หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการรายการซื้อและจัดเก็บสินค้า

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-3-156ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการรายการซื้อและจัดเก็บสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการรายการซื้อและจัดเก็บสินค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุความจำเป็นในการควบคุมและการจัดการรายการสินค้า การพัฒนาและดำเนินการจัดซื้อและจัดทำระบบจัดซื้อ การพัฒนาและจัดทำขั้นตอนการรับสินค้า การพัฒนาและจัดทำระบบการจัดเก็บสินค้า การพัฒนาและจัดทำระบบการจ่ายสินค้า รวมถึงการพัฒนาและจัดทำระบบการบริหารจัดการสินค้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)พ่อครัว - 5122 (ISCO-88 : TH) หรือ 3434 (ISCO-08 : TH)พ่อครัวขนมปังอบ - 7412 (ISCO-88 : TH)พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม - 5123 (ISCO-88 : TH) หรือ 5131 (ISCO-08 : TH) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.06.103.1 ระบุความจำเป็นในการควบคุมและการจัดการรายการสินค้า 1.1 ระบุความต้องการภายในแผนกเพื่อเป็นการการควบคุมสินค้าและควบคุมระบบการจัดการ 1.06.103.1.01 45412
1.06.103.1 ระบุความจำเป็นในการควบคุมและการจัดการรายการสินค้า 1.2 จัดทำรายการสินค้าคงคลังที่ถูกควบคุมด้วยระบบการจัดการที่มีอยู่ 1.06.103.1.02 45413
1.06.103.1 ระบุความจำเป็นในการควบคุมและการจัดการรายการสินค้า 1.3 กำหนดบุคลากรที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุมสินค้า 1.06.103.1.03 45414
1.06.103.1 ระบุความจำเป็นในการควบคุมและการจัดการรายการสินค้า 1.4 อธิบายขั้นตอนในการควบคุมสต็อก 1.06.103.1.04 45415
1.06.103.1 ระบุความจำเป็นในการควบคุมและการจัดการรายการสินค้า 1.5ระบุและอธิบายถึงความสำคัญของเอกสารในการควบคุมสต็อกรวมถึงกระบวนการการจัดการ 1.06.103.1.05 45416
1.06.103.1 ระบุความจำเป็นในการควบคุมและการจัดการรายการสินค้า 1.6 พัฒนาความรู้ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และสต็อกที่จะถูกนำมาใช้ 1.06.103.1.06 45417
1.06.103.2 พัฒนาและดำเนินการจัดซื้อและจัดทำระบบจัดซื้อ 2.1 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผู้ผลิตที่มีศักยภาพ 1.06.103.2.01 45418
1.06.103.2 พัฒนาและดำเนินการจัดซื้อและจัดทำระบบจัดซื้อ 2.2 เลือกผู้ผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการ 1.06.103.2.02 45419
1.06.103.2 พัฒนาและดำเนินการจัดซื้อและจัดทำระบบจัดซื้อ 2.3 ตรวจสอบการจัดซื้อจัดหาว่าตรงกับความต้องการหรือไม่ 1.06.103.2.03 45420
1.06.103.2 พัฒนาและดำเนินการจัดซื้อและจัดทำระบบจัดซื้อ 2.4 กำหนดเงื่อนไขของการซื้อที่อาจจะต้องสัมพันธ์กับสต๊อคที่มีอยู่ 1.06.103.2.04 45421
1.06.103.2 พัฒนาและดำเนินการจัดซื้อและจัดทำระบบจัดซื้อ 2.5 ใช้ระบบการสั่งซื้อโดยระบุผู้ผลิต 1.06.103.2.05 45422
1.06.103.3 พัฒนาและจัดทำขั้นตอนการรับสินค้า 3.1 การตรวจสอบการส่งมอบและสินค้าคงคลัง 1.06.103.3.01 45423
1.06.103.3 พัฒนาและจัดทำขั้นตอนการรับสินค้า 3.2 ตรวจสอบสินค้าที่เข้ามา 1.06.103.3.02 45424
1.06.103.3 พัฒนาและจัดทำขั้นตอนการรับสินค้า 3.3 คืนหรือตีกลับสินค้านอกรายการ หรือสินค้าเสียหาย 1.06.103.3.03 45425
1.06.103.3 พัฒนาและจัดทำขั้นตอนการรับสินค้า 3.4 ปฏิเสธสินค้าที่ไม่เหมาะสม 1.06.103.3.04 45426
1.06.103.3 พัฒนาและจัดทำขั้นตอนการรับสินค้า 3.5 ตรวจสอบเอกสารการส่งมอบที่สมบูรณ์ 1.06.103.3.05 45427
1.06.103.4 พัฒนาและจัดทำระบบการจัดเก็บสินค้า 4.1กำหนดสถานที่เก็บรักษาที่เหมาะสมสำหรับสินค้าทั้งหมดที่จะต้องมีเก็บไว้ 1.06.103.4.01 45428
1.06.103.4 พัฒนาและจัดทำระบบการจัดเก็บสินค้า 4.2 จัดเก็บสินค้าให้เป็นไปตามเงื่อนไขการจัดเก็บ 1.06.103.4.02 45429
1.06.103.4 พัฒนาและจัดทำระบบการจัดเก็บสินค้า 4.3 ป้อนข้อมูลเข้าไปในระบบสินค้า และสินค้าคงคลัง 1.06.103.4.03 45430
1.06.103.4 พัฒนาและจัดทำระบบการจัดเก็บสินค้า 4.4 เก็บรักษาและป้องกันสินค้าจากความเสียหาย,เสื่อมสภาพ และทำการเบิกจ่ายภายใต้การได้รับอนุญาต 1.06.103.4.04 45431
1.06.103.5 พัฒนาและจัดทำระบบการจ่ายสินค้า 5.1 ระบุวัน เวลา สถานที่ในการจ่ายสินค้า 1.06.103.5.01 45432
1.06.103.5 พัฒนาและจัดทำระบบการจ่ายสินค้า 5.2 จัดทำเอกสารการเบิกจ่าย 1.06.103.5.02 45433
1.06.103.5 พัฒนาและจัดทำระบบการจ่ายสินค้า 5.3 จัดการกับการกระจายสินค้าภายในองค์กร 1.06.103.5.03 45434
1.06.103.5 พัฒนาและจัดทำระบบการจ่ายสินค้า 5.4 ติดตามและบันทึกการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสินค้าภายในองค์กร 1.06.103.5.04 45435
1.06.103.6 พัฒนาและจัดทำระบบการบริหารจัดการสินค้า 6.1 สร้างระบบจ่ายสินค้าและนำไปใช้ 1.06.103.6.01 45436
1.06.103.6 พัฒนาและจัดทำระบบการบริหารจัดการสินค้า 6.2 สร้างระบบการประเมินมูลค่าสินค้าและนำไปใช้ 1.06.103.6.02 45437
1.06.103.6 พัฒนาและจัดทำระบบการบริหารจัดการสินค้า 6.3 สร้างระบบรายงานสต็อกและนำไปใช้ 1.06.103.6.03 45438
1.06.103.6 พัฒนาและจัดทำระบบการบริหารจัดการสินค้า 6.4 ให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบสินค้าที่มีอยู่ 1.06.103.6.04 45439

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ความสามารถในการจัดหาแหล่งในการจัดซื้อ

-    ความสามารถในการสั่งซื้อ การจัดเก็บ และการกระจาย

-    ความสามารถในการเขียนข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์

-    ความสามารถในการดำเนินการทดสอบผลผลิต

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อ

-    ความรู้เกี่ยวกับปริมาณการสั่งซื้อรายการสินค้า

-    ความรู้เกี่ยวกับการจัดหาและการสั่งซื้อ

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์และผู้จำหน่าย

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและวิธีการสั่งซื้อ การชำระเงิน การจัดเก็บ การจัดการสินค้าขององค์กร

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แฟ้มสะสมผลงาน 

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลสอบข้อเขียน

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน

-     ข้อสอบข้อเขียน 

-     แฟ้มสะสมผลงาน 

-     การสัมภาษณ์ 

-     การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

-     ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว 

-     การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-     การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-     การจำลองสถานการณ์ และบทบาทสมมติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ความต้องการภายในองค์กร อาจเกี่ยวข้องกับ

    ความปลอดภัยของคลังสินค้า

    ระดับทางกายภาพของสินค้าคงคลัง

    มูลค่าทางการเงินของสินค้าคงคลัง

    ความต้องการในเรื่องระยะเวลาและการลำเลียง

    ความต่อเนื่องของการจัดหาสินค้า

    ค่าใช้จ่ายและคุณภาพ

    ตัวเลือก เช่น ตัวเลือกของสินค้าที่มีคุณภาพและราคาที่แตกต่างกัน

    การบริการสำรอง

    ข้อกำหนดในการค้า เช่น งวดชำระเงิน ระยะเวลาในการให้สินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย

    งวดการจัดจำหน่ายของคู่ค้า



สินค้าในคลัง อาจครอบคลุมถึง

    อาหารและเครื่องดื่ม เช่น อาหารสด แช่แข็ง และสำเร็จรูป เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ และไม่ผสมแอลกอฮอล์

    ผ้าลินินและเครื่องแบบพนักงาน

    สิ่งของสำหรับการทำความสะอาด เช่น อุปกรณ์การทำความสะอาด และสารเคมี

    เครื่องเขียน เช่น เครื่องใช้ในสำนักงาน

    สินค้าสำหรับขายในร้านค้าภายในองค์กร

    สื่อส่งเสริมการขาย เช่น แผ่นพับ ใบปลิว หนังสือ ป้าย และรายการสินค้า

    การจัดวางสินค้าในร้านทั่วไป



บุคลากร ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมคลังสินค้า อาจครอบคลุมถึง

    เจ้าหน้าที่จัดซื้อ

    เจ้าหน้าที่ร้านค้า

    ผู้จัดการและเจ้าของ

    หัวหน้าแผนก



วงจรการควบคุมคลังสินค้า อาจเกี่ยวข้องกับ

    การจัดซื้อ

    การรับสินค้าเข้า

    การจัดเก็บสินค้า

    การจ่ายสินค้าออก

    การผลิต

    การบริการ

    การขาย



งานเอกสาร อาจครอบคลุมถึง

    เอกสารภายใน เช่น คำสั่งซื้อ ใบขอโอนคลังสินค้าภายใน บัญชีแยกประเภท

    เอกสารภายนอก เช่น ใบแจ้งหนี้ งบดุล ใบบันทึกสินเชื่อ



ความรู้เกี่ยวกับสินค้า อาจครอบคลุมถึง

    การเยี่ยมคู่ค้าและตลาด

    การทดสอบและชิมสินค้าประเภทอาหาร

    การค้นคว้าหาข้อมูลจากผู้ปลูก ผู้ผลิต และคู่ค้า

    การได้รับตัวอย่างสินค้า

    การเข้าร่วมกิจกรรมในอุตสาหกรรม การสัมมนา การเปิดตัวสินค้า และการประชุม



เลือกคู่ค้า ควรครอบคลุมถึง

    ความสามารถในการส่งมอบสินค้าเพื่อตอบสนองอุปทานขององค์กร

    ความต่อเนื่องในการวางจำหน่ายสินค้า

    การส่งมอบสินค้าอย่างตรงเวลา และรองรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นได้

    กำหนดการสั่งซื้อในปริมาณสูงสุดและต่ำสุดอย่างชัดเจน

    รายละเอียดราคาที่มีการแข่งขัน รวมถึงการอ้างอิงปริมาณและส่วนลดอื่น ๆ ข้อเสนอพิเศษส่วนลด และแรงจูงใจ

    เงื่อนไขทางการเงิน สินเชื่อ และการชำระเงิน

    การอ้างอิงจากลูกค้ารายอื่น ๆ ที่รับรองความพึงพอใจที่มีต่อคู่ค้า

    กระบวนการขั้นตอนซื้อขายและเวลาการส่งมอบของคู่ค้า

    การสั่งซื้อการจัดส่งสินค้าในกรณีฉุกเฉิน นอกเวลาทำการ



ความต้องการในการจัดซื้อและจัดหา อาจครอบคลุมถึง

    การพัฒนารายละเอียดการจัดซื้อ เช่น รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสินค้า คำอธิบายสินค้าโดยทั่วไปและโดยละเอียด การระบุการใช้สินค้า ขั้นตอนการจัดเก็บสินค้า การติดฉลาก วิธีการใช้แบบพิเศษ และ/หรือ ความต้องการสำหรับสินค้า 

    การดำเนินการทดสอบสินค้า

    การพัฒนากระบวนการประกวดราคาและประมูล หากต้องการ

    การควบคุมราคาและการทำแผนผังราคา

    รายละเอียดเกี่ยวกับวงจรสินค้า

    ความต้องการภายใน เช่น อิทธิพลของฤดูกาลและเหตุการณ์ การอ้างถึงประวัติการค้า และข้อมูลการใช้สินค้า และตัวเลขสถิติในคลังสินค้า

    การกำหนดการสั่งซื้อที่ประหยัด (Economic Order Quantities)

    การกำหนดขั้นต่ำสุดและสูงสุดในระดับของสินค้าในคลัง



เงื่อนไขในการจัดซื้อ อาจครอบคลุมถึง

    การซื้อในตลาดที่แข่งขันหรือตลาดเปิด ซึ่งมีความหลากหลายในตัวสินค้า

    ข้อผูกมัดที่กำหนดโดยกลุ่มผู้ซื้อ ธุรกิจแฟรนไชส์ และคำสั่งจากสำนักงานใหญ่

    การซื้อสัญญา การซื้อการประกวดราคาแบบปิดผนึก การซื้อในจุดเดียว การร่วมกันซื้อ การซื้อที่มีการเจรจาต่อรอง

    การใช้เหตุผลของคู่ค้าเพื่อที่จะลดค่าใช้จ่ายและเวลาที่ต้องใช้ในการตรวจสอบบัญชีและการชำระเงิน

    การแยกความแตกต่างระหว่างการซื้อส่งและซื้อปลีก

    การเปรียบเทียบระหว่างการซื้อแบบกระจุกตัว และแบบกระจายออกไป



ใช้ระบบการสั่งซื้อ อาจครอบคลุมถึง

    การบริการโอนเงินตามคำสั่ง (Standing Orders)

    การสั่งซื้อออนไลน์

    คำสั่งการจัดซื้อ

    การสั่งซื้อทางโทรศัพท์

    การสั่งซื้อกับพนักงานขาย/ตัวแทนการขาย



ตรวจสอบการส่งมอบ อาจครอบคลุมถึง

    การตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้ากำลังมา

    การตรวจสอบโดยภายนอกว่าสินค้าตรงกับรายการสั่งซื้อ

    การตรวจสอบโดยภายนอกว่าสินค้าตรงกับเอกสารการจัดส่ง

    การตรวจสอบรายละเอียดของราคา

    การตรวจสอบว่าสินค้าตรงกับรายละเอียดที่ต้องการ

ตรวจสอบสินค้าที่เข้ามา อาจครอบคลุมถึง

    การตรวจสอบชื่อตราสินค้า ขนาดกล่องภาชนะ สี และชนิด

    การตรวจสอบคุณภาพและปริมาณของสินค้า

    การตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร เช่น ความปราศจากศัตรูพืช อุณหภูมิที่ถูกต้อง ความสมบูรณ์ของวัสดุห่อสินค้า

    การตรวจสอบว่าสินค้าไม่ชำรุด

    การปฏิบัติตามข้อกำหนดในแผน/โครงการความปลอดภัยของอาหารในองค์กร



เอกสารประกอบการส่งมอบ อาจครอบคลุมถึง

    การลงนามเอกสาร

    การจัดทำเอกสารสำหรับการคืนและการตีกลับสินค้า

    การติดตามการลำเลียงสินค้ากับแผนกในองค์กรและคู่ค้า เช่น การตัดสินใจในการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเพื่อรักษาระดับของสินค้าในคลังไว้



สภาพสำหรับการจัดเก็บสินค้า อาจครอบคลุมถึง

    สภาพสำหรับการจัดเก็บอาหารสด แช่เย็น แช่แข็ง และอาหารแห้ง

    สภาพสำหรับการจัดเก็บเครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ และที่ไม่ผสมแอลกอฮอล์

    สภาพสำหรับการจัดเก็บสินค้าอื่น ๆ เช่น ผ้าลินิน เครื่องแบบ สารเคมี เครื่องเขียน อุปกรณ์ สินค้าสำหรับการขาย และสื่อส่งเสริมการขาย

    ปฏิบัติตามข้อกำหนดในแผน/โครงการความปลอดภัยของอาหารในองค์กร

    สภาพและกระบวนการเพื่อการลดขยะ การขโมย และการสูญหาย

    หลักการหมุนเวียนคลังสินค้า



ป้อนข้อมูลสินค้าในคลัง อาจครอบคลุมถึง

    การใช้และปรับบัตรสินค้า รายการสินค้าในคลัง และเอกสารการส่งมอบสินค้า ให้เป็นปัจจุบัน

    การป้อนข้อมูลสินค้าลงในระบบควบคุมคลังสินค้าอิเล็กทรอนิกส์



เอกสารการเบิกจ่ายสินค้าในคลัง อาจครอบคลุมถึง

    ใบแจ้งคำร้องเบิกสินค้า

    ใบโอนสินค้าภายในองค์กร



การกระจายสินค้าในคลังภายในองค์กร อาจครอบคลุมถึง

    การจัดหาสินค้าแก่แผนกในองค์กร

    การตรวจสอบว่าสินค้าที่สั่งซื้อตรงกับสินค้าที่ต้องจัดหาภายในองค์กร

    การตรวจสอบความปลอดภัยของสินค้าที่จัดหา

    การใช้ระบบจัดเก็บ (Imprest Stock System) 



ติดตามและบันทึกความเคลื่อนไหวของสินค้าในคลัง อาจครอบคลุมถึง

    การจดบันทึกสินค้าในคลังที่จ่ายออกไป

    การปรับระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นปัจจุบัน

    การตรวจสอบการป้อนข้อมูลของประเภทสินค้าในคลังและปริมาณให้ถูกต้อง

    การตรวจสอบบันทึกของแต่ละแผนกที่สินค้าในคลังจัดส่งไป



ระบบการนับสินค้าในคลัง อาจครอบคลุมถึง

    การนับสินค้าในคลังโดยภายนอก

    การพัฒนาและจัดทำใบนับสินค้าในคลัง

    การอบรมพนักงานในการนับสินค้าในคลัง

    การจัดทำใบนับสินค้าในคลังเพิ่มเติม



ระบบการประเมินมูลค่าสินค้าในคลัง อาจครอบคลุมถึง

    การพัฒนาตัวเลขที่เกี่ยวกับสินค้าในคลังเพื่อระบุผลประกอบการของคลังสินค้า เช่น การระบุเส้นทางการลำเลียงสินค้าที่เร็วและช้า การสูญเสียสินค้าในคลัง และตัวชี้วัดผลประกอบการ

    การคำนวณตัวเลขเกี่ยวกับสินค้าในคลังที่มีอยู่

    การเปรียบเทียบระดับสินค้าในคลังในทางทฤษฎีกับระดับสินค้าในคลังจริง

    การตรวจสอบความผิดปกติและการเปลี่ยนแปลงของสินค้าในคลัง



ระบบการรายงานสินค้าในคลัง อาจครอบคลุมถึง

    การเตรียมและผลิตรายงานคลังสินค้าภายในองค์กร เช่น ตัวเลขที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง การระบุและอธิบายแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลง

    การอบรมพนักงานเกี่ยวกับวิธีการจัดการขยะ

    การแก้ไขระบบและระเบียบปฏิบัติที่มีอยู่เพื่อใช้คลังสินค้าให้เหมาะสมที่สุด

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ