หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำรายงานทางการเงิน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-4-175ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำรายงานทางการเงิน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดทำรายงานทางการเงิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานทางการเงิน การดูแลรักษาทะเบียนสินทรัพย์ การดูแลรักษาสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป การจัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และการจัดทำรายงานการเงินที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
พ่อครัว - 5122 (ISCO-88 : TH) หรือ 3434 (ISCO-08 : TH)พ่อครัวขนมปังอบ - 7412 (ISCO-88 : TH)  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.07.224.1 ระบุสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานทางการเงิน 1.1 ระบุรายงานทางการเงินที่ต้องจัดทำ 1.07.224.1.01 45601
1.07.224.1 ระบุสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานทางการเงิน 1.2 ระบุความถี่ของการจัดทำรายงานทางการเงิน 1.07.224.1.02 45602
1.07.224.1 ระบุสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานทางการเงิน 1.3 ระบุหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจอนุมัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานทางการเงิน 1.07.224.1.03 45603
1.07.224.1 ระบุสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานทางการเงิน 1.4 ระบุข้อกำหนดภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานทางการเงิน 1.07.224.1.04 45604
1.07.224.1 ระบุสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานทางการเงิน 1.5 ระบุรูปแบบของการจัดทำรายงานทางการเงิน 1.07.224.1.05 45605
1.07.224.1 ระบุสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานทางการเงิน 1.6 ระบุข้อกำหนดแนวทางการเผยแพร่รายงานทางการเงิน 1.07.224.1.06 45606
1.07.224.2 ดูแลรักษาทะเบียนสินทรัพย์ 2.1 จัดเตรียมทะเบียนสินทรัพย์ 1.07.224.2.01 45607
1.07.224.2 ดูแลรักษาทะเบียนสินทรัพย์ 2.2 กำหนดวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา 1.07.224.2.02 45608
1.07.224.2 ดูแลรักษาทะเบียนสินทรัพย์ 2.3 ปรับปรุงทะเบียนสินทรัพย์ 1.07.224.2.03 45609
1.07.224.2 ดูแลรักษาทะเบียนสินทรัพย์ 2.4 จัดทำรายงานทะเบียนสินทรัพย์ 1.07.224.2.04 45610
1.07.224.3 ดูแลรักษาสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป 3.1 จัดทำรายการบัญชีตามข้อกำหนดขององค์กร 1.07.224.3.01 45611
1.07.224.3 ดูแลรักษาสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป 3.2 จัดทำงบทดลองตามมาตรฐานทางการบัญชี 1.07.224.3.02 45612
1.07.224.3 ดูแลรักษาสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป 3.3 จัดทำรายละเอียดบัญชีประกอบสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป 1.07.224.3.03 45613
1.07.224.4 จัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร 4.1 ตรวจสอบรายการฝากเงินเทียบกับรายการเดินบัญชีธนาคาร(Bank Statement) 1.07.224.4.01 45614
1.07.224.4 จัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร 4.2 ตรวจสอบรายการถอนเงินเทียบกับรายการจ่ายเงินที่ได้รับอนุมัติ 1.07.224.4.02 45615
1.07.224.4 จัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร 4.3 ตรวจสอบรายการค่าธรรมเนียมต่าง ๆ 1.07.224.4.03 45616
1.07.224.4 จัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร 4.4 ยืนยันรายการยอดคงเหลือต่าง ๆ 1.07.224.4.04 45617
1.07.224.4 จัดทำงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร 4.5 จัดทำรายงานงบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร 1.07.224.4.05 45618
1.07.224.5 จัดทำรายงานทางการเงินที่กำหนด 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 1.07.224.5.01 45619
1.07.224.5 จัดทำรายงานทางการเงินที่กำหนด 5.2 จัดทำรายงานรายได้ 1.07.224.5.02 45620
1.07.224.5 จัดทำรายงานทางการเงินที่กำหนด 5.3 จัดทำงบดุล 1.07.224.5.03 45621
1.07.224.5 จัดทำรายงานทางการเงินที่กำหนด 5.4 จัดทำงบกำไรขาดทุน 1.07.224.5.04 45622
1.07.224.5 จัดทำรายงานทางการเงินที่กำหนด 5.5 จัดทำหมายเหตุประกอบงบการเงิน 1.07.224.5.05 45623
1.07.224.5 จัดทำรายงานทางการเงินที่กำหนด 5.6 รับรองรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้น 1.07.224.5.06 45624
1.07.224.5 จัดทำรายงานทางการเงินที่กำหนด 5.7 ปรับปรุงข้อมูลภายใน 1.07.224.5.07 45625
1.07.224.5 จัดทำรายงานทางการเงินที่กำหนด 5.8 เผยแพร่รายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้น 1.07.224.5.08 45626

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดเชิงระบบ เพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการและรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงาน

-    ทักษะการคำนวณเบื้องต้น 

-    ทักษะการเจรจาต่อรอง 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนกลยุทธ์ขององค์กร

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติทางด้านการเงินการบัญชีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงบประมาณ การดูแลรักษาทรัพย์สิน และอำนาจการอนุมัติค่าใช้จ่ายของผู้บริหารแต่ละระดับ

-    ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการ รายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงาน

-    ความรู้เกี่ยวกับหลักฐานการจ่ายเงินที่ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แฟ้มสะสมผลงาน 

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

-    ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลสอบข้อเขียน

-    ผลการสัมภาษณ์



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 



(ง) วิธีการประเมิน

-    แฟ้มสะสมผลงาน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

-    การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

งบประมาณ คือ แผนงานที่แสดงออกในลักษณะเชิงปริมาณ โดยแสดงให้เห็นถึงการได้มาและการใช้ไปซึ่งทรัพยากรทางการเงินและทรัพยากรอื่น ๆ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต งบประมาณ เป็นเครื่องมือในการสื่อสารแผนงานไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร ช่วยกระตุ้นให้ผู้บริหารคิดและวางแผนสำหรับอนาคต ช่วยกำหนดแนวทางในการจัดสรรทรัพยากรให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยในการควบคุมต้นทุนโครงการ ตลอดจนแผนงานตั้งแต่ในระดับโครงการจนถึงองค์กร โดยทั่วไปงบประมาณจะจัดทำขึ้นปีละครั้ง จึงเรียกว่า งบประมาณประจำปี โดยปีงบประมาณมักจะเป็นไปตามรอบบัญชีของบริษัท เช่น เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม เป็นต้น



แผนปฏิบัติการ หมายถึง 

    แผนงานของหน่วยงานซึ่งแปลงมาจากแผนกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อแสดงภารกิจที่แต่ละหน่วยงานจะดำเนินการตลอดระยะเวลาที่จัดทำแผน เพื่อสนับสนุนการบริหารงานขององค์กรให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย

    แผนปฏิบัติการอาจจัดทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของหน่วยงาน โดยปัญหาดังกล่าวกระทบต่อเป้าหมายหรือภารกิจขององค์กร ทำให้ไม่บรรลุเป้าหมายหรือภารกิจที่กำหนดไว้ ดังนั้น แผนปฏิบัติการจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการและขอรับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว 



งบประมาณลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน  ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายสำหรับการจัดซื้อที่ดิน สิ่งก่อสร้าง อาคาร อุปกรณ์ ในขณะที่งบประมาณดำเนินการ หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ  ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายสำหรับเงินเดือนค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น ทั้งนี้ รูปแบบของการจัดทำงบประมาณลงทุน และงบประมาณดำเนินการย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร



การคาดการณ์งบประมาณของแผนก อาจจะใช้วิธี งบประมาณแบบแผนงาน (Planning Program Budgeting System : PPBS) เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำงบประมาณ

งบประมาณแบบแผนงาน คือ การจัดเตรียมงบประมาณจากการเริ่มต้นด้วยแผนงานที่มี/จัดทำขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายงบประมาณมีผลสำเร็จทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลไปพร้อม ๆ กัน (Efficiency and Effectiveness) กระบวนการของการจัดทำงบประมาณประเภทนี้ เริ่มต้นจาก




  •     ระบุสภาพปัญหา/ความต้องการที่มีอยู่ หรือเป้าหมายที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ 

  •     กำหนดแผนงาน/งาน/โครงการที่ต้องจัดทำเพื่อดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงปัญหาที่มี หรือแผนงาน/งาน/โครงการที่ต้องจัดทำเพื่อผลักดันเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย

  •     ระบุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของแผนงาน/งาน/โครงการ ให้ชัดเจน ซึ่งเป้าหมายของโครงการควรมีตัวชี้วัดทั้งในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เวลา และต้นทุน

  •     ระบุกิจกรรมโครงการทั้งหมด และขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม

  •     ระบุระยะเวลาเริ่มต้นโครงการและระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ

  •     แสดงค่าใช้จ่ายทั้งหมดของแผนงาน/งาน/โครงการ โดยงบประมาณของโครงการเป็นการระบุค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการดำเนินกิจกรรมขั้นต่าง ๆ 

  •     แสดงผลลัพธ์ที่ได้รับจากแผนงาน/งาน/โครงการเมื่อดำเนินงานสำเร็จ



อนุมัติค่าใช้จ่ายของแผนกตามอำนาจที่ได้รับมอบหมาย หมายถึง 




  •     ผู้ที่ใช้อำนาจอนุมัติจะต้องอนุมัติค่าใช้จ่ายหรือเงินทดรองจ่ายเฉพาะในกิจการของบริษัท ตามวงเงินค่าใช้จ่ายที่กำหนด และตามสายงานที่รับผิดชอบเท่านั้น

  •     ผู้ใช้อำนาจอนุมัติต้องไม่อนุมัติค่าใช้จ่ายของตนเอง หรือสิ่งที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ตนเองโดยตรง โดยจะต้องให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงกว่าขึ้นไปเป็นผู้อนุมัติ แม้ว่าจะไม่เกินวงเงินอำนาจอนุมัติที่ตนเองมีอยู่

  •     กรณีที่ค่าใช้จ่ายเกินวงเงินอำนาจอนุมัติ ไม่ควรนำค่าใช้จ่ายนั้นมาแบ่งอนุมัติ เพื่อไม่ให้เกินวงเงินอำนาจอนุมัติของตนเองที่มีอยู่



การติดตามการรายงานยอดงบประมาณคงเหลือของแผนก โดยทั่วไปเป็นหน้าที่ของฝ่ายบัญชีและการเงินขององค์กรในการจัดทําสรุปค่าใช้จ่ายที่ใช้จริงเปรียบเทียบกับงบประมาณส่งให้แต่ละแผนกทุกเดือน ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ   




  •      ให้หัวหน้าแผนกรับทราบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน และยอดงบประมาณคงเหลือของแผนก 

  •     ให้สามารถทบทวนผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการที่กําหนดไว้ ว่ามีความคืบหน้ามากน้อยเพียงใด และสามารถใชเปนข้อมูลสำหรับการตั้งงบประมาณในปตอไป



การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของแผนก หมายถึง




  •     เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายปีนี้กับปีก่อนหน้า 

  •     เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน (เช่น จำนวนชั่วโมงการทำงาน จำนวนลูกค้าที่ให้บริการ เป็นต้น)  ปีนี้กับปีก่อนหน้า 

  •     เปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตปีนี้กับปีก่อนหน้า 

  •     เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงของแผนกกับงบประมาณที่ได้รับ

  •     เปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตปีนี้กับค่ามาตรฐานอุตสาหกรรม



การดูแลรักษาทรัพย์สินของแผนก มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามการใช้และดูแลรักษาทรัพย์สินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ระบบการควบคุมเก็บรักษาทรัพย์สินที่เหมาะสม จะสามารถป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่องค์กรได้ 



ทะเบียนทรัพย์สิน หมายถึง รายการทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ ที่มีไว้ใช้งานในแผนก ซึ่งมักจะต้องแสดงข้อมูลต่อไปนี้ 




  •     ประเภท ชื่อ ชนิดของทรัพย์สิน

  •     รหัสทรัพย์สินหรือหมายเลขประจำทรัพย์สิน (และติดไว้ที่ทรัพย์สินเพื่อการตรวจนับ)

  •     จำนวนหน่วย

  •     ผู้ดูแลรักษา/ผู้ครอบครอง 



การจำหน่ายทรัพย์สิน หมายถึง 




  •     จำหน่ายทรัพย์สินที่ขาดหายไปจากบัญชี

  •     จำหน่ายทรัพย์สินที่ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป 



เงินยืมทดรองจ่าย หมายถึง เงินที่องค์กรให้พนักงานสามารถเบิกไปล่วงหน้าตามสัญญาหรือความจำเป็นที่ต้องจ่ายเงินสดหน้างาน/โครงการ สำหรับจ่ายค่าจ้าง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นเร่งด่วนให้ทันเหตุการณ์  ป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน 



เงินยืมทดรองจ่ายค้างส่ง หมายถึง เงินยืมทดรองจ่ายที่เมื่อครบกำหนดการยืมเงิน แต่ผู้ยืมเงินทดรองยังไม่ได้ดำเนินการส่งเอกสารและหลักฐานในการใช้เงิน และไม่คืนเงินที่เหลือจ่ายตามเวลาที่กำหนด 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ