หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมและจัดการฝึกอบรม

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-3-149ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมและจัดการฝึกอบรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเตรียมและจัดการฝึกอบรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบความต้องการฝึกอบรม การเตรียมแผนการฝึกอบรม และการจัดฝึกอบรม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)พ่อครัว - 5122 (ISCO-88 : TH) หรือ 3434 (ISCO-08 : TH)พ่อครัวขนมปังอบ - 7412 (ISCO-88 : TH)พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม - 5123 (ISCO-88 : TH) หรือ 5131 (ISCO-08 : TH) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.08.097.1 ตรวจสอบความต้องการฝึกอบรม 1.1 ระบุความสามารถปัจจุบันของผู้เรียน 1.08.097.1.01 45736
1.08.097.1 ตรวจสอบความต้องการฝึกอบรม 1.2 ระบุความสามารถที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน 1.08.097.1.02 45737
1.08.097.1 ตรวจสอบความต้องการฝึกอบรม 1.3 อธิบายรายละเอียดการฝึกอบรมสำหรับผู้เรียน 1.08.097.1.03 45738
1.08.097.1 ตรวจสอบความต้องการฝึกอบรม 1.4 ตรวจสอบรายละเอียดการฝึกอบรมที่ระบุกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 1.08.097.1.04 45739
1.08.097.1 ตรวจสอบความต้องการฝึกอบรม 1.5 ตรวจสอบการสนับสนุนที่มีอยู่สำหรับการฝึกอบรม 1.08.097.1.05 45740
1.08.097.1 ตรวจสอบความต้องการฝึกอบรม 1.6 พิจารณาข้อเสนอแนะในปัจจุบันสำหรับการฝึกอบรม 1.08.097.1.06 45741
1.08.097.2 เตรียมแผนการฝึกอบรม 2.1 พัฒนาหัวข้อในการฝึกอบรมเพื่อขออนุมัติ 1.08.097.2.01 45742
1.08.097.2 เตรียมแผนการฝึกอบรม 2.2 พัฒนาเนื้อหาการฝึกอบรม 1.08.097.2.02 45743
1.08.097.2 เตรียมแผนการฝึกอบรม 2.3 พัฒนาวัสดุและทรัพยากรการฝึกอบรม 1.08.097.2.03 45744
1.08.097.2 เตรียมแผนการฝึกอบรม 2.4 พัฒนาหัวข้อในการฝึกอบรม 1.08.097.2.04 45745
1.08.097.2 เตรียมแผนการฝึกอบรม 2.5 จัดลำดับความต้องการฝึกอบรม 1.08.097.2.05 45746
1.08.097.3 จัดฝึกอบรม 3.1 ยืนยันการเข้าร่วมของผู้เรียน ณ สถานที่จัดฝึกอบรม 1.08.097.3.01 45747
1.08.097.3 จัดฝึกอบรม 3.2 จัดเตรียมสถานที่ฝึกอบรม 1.08.097.3.02 45748
1.08.097.3 จัดฝึกอบรม 3.3 แนะนำหัวข้อการฝึกอบรม 1.08.097.3.03 45749
1.08.097.3 จัดฝึกอบรม 3.4อธิบายการฝึกอบรมและกิจกรรมในการประเมินผลที่เกี่ยวข้องในการฝึกอบรม 1.08.097.3.04 45750
1.08.097.3 จัดฝึกอบรม 3.5 ให้การอบรมหัวข้อนั้น ๆ 1.08.097.3.05 45751
1.08.097.3 จัดฝึกอบรม 3.6 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ 1.08.097.3.06 45752
1.08.097.3 จัดฝึกอบรม 3.7 ให้ข้อเสนอแนะสำหรับผู้เรียน 1.08.097.3.07 45753
1.08.097.3 จัดฝึกอบรม 3.8 ตรวจสอบความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องของผู้เรียนในระหว่างการอบรมและการทำกิจกรรม 1.08.097.3.08 45754

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ความสามารถในการฝึกอบรมอาชีพ

-    ความสามารถในการนำทักษะด้านงานวิจัย การวางแผน การประสานงาน การเจรจาต่อรอง และเทคนิคการนำเสนอ มาใช้ก่อนการฝึกอบรม

-    ความสามารถในการนำทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การสื่อสาร และความเป็นผู้นำ มาใช้ระหว่างการฝึกอบรม

-    ความสามารถในการระบุความแตกต่างแต่ละอย่าง ของกลุ่มผู้เรียน

-    ความสามารถในการวางแผนการฝึกอบรม รวมทั้ง การพัฒนาเครื่องมือ/ทรัพยากร ที่ใช้สนับสนุนการฝึกอบรม

-    ความสามารถในการใช้กลยุทธ์/เทคนิคการจัดฝึกอบรมสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในสถานประกอบการ 

-    ความสามารถในการพัฒนาแผน เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการฝึกอบรม

-    ความสามารถในการทำเอกสารเกี่ยวกับทรัพยากร ขั้นตอนการประเมิน และการสนับสนุนที่จำเป็นต่อฝึกอบรม

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและกระบวนการขององค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการฝึกอบรมและการประเมินผล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 

-    แฟ้มสะสมผลงาน 

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ 



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลสอบข้อเขียน

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 





(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 

        

(ง) วิธีการประเมิน

-    ข้อสอบข้อเขียน

-    แฟ้มสะสมผลงาน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-    การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



ระบุสมรรนะของผู้เรียน อาจจะเกี่ยวข้องกับ




  • การสังเกตการปฏิบัติงานของพนักงาน

  • ความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงาน

  • การประเมินตนเองและแบบฟอร์มการวิเคราะห์พนักงาน

  • การตรวจสอบข้อมูลในระบบ/ฐานข้อมูลการประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน

  • การตรวจสอบจากใบสมัครและใบประวัติ

  • การหาข้อมูลจากผู้บริหาร หัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงาน

  • คำติชมของลูกค้า

  • การตรวจสอบคุณสมบัติ ใบรับรอง และใบอนุญาต

  • การระบุความต้องการของผู้เข้าฝึกอบรมแต่ละคน

  • การประเมินระดับของความรู้ภายในกลุ่มเป้าหมาย

  • การระบุความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน เช่น

  • เพศ/อายุ

  • ระดับแรงจูงใจ

  • ระดับการอ่านออกเขียนได้ การคิดคำนวณ หรือการใช้ภาษา

  • ภาระผูกพันที่นอกเหนือจากการทำงาน ที่อาจกระทบต่อการฝึกอบรม

  • ความเชื่อมั่นในตัวเอง

  • ระดับความสำเร็จของการฝึกอบรมที่ผ่านมา

  • ประสบการณ์/ระยะเวลาในการทำงาน

  • ความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ

  • ประเด็นด้านวัฒนธรรม

  • ภูมิหลังการศึกษา



ระบุสมรรถนะที่จำเป็น อาจครอบคลุมถึง




  • การทบทวนรายการการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง

  • การตรวจสอบแผนธุรกิจ

  • การทบทวนนโยบายและวิธีการที่เกี่ยวข้อง

  • การทบทวนเอกสารการวิเคราะห์งานและเอกสารอื่น ๆ ที่คล้ายกัน

  • การอธิบายมาตรฐานการปฏิบัติงาน

  • การระบุเกณฑ์ของสินค้าและบริการ

  • การอธิบายบริบทของสถานประกอบการ ครอบคลุม เงื่อนไขของงานที่ต้องทำให้สำเร็จ 



อธิบายช่องว่างของการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • ความแตกต่างระหว่าง ความคาดหวังขององค์กร เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงาน/ผู้เรียน กับระดับการปฏิบัติงานได้จริงของพนักงาน/ผู้เรียนแต่ละคน

  • การยืนยันความแตกต่างการฝึกอบรมที่ถูกระบุของพนักงาน ผู้เรียนแต่ละคน



บุคลากรที่เกี่ยวข้อง อาจครอบคลุมถึง




  • หัวหน้างาน ผู้จัดการ และเจ้าของ

  • บุคลากรในอุตสาหกรรม

  • ผู้เชี่ยวชาญ

  • สำนักงานใหญ่

  • ผู้แทนสหภาพ

  • แผนกทรัพยากรบุคคล

  • พนักงาน/ผู้เรียน

  • ผู้นำฝึกอบรมและผู้ประเมิน

  • ที่ปรึกษาจากภายนอก



ความช่วยเหลือที่จัดเตรียมสำหรับการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • ระยะเวลา

  • ทรัพยากรทางกายภาพ

  • ทรัพยากรมนุษย์

  • ทรัพยากรด้านการเงิน

  • สถานที่ฝึกอบรม

  • ทรัพยากรและเครื่องมือการฝึกอบรม

  • การสนับสนุนจากฝ่ายบริหารในการริเริ่มกิจกรรม

  • เส้นทางการเติบโตในสายอาชีพ



ข้อเสนอแนะ อาจครอบคลุมถึง




  • ข้อเสนอแนะทางวาจา หรือลายลักษณ์อักษร

  • การอธิบายความจำเป็นในการฝึกอบรม

  • การคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับความล้มเหลวของการฝึกอบรม

  • การอธิบายผลประโยชน์ที่จะได้จากการดำเนินการฝึกอบรม

  • การระบุการประเมินที่นำมาใช้

  • การคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฝึกอบรม

  • การขออนุมัติและการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารและบุคคลอื่น ๆ



พัฒนาโครงร่างการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • การยืนยันเนื้อหาหรือหัวข้อที่จำเป็นต้องได้รับการกล่าวถึงในการฝึกอบรม ว่าควรจัดฝึกอบรมเป็นกลุ่มหรือเดี่ยว มุ่งเน้นทฤษฎีหรือการสาธิต หรือทั้งสองอย่าง

  • การวางลำดับเนื้อหา และ/หรือ หัวข้อการฝึกอบรม อย่างถูกต้อง

  • การจัดสรรกรอบเวลาเนื้อหา และ/หรือ หัวข้อการฝึกอบรม

  • การอธิบายถึงวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ของแต่ละช่วงการฝึกอบรม

  • การหาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเนื้อหา และ/หรือ หัวข้อการฝึกอบรม

  • การขออนุมัติการจัดการฝึกอบรมจากบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

  • การยืนยันทรัพยากรที่ใช้ในการสนับสนุนการฝึกอบรม



พัฒนาเนื้อหาการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • ความถูกต้องของเนื้อหาที่นำเสนอ

  • การครอบคลุมของเนื้อหา

  • ความสอดคล้องของข้อกำหนดทางกฎหมาย กับเนื้อหาที่นำเสนอ

  • การตรวจสอบลำดับของเนื้อหาที่นำเสนอ

  • การปฏิบัติตามข้อกำหนดในเอกสารของหลักสูตรการฝึกอบรมที่ถูกเลือก ครอบคลุม หลักสูตรการฝึกอบรม มาตฐานการฝึกอบรม การวิเคราะห์งาน เป็นต้น

  • การระบุหัวข้อและหัวข้อย่อยสำหรับการฝึกอบรม

  • การระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในการเตรียมการฝึกอบรม ทั้งจากภายนอกและภายใน

  • การระบุทัศนคติ ทักษะและความรู้ที่จำเป็น สำหรับเนื้อหาที่นำเสนอ

  • การระบุ และ/หรือ ยืนยัน ความต้องการในการปฏิบัติงาน ครอบคลุม คำอธิบายบริบทสำหรับการฝึกอบรมทั้งหมด

  • การวางเนื้อหาการฝึกอบรม สอดคล้องกับสมรรถนะที่จำเป็นของของพนักงาน

  • การเน้นด้านความปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการฝึกอบรม และเนื้อหาทั้งหมด



พัฒนาเครื่องมือและทรัพยากรเพื่อใช้ในการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • ใช้ทรัพยากรและเครื่องมือในการฝึกอบรม ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ

  • ระบุทรัพยากรและเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรม รวมทั้ง คู่มือ ตำรา สมุดงาน คู่มือปฏิบัติการ เอกสารประกอบคำบรรยาย มาตรฐานและขั้นตอนการดำเนินงาน โปสเตอร์ วิดีโอ รายการตัวอย่าง รายการสาธิต

  • สร้างความมั่นใจว่า ทรัพยากรและเครื่องมือที่มีเพียงพอต่อการใช้ 

  • จัดซื้อทรัพยากรและเครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรม

  • สร้างความมั่นใจว่า ทรัพยากรและเครื่องมือในการฝึกอบรมเหมาะกับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน   รวมทั้ง รูปแบบการเรียนรู้ ข้อกำหนดของทักษะการอ่านออกเขียนได้ ตัวเลขและภาษา

  • รองรับข้อจำกัดและการใช้ทรัพยากรและเครื่องมือในการฝึกอบรม

  • หาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำการฝึกอบรม หน่วยงานฝึกอบรม และพนักงาน/ผู้ที่เคยเข้าร่วมการฝึกอบรม

  • ทบทวนการประเมินผลที่ผ่านมา และรวมบททดสอบเข้ากับการฝึกอบรมที่กำลังจะจัด



พัฒนาการฝึกอบรมในแต่ละช่วง อาจครอบคลุมถึง




  • เตรียมการประชุม ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม

  • รวบรวมเนื้อหาการฝึกอบรมที่ตกลงกัน เป็นรายการฝึกอบรมที่เหมาะสม

  • ระบุวันที่และเวลา สำหรับการฝึกอบรมในแต่ละช่วง

  • ระบุและจัดเตรียมการฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนาทักษะ ครอบคลุม การฝึกในเวลางาน การฝึกนอกเวลางาน การฝึกอบรมเพิ่มเติม รวมทั้ง การหมุนเวียนหน้าที่ การแบ่งงานกันทำ การทำงานแทนกัน

  • ระบุและอนุญาตให้มีการประเมินการทำงานตามความจำเป็น รวมทั้ง การเตรียมแบบฟอร์มการประเมิน การพัฒนาเครื่องมือการประเมิน การจัดสรรเวลาในการฝึกอบรม ทั้งในและนอกเวลางาน การประเมินผลเพิ่มเติม

  • กำหนดสถานที่สำหรับการจัดฝึกอบรม ทั้งภายในและภายนอกสถานที่

  • ระบุกลยุทธ์และเทคนิคการฝึกอบรมที่นำมาใช้ ครอบคลุม การนำเสนอด้วยปากเปล่า การจำลองการทำงาน การมอบหมายโครงการ การสาธิต การทัศนศึกษา การฟังวิทยากร การแสดงบทบาทสมมุติ การสัมภาษณ์ การตรวจแฟ้มสะสมผลงาน การให้คำปรึกษา การสอนงาน การอบรมโดยคอมพิวเตอร์ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การบรรยาย การอภิปราย

  • ระบุรายการอุปกรณ์ วัตถุดิบ วัสดุ และเครื่องใช้ รวมทั้ง เอกสารประกอบ ที่จำเป็นในการฝึกอบรม

  • สร้างความมั่นใจว่า การฝึกอบรมบรรลุวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่ระบุ

  • พัฒนาแผน/รายการฝึกอบรมของแต่ละช่วง

  • จัดวัตถุดิบสำหรับใช้ในการฝึกอบรม ให้สอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละช่วง

  • สร้างความมั่นใจว่า โปรแกรมการฝึกอบรม รองรับความจำเป็นของผู้เรียน



จัดทำข้อกำหนดของการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • จัดหางบประมาณทางการเงินและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ใช้ในการสนับสนุนการฝึกอบรม

  • จัดหาวัตถุดิบและทรัพยากรที่ใช้ในการฝึกอบรม

  • ส่งเสริมการฝึกอบรมภายในให้กับพนักงาน รวมทั้ง ให้ฝ่ายบริหารกระตุ้นให้พนักงานเข้าร่วมและเกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม

  • จัดหาอุปกรณ์และเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เพื่อให้การสนับสนุนการจัดฝึกอบรม

  • จัดเตรียมการสนับสนุนการฝึกอบรมจากภายนอก เช่น วิทยากร เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้นำฝึกอบรม ผู้ประเมิน ผู้เชี่ยวชาญ

  • เตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ในการฝึกอบรม เช่น บันทึก แบบฝึกหัด การนำเสนอ ฯลฯ 

  • บันทึกรายละเอียดของผู้เรียน ที่ประสงค์จะเข้าร่วมการฝึกอบรม

  • มีความรับผิดชอบด้านเรื่องเวลาและเงินที่ใช้ในการเตรียมการฝึกอบรม และการจัดซื้อวัตถุดิต่าง ๆ

  • เตรียมสถานที่ฝึกอบรมให้พร้อม

  • ประชุมกับหัวหน้างาน เพื่ออธิบายเกี่ยวกับการฝึกอบรม รวมทั้ง การขอความร่วมมือในการอนุญาตพนักงานเข้าร่วมการฝึกอบรม การเสนอความความช่วยเหลือ ในช่วงที่พนักงานเข้าร่วมการฝึกอบรม

  • เข้าถึงพื้นที่และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรมและการประเมินผล รวมทั้ง การสาธิตและการฝึกปฏิบัติ

  • สร้างความมั่นใจ ในความปลอดภัยของอุปกรณ์และสถานที่สำหรับการฝึกอบรม รวมทั้ง การทำความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการจัดการเหตุฉุกเฉิน

  • วางแนวทางในการดำเนินการ ตามแผนการฝึกอบรม รวมทั้ง การอธิบายให้ผู้นำการฝึกอบรมและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ



ยืนยันการเข้าร่วมของผู้เรียน อาจครอบคลุมถึง




  • ย้ำเตือนผู้เรียนเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ในการฝึกอบรม

  • ประสานงานกับหัวหน้างาน เพื่อให้อนุญาตผู้เรียนเข้าร่วมการฝึกอบรม

  • กระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าร่วมฝึกอบรม

  • ขอความช่วยเหลือจากพนักงานฝ่ายสนับสนุน ในการบันทึกชื่อผู้เรียน

  • บอกฝ่ายบริหาร ให้กระตุ้นพนักงานเข้าร่วมการฝึกอบรม



จัดเตรียมสถานที่ สำหรับการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • ทำความสะอาดและจัดระเบียบสถานที่

  • สร้างความมั่นใจว่า อุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งหมดสามารถใช้งานได้

  • ตรวจสอบความพร้อมและความปลอดภัยในการทำงานของอุปกรณ์

  • ทดสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมทุกขั้นตอน เช่น หูฟัง เครื่องฉาย คอมพิวเตอร์ ฯลฯ

  • ปรับสภาพแวดล้อม เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้เรียน

  • จัดหาอาหารสำหรับผู้เรียน

  • จัดหาและจัดเตรียมทรัพยากรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม รวมทั้ง เครื่องอุปโภคบริโภค

  • จัดครุภัณฑ์ เพื่อทำให้การฝึกอบรม เป็นไปตามผลลัพธ์และวัตถุประสงค์ที่วางไว้



แนะนำหัวข้อการฝึกอบรม อาจครอบคลุมถึง




  • อธิบายความจำเป็นในการฝึกอบรม

  • สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียน

  • เสนอประโยชน์ของผู้เรียนจะได้รับ เมื่อสำเร็จการฝึกอบรม

  • ตัวอย่างทางอุตสาหกรรมและการอ้างอิงประกอบ

  • ยกตัวอย่างและอ้างอิงประเด็นในอุตสาหกรรม

  • ระบุผลลัพธ์ที่ต้องการในการฝึกอบรม

  • อธิบายวิธีการบูรณาการการฝึกอบรม

  • อธิบายโอกาสในการฝึกปฏิบัติ

  • อธิบายขั้นตอนการประเมิน

  • ระบุกรอบเวลาที่ใช้ในการเรียนและการบรรลุสมรรถนะ

  • ให้ข้อมูลภาพรวมของการฝึกอบรม



อธิบายกิจกรรมการฝึกอบรมและการประเมินผล อาจครอบคลุมถึง




  • อธิบายขอบเขตด้านเวลาที่ใช้ ในการฝึกอบรมและการประเมินผล

  • ระบุระดับของสมรรถนะที่ต้องการ

  • จัดกิจกรมให้ตรงกับกลุ่มผู้เรียน

  • อธิบายการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างกิจกรรมการฝึกอบรมและการประเมินผล

  • ยืนยันวัน/เวลา และสถานที่ในการฝึกอบรมและประเมินผล

  • อธิบายองคประกอบของการประเมินผล ครอบคลุม ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ กาประเมินระหว่างเวลางานและนอกเวลางาน การประเมินที่เป็นวาจาและลายลักษณ์อักษร แหล่งข้อมูลที่สามารถใช้เป็นหลักฐานในการประเมิน



โอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ อาจครอบคลุมถึง




  • โอกาสในการฝึกปฏิบัติ ระหว่างการฝึกอบรม

  • โอกาสในการฝึก นอกเวลางาน

  • การจัดเตรียมโอกาสในการได้รับคำแนะนำขณะทำงาน จากผู้ฝึกอบรม หัวหน้างาน และผู้อาวุโส/พนักงานที่มีประสบการณ์

  • การรวมการฝึกอบรมในเวลางานกับนอกเวลางาน



ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้เรียน อาจครอบคลุมถึง




  • การให้คำแนะนำที่ง่ายต่อการตอบสนอง

  • การให้คำติชมในเชิงบวก เพื่อสร้างแรงจูงใจและให้กำลังใจผู้เรียน

  • ความแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของความพยายาม ไม่เน้นเฉพาะความสำเร็จ

  • การให้คำติชมด้านลบ โดยใช้วิธีการเชิงบวก

  • ความจริงใจในการให้คำติชม

  • การเปิดโอกาสผู้เรียนให้คำติชมแก่ผู้นำการฝึกอบรม

  • การใช้เทคนิคการให้คำติชม แบบวัจนภาษาและอวัจนภาษา


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ