หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนและดำเนินการอพยพออกจากอาคาร

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-3-161ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนและดำเนินการอพยพออกจากอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวางแผนและดำเนินการอพยพออกจากอาคาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดทำนโยบายและขั้นตอนการอพยพ การเตรียมการสำหรับการอพยพ การปรับปรุงแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน การดำเนินการอพยพ และการทบทวนแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินภายหลังการนำไปใช้จริง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.04.148.1 จัดทำนโยบายและขั้นตอนการอพยพ 1.1 เชิญเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในขั้นตอนการวางแผน 1.04.148.1.01 45077
1.04.148.1 จัดทำนโยบายและขั้นตอนการอพยพ 1.2 ระบุข้อกำหนดด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการอพยพ 1.04.148.1.02 45078
1.04.148.1 จัดทำนโยบายและขั้นตอนการอพยพ 1.3 ระบุปัจจัยเสี่ยงและภัยคุกคามที่มีต่อสถานที่ 1.04.148.1.03 45079
1.04.148.1 จัดทำนโยบายและขั้นตอนการอพยพ 1.4 จัดทำแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.04.148.1.04 45080
1.04.148.1 จัดทำนโยบายและขั้นตอนการอพยพ 1.5 จัดหาอุปกรณ์เครื่องมือสนับสนุนการนำแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินไปใช้ปฏิบัติ 1.04.148.1.05 45081
1.04.148.1 จัดทำนโยบายและขั้นตอนการอพยพ 1.6 นำแผนการอพยพ/แผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินและผังอาคารในแต่ละชั้นวางไว้ในจุดที่มองเห็นสังเกตได้ง่าย และในพื้นที่ที่จำเป็น 1.04.148.1.06 45082
1.04.148.2 เตรียมการสำหรับการอพยพ 2.1 ชี้แจงให้พนักงานได้ทราบเกี่ยวกับแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.04.148.2.01 45083
1.04.148.2 เตรียมการสำหรับการอพยพ 2.2 ทดสอบระบบและเครื่องมือที่ใช้ในการอพยพและในสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.04.148.2.02 45084
1.04.148.2 เตรียมการสำหรับการอพยพ 2.3 ฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติในสถานการณ์ฉุกเฉินและการอพยพ 1.04.148.2.03 45085
1.04.148.2 เตรียมการสำหรับการอพยพ 2.4 ฝึกซ้อมการอพยพเบื้องต้น 1.04.148.2.04 45086
1.04.148.2 เตรียมการสำหรับการอพยพ 2.5 ฝึกซ้อมการอพยพอย่างต่อเนื่อง 1.04.148.2.05 45087
1.04.148.3 ปรับปรุงแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.1 กำหนดตารางเวลาการสื่อสารระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 1.04.148.3.01 45088
1.04.148.3 ปรับปรุงแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.2 ตรวจสอบสถานที่เพื่อค้นหาปัจจัยใหม่ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการอพยพหรือการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.04.148.3.02 45089
1.04.148.3 ปรับปรุงแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.3 ทบทวนแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินจากคำแนะนำที่ได้รับ 1.04.148.3.03 45090
1.04.148.3 ปรับปรุงแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.4 เผยแพร่แผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ 1.04.148.3.04 45091
1.04.148.4 ดำเนินการอพยพ 4.1 ระบุและประเมินความจำเป็นที่ต้องทำการอพยพ 1.04.148.4.01 45092
1.04.148.4 ดำเนินการอพยพ 4.2 เริ่มดำเนินการอพยพตามแนวทางที่กำหนดไว้ในแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.04.148.4.02 45093
1.04.148.4 ดำเนินการอพยพ 4.3 ดำเนินการอพยพตามแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.04.148.4.03 45094
1.04.148.4 ดำเนินการอพยพ 4.4 รับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดสถานการณ์และสิ่งที่เป็นอันตรายที่เกิดขึ้น 1.04.148.4.04 45095
1.04.148.5 ทบทวนแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินภายหลังการนำไปใช้จริง 5.1 ทบทวนแผนร่วมกับพนักงานและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย 1.04.148.5.01 45096
1.04.148.5 ทบทวนแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินภายหลังการนำไปใช้จริง 5.2 ทบทวนแผนร่วมกับหน่วยงานบริการฉุกเฉิน 1.04.148.5.02 45097
1.04.148.5 ทบทวนแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินภายหลังการนำไปใช้จริง 5.3 ทบทวนแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินจากคำแนะนำที่ได้รับ 1.04.148.5.03 45098
1.04.148.5 ทบทวนแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินภายหลังการนำไปใช้จริง 5.4 เผยแพร่แผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินที่ปรับปรุงใหม่ 1.04.148.5.04 45099
1.04.148.5 ทบทวนแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินภายหลังการนำไปใช้จริง 5.5 จัดให้มีการฝึกอบรมตามแนวทางใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ที่ปรับปรุงใหม่ 1.04.148.5.05 45100

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการประยุกต์ใช้นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรเกี่ยวกับการอพยพ

-    ทักษะการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง และเครื่องมือสื่อสาร

-    ทักษะในการประเมินภัยคุกคามและบริหารความเสี่ยง

-    ทักษะการติดต่อสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรเกี่ยวกับการอพยพ หรือแผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน

-    ความรู้เกี่ยวกับผังสถานที่ จุดติดตั้งเครื่องมือ/อุปกรณ์ระบบรักษาความปลอดภัย 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การสาธิตการปฏิบัติงาน

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อาจรวมถึง

    บุคคลที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบในสถานการณ์ฉุกเฉิน

    เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

    เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคารสถานที่

    เจ้าหน้าที่ฝ่ายซ่อมบำรุง

    พนักงานที่มีโอกาสเผชิญกับเหตุการณ์ที่เป็นอันตราย เช่น พนักงานต้อนรับ พนักงานตรวจสอบบัญชีธุรกรรมในช่วงเวลากลางคืน (Night Auditor) ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ

    เจ้าหน้าที่ดับเพลิง เจ้าหน้าที่กู้ภัย

    แพทย์ฉุกเฉินและรถพยาบาล

    เจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉิน

    เจ้าหน้าที่ตำรวจ

    หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด

    สมาชิกของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน



ข้อกำหนดด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการอพยพ อาจรวมถึง

•     การพิจารณาถึงกฎหมายจารีตประเพณีที่เป็นสัญญาข้อผูกมัดหรือหน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบด้วยความรอบคอบระมัดระวัง

•     การพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายทางแพ่งและกฎหมายอาญา

•     การพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและความปลอดภัย



ปัจจัยเสี่ยงและภัยคุกคาม อาจรวมถึง

    อัคคีภัย

    คำขู่วางระเบิด

    แก๊สพิษรั่ว

    แผ่นดินไหว

    การระเบิด

    ไฟฟ้าดับ

    อุทกภัย



แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กรมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภาวะฉุกเฉินหรือภัยพิบัติต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเสียหายให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเป็นการสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐ 

พนักงานทุกคนควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับแผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน และ/หรือ คู่มือการปฏิบัติของพนักงานสำหรับเหตุฉุกเฉินประเภทต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ทันท่วงทีโดยไม่ต้องรอการสั่งการจากฝ่ายบริหาร อาจรวมถึง

•     การเตรียมรายละเอียดและผังแสดงตำแหน่งของห้อง ตำแหน่งที่ตั้งของอุปกรณ์สัญญาณเตือนภัย อุปกรณ์ตรวจจับอัคคีภัย อุปกรณ์ดับเพลิง ทางเข้า-ออก จุดรวมพล เป็นต้น

•     การเตรียมผังของแต่ชั้น รวมถึงทางเข้า-ออกอาคาร ประตู อุโมงค์ หรือทางเข้าทางหลังคา

•     การระบุบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงลำดับหรือขั้นตอนและอำนาจในการสั่งการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยควรประกอบด้วยตำแหน่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช่น หัวหน้าผู้ดูแลรักษาความปลอดภัย เจ้าหน้าที่สื่อสาร ผู้ดูแลควบคุมพื้นที่    ผู้ดูแลควบคุมพื้นที่ในแต่ชั้น เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย

•     การระบุวิธีในการตรวจสอบจำนวนคนและระบุคนที่หายไปหลังจากการดำเนินการอพยพ

•     การให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในชีวิตมากกว่าการปกป้องทรัพย์สิน

•     การให้สวัสดิการด้านต่าง ๆ แก่ลูกค้าและพนักงาน เช่น การจัดเตรียมเสื้อผ้า ห้องน้ำ ยานพาหนะในการขนส่ง อุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสารกับญาติและเพื่อน ๆ และการให้คำปรึกษาต่าง ๆ

•     การจัดการประสานงานกับสื่อ เช่น การแต่งตั้งบุคคลที่จะให้ข้อมูลกับสื่อ การจัดเตรียมข้อมูลที่จะให้กับสื่อ

•     การกำหนดให้มีการช่วยเหลือผู้พิการ คนชราและเด็ก เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการอพยพ

•     การเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของสารเคมีที่ใช้ในองค์กรเพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้ทันที

•     การเตรียมรายการตรวจสอบในกรณีที่มีการขู่วางระเบิด

•     การพัฒนาปรับปรุงแผนตามความเหมาะสมและมีความยืดหยุ่นในแผน โดยการปรับแผนรับมือตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์หรือความเสี่ยงที่เป็นอันตราย

•     จัดทำระบบข้อมูลและการเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพ

•     จัดทำระบบการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน

•     การระบุถึงเนื้อหาที่จำเป็น/สิ่งที่ต้องอบรมพนักงานเพื่อสนับสนุนการอพยพ

•     การวางแผนสำหรับการอพยพฉุกเฉินและการอพยพในกรณีที่มีการเตือนภัยล่วงหน้า

•     การขอให้เจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉินศึกษา/อ่านแผนดังกล่าว พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนที่จัดทำขึ้น

•     การปรับปรุงแผนตามคำเสนอแนะจากเจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉิน



แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ควรมีข้อมูลต่อไปนี้ 

    รายชื่อผู้ประสานงาน หรือผู้รับผิดชอบในหน้าที่ต่าง ๆ 

    กระบวนการแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Call Tree)

    การประเมินความเสี่ยง ภัยคุกคาม และผลกระทบต่อทรัพยากรสําคัญในการดําเนินงานและการให้บริการ

    แผนป้องกันและบรรเทาภาวะฉุกเฉิน กรณีเกิดอัคคีภัย ทั้งก่อนเกิดอัคคีภัย ขณะเกิดอัคคีภัย (ทั้งกรณีเหตุการณ์ไม่รุนแรง และกรณีเหตุการณ์รุนแรง) ขั้นตอนการอพยพหนีไฟ และขั้นตอนหลังเกิดอัคคีภัย

    แผนป้องกันและบรรเทาภาวะฉุกเฉิน กรณีเกิดอุทกภัย ทั้งก่อนเกิดอุทกภัย ขณะเกิดอุทกภัย (ทั้งกรณีเหตุการณ์ไม่รุนแรง และกรณีเหตุการณ์รุนแรง) ขั้นตอนการอพยพ และขั้นตอนหลังเกิดอุทกภัย

    แผนป้องกันและบรรเทาภาวะฉุกเฉิน กรณีเกิดแผ่นดินไหว ทั้งก่อนเกิดแผ่นดินไหว ขณะเกิดแผ่นดินไหว (ทั้งกรณีเหตุการณ์ไม่รุนแรง และกรณีเหตุการณ์รุนแรง) ขั้นตอนการอพยพ และขั้นตอนหลังเกิดแผ่นดินไหว

    แผนป้องกันและบรรเทาภาวะฉุกเฉิน กรณีเกิดการชุมนุมของฝูงชน ทั้งก่อนเกิดการชุมนุม ขณะเกิดการชุมนุม (ทั้งกรณีเหตุการณ์ไม่รุนแรง และกรณีเหตุการณ์รุนแรง) ขั้นตอนการอพยพ และขั้นตอนหลังเกิดการชุมนุม

    แผนป้องกันและบรรเทาภาวะฉุกเฉิน กรณีการก่อวินาศกรรม ทั้งก่อนเกิดการก่อวินาศกรรม ขณะเกิดการก่อวินาศกรรม (ทั้งกรณีเหตุการณ์ไม่รุนแรง และกรณีเหตุการณ์รุนแรง) ขั้นตอนการอพยพ และขั้นตอนหลังเกิดการก่อวินาศกรรม

    การกำหนดผู้ทำหน้าที่ทดแทน (Back-up for Shift Supervisors) 

    เบอร์โทรศัพท์ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง



การจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือสนับสนุนการนำแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินไปใช้ปฏิบัติ อาจรวมถึง

    การจัดซื้ออุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้และสัญญาณเตือนไฟไหม้ เครื่องตรวจจับควัน เครื่องตรวจจับความร้อน ติดตั้งไว้ในห้องพักทุกห้องและตามจุดสำคัญต่าง ๆ 

    การจัดซื้ออุปกรณ์สื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน

    การจัดซื้อและติดตั้งระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน สัญญาณไฟฉุกเฉิน และป้ายสัญญาณแสดงทางออก ที่สามารถใช้ในการให้แสงสว่างฉุกเฉินได้เมื่อกระแสไฟฟ้าดับ

    การจัดซื้อและติดตั้งระบบน้ำดับเพลิงที่จะทำงานได้โดยอัตโนมัติ 

    พนักงานคอยเฝ้าสังเกตเหตุเพลิงไหม้ตลอด 24 ชั่วโมงเป็นประจำทุกวัน 

    การตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลาและควรติดตั้งไว้ในจุดที่สามารถมองเห็นและนำออกมาใช้งานได้ในทันทีที่เกิดเหตุ 

    อุปกรณ์สำหรับดับเพลิงชนิดต่าง ๆ เตรียมไว้ในห้องครัวที่ใช้สำหรับประกอบอาหารที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง รวมถึงผ้าคลุมดับไฟแบบฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร

    การจัดเตรียมให้มึทีมผจญเพลิง โดยกำหนดให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในรอบต่าง ๆ เข้าร่วมทีมให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ในยามฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    การฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ทันทีทันใด และดำเนินการฝึกซ้อมและทดสอบความพร้อมอย่างสม่ำเสมอ

    การจัดเตรียมไฟฉายที่มีระบบชาร์จไฟอัตโนมัติพร้อมใช้งานไว้ในห้องพัก

    การจัดเตรียมให้มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง

    การจัดเตรียมที่เกี่ยวกับระบบลิฟต์ระบบบันไดเลื่อนและทางเลื่อน มีป้ายคำเตือนและแนะนำการใช้งานเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง และมีระบบเรียกลิฟต์อัตโนมัติลงมาจอดในชั้นล่างหรือชั้นที่กำหนดกรณีเกิดเพลิงไหม้

    การจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

    การจัดซื้อชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    การจัดเตรียมชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือห้องควบคุม

เส้นทางอพยพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ 

    มีป้ายและเครื่องหมายต่าง ๆ ติดแสดงไว้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนทั้งในยามปกติและในยามฉุกเฉินหรือเมื่อกระแสไฟฟ้าดับ 

    ป้ายและเครื่องหมายต่าง ๆ ต้องแสดงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

    ไม่มีการนำเอาสิ่งของใด ๆ มาวางขวางไว้ในเส้นทางอพยพที่กำหนดไว้ตลอดเวลา

    แสดงแผนผังเส้นทางอพยพและคำแนะนำให้ลูกค้าปฏิบัติในกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ติดตั้งไว้ภายในห้องพักทุกห้อง



การนำแผนการอพยพ/แผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน และผังอาคารในแต่ละชั้นวางไว้ในจุดที่มองเห็นสังเกตได้ง่าย และในพื้นที่ที่จำเป็น อาจรวมถึง

•     การแสดงผังอาคารในแต่ละชั้น โดยควรจะจัดแสดงไว้หลาย ๆ จุดในแต่ละชั้น

•     การแนบผังอาคารไว้ในแฟ้มเดียวกับแผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน

•     การจัดให้มีแผนการอพยพและแผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ในห้องสั่งการหรือห้องควบคุม

•     การจัดให้มีแผนการอพยพและแผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ในห้องสำนักงานของพนักงาน

•     การจัดให้มีการฝึกอบรมภาคบังคับเกี่ยวกับแผนการอพยพและแผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน

•     การจัดให้มีตารางตรวจสอบเกี่ยวกับการข่มขู่วางระเบิดไว้ตามเครื่องโทรศัพท์

•     สมาชิกของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินได้รับคู่มือแผนการอพยพและแผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน

•     การจัดวางแผนการอพยพและแผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินฉบับย่อไว้ในห้องพักของลูกค้า และพื้นที่สาธารณะ รวมถึงการจัดทำโปสเตอร์ติดผนังด้วย



การชี้แจงให้พนักงานทราบเกี่ยวกับแผนการอพยพและแผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจรวมถึง

•     การจัดให้มีการเรียกประชุมเพื่อแจ้งข่าวสารให้พนักงานทราบ

•     การจัดให้มีการถาม-ตอบ ข้อซักถามต่าง ๆ 

•     การจัดให้มีการรับข้อเสนอแนะจากพนักงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

•     การตรวจสอบความคุ้นเคยของพนักงานต่ออุปกรณ์/เครื่องมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

•     การอธิบายถึงกำหนดช่วงระยะเวลาในการแนะนำแผน การนำแผนไปเริ่มดำเนินการใช้งาน

•     การระบุตำแหน่งของจุดรวมพล

•     การระบุเส้นทางหลักและเส้นทางรองในการอพยพ



การทดสอบระบบและเครื่องมือที่ใช้ในการอพยพและในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจรวมถึง

•     การทดสอบระบบสื่อสารและอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ 

•     การทดสอบระบบเตือนภัย

•     การทดสอบระบบตรวจจับอัคคีภัย ระบบดับเพลิง

•     การทดลองใช้เส้นทางอพยพ

•     การทดลองใช้จุดรวมพล



การฝึกอบรมพนักงาน อาจรวมถึง

•     การจัดให้มีการอบรมอย่างเป็นทางการภายในองค์กรให้กับพนักงานทุกคน ซึ่งรวมทั้งเนื้อหาที่เป็นทฤษฏีและการปฏิบัติ

•     การจัดให้มีการอบรมภายนอกองค์กรโดยเจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉินหรือผู้ให้บริการจากภายนอก

•     การทำให้พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์/เครื่องมือฉุกเฉินได้

•     การจัดให้มีการอบรมพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

•     มีการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติที่เกี่ยวกับการอพยพ



การฝึกซ้อมการอพยพเบื้องต้น อาจรวมถึง

    การแจ้งข่าวการฝึกซ้อมให้กับพนักงานและลูกค้าทราบ

    การกำหนดตารางเวลาฝึกซ้อมที่เหมาะสม

    การจำลองเหตุการณ์/สถานการณ์ที่ไม่ซับซ้อนยุ่งยากเพื่อดำเนินการฝึกซ้อมการอพยพ

    การกำหนดหน้าที่ให้มีผู้ประเมินผลการฝึกซ้อมเพื่อขอรับฟังความคิดเห็น

    ขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก

•     การเปิดสัญญาณเตือนภัยและการปฏิบัติตามแผนการอพยพและแผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินที่ได้ระบุไว้



การฝึกซ้อมการอพยพอย่างต่อเนื่อง อาจรวมถึง 

    การเพิ่มสถานการณ์หรือความซับซ้อนในขั้นตอนการฝึกซ้อมให้มากกว่าสถานการณ์เบื้องต้น

    การฝึกซ้อมในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกัน เช่น กะกลางวัน กะดึก เป็นต้น

    การฝึกซ้อมที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ

    การฝึกซ้อมการอพยพที่มีต้นเหตุเกิดขึ้นในบริเวณสถานที่ที่แตกต่างกัน

    พนักงานทุกคนต้องได้รับการฝึกซ้อมอย่างทั่วถึง และหมุนเวียนอย่างสม่ำเสมอ

•     มีการประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉิน

•     การดำเนินการฝึกซ้อมให้ทำเสมือนว่าเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงให้มากที่สุด

•     มีการกำหนดหน้าที่ให้มีผู้ประเมินผลการฝึกซ้อมเพื่อขอรับฟังความคิดเห็น

•     ทำการเปิดสัญญาณเตือนภัยและปฏิบัติตามแผนการอพยพและแผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินที่ได้ระบุไว้



การฝึกซ้อมเชิงปฏิบัติการ (Operational-based Exercise) เป็นการฝึกซ้อมที่มีการเคลื่อนย้าย ระดมทรัพยากร เป็นการทดลองปฏิบัติจริงเพื่อให้ทราบถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างชัดเจน แบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ การฝึกปฏิบัติ (Drill) การฝึกซ้อมเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise) และการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ (Full-scale Exercise)



การกำหนดตารางเวลาการสื่อสารระหว่างบุคลากรที่เกี่ยวข้อง อาจรวมถึง

•     การจัดเตรียมวัน เวลา และสถานที่ สำหรับการประชุมอย่างเป็นทางการภายในองค์กร

•     การติดต่อเชิญเจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉินจากภายนอกที่เกี่ยวข้อง

•     การระบุบุคคลที่จำเป็นต้องเข้าร่วมประชุม

•     การมอบหมายบทบาทและหน้าที่ให้กับพนักงานในระหว่างการประชุม

•     การบันทึกและเก็บเนื้อหาการประชุม/การสื่อสาร

•     การระบุถึงอันตรายและความเสี่ยงใหม่ ๆ พร้อมกับการร่างการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว

•     การทบทวนผลการฝึกซ้อม

•     การพิจารณาถึงกระบวนการหรือเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่จะนำมาใช้



การตรวจสอบสถานที่เพื่อค้นหาปัจจัยใหม่ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการอพยพหรือการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจรวมถึง

•     การเชิญผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการตรวจสอบ

•     การเชิญสมาชิกคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเข้าร่วมการตรวจสอบ

•     การกำหนดตารางเวลาในการตรวจสอบสถานที่เพื่อเป็นการพิสูจน์ยืนยัน และ/หรือ การปรับปรุงแก้ไขแผนการอพยพและแผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน

•     พื้นที่ทั้งหมดจะต้องได้รับการตรวจสอบ

•     การตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ยืนยันเกี่ยวกับเส้นทางอพยพว่าสามารถใช้งานได้หรือไม่ รวมถึงการระบุถึงปัญหาในการใช้เส้นทางดังกล่าว

•     การระบุความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเส้นทางอพยพ

•     การตรวจสอบจุดรวมพล รวมถึงการระบุปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการใช้จุดรวมพลดังกล่าว

•     การบันทึกปัญหาต่าง ๆ ที่พบเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแผนการอพยพและแผนบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินโดยการใช้ตารางตรวจสอบ (Checklist) ที่ได้จัดเตรียมไว้



การทบทวนแผนการอพยพ/แผนการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินจากคำแนะนำที่ได้รับ อาจรวมถึง

    การวิเคราะห์ผลการประเมินจากการฝึกซ้อมที่ได้รับจากพนักงานหรือผู้สังเกตการณ์

    ข้อแนะนำจากหน่วยงานบริการฉุกเฉินจากภายนอก

    ข้อแนะนำจากผู้บริหารหรือคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินของหน่วยงาน



การระบุและประเมินความจำเป็นที่ต้องทำการอพยพ อาจรวมถึง

•     การตัดสินใจว่ามีเหตุผลสมควรที่จะต้องดำเนินการอพยพหรือไม่

•     การเลือกดำเนินการระหว่างทำการอพยพฉุกเฉินหรือทำการเตือนภัยก่อนที่จะดำเนินการอพยพ

•     การเชิญคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเข้าร่วมการตัดสินใจ ในกรณีที่มีเวลาให้ดำเนินการได้



การเริ่มดำเนินการอพยพ อาจรวมถึง

    การเปิดให้ระบบเตือนภัยทำงาน

    การแจ้งหน่วยงานบริการฉุกเฉิน

    การแจ้งพนักงานภายในและผู้รับผิดชอบ

    การแจ้งลูกค้า รวมถึงให้การช่วยเหลือในการอพยพ



การดำเนินการอพยพ อาจรวมถึง

•     การดำเนินการต่าง ๆ อาจจะแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับต้นเหตุ/สาเหตุของสถานการณ์ฉุกเฉิน

•     เริ่มการใช้งานห้องบัญชาการ/ห้องควบคุมสั่งการ

•     การให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยในชีวิตมากกว่าทรัพย์สิน

•     การปิดลิฟท์

•     การปิดเครื่องปรับอากาศ

•     การปิดประตู หน้าต่าง

•     การสวมใส่อุปกรณ์หรือชุดป้องกันภัยส่วนบุคคล

•     การรักษาความปลอดภัยของสถานที่และทรัพย์สิน

•     การปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

•     การให้คำแนะนำ คำสั่งการ เพื่อดำเนินการรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน

•     การเตรียมการพบปะกับเจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉินและการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้กับเจ้าหน้าที่ที่กำลังจะเดินทางมาถึง 

•     การนำทักษะในการควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบ หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการตระหนกตกใจมาใช้อย่างเหมาะสม

•     การให้คำสั่งที่ชัดเจนแก่ลูกค้าและพนักงานว่าจะต้องกระทำสิ่งใด

•     การระบุถึงปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ทิศทางของลม ชนิดของภัยคุกคาม ตำแหน่งหรือสถานที่ที่เกิดเหตุ จำนวนคนที่เกี่ยวข้องและช่วงเวลาที่เกิดเหตุ



การรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด สถานการณ์และสิ่งที่เป็นอันตรายที่เกิดขึ้น ควรคำนึงถึง

    ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของบุคคลมากกว่าทรัพย์สิน

    สั่งให้ลิฟต์โดยสารลงมาจอดในชั้นล่างหรือชั้นที่กำหนดกรณีเกิดเพลิงไหม้

    เหตุการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผน

    มีบุคคลได้รับบาดเจ็บหรือติดอยู่ภายในอาคารสถานที่

    สิ่งของหรือซากปรักหักพังตกลงใส่ผู้คน

    การขาดข้อมูล การขาดการสื่อสาร เกี่ยวกับชนิดหรือต้นเหตุ สถานที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ประกอบในการตัดสินใจดำเนินการอพยพ

    ทางเดินหรือทางออกถูกปิดกั้น

    เกิดความไม่ปลอดภัยในบริเวณที่เป็นจุดรวมพล

    เครื่องมือและอุปกรณ์ไม่ทำงานหรือทำงานผิดปกติ

การทบทวนแผน อาจรวมถึง

    การค้นหาข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำจากพนักงาน ลูกค้า และเจ้าหน้าที่บริการฉุกเฉิน

    การระบุว่า องค์ประกอบใดในแผนสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

•     การระบุว่า องค์ประกอบใดในแผนที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไข

•     การให้คำนิยามหรือคำจำกัดความของสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะต้องมีการดำเนินการอพยพ

•     การจัดทำ/จัดเตรียมวิธีการรับมือต่าง ๆ 

•     การประเมินการควบคุมสั่งการ

•     การระบุถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเริ่มดำเนินการ/การดำเนินการอพยพ

•     การระบุถึงกระบวนการใหม่ ๆ เครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่อาจจะต้องมีเพิ่มเติม หรืออาจจะเป็นทางเลือกสำหรับใช้ในการดำเนินการ

•     การระบุความจำเป็นในการปรับปรุงแก้ไขการฝึกอบรม การตรวจสอบพื้นที่ และการซักซ้อม

•     การระบุถึงสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ 

•     การเสนอแนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคาร การปรับเปลี่ยนเครื่องมืออุปกรณ์ หรือการปรับเปลี่ยนการใช้งานสถานที่ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ