หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

อำนวยความสะดวกกรณีสิ่งของสูญหาย

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-3-162ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ อำนวยความสะดวกกรณีสิ่งของสูญหาย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการอำนวยความสะดวกกรณีสิ่งของสูญหาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดให้มีจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย การบริหารจัดการสิ่งของสูญหาย การบริหารจัดการคำร้องเกี่ยวกับสิ่งของที่สูญหาย และการบริหารจัดการสิ่งของสูญหายที่ไม่มีผู้แจ้งความจำนงเป็นเจ้าของ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.04.147.1 จัดให้มีจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย 1.1 กำหนดพื้นที่/บริเวณที่จำเป็นจะต้องมีจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย 1.04.147.1.01 45056
1.04.147.1 จัดให้มีจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย 1.2 ระบุจุด/พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับเป็นที่ตั้งจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย 1.04.147.1.02 45057
1.04.147.1 จัดให้มีจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย 1.3 จัดทำนโยบายและแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งของสูญหายภายในองค์กร 1.04.147.1.03 45058
1.04.147.1 จัดให้มีจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย 1.4 ระบุข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของที่สูญหายหรือสิ่งของที่พบ 1.04.147.1.04 45059
1.04.147.1 จัดให้มีจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย 1.5 สื่อสารที่ตั้งและหน้าที่ของจุดประสานงานสิ่งของสูญหายให้แก่ลูกค้าและพนักงานทราบ 1.04.147.1.05 45060
1.04.147.1 จัดให้มีจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย 1.6 จัดทำทะเบียนสิ่งของสูญหาย/สิ่งของที่พบ 1.04.147.1.06 45061
1.04.147.2 บริหารจัดการสิ่งของสูญหาย 2.1 ตรวจสอบสิ่งของเพื่อความปลอดภัย และคำนึงถึงข้อกำหนดทางกฎหมายและดำเนินการอย่างเหมาะสม 1.04.147.2.01 45062
1.04.147.2 บริหารจัดการสิ่งของสูญหาย 2.2 บันทึกรายการสิ่งของที่พบ 1.04.147.2.02 45063
1.04.147.2 บริหารจัดการสิ่งของสูญหาย 2.3 บันทึกรายการสิ่งของที่ได้รับแจ้งว่าสูญหาย 1.04.147.2.03 45064
1.04.147.2 บริหารจัดการสิ่งของสูญหาย 2.4 ติดป้ายบอกข้อมูลสิ่งของที่พบ 1.04.147.2.04 45065
1.04.147.2 บริหารจัดการสิ่งของสูญหาย 2.5 จัดเก็บสิ่งของที่พบอย่างเหมาะสม 1.04.147.2.05 45066
1.04.147.2 บริหารจัดการสิ่งของสูญหาย 2.6 แจ้งเจ้าของในกรณีที่ทราบตัวเจ้าของ 1.04.147.2.06 45067
1.04.147.2 บริหารจัดการสิ่งของสูญหาย 2.7 แจ้งพนักงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการส่งคืนให้แก่เจ้าของ 1.04.147.2.07 45068
1.04.147.3 บริหารจัดการคำร้องเกี่ยวกับสิ่งของที่สูญหาย 3.1 ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่มาแจ้งว่ามีสิ่งของสูญหายเพื่อระบุสิ่งของที่สูญหาย 1.04.147.3.01 45069
1.04.147.3 บริหารจัดการคำร้องเกี่ยวกับสิ่งของที่สูญหาย 3.2 ตรวจสอบยืนยันความเป็นเจ้าของของสิ่งของที่ขอรับคืน 1.04.147.3.02 45070
1.04.147.3 บริหารจัดการคำร้องเกี่ยวกับสิ่งของที่สูญหาย 3.3 ขอรับบัตรประจำตัวของเจ้าของ 1.04.147.3.03 45071
1.04.147.3 บริหารจัดการคำร้องเกี่ยวกับสิ่งของที่สูญหาย 3.4 บันทึกรายการในทะเบียนสิ่งของสูญหาย/สิ่งของที่พบให้สมบูรณ์ 1.04.147.3.04 45072
1.04.147.3 บริหารจัดการคำร้องเกี่ยวกับสิ่งของที่สูญหาย 3.5 ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้แจ้งสิ่งของสูญหายในกรณีที่เป็นการแจ้งจากต่างประเทศหรือสถานที่ห่างไกลในการรับสิ่งของคืน 1.04.147.3.05 45073
1.04.147.4 บริหารจัดการสิ่งของสูญหายที่ไม่มีผู้แจ้งความจำนงเป็นเจ้าของ 4.1 ปฏิบัติตามนโยบายขององค์กรที่กำหนดไว้ 1.04.147.4.01 45074
1.04.147.4 บริหารจัดการสิ่งของสูญหายที่ไม่มีผู้แจ้งความจำนงเป็นเจ้าของ 4.2 ปฏิบัติตามภาระหน้าที่หรือข้อผูกพันตามกฎหมาย 1.04.147.4.02 45075
1.04.147.4 บริหารจัดการสิ่งของสูญหายที่ไม่มีผู้แจ้งความจำนงเป็นเจ้าของ 4.3 ขนย้ายสิ่งของที่ไม่มีผู้แจ้งความจำนงเป็นเจ้าของออกจากที่จัดเก็บกำจัดสิ่งของและบันทึกรายการในทะเบียน 1.04.147.4.03 45076

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการใช้งานเครื่องมือ/อุปกรณ์/ระบบงานสำหรับการประสานงานสิ่งของสูญหาย

-    ทักษะในการให้รายละเอียดและประเมินมูลค่าสิ่งของ

-    ทักษะในการระบุสิ่งที่ผิดกฎหมายหรือสิ่งที่เป็นอันตราย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรเกี่ยวกับการบริการประสานงานสิ่งของสูญหาย

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรเกี่ยวกับการจัดการสิ่งของต้องสงสัยหรือวัสดุอันตราย

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดตามกฎหมายที่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ และความผิดฐานรับของโจร

-    ความรู้เกี่ยวกับผังพื้นที่ขององค์กร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การสาธิตการปฏิบัติงาน

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

จุด/พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับเป็นที่ตั้งจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย ขึ้นอยู่กับขนาดและผังพื้นที่ของสถานที่ ซึ่งอาจจะรวมถึงสถานที่ต่อไปนี้ 

    สำนักงานของผู้จัดการ

    สำนักงานของแม่บ้าน

    ห้องผ้า

    สำนักงานแผนกบริการส่วนหน้า

    ห้องเก็บของรวม



นโยบายและแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งของสูญหาย อาจเกี่ยวกับประเด็นดังต่อไปนี้ 

    รายละเอียดและมูลค่าของสิ่งของที่จะจัดเก็บเพื่อรอเจ้าของ และสิ่งของที่ไม่จัดเก็บ 

    ระยะเวลาที่จะจัดเก็บสิ่งของรอจนกระทั่งเจ้าของมาขอรับคืน และถือเป็นสิ่งของที่ไม่มีเจ้าของเมื่อพ้นกำหนดเวลา

    วิธีการจัดการกับสิ่งของที่ไม่มีผู้อ้างเป็นเจ้าของ

    วิธีการจัดการกับสิ่งของต้องสงสัย

    ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งของที่พบ

    ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับสิ่งของที่สูญหาย

    การติดต่อประสานงานกับเจ้าของสิ่งของที่พบ ในกรณีที่ทราบผู้เป็นเจ้าของ

    ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับการส่งคืนสิ่งของที่พบ





ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งของสูญหาย ควรจะรวมถึง

•     หลักความระมัดระวังรอบคอบ (Duty of Care)

•     การรับฝากของ

•     หลักกฎหมายที่ว่าด้วยการรับของโจร



สิ่งของที่สูญหาย หรือสิ่งของที่พบ อาจรวมถึง

    สิ่งของที่มีมูลค่าไม่สูง

    สิ่งของที่มีมูลค่าสูง เช่น กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์ เงินสด เครื่องเพชร เสื้อผ้า โทรศัพท์ กุญแจ กระเป๋าเงิน เป็นต้น 

    เอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น หนังสือเดินทาง บัตรเครดิต ใบอนุญาตต่าง ๆ รายงานทางธุรกิจ

    สิ่งของที่เป็นอันตรายหรือผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด อาวุธ สินค้านำเข้าผิดกฎหมาย วัตถุระเบิด พัสดุต้องสงสัย 



การสื่อสารที่ตั้งและหน้าที่ของจุดประสานงานสิ่งของสูญหาย ควรจะรวมถึง

•     ป้ายบอกทางหรือตำแหน่งที่ตั้ง

•     คำแนะนำที่วางไว้ในห้องพัก

•     การแนะนำหรือให้ข้อมูลแก่พนักงานในระหว่างการประชุม



ทะเบียนสิ่งของสูญหาย/สิ่งของที่พบ ควรมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 

    วันที่และเวลาที่พบสิ่งของ หรือวันที่และเวลาที่ทราบว่าสิ่งของหายไป

    รายละเอียดของสิ่งของที่พบ/สิ่งของที่สูญหาย

    ชื่อบุคคลที่พบสิ่งของ/ชื่อเจ้าของสิ่งที่สูญหาย

    สถานที่ที่พบสิ่งของ หรือสถานที่ที่อยู่ครั้งสุดท้ายของสิ่งของที่สูญหาย

    การจัดสรรหมายเลขทะเบียนให้กับสิ่งของที่พบ

    รายละเอียดของผู้รับสิ่งของ

    ที่ว่างสำหรับลงลายมือชื่อของผู้รับสิ่งของ



การดำเนินการอย่างเหมาะสมกับวัตถุ/สิ่งของที่เป็นอันตรายหรือผิดกฎหมาย อาจเกี่ยวข้องกับ

•     การรายงานวัตถุต้องสงสัยหรือผิดกฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยภายในองค์กร ผู้บริหาร หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบ

•     การเคลื่อนย้ายสิ่งของดังกล่าวออกจากพื้นที่

•     การบรรจุสิ่งของดังกล่าวเพื่อป้องกันความเสียหายและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

•     การขนย้ายวัตถุดังกล่าวด้วยความระมัดระวัง

•     การไม่ไปแตะต้องหรือเคลื่อนย้ายวัตถุดังกล่าว



การบันทึกรายการสิ่งของที่พบ ควรจะครอบคลุมถึง

•     การระบุชื่อบุคคลที่พบสิ่งของดังกล่าว

•     การระบุสถานที่ที่พบสิ่งของดังกล่าว

•     การระบุวันที่ เวลา ที่พบสิ่งของดังกล่าว

•     การระบุรายละเอียดของสิ่งของที่พบ

•     การจัดสรรหมายเลขทะเบียนให้กับสิ่งของที่พบเพื่อทำการติดป้ายสิ่งของดังกล่าว

•     การลงลายมือชื่อลงในทะเบียนสิ่งของสูญหาย/สิ่งของที่พบ



บันทึกรายการสิ่งของที่ได้รับแจ้งว่าสูญหาย อาจครอบคลุมถึง

•     การระบุชื่อบุคคลผู้เป็นเจ้าของ

•     การระบุตำแหน่งสถานที่ที่สิ่งของดังกล่าวสูญหายหรือสถานที่ที่อยู่ครั้งสุดท้ายก่อนสูญหาย

•     การระบุช่วงเวลาหรือวันที่สิ่งของดังกล่าวสูญหาย

•     รายละเอียดของสิ่งของที่สูญหาย

•     รายละเอียดในการติดต่อกลับของผู้เป็นเจ้าของ



การติดป้ายบอกข้อมูลสิ่งของที่พบ อาจครอบคลุมถึง

•     การกรอกข้อมูลรายละเอียดลงบนป้าย

•     การติดป้ายบนสิ่งของที่พบโดยให้ตัวเลขทะเบียนที่ถูกจัดสรรตรงกับสิ่งของดังกล่าว



การจัดเก็บสิ่งของที่พบอย่างเหมาะสม ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้

    หากเป็นอาหารควรเก็บไว้ในตู้เย็น

    หากเป็นสิ่งของมีค่าควรเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย

    สิ่งของถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะหรือพนักงานทั่วไป

    แยกเก็บสิ่งของทั่วไปไว้ในชั้น/ตู้เก็บของปกติ

    จัดเก็บสิ่งของโดยไม่สร้างความเสียหายแก่สิ่งของ



การแจ้งเจ้าของ อาจรวมถึง

    การดำเนินการตามระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กร

    ติดต่อประสานงานทางโทรศัพท์กับเจ้าของสิ่งของ

    สอบถามความต้องการของเจ้าของสิ่งของว่าต้องการรับสิ่งของดังกล่าวหรือไม่



การแจ้งเจ้าหน้าที่ภายในที่เกี่ยวข้อง อาจรวมถึง

•     การติดต่อเจ้าหน้าที่ต้อนรับส่วนหน้า

•     การติดต่อเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

•     การติดต่อหัวหน้างานที่ดูแลพื้นที่ในชั้นนั้น ๆ 



การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่มาแจ้งว่ามีสิ่งของสูญหาย อาจจะครอบคลุมถึง

•     การระบุสิ่งของที่สูญหาย วัน เวลา และสถานที่ที่สิ่งของดังกล่าวสูญหาย

•     การนำเอาสิ่งของออกมาให้ผู้ที่มาแจ้งดู

•     การระบุสิ่งของในทะเบียนสิ่งของสูญหาย/สิ่งของที่พบ

การตรวจสอบยืนยันความเป็นเจ้าของสิ่งของที่ขอรับคืน อาจพิจารณาจาก

    ขอให้ผู้ขอรับสิ่งของสูญหายดังกล่าวแจ้งรายละเอียดของสิ่งของที่สูญหาย

    เปรียบเทียบรูปถ่ายที่ปรากฏในเอกสารกับลักษณะหน้าตาของผู้ขอรับสิ่งของ

    ขอดูเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งรวมถึงใบเสร็จรับเงินที่ซื้อสินค้านั้น



บัตรประจำตัวของเจ้าของ อาจรวมถึง

•     ใบอนุญาตขับขี่

•    หนังสือเดินทาง



การบันทึกรายการในทะเบียนสิ่งของสูญหาย/สิ่งของที่พบให้สมบูรณ์ อาจรวมถึง

•     การกรอกรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาติดต่อขอรับสิ่งของคืน

•     การลงลายมือชื่อของผู้มาติดต่อขอรับสิ่งของคืน เพื่อยืนยันการรับสิ่งของคืน



การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้แจ้งสิ่งของสูญหายในกรณีที่เป็นการแจ้งจากต่างประเทศ หรือสถานที่ห่างไกล อาจครอบคลุมถึง

    การระบุหรือยืนยันความเป็นเจ้าของทรัพย์สินตามกฎหมายของสิ่งของที่ขอคืน

    การสอบถามวิธีการส่งคืนสิ่งของที่ผู้ขอรับสิ่งของต้องการ

    การแจ้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งคืนสิ่งของ

    การดำเนินการส่งคืนสิ่งของ 



นโยบายขององค์กรที่กำหนดไว้ อาจรวมถึง

•     ระยะเวลาในการเก็บสิ่งของนั้นไว้ในที่เก็บ

•     สิ่งของที่สามารถยกให้กับผู้ที่พบเจอสิ่งของดังกล่าว

•     สิ่งของที่จะต้องถูกส่งมอบให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ



ภาระหน้าที่หรือข้อผูกพันตามกฎหมาย อาจรวมถึง

•     การพิจารณาถึงลักษณะหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องทางกฎหมายในเรื่องของการเป็นขโมยจากการเก็บสิ่งของได้/การพบหรือเจอสิ่งของ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ