรมและการประเมิน

  • ผู้สมัคร ทั้งผู้สมัครที่ผ่านมาและที่กำลังเรียนอยู่

  • ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะสาขาของการประเมิน



ระบบ อาจครอบคลุมถึง




  • การประชุมทั่วไป เกี่ยวกับการประเมิน รวมทั้ง การประชุมวาระพิเศษ

  • รายการวาระการประชุมของพนักงาน เกี่ยวกับการประเมิน

  • การเตรียมจัดทำจดหมายข่าว ทั้งในรูปแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์

  • การพัฒนาเครือข่ายภายในของผู้ประเมิน



มาตรฐานสมรรถนะ เกี่ยวข้องกับ




  • มาตรฐานสมรรถนะที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

  • สมรรถนะที่ระบุไว้ภายในองค์กร

  • ประสบการณ์ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน



ฝึกอบรมที่จำเป็นสำหรับผู้ประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  • การฝึกอบรมจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากภายนอก รวมทั้ง การฝึกอบรมเพิ่มเติมจากภายใน

  • การจัดฝึกอบรมเพิ่มเติม เพื่อทบทวนวิธีการ

  • การจัดฝึกอบรม ตามความจำเป็นที่ระบุในเบื้องต้น

  • การจัดฝึกอบรมเฉพาะ ในกรณีผู้ประเมินไม่คุ้นเคยงาน



การจัดเก็บข้อมูลภายในองค์กร ที่จำเป็น ในการสนับสนุนระบบการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  • ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัคร

  • หลักฐานการฝึกอบรม ที่ต้องยื่นก่อนทำการประเมิน

  • เครื่องมือและรายการการประเมิน

  • สำเนาเอกสารหลักสูตร/แผนการฝึกอบรม

  • หลักฐานที่ถูกใช้ในกระบวนการประเมิน

  • เอกสารที่ใช้ในการบันทึกทรัพยากรและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการประเมิน



ระบุข้อกำหนดที่จำเป็นในการจัดเก็บข้อมูลการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  • อธิบายข้อกำหนดในการเก็บรักษาข้อมูล ให้ผู้ประเมินทราบ

  • จัดเตรียมตัวอย่างของการบันทึกข้อมูลที่ยอมรับได้

  • ตรวจสอบการรวบรวมข้อมูล ที่จัดทำโดยผู้ประเมิน

  • ให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเวลา ที่ใช้ในการทำข้อมูลให้สมบูรณ์ การรวบรวม และการส่งต่อบันทึกการประเมิน

  • ระบุถึงการเตรียมการด้านความปลอดภัยและรักษาความลับ



จัดเก็บข้อมูลการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  • สร้างระบบการจัดเก็บ สำหรับการบันทึกผลการประเมิน ทั้งในรูปแบบกระดาษ รูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ หรือทั้งสองรูปแบบ

  • ปฏิบัติตามข้อกำหนดภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บบันทึกการประเมิน

  • รักษาความปลอดภัยและความลับของการบันทึกการประเมิน

  • ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลการบันทึกประเมิน

  • ง่ายต่อการบันทึกและเก็บรักษาข้อมูลให้ทันสมัย

  • บันทึกการประเมินและการฝึกอบรม

  • สร้างกระบวนการในการตรวจสอบบันทึกการประเมิน



กระบวนการประกันคุณภาพสำหรับระบบการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  • ระบุเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • ตั้งเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

  • ระบุแนวปฏิบัติที่ดี (Best Pracitce) 

  • กำหนดระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ช่วงเวลาในการส่งผลการประเมิน การส่งต่อเอกสารประกอบ การทบทวน การตรวจสอบ ฯลฯ

  • ระบุกระบวนการประกันคุณภาพ รวมทั้ง การพัฒนาด้านการประกันคุณภาพที่เกี่ยวเนื่องกับการประเมินและการฝึกอบรม

  • สื่อสารไปยังผู้ประเมิน เกี่ยวกับข้อกำหนดในการประกันคุณภาพ รวมทั้ง การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการดำเนินการ



ดำเนินการตรวจสอบภายในของระบบประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  • กำหนดเวลาในการตรวจสอบ

  • กำหนดหัวข้อที่จะตรวจสอบ รวมทั้ง ความเป็นไปได้ในการตรวจสอบตามรอบและการตรวจสอบแบบเต็มรูปแบบ

  • การฝึกอบรมพนักงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ

  • การจัดสรรทรัพยากรสำหรับดำเนินการตรวจสอบ

  • การออกแบบ/หรือจัดหาเอกสารที่จำเป็น เพื่อบันทึกข้อมูลการตรวจสอบ

  • การจับประเด็นข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบ



ทบทวนระบบการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  • เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงกับตัวชี้วัดที่ตั้งไว้สำหรับระบบประเมิน

  • ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ประเมิน

  • ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือและวิธีการประเมิน

  • อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ได้เกิดขึ้นในการจัดเตรียมระบบประเมิน

  • ทบทวนข้อร้องเรียนและข้อร้องทุกข์ของผู้สมัคร

  • กำหนดและประเมินจำนวนการทดสอบซ้ำ

  • รวบรวมข้อเสนอแนะเชิงคุณภาพจากผู้ประเมินและผู้สมัคร เกี่ยวกับการทำงานของระบบการประเมิน



ให้คำแนะนำสำหรับนำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลง อาจครอบคลุมถึง




  • ดำเนินการระบบการประเมินที่ทำใช้อยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ปรับเปลี่ยนระบบเพื่อรองรับปัญหา

  • ขยายระบบประเมินที่ใช้อยู่

  • ลดขอบเขตของระบบการประเมินที่ใช้อยู่

  • ยกเลิกระบบประเมินที่ใช้อยู่ รวมทั้ง การเปลี่ยนผู้ให้บริการด้านการประเมินจากภายนอก



แก้ไขระบบการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  • นโยบายและกระบวนการประเมิน

  • เครื่องมือประเมิน

  • ผู้ประเมิน

  • เวลาและสถานที่ประเมิน

  • การสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระบบประเมินไปยังผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้ง การเตรียมการการฝึกอบรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ