หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลสำคัญ

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-4-182ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลสำคัญ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการรักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลสำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ การดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ และการประเมินผลแผนงานเมื่อบุคคลสำคัญออกจากสถานที่ไปแล้ว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.04.144.1 วางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.1 กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการมาเยือนของบุคคลสำคัญ 1.04.144.1.01 45002
1.04.144.1 วางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.2 ประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้การต้อนรับ 1.04.144.1.02 45003
1.04.144.1 วางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.3 ระบุปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของบุคคลสำคัญในระหว่างการเข้าพัก 1.04.144.1.03 45004
1.04.144.1 วางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.4 จัดทำแผนการรักษาความปลอดภัยสำหรับบุคคลสำคัญ 1.04.144.1.04 45005
1.04.144.1 วางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.5 ระบุทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัย 1.04.144.1.05 45006
1.04.144.1 วางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.6 จัดหาอุปกรณ์/เครื่องมือสำหรับเฝ้าระวังและการสื่อสาร 1.04.144.1.06 45007
1.04.144.1 วางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.7 คัดเลือกพนักงานที่จะดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้บุคคลสำคัญ 1.04.144.1.07 45008
1.04.144.1 วางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.8 สื่อสารข้อมูลให้พนักงานทราบเกี่ยวกับแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.04.144.1.08 45009
1.04.144.1 วางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.9 กำหนดผู้ประสานงานสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกและแนวทางวิธีปฏิบัติ 1.04.144.1.09 45010
1.04.144.1 วางแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 1.10 ซ้อมแผนการรักษาความปลอดภัย 1.04.144.1.10 45011
1.04.144.2 ดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 2.1 เตรียมการต้อนรับบุคคลสำคัญก่อนการมาถึง 1.04.144.2.01 45012
1.04.144.2 ดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 2.2 ตรวจสอบการเตรียมการก่อนการมาถึง 1.04.144.2.02 45013
1.04.144.2 ดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 2.3 ต้อนรับและให้ความคุ้มกันแก่บุคคลสำคัญ 1.04.144.2.03 45014
1.04.144.2 ดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 2.4 ดำรงรักษาสวัสดิภาพของบุคคลสำคัญในระหว่างการเข้าพัก 1.04.144.2.04 45015
1.04.144.2 ดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญ 2.5 อำนวยความสะดวกการออกเดินทางจากโรงแรมให้แก่บุคคลสำคัญ 1.04.144.2.05 45016
1.04.144.3 ประเมินผลแผนงานเมื่อบุคคลสำคัญออกจากสถานที่ไปแล้ว 3.1 ซักซ้อมความเข้าใจพนักงานที่เกี่ยวข้อง 1.04.144.3.01 45017
1.04.144.3 ประเมินผลแผนงานเมื่อบุคคลสำคัญออกจากสถานที่ไปแล้ว 3.2 วิเคราะห์การรับมือกับการฝ่าฝืนการรักษาความปลอดภัยที่เกิดขึ้น 1.04.144.3.02 45018
1.04.144.3 ประเมินผลแผนงานเมื่อบุคคลสำคัญออกจากสถานที่ไปแล้ว 3.3 ปรับปรุงแผนการรักษาความปลอดภัยบุคคลสำคัญจากผลตอบรับและการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น 1.04.144.3.03 45019

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือรักษาความปลอดภัย ตลอดจนอาวุธ และเครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัย

-    ทักษะการประเมินสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงหรือไม่ปลอดภัย

-    ทักษะการสื่อสาร การประสานงาน เจรจา และมนุษยสัมพันธ์ 

-    ทักษะในการวางแผน

-    ทักษะการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน

-    ทักษะในการนำเทคนิคการควบคุมฝูงชนมาใช้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของบุคคลสำคัญและการมาเยือนของบุคคลสำคัญ

-    ความรู้ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพกพาอาวุธ การกักขัง จับกุม หน่วงเหนี่ยวผู้บุกรุก

-    ความรู้เกี่ยวกับหลักการบริหารความปลอดภัยเบื้องต้น การสังเกตการณ์และเฝ้าระวังสถานการณ์และบุคคล  

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แฟ้มสะสมผลงาน 

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3  



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    แฟ้มสะสมผลงาน

-    การสัมภาษณ์

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-    การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ลักษณะและเงื่อนไขของการมาเยือนของบุคคลสำคัญ อาจรวมถึง 

    วันที่ ช่วงเวลา และระยะเวลา ของการมาเยือน

    เหตุผลของการมาเยือน

    จำนวนผู้มาเยือน ชื่อและตำแหน่งของบุคคลที่มาเยือนทั้งหมด



บุคคลสำคัญ อาจรวมถึง

    เชื้อพระวงศ์ทั้งในและต่างประเทศ

    บุคคลสำคัญในคณะรัฐบาล นักการเมือง ทั้งในและต่างประเทศ

    ดารา นักร้อง นักแสดง นักกีฬา ทั้งในและต่างประเทศ

    ผู้มีชื่อเสียงจากทั้งในและต่างประเทศ



บุคคล/คณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง อาจรวมถึง

    ผู้จัดการและคณะทำงานของบุคคลสำคัญ

    เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ตำรวจ

    คณะผู้ติดตามของบุคคลสำคัญ

    เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบุคคลสำคัญ 

    เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ส่วนราชการจัดหา

    เจ้าหน้าที่สถานทูต



ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพของบุคคลสำคัญในระหว่างการเข้าพัก อาจรวมถึง

    การเข้า-ออกสถานที่ การควบคุมฝูงชน การป้องกันการเข้าถึงของผู้บุกรุกทั้งที่เป็นกลุ่มผู้ประท้วงหรือกลุ่มผู้ติดตาม (Fans)  

    ความเสี่ยงภัยทางกายภาพต่าง ๆ ของพื้นที่ เช่น พื้นที่ลื่น ความสูง ขั้นบันได เป็นต้น

    ฝูงชน การชุมนุม การประท้วง

    การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนในพื้นที่ที่กระทบกับความเป็นส่วนตัวหรือความลับของบุคคลสำคัญ

    อาณาบริเวณที่มองเห็นได้ (Line-of-sight) และควรคำนึงถึงสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย เช่น กล้องถ่ายภาพ หรือกล้องส่องจากอาวุธปืนชนิดต่าง ๆ 

    ยาเสพติดและการบริโภคแอลกอฮอล์เกินขนาด

    การรบกวนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ/หรือ เป็นต้นเหตุของภัยคุกคาม

    สภาพอากาศ และระดับความมืดที่ปกคลุมสถานที่จนส่งผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัย

    การจู่โจมทำร้ายร่างกาย



แผนการรักษาความปลอดภัย อาจรวมถึง

    การเตรียมการที่จำเป็น “ก่อนการมาถึง” “ระหว่างการมาถึง” “ระหว่างการเข้าพัก” และ “ขณะเดินทางกลับ” 

    การประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

    การระบุบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้อง

    การจัดหาแผนหรือกรมธรรม์ประกันความปลอดภัยเพื่อชดเชยค่าความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

    กลยุทธ์และวิธีการติดต่อสื่อสาร

    การจัดทำแผน/กำหนดการรายละเอียด (Running Sheet) “ระหว่างการมาถึง” “ระหว่างการเข้าพัก” และ “ขณะเดินทางกลับ” 

    การกำหนดระดับความสำคัญของพื้นที่แต่ละส่วน เช่น พื้นที่หวงห้าม พื้นที่ทั่วไป พื้นที่เฉพาะพนักงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง จุดเข้า-ออกเฉพาะพนักงาน เป็นต้น

    ป้ายแสดงตน/บัตรอนุญาต และการแจกจ่ายป้ายและบัตรให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง

    เครื่องแต่งกายหรือเครื่องบอกลักษณะของพนักงานที่เกี่ยวข้อง

    การตรวจสอบไปรษณีย์ โทรสาร จดหมาย พัสดุ ยานพาหนะ และสายโทรศัพท์เรียกเข้าที่มีมาถึงบุคคลสำคัญหรือคณะของบุคคลสำคัญ

    ขั้นตอนและระเบียบวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

    ขั้นตอนและระเบียบวิธีปฏิบัติสำหรับการอพยพ ซึ่งรวมถึง การขนส่ง เส้นทางการอพยพ จุดนัดพบหรือที่รวมพล 



ทรัพยากรที่จำเป็น อาจรวมถึง

    ทรัพยากรบุคคล ทั้งจากภายในและภายนอก

    ยานพาหนะสำหรับการขนส่งเข้า-ออก และภายในสถานที่ทำการ

    อาวุธที่จำเป็น เช่น กุญแจมือ กระบอง สเปร์ย เครื่องควบคุม

    เครื่องป้องกัน ชุดนิรภัย 

    เครื่องมือสื่อสาร

    เครื่องมือและอุปกรณ์ระบบรักษาความปลอดภัยและเฝ้าระวัง

    การมอบหมายอำนาจหน้าที่พิเศษ/เพิ่มเติม ในกรณีที่จำเป็นต้องฝ่าฝืนอำนาจการมอบหมายในภาวะปกติ

    ผังโครงสร้างของอาคารสถานที่ แผนที่ ผังพื้นที่ของสถานที่ทำการ และพื้นที่โดยรอบ

    ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกในการปิดถนน การควบคุมฝูงชน การตรวจสอบบัตรประจำตัว การควบคุมการเข้า-ออก 

    การตรวจสอบการนำสิ่งของติดตัวเข้าสู่พื้นที่ เช่น การใช้สุนัขดมกลิ่น การค้นตัว การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการรักษาความปลอดภัย การตรวจสอบยานพาหนะเข้า-ออก

    ตารางเวลาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน

    กำหนดการการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย 



อุปกรณ์/เครื่องมือสำหรับเฝ้าระวังและการสื่อสาร อาจรวมถึง

    อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเฝ้าระวัง

    อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับการตรวจสอบ/ค้นหา เช่น ตรวจจับโลหะหรืออาวุธ

    กล้องวงจรปิด โทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์ประจำที่

    ห้องควบคุมและสั่งการ

    การทดสอบอุปกรณ์ทั้งระบบ



พนักงานที่จะดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้บุคคลสำคัญ อาจรวมถึง

•     บริษัทที่ให้บริการเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

•     เจ้าหน้าที่ตำรวจ police

•     องครักษ์ส่วนตัว

•     เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในองค์กร

•     เจ้าหน้าที่ที่ถูกจัดเตรียมมาโดยบุคคลสำคัญ

•     การตรวจสอบความปลอดภัย

•     การระบุพนักงานที่ได้รับอนุญาต



ข้อมูลที่ควรสื่อสารให้กับพนักงานทราบ อาจรวมถึง

    รายละเอียดของการเดินทางและการมาเยือนของบุคคลสำคัญ เฉพาะส่วนที่เปิดเผยได้สำหรับแต่ละกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง

    การรักษาความลับโดยเฉพาะมาตรการป้องกันที่ถือปฏิบัติ

    การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด/ระเบียบที่ใช้อยู่ในภาวะปกติ

    การแจ้งเกี่ยวกับมาตรการและวิธีการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินและการดำเนินการอพยพที่ถูกจัดเตรียมไว้

    การแจ้งเตือนการฝึกซ้อมก่อนที่บุคคลสำคัญจะเดินทางมาถึง

    ข้อห้ามการถ่ายรูปและการขอลายเซ็น

    ข้อห้ามการติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานและสื่อมวลชน



สิ่งอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานกับสื่อมวลชน อาจรวมถึง 

    การจัดเตรียมข้อมูลประชาสัมพันธ์ (Press Release)

    ระเบียบปฏิบัติในการติดต่อสื่อสารกับสื่อมวลชนในสถานการณ์ไม่ปกติ ในกรณีฉุกเฉิน หรือเมื่อมีปัญหาความปลอดภัย

    การแต่งตั้งหรือกำหนดผู้แทนองค์กรในการประสานงานกับสื่อมวลชน ตลอดจนผู้แถลงข่าวประจำองค์กร



การซ้อมแผนรักษาความปลอดภัย อาจรวมถึง

    การฝึกซ้อมตามขั้นตอนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน

    การฝึกซ้อมที่ครอบคลุมรายละเอียดทั้งหมดที่กำหนดไว้ในแผน

    การฝึกซ้อมร่วมกับบุคลากรและหน่วยงานภายนอก

    การทดสอบอุปกรณ์และขั้นตอนการสื่อสาร และอุปกรณ์เฝ้าระวัง

    การฝึกซ้อมที่ให้ความสำคัญกับความเสี่ยง/ภัยคุกคามที่มีโอกาสเกิดขึ้น

    การทดสอบเหตุการณ์สมมุติในกรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรการรักษาความปลอดภัย

    ปรับปรุงแผนการรักษาความปลอดภัยตามข้อคิดเห็นที่ได้รับหรือจากการสังเกตการณ์การฝึกซ้อม

    ทดสอบแผนที่มีการเปลี่ยนแปลง 



การเตรียมการต้อนรับบุคคลสำคัญ “ก่อนการมาถึง” อาจรวมถึง

    การฝึกอบรมพนักงานที่รับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการอบรมการใช้เครื่องมือ ระบบงาน และขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ

    จัดเตรียมอาหารและเครื่องดื่มให้พร้อม

    จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ห้องน้ำ ห้องสุขา ห้องแต่งตัว ห้องแถลงข่าว

    ปิดกั้นพื้นที่สาธารณะตามแผนที่กำหนด



การตรวจสอบการเตรียมการ “ก่อนการมาถึง” อาจรวมถึง

    การยืนยันการปฏิบัติหน้าที่งานในส่วนต่าง ๆ ตลอดจนการสื่อสารและการควบคุม

    หยุดการทำงานของลิฟท์โดยสารตามแผนที่กำหนด

    ตรวจสอบพื้นที่ครั้งสุดท้ายเพื่อมองหาสิ่งของต้องสงสัยและบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต

    ยืนยันความถูกต้องของบุคลากรที่อยู่ในเขตพื้นที่หวงห้าม

    ตรวจสอบพื้นที่ปิด/พื้นที่ควบคุม

    ตรวจสอบความปลอดภัยของอาณาบริเวณที่สามารถมองเห็น

    ตรวจสอบสัญญาณการสื่อสาร 

    การตรวจสอบยืนยันการเข้าปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานและอยู่ในตำแหน่งตามแผนที่กำหนดวางไว้

    การตรวจสอบยืนยันความปลอดภัยของพื้นที่ตามแผนที่กำหนด

    แจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน (Last Minute)

    แจ้งสัญญาณความพร้อม   



ต้อนรับและให้ความคุ้มกันแก่บุคคลสำคัญ อาจรวมถึง

    รักษาความปลอดภัยของพื้นที่ต้อนรับ เส้นทางเข้าสู่สถานที่

    ระบุตัวบุคคลสำคัญ

    ประสานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจากภายนอกเพื่อดำเนินการต้อนรับ

    ดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยในการเข้าสู่ตัวอาคาร

    ประเมินฝูงชนและสังเกตการณ์ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงบุคคลที่มีพฤติกรรมเมามาย ก้าวร้าว เสียงดัง ก่อความรำคาญ ผู้ประท้วง หรือผู้ที่ป่วยทางจิต

    แจ้งศูนย์ควบคุม/ศูนย์กลางการสื่อสารเกี่ยวกับภัยคุกคามที่มี กำหนดการหรือกิจกรรมที่ไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้

    ร้องขอความช่วยเหลือเมื่อต้องการ/มีปัญหา

    การยกระดับการรักษาความปลอดภัยให้สอดคล้องกับระดับของภัยคุกคามหรือระดับของอันตราย

    คุ้มกันบุคคลสำคัญไปยังสถานที่ที่กำหนด 

    ส่งมอบการรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย



รักษาสวัสดิภาพของบุคคลสำคัญในระหว่างการเข้าพัก อาจรวมถึง 

    การตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ

    ดำรงรักษาระเบียบวิธีปฏิบัติการเข้าถึงพื้นที่หวงห้าม

    ยืนยันตัวบุคคลในบริเวณโดยรอบ

    ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจากภายนอก

    ตรวจสอบประตู หน้าต่าง อย่างละเอียดรอบคอบ

    ตรวจสอบยานพาหนะทั้งที่ผ่านเข้า-ออก หรือจอดในบริเวณใกล้เคียง

    เคลื่อนย้ายยานพาหนะและบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต

    ตรวจสอบสายเรียกเข้า การสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงพัสดุที่ส่งมาถึงบุคคลสำคัญ

    จำกัดการเคลื่อนที่ของบุคคลสำคัญเมื่อระดับการรักษาความปลอดภัยทำได้น้อยกว่าปกติ

    คุ้มกันพนักงานที่ให้บริการแก่บุคคลสำคัญ

    เฝ้าเวรยาม

    ดำรงรักษาการเฝ้าระวัง การสื่อสาร การประเมินกิจกรรมต่าง ๆ ตามแผนการรักษาความปลอดภัย

    ปรับปรุงแผนการรักษาความปลอดภัยให้ตอบสนองหรือสอดคล้องกับความเสี่ยงหรือภัยคุกคามที่เกิดขึ้น

    แจ้งเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับความคืบหน้า และการเปลี่ยนกำหนดการหรือกิจกรรมที่ไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้



การอำนวยความสะดวกการออกเดินทางจากโรงแรมให้แก่บุคคลสำคัญ อาจรวมถึง

    หยุดการทำงานของลิฟท์โดยสารตามแผนที่กำหนด

    ตรวจสอบพื้นที่ครั้งสุดท้ายเพื่อมองหาสิ่งของต้องสงสัยและบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต

    ยืนยันความถูกต้องของบุคลากรในเขตพื้นที่หวงห้าม

    ตรวจสอบพื้นที่ปิด/พื้นที่ควบคุม

    ตรวจสอบความปลอดภัยของอาณาบริเวณที่สามารถมองเห็น 

    ตรวจสอบสัญญาณสื่อสาร

    ตรวจสอบยืนยันการเข้าปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานในตำแหน่งที่ระบุไว้ตามแผน

    ยืนยันความปลอดภัยของพื้นที่ตามแผนที่กำหนดไว้

    แจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน (Last Minute)

    แจ้งสัญญาณความพร้อมสำหรับออกเดินทาง

    ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจากภายนอกเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางออกจากโรงแรม

    คุ้มกันบุคคลสำคัญขณะออกจากห้องหรือออกจากอาคาร 

    ประเมินฝูงชนและสังเกตการณ์ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงบุคคลที่มีพฤติกรรมเมามาย ก้าวร้าว เสียงดัง ก่อความรำคาญ ผู้ประท้วง หรือผู้ที่ป่วยทางจิต

    แจ้งศูนย์ควบคุม/ศูนย์กลางการสื่อสารเกี่ยวกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น กำหนดการหรือกิจกรรมที่ไม่เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ 

    ร้องขอความช่วยเหลือเมื่อต้องการ/มีปัญหา

    การยกระดับการรักษาความปลอดภัยให้สอดคล้องกับระดับของภัยคุกคามหรือระดับของอันตราย

    ปรับมาตรการรักษาความปลอดภัยตามคำร้องขอของบุคคลสำคัญตามความเหมาะสม

    คุ้มกันบุคคลสำคัญไปยังพื้นที่ที่ถูกเตรียมไว้เพื่อออกเดินทาง

    ยืนยันความปลอดภัยของพื้นที่ที่เตรียมไว้เพื่อออกเดินทาง

    ตรวจสอบยานพาหนะทั้งที่ผ่านเข้า-ออก หรือจอดในบริเวณใกล้เคียง

    เคลื่อนย้ายยานพาหนะและบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต

    ส่งมอบการรักษาความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย



ซักซ้อมความเข้าใจพนักงานที่เกี่ยวข้อง อาจรวมถึง

    ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ภายในองค์กรเพื่ออภิปรายเกี่ยวกับการปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลสำคัญในอนาคต

    ขอรับความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจากภายนอกองค์กร



วิเคราะห์การรับมือกับการฝ่าฝืนการรักษาความปลอดภัยที่เกิดขึ้น อาจรวมถึง 

    ดูเทปรักษาความปลอดภัยและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    สัมภาษณ์/สอบถามความคิดเห็นพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัย 

    สัมภาษณ์/สอบสวนผู้บุกรุกหรือผู้ฝ่าฝืนมาตรการรักษาความปลอดภัย

    ค้นหาสาเหตุของการฝ่าฝืนที่เกิดขึ้น และพิจารณาหาทางป้องกัน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ