หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินระบบการประเมินผล

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-3-151ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินระบบการประเมินผล

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประเมินระบบการประเมินผล ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนการประเมินผลตามระบบประเมิน การดำเนินการประเมินผลตามระบบประเมิน และการจัดทำรายงานการประเมินผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
พ่อครัว - 5122 (ISCO-88 : TH) หรือ 3434 (ISCO-08 : TH)พ่อครัวขนมปังอบ - 7412 (ISCO-88 : TH)พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม - 5123 (ISCO-88 : TH) หรือ 5131 (ISCO-08 : TH) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.08.092.1 วางแผนการประเมินผลตามระบบประเมิน 1.1 ระบุวัตถุประสงค์และหน้าที่ของการประเมินผล 1.08.092.1.01 45642
1.08.092.1 วางแผนการประเมินผลตามระบบประเมิน 1.2 กำหนดระบบการประเมิน 1.08.092.1.02 45643
1.08.092.1 วางแผนการประเมินผลตามระบบประเมิน 1.3 ระบุความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1.08.092.1.03 45644
1.08.092.1 วางแผนการประเมินผลตามระบบประเมิน 1.4 ระบุและจัดหาทรัพยากรที่ต้องใช้ในการประเมินผล 1.08.092.1.04 45645
1.08.092.1 วางแผนการประเมินผลตามระบบประเมิน 1.5 พัฒนาแผนการประเมินผล 1.08.092.1.05 45646
1.08.092.1 วางแผนการประเมินผลตามระบบประเมิน 1.6 กำหนดหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการประเมินผล 1.08.092.1.06 45647
1.08.092.1 วางแผนการประเมินผลตามระบบประเมิน 1.7 กำหนดหลักเกณฑ์ สำหรับใช้พิจารณาประสิทธิภาพของระบบการประเมิน 1.08.092.1.07 45648
1.08.092.1 วางแผนการประเมินผลตามระบบประเมิน 1.8 ระบุวิธีการที่คุ้มค่าที่ใช้ในการควบคุมและวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินผล 1.08.092.1.08 45649
1.08.092.1 วางแผนการประเมินผลตามระบบประเมิน 1.9พัฒนาเครื่องมือสำหรับควบคุมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของระบบประเมินผล 1.08.092.1.09 45650
1.08.092.2 ดำเนินการประเมินผลตามระบบประเมิน 2.1 ทดลองใช้เครื่องมือและเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.08.092.2.01 45651
1.08.092.2 ดำเนินการประเมินผลตามระบบประเมิน 2.2 แก้ไขเครื่องมือและเทคนิคการรวบรวมข้อมูลจากการทดลองใช้ 1.08.092.2.02 45652
1.08.092.2 ดำเนินการประเมินผลตามระบบประเมิน 2.3 รวบรวมหลักฐาน ตามแผนการประเมินผลที่ได้รับการรับรอง 1.08.092.2.03 45653
1.08.092.2 ดำเนินการประเมินผลตามระบบประเมิน 2.4 จัดเก็บข้อมูล 1.08.092.2.04 45654
1.08.092.2 ดำเนินการประเมินผลตามระบบประเมิน 2.5 วิเคราะห์ข้อมูล 1.08.092.2.05 45655
1.08.092.3 จัดทำรายงานการประเมินผล 3.1 จัดทำรายงานการประเมินผลเป็นลายลักษณ์อักษร 1.08.092.3.01 45656
1.08.092.3 จัดทำรายงานการประเมินผล 3.2 เผยแพร่รายงานไปยังผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อขอรับข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็น 1.08.092.3.02 45657
1.08.092.3 จัดทำรายงานการประเมินผล 3.3 นำเสนอรายงานด้วยวาจาเพื่อเป็นการอธิบายสนับสนุนข้อมูลในรายงาน 1.08.092.3.03 45658
1.08.092.3 จัดทำรายงานการประเมินผล 3.4 รวบรวมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรายงาน 1.08.092.3.04 45659
1.08.092.3 จัดทำรายงานการประเมินผล 3.5 ทบทวนแก้ไขรายงานตามข้อเสนอแนะ 3.6 กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่จะต้องดำเนินการอันเป็นผลสืบเนื่องจากผลการประเมิน 1.08.092.3.05 45660

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ความสามารถในการใช้หลักการประเมินความรู้ความสามารถและการฝึกอบรม

-    ความสามารถในการใช้เทคนิคการวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่เหมาะสมกับระดับของการประเมินที่ดำเนินการโดยองค์กร

-    ความสามารถในการจัดการวิจัยระบบประเมินผลบุคคล

-    ความสามารถในการสื่อสาร เจรจา ตั้งคำถาม วิเคราะห์ และตีความ

-    ความสามารถในการประยุกต์ใช้และตรวจสอบกระบวนการประเมินผล

-    ความสามารถในการหาคำตอบและคำแนะนำจากหลักฐานและข้อมูลงานวิจัย 

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติขององค์กร การประเมินผลการฝึกอบรม ทั้งภายใน และ/หรือ ภายนอก

-    ความรู้เกี่ยวกับการรวบรวม การจัดเก็บ การจำแนก และการปรับเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้ง เทคนิคการตีความ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

-    แฟ้มสะสมผลงาน 

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลสอบข้อเขียน

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 

(ง) วิธีการประเมิน

-    ข้อสอบข้อเขียน

-    แฟ้มสะสมผลงาน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

ระบุวัตถุประสงค์และหน้าที่ของการประเมินผล อาจเกี่ยวข้องกับ




  •     ระบุจำนวนพนักงานที่ร่วมในการประเมิน รวมทั้ง แยกประเภทผู้เข้าร่วม “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน”

  •     อธิบายวัตถุประสงค์ของการประเมิน รวมทั้ง วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน ประเมินระดับทักษะของพนักงาน ประเมินระดับการศึกษา ระบุความก้าวหน้าของการฝึกอบรม มอบหมายงานเพิ่มเติม ตัดสินระดับของอำนาจและความรับผิดชอบของแต่ละคน

  •     ระบุหัวข้อการฝึกอบรม หลักสูตร รายการ เนื้อหา ฯลฯ ซึ่งผู้เข้าอบรมจะถูกประเมิน

  •     ระบุคุณสมบัติ และ/หรือ ประสบการณ์ และความเหมาะสมของผู้ประเมิน ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการประเมิน 

  •     กำหนดการนำผลการประเมิน และผลการศึกษาที่จะถูกนำไปใช้ 

  •     ทดสอบระดับความพึงพอใจของผู้เข้าฝึกอบรม รวมทั้ง การพิจารณาของปัจจัยอื่น ๆ เช่น ระยะเวลาของการประเมิน รูปแบบและประเภทของการประเมิน เนื้อหาที่ใช้ในการฝึกอบรม เงื่อนไขการประเมิน

  •     ระบุความถี่ของการประเมินผล รวมทั้ง ความเหมาะสมของความถี่ดังกล่าว

  •     กำหนดสถานที่สำหรับกิจกรรมการประเมิน รวมทั้ง ระดับความพึงพอใจและความเหมาะสม

  •     กำหนดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน ทั้งในแง่ของเงินและเวลา รวมทั้ง ผลกระทบต่อการบริการลูกค้า

  •     จัดหาผู้ประเมินที่เป็นที่ยอมรับ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

  •     ระบุข้อเสนอแนะจากการผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน เกี่ยวกับกระบวนการประเมิน

  •     ระบุระบบการประเมินทางเลือกที่มีศักยภาพ ตามความจำเป็นของขององค์กร

  •     กำหนดกิจกรรมการประเมินที่ใช้มีความเหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ 

  •     กำหนดผลการประเมินของผู้เข้ารับการประเมินว่ามีผลต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ 



กำหนดระบบการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  •     ระบุกิจกรรมการประเมินที่จะดำเนินการ

  •     ระบุจำนวนกิจกรรมการประเมินที่ดำเนินการ

  •     ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบการประเมิน

  •     อธิบายตัวแปรในระบบการประเมิน เช่น การเปลี่ยนแปลงที่สามารถทำได้ในระหว่างการประเมิน

  •     บันทึกนโยบายและกระบวนการที่ใช้ในระบบการประเมิน รวมทั้ง การร้องทุกข์ การอุทธรณ์ ข้อกำหนดในการเข้าประเมิน การทดสอบใหม่ เกณฑ์ในการทดสอบสมรรถนะ 

  •     ระบุสถานที่และผู้ทำการประเมินที่เกี่ยวข้องในกระบวนการประเมิน



ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย อาจเกี่ยวข้องกับ




  •     ความซื่อสัตย์และความน่าเชื่อถือของผลการประเมิน

  •     การปฏิบัติตามกฎระเบียบและหน้าที่ความรับผิดชอบ

  •     ความคุ้มค่าในการประเมิน

  •     ความพร้อมและความสะดวกในการเข้าถึงการประเมิน

  •     ความพร้อมในการประเมินผลเพิ่มเติม เพื่อให้การประเมินบรรลุผลสำเร็จ

  •     บันทึกข้อกำหนด เช่น รายละเอียดของผู้สมัคร และสมรรถนะที่ผ่านหรือทำการสอบโดยผู้สมัคร

  •     ข้อเสนอแนะจากผู้ประเมิน ที่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ทัศนคติ ความสามารถ ศักยภาพ ฯลฯ

  •     ความต้องการเฉพาะ เช่น กำไรที่ดีขึ้น การผลิตที่ดีขึ้น การเพิ่มความปลอดภัย ทักษะที่หลากหลายของพนักงาน การปรับปรุงผลิตภัณฑ์/บริการ



ผู้ที่มีส่วนได้เสีย อาจครอบคลุมถึง




  •     ผู้เรียน

  •     ผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน

  •     หัวหน้างาน ผู้จัดการ และเจ้าของธุรกิจ

  •     ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ

  •     เพื่อนร่วมงาน

  •     ลูกค้า



ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการประเมินผล ควรครอบคลุมถึง




  •     ทรัพยากรทางการเงิน ได้แก่ เงินที่เกี่ยวข้องในการประเมิน ซื้อวัสดุที่จำเป็น ใช้จ่ายสำหรับการเดินทาง ใช้ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์และตีความ

  •     ทรัพยากรทางกายภาพ ได้แก่ อุปกรณ์ วัสดุ ยานพาหนะ คอมพิวเตอร์ พื้นที่สำนักงาน

  •     เวลา ได้แก่ การจัดสรรเวลาสำหรับบุคคลที่เข้ารับการพิจารณา

  •     ทรัพยากรบุคคล ได้แก่ พนักงานภายในและภายนอกองค์กร



พัฒนาแผนการประเมินผล อาจครอบคลุมถึง




  •     วางแผนสำหรับดำเนินการประเมิน

  •     วางแผนที่สามารถดำเนินการภายในข้อจำกัดของทรัพยากร

  •     กำหนดความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน สำหรับการดำเนินการตามแผน

  •     ระบุช่วงเวลาที่ใช้ดำเนินการตามแผน ในทุกขั้นตอน

  •     ระบุความจำเป็นในการฝึกอบรมของพนักงานที่มีส่วนร่วมในระบบการประเมิน

  •     กำหนดทรัพยากรที่ใช้ในกิจกรรม ที่ระบุตามแผน

  •     รวบรวมเกณฑ์การประเมินในส่วนที่เกี่ยวข้องของแผน

  •     กำหนดวิธีการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลในการกระบวนการประเมินผล

  •     กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการ เพื่อที่ใช้ในกระบวนการรวบรวมข้อมูล

  •     กำหนดวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล

  •     ยืนยันเงื่อนไขที่จะใช้ในกระบวนการประเมินผล

  •     ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และขอความร่วมมือในกระบวนการรวบรวมหลักฐาน

  •     กระจายแผนการประเมินฉบับร่าง เพื่อขอคำแนะนำ

  •     แก้ไขแผนฉบับร่าง ตามคำแนะนำที่ได้



หลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการประเมินผล อาจเกี่ยวข้องกับ




  •     แบบฟอร์มบันทึกการเข้าร่วมการประเมิน

  •     ตัวอย่างหลักฐานการประเมินผล ที่ใช้ในการกำหนดสมรรถนะ

  •     รายงานการประชุมที่เกี่ยวข้องการประเมิน จัดทำโดย ผู้ฝึกอบรม ผู้ประเมิน และผู้เข้าอบรม/ผู้สมัคร

  •     ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินที่เตรียมให้กับผู้เข้าอบรม 

  •     ตัวอย่างรายการประเมิน เช่น แบบทดสอบ ข้อกำหนดการสาธิตการปฏิบัติงาน รายงานจากบุคคลที่ 3 รายการสังเกตการณ์ แฟ้มสะสมผลงาน 

  •     เกณฑ์ที่ใช้สำหรับการตัดสินสมรรถนะ

  •     หลักฐานด้านค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนการประเมิน

  •     หลักฐานของความก้าวหน้าของผู้รับการอบรม



หลักเกณฑ์ สำหรับใช้พิจารณาประสิทธิภาพของระบบการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  •     อัตราส่วนของจำนวนผู้เรียนที่เข้าร่วมการประเมิน ต่อจำนวนผู้ที่ผ่านการทดสอบสมรรถนะ

  •     จำนวนผู้สมัครที่ผ่านการทดสอบสมรรถนะ

  •     อัตราส่วนของผู้สมัครที่ทำการทดสอบซ้ำ ก่อนจะผ่านการทดสอบสมรรถนะ

  •     การวางแนวทางกิจกรรมการประเมิน ตามหลักสูตร/ความต้องการด้านด้านสมรรถนะ

  •     ข้อมูลสถิติภายใน ที่เกี่ยวข้องกับความคาดหวังในการบรรลุ ด้านสมรรถนะของพนักงาน

  •     ค่าใช้จ่าย

  •     ประโยชน์ขององค์กร อันเป็นผลมาจากการผ่านการทดสอบสมรรถนะ

  •     จำนวนเวลาทั้งหมดที่ผู้สมัครใช้ในการประเมิน 



วิธีการที่ใช้ในการควบคุมและวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินผล อาจครอบคลุมถึง




  •     การกระทำของการจับคู่และรูปแบบที่จะต้องระบุ

  •    การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม และ/หรือ แบบตัวต่อตัว

  •     การสำรวจ

  •     การแจกแบบสอบถาม

  •     รูปแบบการประเมินของสเตค (Stake Model) 

  •     รูปแบบการประเมินของสตัปเฟลบีม (Stufflebeam Model) 

  •     รูปแบบการประเมินของสคริฟเวน  (Scriven Model) 

  •     แบบจำลองทางชาติพันธุ์วิทยา (Ethnographic Model)

  •     แม่แบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research Model)

  •     วิธีการวาดภาพ (Portrayal Approach)



รวบรวมหลักฐาน ตามแผนการประเมินผล อาจครอบคลุมถึง




  •     ใช้เครื่องมือที่รวบรวมข้อมูลและเทคนิคต่าง ๆ ให้เป็นไปตามแผน

  •     ขนาดตัวอย่างที่สามารถเป็นตัวแทนและเชื่อถือได้ในการประเมิน

  •     ความเป็นส่วนตัวและความลับของข้อมูลที่บันทึก

  •     การตรวจสอบความถูกต้องและสมบูณ์ของข้อมูล

  •     กิจกรรมเพิ่มเติม สำหรับข้อมูลเดิมที่ไม่น่าเชื่อถือหรือไม่เพียงพอ

  •     พูดคุยกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

  •     ละเว้นข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง

  •     ติดตามประเด็นที่เกี่ยวข้อง ที่ระบุในกระบวนการวิจัย/ประเมินผล



เก็บข้อมูล อาจครอบคลุมถึง 




  •     การเก็บในรูปของเอกสารและจัดเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

  •     การรักษาความลับของข้อมูล โดยการจำกัดการเข้าถึงและการเผยแพร่

  •     การสำรองข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์



วิเคราะห์ข้อมูล อาจครอบคลุมถึง




  •     การจำแนกข้อมูลเป็นประเภท รวมทั้ง ประเภทเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ

  •     การระบุจำนวนข้อมูล

  •     การทดสอบถูกต้องของข้อมูล

  •     การจัดการข้อมูลสถิติ

  •     การตีความข้อมูล

  •     การร่างบทสรุป

  •     การหาข้อมูลเพิ่มเติม ในกรณีที่ได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ

  •     การหาคำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูล จากผู้จัดทำ

  •     การสร้างแผนภูมิ ตาราง ฯลฯ

  •     การเปรียบเทียบการวิเคราะห์และการตีความ กับความคาดหวัง

  •     การเปรียบเทียบการวิเคราะห์และการตีความ กับการประเมินที่ผ่านมา



รายงานการประเมินผลเป็นลายลักษณ์อักษร อาจครอบคลุมถึง 




  •     คำอธิบายของกระบวนการประเมิน รวมทั้ง ระบุของผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการ

  •     แผนภูมิและตาราง เพื่ออธิบายการประเมิน

  •     ช่วงเวลาที่ใช้ในการประเมิน

  •     บทสรุปผู้บริหาร

  •     ข้อมูลดิบตัวอย่าง

  •     ตัวอย่างของเครื่องมือวิจัย/ประเมินที่ใช้

  •     คำแนะนำสำหรับการดำเนินการ ขึ้นอยู่กับผลการศึกษาของการประเมิน



เผยแพร่รายงาน อาจครอบลุมถึง




  •     เผยแพร่สำเนารายงานไปยังรายผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

  •     เผยแพร่โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์

  •     การทำเครื่องหมายรายงานเป็น “ความลับทางการค้า” (Commercial-in-confidence)  และ “ไม่ใช่สำหรับข่าวประชาสัมพันธ์” (Not For Public Release) 

  •     การติดตามและการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของรายงาน ระหว่างผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและภายในองค์การ



นำเสนอรายงานด้วยวาจา เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลในรายงาน อาจครอบคลุมถึง




  •     คำอธิบายรายละเอียดของการผลการศึกษา

  •     คำชี้แจงเหตุผล ของคำแนะนำที่ระบุในรายงาน

  •     ประเด็นต่าง ๆ ที่ระบุในรายงาน อาจครอบคลุม ความลับทางการค้า ความอ่อนไหวทางการเมือง การดำเนินการตามกฎหมาย 

  •     ความเห็นเกี่ยวกับผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ



ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการรายงาน อาจครอบคลุมถึง




  •     ข้อมูลย้อนกลับทางวาจา

  •     ข้อมูลย้อนกลับแบบลายลักษณ์อักษร จากสิ่งพิมพ์หรืออิเล็กทรอนิกส์

  •     ข้อมูลย้อนกลับแบบมีโครงสร้าง 

  •     การได้รับการอนุมัติการจัดการ เพื่อดำเนินการ



แนวทางการปฏิบัติที่จะต้องดำเนินการ อันเป็นสืบเนื่องมาจากผลการประเมิน อาจครอบคลุมถึง




  •     การดำเนินการจัดประเมินอย่างต่อเนื่อง

  •     การปรับเปลี่ยนการจัดประเมิน 

  •     การระงับการจัดประเมิน

  •     การเปลี่ยนแปลงผู้ให้บริการด้านการประเมินจากภายนอก

  •     การสื่อสารถึงความพึงพอใจ และ/หรือ ความไม่พอใจให้กับผู้ให้บริการด้านการประเมินทราบ

  •     การวางข้อกำหนดด้านบริการเพิ่มเติม เกี่ยวกับการให้บริการด้านการประเมิน

  •     การเปลี่ยนผู้ประเมินภายใน ในกรณีคุณสมบัติไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่

  •     การแทรกระหว่างกิจกรรม เพื่อปรับเปลี่ยนการประเมิน ตามการค้นพบและข้อเสนอแนะ รวมทั้ง วิธีการประเมิน สถานที่ เวลา เครื่องมือประเมิน ฯลฯ

     


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ