หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการบัญชีค่าจ้าง

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-5-184ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการบัญชีค่าจ้าง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการบัญชีค่าจ้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดทำกระบวนการสำหรับจัดการเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง การจัดเตรียมข้อมูลค่าจ้าง การอนุมัติการจ่ายเงินค่าจ้าง และการดูแลข้อมูลการจ่ายเงินค่าจ้าง 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.07.090.1 จัดทำกระบวนการสำหรับจัดการเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง 1.1 จัดทำกระบวนการรักษาความปลอดภัยเพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างเป็นความลับและมีความปลอดภัย 1.07.090.1.01 45512
1.07.090.1 จัดทำกระบวนการสำหรับจัดการเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง 1.2ทำกระบวนการการจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยงให้สามารถตรวจสอบได้ 1.07.090.1.02 45513
1.07.090.1 จัดทำกระบวนการสำหรับจัดการเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง 1.3 จัดทำมาตรการควบคุมเพื่อรักษาทรัพยากรทางการเงินขององค์กร ให้เป็นตามข้อกำหนดทางกฎหมายและขององค์กร 1.07.090.1.03 45514
1.07.090.1 จัดทำกระบวนการสำหรับจัดการเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง 1.4 จัดทำระบบที่เป็นไปตามภาระผูกพันธ์ทางกฎหมายและมีการจัดเก็บข้อมูล ตามที่กฎหมายกำหนด 1.07.090.1.04 45515
1.07.090.2 จัดเตรียมข้อมูลค่าจ้าง 2.1 พิจารณาจากรางวัลที่พนักงานเคยได้รับสัญญาจ้างและข้อกำหนดตามกฎหมาย ในการคิดคำนวณปรับเงินเดือน/ค่าจ้าง 1.07.090.2.01 45516
1.07.090.2 จัดเตรียมข้อมูลค่าจ้าง 2.2 คำนวณค่าจ้างประเภทต่าง ๆให้เป็นไปด้วยความชอบธรรม ตามข้อกำหนดในเอกสารของทางราชการและของพนักงาน 1.07.090.2.02 45517
1.07.090.2 จัดเตรียมข้อมูลค่าจ้าง 2.3 เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานเพื่อใช้ในการประมวลผล ตามเวลาที่กำหนด 1.07.090.2.03 45518
1.07.090.3 อนุมัติการจ่ายเงินค่าจ้าง 3.1ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยกับค่าจ้างแรงงานตามอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามนโยบายและกระบวนการขององค์กร 1.07.090.3.01 45519
1.07.090.3 อนุมัติการจ่ายเงินค่าจ้าง 3.2 ทำเงินเดือน ค่าจ้าง และการหักเงิน ให้เป็นไปตามนโยบายและกระบวนการขององค์กร 1.07.090.3.02 45520
1.07.090.3 อนุมัติการจ่ายเงินค่าจ้าง 3.3 จัดการข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินเดือน ค่าจ้างและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามนโยบายและกระบวนการขององค์กร 1.07.090.3.03 45521
1.07.090.3 อนุมัติการจ่ายเงินค่าจ้าง 3.4 ดำเนินการและจัดระเบียบเกี่ยวกับแผนการบริหารค่าจ้างให้เกิดความคุ้มค่าเป็นไปตามตารางเวลาและภาระผูกพัน 1.07.090.3.04 45522
1.07.090.4 ดูแลข้อมูลการจ่ายเงินค่าจ้าง 4.1ใช้แบบฟอร์มรายงานภาษีสำหรับพนักงานใหม่และพนักงานปัจจุบัน ตามข้อกำหนดของกฎหมาย 1.07.090.4.01 45523
1.07.090.4 ดูแลข้อมูลการจ่ายเงินค่าจ้าง 4.2 นำส่งเงินที่ถูกหักตามงวดให้กับเจ้าหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด 1.07.090.4.02 45524
1.07.090.4 ดูแลข้อมูลการจ่ายเงินค่าจ้าง 4.3 จัดเตรียมจำนวนเงินที่ต้องชำระตามกฎหมายและนำส่งให้กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภายในเวลาที่กำหนด 1.07.090.4.03 45525
1.07.090.4 ดูแลข้อมูลการจ่ายเงินค่าจ้าง 4.4 คำนวณภาษีแบบกลุ่มและทำการชำระเงินตามกระบวนการจัดเก็บภาษี 1.07.090.4.04 45526
1.07.090.4 ดูแลข้อมูลการจ่ายเงินค่าจ้าง 4.5 เตรียมเอกสารการแสดงรายได้ตลอดทั้งปีของพนักงาน(Employee group certificate) ให้ตรงกับประวัติการจ่ายเงินค่าจ้าง 1.07.090.4.05 45527

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-     ทักษะการรักษาความลับและขั้นตอนการรักษาความปลอดภัย

-     ทักษะการมอบรางวัล และเกณฑ์การให้รางวัล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-     ความรู้ในกระบวนการจ่ายเงินเดือน

-     ความรู้นโยบายองค์กร วิธีการและรูปแบบของงาน

-     ความรู้ข้อกำหนดเกี่ยวกับงานภาษีอากร

-     ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐและหน่วยงานตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินเดือน

-     ความรู้ในระบบบัญชีขององค์กร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แฟ้มสะสมผลงาน 

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

-    ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-    ผลการประเมินผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ 



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลสอบข้อเขียน

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน

-     แฟ้มสะสมผลงาน 

-     การสัมภาษณ์ 

-     การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

-     การสาธิตการปฏิบัติงาน 

-     ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว 

-     การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-     การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-     การจำลองสถานการณ์ และบทบาทสมมติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้างเป็นความลับและมีความปลอดภัย อาจรวมถึง

•     การกำกับดูแลของแผนงาน

•     หมายเลขของการลงทะเบียนบัญชีเงินเดือนพนักงาน

•     การลงนามสำหรับการจ่าย

•     เอกสารการจ่ายเงินเดือน

•     การเข้าถึงของผู้มีอำนาจ

•     รหัสผ่านคอมพิวเตอร์

•     แฟ้มข้อมูลสำรอง

•     การรักษาความปลอดภัยและการรักษาความลับรายละเอียดของพนักงาน

•     การจำกัด การเข้าถึงไฟล์อิเล็กทรอนิกส์

•     การสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของรหัสผ่าน

•     การแยกสถานที่เก็บของข้อมูลที่เป็นความลับ

•    การจัดเก็บข้อมูลนอกสถานที่



การจ่ายเงินเบี้ยเลี้ยง อาจรวมถึง

•     การทำงานล่วงเวลา

•     รอบการทำงาน

•     เครื่องแบบ

•     ซักรีด

•     เครื่องมืออำนวยความสะดวก

•     อาหาร



มาตรการควบคุม อาจรวมถึง

•     ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของการลงบันทึก

•     การแบ่งหน้าที่

•     ข้อกำหนดในการอนุญาต

•     ตรวจสอบยอดคงเหลือด้วยวิธีที่หลากหลาย

•     ตรวจสอบด้วยระบบการประกบคู่ แลกเปลี่ยนสลับการตรวจ



ข้อกำหนดทางกฎหมายและขององค์กร อาจเกี่ยวข้องกับ

•     ผลลัพท์และข้อตกลงขององค์กรและเครื่องมือในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

•     การออกกฎหมายโดยรัฐบาลที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โอกาสความเท่าเทียมกันในอุตสาหกรรม ความสัมพันธ์และการต่อต้านการเลือกปฏิบัติ

•     การใช้รหัสทางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องของการปฏิบัติ



การคำนวณค่าจ้างประเภทต่าง ๆ อาจรวมถึง

•     โครงสร้างการจ่ายที่เหมาะสม

•     รอบตารางการทำงาน

•     บัตรประวัติการลงเวลาการทำงาน

•     การลาป่วย

•     การลาหยุดประจำปี

•     การออกให้บริการในระยะยาว

•     อัตราการลงโทษ

•     การทำงานล่วงเวลา

•     เบี้ยประชุม

•     การหักเงิน

•     รายการบรรจุภัณฑ์เงินเดือน

•     การออมเงินเดือน

•     ภาษี



เงินที่ถูกหักตามงวดให้กับเจ้าหนี้ อาจรวมถึง

•     การออมเงินเดือน

•     หักบัญชีเข้ากองทุน

•    บำนาญ

•     การกู้ยืมเพื่อการศึกษา/นักศึกษากู้ยืม



ภายในเวลาที่กำหนด อาจเกี่ยวข้องกับ

•     ระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินพนักงาน

•     กําหนดช่วงระยะเวลาก่อนที่จะมีการลาออกของพนักงานในองค์กร

•     ระยะเวลาการจัดเก็บภาษีสำหรับการยื่นภาษี

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ