หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและดำเนินการฝึกอบรม

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-4-173ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและดำเนินการฝึกอบรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวางแผนและดำเนินการฝึกอบรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนการฝึกอบรม    การดำเนินการฝึกอบรม และการทบทวนแผนการดำเนินงานฝึกอบรม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)พ่อครัว - 5122 (ISCO-88 : TH) หรือ 3434 (ISCO-08 : TH)พ่อครัวขนมปังอบ - 7412 (ISCO-88 : TH)พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม - 5123 (ISCO-88 : TH) หรือ 5131 (ISCO-08 : TH) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.08.096.1 วางแผนการฝึกอบรม 1.1 ตรวจสอบความจำเป็นในการฝึกอบรม 1.08.096.1.01 45715
1.08.096.1 วางแผนการฝึกอบรม 1.2 จัดลำดับความสำคัญของความจำเป็น ในการฝึกอบรม 1.08.096.1.02 45716
1.08.096.1 วางแผนการฝึกอบรม 1.3 กำหนดทรัพยากรที่ต้องใช้ในการสนับสนุนกิจกรรมการฝึกอบรม 1.08.096.1.03 45717
1.08.096.1 วางแผนการฝึกอบรม 1.4 ระบุถึงกิจกรรมการฝึกอบรมที่จำเป็นต่อองค์กร 1.08.096.1.04 45718
1.08.096.1 วางแผนการฝึกอบรม 1.5 กำหนดความพร้อมของผู้เรียน ในการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม 1.08.096.1.05 45719
1.08.096.1 วางแผนการฝึกอบรม 1.6 นำผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมามีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมการฝึกอบรม 1.08.096.1.06 45720
1.08.096.1 วางแผนการฝึกอบรม 1.7 พัฒนาตารางเวลาในการดำเนินการกิจกรรมการฝึกอบรม ตามที่ระบุไว้ 1.08.096.1.07 45721
1.08.096.1 วางแผนการฝึกอบรม 1.8 พัฒนาแผนปฏิบัติการ เพื่อช่วยในการดำเนินการกิจกรรมการฝึกอบรม 1.08.096.1.08 45722
1.08.096.1 วางแผนการฝึกอบรม 1.9 ส่งแผนการดำเนินการกิจกรรมการฝึกอบรมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.08.096.1.09 45723
1.08.096.1 วางแผนการฝึกอบรม 1.10 กระตุ้นให้ผู้เรียน มีส่วนในการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม 1.08.096.1.10 45724
1.08.096.2 ดำเนินการฝึกอบรม 2.1 ให้การสนับสนุนพนักงานในการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม 1.08.096.2.01 45725
1.08.096.2 ดำเนินการฝึกอบรม 2.2 จัดสรรทรัพยากรตามที่ผู้นำการฝึกอบรมต้องการในการจัดกิจกรรมเพื่อควบคุมระดับการให้บริการ 1.08.096.2.02 45726
1.08.096.2 ดำเนินการฝึกอบรม 2.3 แนะนำผู้เรียนเกี่ยวกับข้อบังคับที่กำหนดโดยผู้จัดกิจกรรมการฝึกอบรม 1.08.096.2.03 45727
1.08.096.2 ดำเนินการฝึกอบรม 2.4 รับฟังความคิดเห็นจากผู้เรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการฝึกอบรมแต่ละครั้ง 1.08.096.2.04 45728
1.08.096.2 ดำเนินการฝึกอบรม 2.5 ปรับเปลี่ยนตารางการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมตามความคิดเห็นจากผู้เรียนและประเด็นอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ระหว่างการจัดกิจกรรม 1.08.096.2.05 45729
1.08.096.2 ดำเนินการฝึกอบรม 2.6 เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม เพื่อตรวจสอบและประเมินการดำเนินงาน 1.08.096.2.06 45730
1.08.096.2 ดำเนินการฝึกอบรม 2.7 หมั่นติดต่อกับผู้จัด/ผู้ให้บริการการฝึกอบรม 1.08.096.2.07 45731
1.08.096.3 ทบทวนการวางแผนและการดำเนินงานฝึกอบรม 3.1 ประเมินผลกระทบของการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม 1.08.096.3.01 45732
1.08.096.3 ทบทวนการวางแผนและการดำเนินงานฝึกอบรม 3.2 ประเมินความคุ้มค่าที่ได้ จากการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม 1.08.096.3.02 45733
1.08.096.3 ทบทวนการวางแผนและการดำเนินงานฝึกอบรม 3.3 ระบุแนวทางการสร้างความคุ้มค่า ในการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น 1.08.096.3.03 45734
1.08.096.3 ทบทวนการวางแผนและการดำเนินงานฝึกอบรม 3.4 จัดทำรายงานการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมขององค์กร 1.08.096.3.04 45735

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ความสามารถในการใช้หลักการของการฝึกอบรมในสถานที่ทำงาน

-    ความสามารถในการใช้หลักการ เพื่อระบุถึงความจำเป็นในการฝึกอบรมรายบุคลล กลุ่ม และแผนก

-    ความสามารถในการจัดหากิจกรรมการฝึกอบรมที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ

-    ความสามารถในการเจรจาต่อรอง การวิจัย การติดต่อประสานงาน การสื่อสารและการสร้างแรงจูงใจ

-    ความสามารถในการวางแผน การวางกำหนดการ และประเมินกิจกรรมการฝึกอบรม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและกระบวนการขององค์กร ในการฝึกอบรมและการประเมินผล

-    ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมฝึกอบรมที่เหมาะสมกับบริบทของอุตสาหกรรม 

-    ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการขาดแคลนบุคลากร เมื่อผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

-    แฟ้มสะสมผลงาน 

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลสอบข้อเขียน

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

    

(ง) วิธีการประเมิน

-    ข้อสอบข้อเขียน

-    แฟ้มสะสมผลงาน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การสาธิตการปฏิบัติงาน

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



การตรวจสอบความจำเป็นในการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • การตรวจสอบผลของการตอบสนองความต้องการการฝึกอบรมการวิเคราะห์

  • การตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้ง การร้องขอการฝึกอบรมจากพนักงาน ผู้ร่วมงาน ลูกค้า หัวหน้า ผู้จัดการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  • การตรวจสอบแผน ทิศทาง และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

  • การตรวจสอบคุณสมบัติของพนักงาน ใบรับรอง ใบอนุญาต ฯลฯ

  • การตรวจสอบสภาพการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ครอบคลุม การเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือและอุปกรณ์ ขั้นตอน กฎหมาย แผนผัง ความต้องการของลูกค้า ฯลฯ

  • การทำความเข้าใจถึงความต้องการการฝึกอบรมของแผนก คณะทำงานงาน และพนักงานแต่ละคน



จัดลำดับความสำคัญของความจำเป็นในการฝึกอบรม จะครอบคลุมถึง




  • ความสัมพันธ์ระหว่างความจำเป็นในการฝึกอบรมต้อง กับความต้องการขององค์กร โดยพิจารณาจากพื้นที่ แผนก คณะทำงาน และพนักงานแต่ละคน

  • ปัจจัยด้านกฎหมาย

  • การประเมินระดับสมรรถนะที่มีอยู่ กับความต้องการที่คาดหวัง

  • การประเมินค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการฝึกอบรมระยะสั้น เพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นเร่งด่วน

  • การระบุถึงผลกระทบของการไม่ตอบสนอง ต่อความจำเป็นเร่งด่วน ในการฝึกอบรม

  • การระบุกิจกรรมที่มีความสำคัญอื่น ๆ ที่องค์กรจะต้องรองรับ

  • การพิจารณาถึงความจำเป็นในการฝึกอบรม ร่วมกับการจัดลำดับความสำคัญ

  • การระบุแผนการทางเลือกในระยะสั้น ที่สามารถนำมาใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการได้ทันที นอกเหนือจาก การจัดกิจกรรมการฝึกอบรม



ทรัพยากร อาจครอบคลุมถึง




  • เวลา

  • พื้นที่/ที่ตั้งและสถานที่

  • ทรัพยากรบุคคล

  • ทรัพยากรการเงิน

  • ทรัพยากรด้านกายภาพ

  • กลุ่มเครือข่าย

  • การฝึกอบรมของหน่วยงานภายนอก



กิจกรรมการฝึกอบรม (รวมทั้ง กิจกรรมใด ๆ ที่จะส่งผลให้ผู้เรียนสำเร็จของ/หรือความคืบหน้าต่อการระบุสถานที่ทำงานทัศนคติทักษะ และ/หรือ ความรู้) อาจครอบคลุมถึง




  • การฝึกอบรมรูปแบบดั้งเดิม

  • การเรียนรู้จากคอมพิวเตอร์

  • การเรียนจากที่บ้าน

  • การฝึกอบรมและการเรียนทางไปรษณีย์

  • การประชุม สัมมนา การจัดนิทรรศการ การนำเสนอทางการค้า การฝึกอบรม การอภิปราย

  • การฝึกอบรมจัดโดยตัวแทนจำหน่าย อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องหน่วยงาน/ตัวแทนจากภาครัฐ

  • หลักสูตรการฝึกอบรมทั่วไป รวมทั้ง ชุดกิจกรรมการฝึกอบรม ที่นำเสนอโดยผู้จัดอบรมภายนอก

  • ทัศนศึกษา การเรียนรู้จากประสบการณ์ การเข้าเยี่ยมสถานที่ทางธุรกิจ

  • วิทยากรพิเศษ

  • การสาธิตและการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับ

  • โอกาสการเรียนรู้ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นขององค์กร



ตรวจสอบความพร้อมของผู้เรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม ควรเกี่ยวข้องกับ




  • ตรวจบัญชีรายชื่อของพนักงาน เพื่อกำหนดความยืดหยุ่นในการทำงาน เพื่อรองรับการขาดพนักงาน และการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม

  • ประสานงานกับผู้บังคับบัญชา ในการระบุพนักงานที่จะมาทำงานแทนผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม




  • ประสานงานกับฝ่ายการเงิน ในการคำนวณค่าจ้างแรงงาน ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม

  • ระบุเวลา วัน และช่วงที่มีอัตราส่วนลูกค้ามาใช้บริการสูง-ต่ำ



นำผู้มีส่วนได้เสีย มามีส่วนร่วมในการวางแผน อาจครอบคลุมถึง




  • หารือความต้องการของแต่ละบุคคลและกลุ่ม เกี่ยวกับกิจกรรมการฝึกอบรม

  • ระบุปัญหาและอุปสรรคของแต่ละบุคคลและกลุ่ม ในการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม

  • ระบุคุณสมบัติของผู้เรียน สำหรับกิจกรรมการฝึกอบรม

  • หารือเกี่ยวกับตัวเลือกของกิจกรรมการฝึกอบรม กับหัวหน้างาน บริหารและผู้เรียน

  • อธิบายความจำเป็นของกิจกรรมการฝึกอบรม

  • ระบุประโยชน์ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม

  • ระบุการสนับสนุนที่จัดเตรียม สำหรับผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ครอบคลุม ค่าเดินทาง ค่าธรรมเนียม ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าอาหารและที่พัก

  • หารือเกี่ยวกับเวลาในการหยุดงาน เพื่อไปร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม ครอบคลุม การเรียน การฝึกปฏิบัติ การประเมินที่เหมาะสมของแต่ละกิจกรรม



พัฒนาตารางเวลา อาจครอบคลุมถึง




  • รองรับความจำเป็นในการปฏิบัติงานของผู้เรียนแต่ละคน  เพื่อให้ได้ขอบเขตงานที่เป็นไปได้ มากที่สุด

  • รองรับความสำคัญในการปฏิบัติงานของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อให้ได้ขอบเขตงานที่เป็นไปได้ มากที่สุด

  • จำกัดกิจกรรมการฝึกอบรมและจำนวนการเข้าร่วม เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณและข้อจำกัด อื่น ๆ ในการดำเนินงาน

  • ระบุวัน วันที่ เวลา และพนักงาน สำหรับแต่ละกิจกรรมการฝึกอบรม

  • ประสานงานการเข้าร่วมของผู้เรียน จากพื้นที่/หน่วยงานต่าง ๆ ให้มาจัดกิจกรรมการฝึกอบรมร่วมกัน

  • ระบุกิจกรรมการฝึกอบรม ที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ในขณะที่ลดค่าใช้จ่าย รวมทั้ง หาสถานที่สำหรับจัดงานและกิจกรรมที่ทำได้ในท้องถิ่น 

  • ส่งร่างกำหนดการไปยังผู้เรียน และผู้บริหาร/หัวน้างาน

  • แก้ไขร่างกิจกรรมการฝึกอบรม จากข้อเสนอแนะที่ได้รับ เพื่อให้กิจกรรมบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรมากที่สุด



พัฒนาแผนปฏิบัติการ เพื่อช่วยในการดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • จัดสรรความรับผิดชอบ ในการดำเนินการตามแผน

  • รับสมัคร และ/หรือ ลงทะเบียนกิจกรรมการฝึกอบรม

  • ยืนยันการรับสมัคร และ/หรือ ลงทะเบียน รวมทั้ง รายละเอียดกิจกรรมการฝึกอบรม การเตรียมตัว และ/หรือ คุณสมบัติที่จำเป็นต้องมี เพื่อใช้ในการสมัคร และ/หรือ ลงทะเบียน

  • พัฒนาแนวทางที่ผู้เข้าร่วมในกิจกรรมการฝึก สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะที่ได้เรียนรู้กับพนักงานอื่น ๆ ในที่ทำงาน/องค์กร

  • อนุมัติพนักงานที่จะทำหน้าที่แทนและงบประมาณด้านค่าจ้างแรงงาน ตามความเหมาะสม

  • กำหนดกฎเกณฑ์ ที่จะใช้ในการประเมินหลังเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม



แผนการดำเนินงานที่ใช้ร่วมกัน อาจครอบคลุมถึง




  • เตรียมเอกสารข้อมูล เช่น จดหมาย บันทึกข้อมความ ใบปิดประกาศ

  • กล่าวถึงกิจกรรมการฝึกอบรม ในที่ประชุมพนักงาน

  • ใช้สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุม จดหมายอีเล็คทรอนิค อินทราเน็ต และโทรสาร

  • ดำเนินการจัดงานเฉพาะ เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการฝึกอบรม



การสนับสนุนพนักงานในการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • ชำระเงินหรือเตรียมการด้านอื่น ๆ เช่น ยานพาหนะ/ต่อวัน การเดินทาง และการจัดหาที่พัก

  • จัดหาเครื่องมือที่ต้องใช้ ก่อนการฝึกอบรม เช่น เอกสารการอ่าน

  • ระบุ และ/หรือ การยืนยันสถานที่จัดการฝึกอบรม เวลาในการเข้าร่วม ที่ตั้งของสถานที่ ฯลฯ

  • ชี้แจงกับผู้เรียน เกี่ยวกับความคาดหวังขององค์กร จากการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม

  • กำหนดเวลาในการอนุญาตให้พนักงานหยุด เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับการเดินทางไปไปยังที่ฝึกอบรม

  • ปรับตารางการทำงาน ให้พนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม



จัดทรัพยากรที่จำเป็น เพื่อให้หัวหน้างานรักษาระดับการบริการ อาจครอบคลุมถึง




  • อนุมัติ และ/หรือ จัดหาพนักงานเสริม เพื่อมาทำงานทดแทนผู้ที่เข้าร่วมการฝึกอบรม

  • ปรับเปลี่ยนปริมาณงาน เพื่อรองรับการลดลงของระดับพนักงาน

  • แก้ไขกิจกรรมในสถานที่ทำงาน เพื่อรองรับการลดลงของระดับพนักงาน

  • แก้ไขเวลาให้บริการ

  • ปิดพื้นที่ให้บริการ

  • อนุมัติการจ่ายค่าล่วงเวลา ให้กับพนักงานที่ทำงานแทน ผู้ที่เข้าร่วมกาฝึกอบรม



ข้อบังคับที่กำหนด อาจครอบคลุมถึง




  • การตรงต่อเวลา

  • ระยะเวลาการเข้าเรียน

  • การมีส่วนร่วมในกิจกรรม

  • ข้อตกลงด้านต่าง ๆ ของกิจกรรมการฝึกอบรม

  • การดำเนินการประเมินผลกิจกรรมการฝึกอบรม

  • การสร้างเครือข่ายกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมอื่น ๆ

  • การนำเอกสารหรือสิ่งของที่ได้จากการฝึกอบรม ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง

  • การมุ่งเน้นถึงความจำเป็นในการฝึกอบรม ที่เหมาะกับผู้เรียนแต่ละคน พื้นที่ในการปฏิบัติงาน แผนก และ/หรือ องค์กร

  • ความสามารถในการแสดง/พิสูจน์ถึงผลการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม

  • การแบ่งปันความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ได้เรียนรู้ กับพนักงานคนอื่น ๆ



รับฟังความคิดเห็นจากผู้เรียน อาจครอบคลุมถึง




  • ความคิดเห็นที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือวาจา

  • ข้อเสนอแนะจากการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมการฝึกอบรมทั้งหมด

  • ความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาการฝึกอบรม

  • คำอธิบายในสิ่งที่ผู้เรียนเชื่อว่า กิจกรรมการฝึกอบรม ช่วยให้บรรลุความจำเป็นตามที่ระบุ

  • การสร้างความมั่นใจว่า ข้อเสนอแนะมาจากผู้เรียนที่เข้าร่วมการฝึกอบรม

  • การหารือในเรื่องที่เป็นกังวลกับผู้จัด/ผู้ให้บริการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม



ปรับเปลี่ยนตารางกิจกรรมการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • การเพิ่มจำนวนผู้เรียนในกิจกรรมการฝึกอบรม เป็นกรณีพิเศษ

  • การลดจำนวนผู้เรียนในกิจกรรมการฝึกอบรม จากที่ระบุในเบื้องต้น

  • การร้องขอผู้จัด/ผู้ให้บริการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม ปรับเปลี่ยนกิจกรรมตามคำเสนอแนะที่ได้รับ หรือการเปลี่ยนแปลงตามความจำเป็น

  • การหาสิ่งชดเชยจากผู้จัด/ผู้ให้บริการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม หากกิจกรรมไม่เป็นไปตามสัญญา

  • การย้ายผู้เรียนจากกิจกรรมการฝึกอบรมทั่วไป และการทำงานร่วมกับผู้จัด/ผู้ให้บริการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม เพื่อสร้างกิจกรรมการฝึกอบรมเฉพาะ

  • การเปลี่ยนแปลงรูปแบบกิจกรรมการฝึกอบรม โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

  • การหารือเกี่ยวกับ การเปลี่ยนผู้อำนวยความสะดวกใช้ในกิจกรรมการฝึกอบรม (Facilitator) ที่ผู้เรียนระบุว่ามีปัญหา

  • การแนะนำผู้จัด/ผู้ให้บริการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม เกี่ยวกับความต้องการด้านต่าง ๆ ขององค์กร ครอบคลุม เวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ช่วงเวลาของการฝึกอบรม กิจกรรม การประเมินผล การเตรียมจัดอาหารและเครื่องดื่ม การประชุม ฯลฯ

  • การหารือถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่ถูกเสนอ ในประเด็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน กับหัวหน้างาน ผู้บริหาร และลูกค้า ฯลฯ

  • การสื่อสารเกี่ยวกับตารางการเรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงกับผู้เรียนและคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



ประเมินผลกระทบของการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • หาข้อมูลจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • เปรียบเทียบข้อมูลการปฏิบัติงาน การดำเนินงาน และสถิติขององค์กร ก่อนการฝึกอบรมกับหลังการฝึกอบรม

  • มุ่งเน้นเกณฑ์ที่ระบุไว้ในขั้นตอนการวางแผน เพื่อใช้ประเมินการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมการฝึกอบรม

  • เปรียบเทียบผลของการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม จากการมีส่วนร่วมในการฝึกอบรมที่มีมาตรฐานมากขึ้น



ประเมินความคุ้มค่าที่ได้จากการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • ดำเนินการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทน รวมทั้ง ระบุและคำนวณต้นทุนแอบแฝง ที่เกิดขึ้นจริงในกิจกรรมการฝึกอบรม

  • เปรียบเทียบตัวเลขการวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม รวมทั้ง ระบุต้นทุนแอบแฝงที่เกิดขึ้นจริงในกิจกรรมการฝึกอบรม

  • ระบุการฝึกอบรมทางเลือก ที่สามารถจัดหา โดยใช้จำนวนต้นทุนเท่ากัน

  • รับรู้ประเด็นทางอารมณ์ ทั้งด้านบวก และ/หรือ ด้านลบ ที่ผู้เรียนประสบ จากการเข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม



แนวทางการสร้างความคุ้มค่าในการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • หาส่วนลด สำหรับการเข้าร่วมกับกิจกรรมการฝึกอบรม ในอนาคต

  • จัดกิจกรรมฝึกอบรมภายใน รวมทั้ง นำเสนอแก่พนักงาน ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

  • จัดกิจกรรมการฝึกอบรมกับองค์กรอื่น โดยการร่วมทุนกัน

  • ร้องขอผู้เรียน ในการสบทบทุนการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม รวมทั้ง ละเว้นค่าจ้างแรงงาน

  • ทำงานร่วมกับผู้จัด/ผู้ให้บริการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม เพื่อเสนอกิจกรรมที่มีระยะสั้นขึ้น

  • พัฒนาวิธีการจัดโครงสร้างภายในองค์กร เพื่อเอื้อต่อการแบ่งปันความรู้และทักษะจากผู้เรียนสู่พนักงานคนอื่น



รายงานการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • โครงร่างและภาพรวมของกิจกรรมการฝึกอบรมที่จัดขึ้น รวมทั้ง เหตุผลในการจัด

  • ต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

  • จำนวนของพนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรม

  • ภาพรวมของการประเมินผู้เรียน จากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการฝึกอบรม

  • บทวิเคราะห์ต้นทุนเชิงเปรียบเทียบ ในการจัดการกิจกรรมการฝึกอบรมกับวิธีการอื่น ๆ

  • คำอธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมการฝึกอบรมถัดไป ที่ได้รับการระบุว่ามีศักยภาพสำหรับผู้เรียนในอนาคต รวมทั้ง การระบุกิจกรรมการฝึกที่ได้ระบุไว้แล้ว แต่ยังไม่มีการเข้าร่วม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ