หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ให้การสนับสนุนด้านวิชาชีพแก่เพื่อนร่วมงาน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-3-145ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ให้การสนับสนุนด้านวิชาชีพแก่เพื่อนร่วมงาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
              หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการให้การสนับสนุนด้านวิชาชีพแก่เพื่อนร่วมงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอธิบายหลักการพื้นฐานของการสนับสนุนวิชาชีพแก่เพื่อนร่วมงาน การสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและให้การสนับสนุนกับเพื่อนร่วมงาน การให้การสนับสนุน/การเรียนรู้ อย่างมีโครงสร้างแก่เพื่อนร่วมงาน และการให้การสนับสนุน/การเรียนรู้ อย่างไม่มีโครงสร้างแก่เพื่อนร่วมงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)พ่อครัว - 5122 (ISCO-88 : TH) หรือ 3434 (ISCO-08 : TH)พ่อครัวขนมปังอบ - 7412 (ISCO-88 : TH)พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม - 5123 (ISCO-88 : TH) หรือ 5131 (ISCO-08 : TH) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.09.106.1 อธิบายหลักการพื้นฐานของการสนับสนุนวิชาชีพแก่เพื่อนร่วมงาน 1.1ระบุประโยชน์ของการริเริ่มการสนับสนุนการทำงานให้แก่เพื่อนร่วมงาน 1.09.106.1.01 45944
1.09.106.1 อธิบายหลักการพื้นฐานของการสนับสนุนวิชาชีพแก่เพื่อนร่วมงาน 1.2 ระบุพนักงานที่จะเป็นผู้ให้การสนับสนุน 1.09.106.1.02 45945
1.09.106.1 อธิบายหลักการพื้นฐานของการสนับสนุนวิชาชีพแก่เพื่อนร่วมงาน 1.3 ระบุพนักงานที่จะรับการสนับสนุน 1.09.106.1.03 45946
1.09.106.1 อธิบายหลักการพื้นฐานของการสนับสนุนวิชาชีพแก่เพื่อนร่วมงาน 1.4 อธิบายถึงทรัพยากรที่อาจจะจำเป็นต้องใช้ในการให้การสนับสนุน 1.09.106.1.04 45947
1.09.106.2 สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและให้การสนับสนุนกับเพื่อนร่วมงาน 2.1 นำทักษะระหว่างบุคคลมาใช้ได้อย่างเหมาะสม 1.09.106.2.01 45948
1.09.106.2 สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและให้การสนับสนุนกับเพื่อนร่วมงาน 2.2 สร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจซึ่งกันและกันและความสามัคคี 1.09.106.2.02 45949
1.09.106.2 สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและให้การสนับสนุนกับเพื่อนร่วมงาน 2.3 ดำรงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน 1.09.106.2.03 45950
1.09.106.2 สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและให้การสนับสนุนกับเพื่อนร่วมงาน 2.4 นำประสบการณ์มาแบ่งปันกับเพื่อนร่วมงาน 1.09.106.2.04 45951
1.09.106.2 สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและให้การสนับสนุนกับเพื่อนร่วมงาน 2.5 ส่งเสริมและกระตุ้นเพื่อนร่วมงาน 1.09.106.2.05 45952
1.09.106.2 สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและให้การสนับสนุนกับเพื่อนร่วมงาน 2.6 ให้ความสนใจกับสถานะการณ์หรือเหตุการณ์หลังเลิกงานที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน 1.09.106.2.06 45953
1.09.106.3 ให้การสนับสนุน/การเรียนรู้อย่างมีโครงสร้างแก่เพื่อนร่วมงาน 3.1ระบุโอกาสและข้อตกลงในการสร้างกลไกสำหรับการสนับสนุน/การเรียนรู้อย่างมีโครงสร้างนอกเวลาการปฏิบัติงาน 1.09.106.3.01 45954
1.09.106.3 ให้การสนับสนุน/การเรียนรู้อย่างมีโครงสร้างแก่เพื่อนร่วมงาน 3.2พัฒนาโครงสร้างและกำหนดตารางการให้การสนับสนุน/การเรียนรู้นอกเวลาปฏิบัติงาน 1.09.106.3.02 45955
1.09.106.3 ให้การสนับสนุน/การเรียนรู้อย่างมีโครงสร้างแก่เพื่อนร่วมงาน 3.3พัฒนาโครงร่างและวัตถุประสงค์สำหรับโครงสร้างและตารางกำหนดการให้การสนับสนุน/การเรียนรู้นอกเวลาปฏิบัติงาน 1.09.106.3.03 45956
1.09.106.3 ให้การสนับสนุน/การเรียนรู้อย่างมีโครงสร้างแก่เพื่อนร่วมงาน 3.4ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการสนับสนุน/การเรียนรู้นอกเวลาปฏิบัติงานตามความจำเป็น 1.09.106.3.04 45957
1.09.106.4 ให้การสนับสนุน/การเรียนรู้อย่างไม่มีโครงสร้างแก่เพื่อนร่วมงาน 4.1 ระบุโอกาสในการให้การสนับสนุน/การเรียนรู้ระหว่างการทำงาน 1.09.106.4.01 45958
1.09.106.4 ให้การสนับสนุน/การเรียนรู้อย่างไม่มีโครงสร้างแก่เพื่อนร่วมงาน 4.2ให้การสนับสนุน/การเรียนรู้ระหว่างการทำงานที่เหมาะสม 1.09.106.4.02 45959
1.09.106.4 ให้การสนับสนุน/การเรียนรู้อย่างไม่มีโครงสร้างแก่เพื่อนร่วมงาน 4.3 บูรณาการการสนับสนุน/การเรียนรู้ในระหว่างการปฏิบัติงานและนอกการปฏิบัติงานเข้าด้วยกัน 1.09.106.4.03 45960

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ

-    ความสามารถในการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เหมาะสม โดยเฉพาะทักษะในการสื่อสาร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายขององค์กรและวิธีการในเรื่องที่เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือพนักงานรวมทั้งเจ้าหน้าที่

-    ความรู้เกี่ยวกับหลักการของการฝึกอบรม การให้คำปรึกษา

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แฟ้มสะสมผลงาน 

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ 



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลสอบข้อเขียน

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 



(ง) วิธีการประเมิน

-     ข้อสอบข้อเขียน 

-     แฟ้มสะสมผลงาน 

-     การสัมภาษณ์ 

-     การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

-     การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-     การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-     การจำลองสถานการณ์ และบทบาทสมมติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



ประโยชน์ของการริเริ่มการสนับสนุนการทำงาน อาจครอบคลุมถึง




  • ความเชื่อมั่นและความสามารถในหมู่เพื่อนร่วมงานที่เพิ่มมากขึ้น

  • ความสอดคล้องต่อเนื่องในการให้บริการลูกค้าที่ดีขึ้น

  • ระดับการลาออกของพนักงานลดลง

  • ความคับข้องใจ ความกังวล และประเด็นปัญหาที่มีความรู้สึกร่วมกัน

  • ความสามารถในการพิจารณาปัญหาในสถานที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีการสนับสนุน

  • การทำงานกันเป็นทีมที่ดีขึ้น

  • ระดับความเข้าใจต่อสถานการณ์และพนักงานคนอื่นที่สูงขึ้น



พนักงานที่จะเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านวิชาชีพภายในองค์กร อาจครอบคลุมถึง




  • เจ้าของ

  • ผู้จัดการ

  • ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าแผนก

  • เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม

  • บุคลากรอาวุโส

  • พนักงานที่มีประสบการณ์การทำงานเป็นเวลานาน



พนักงานที่จะเป็นผู้รับการสนับสนุนด้านวิชาชีพภายในองค์กร อาจครอบคลุมถึง




  • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในทุกระดับ รวมทั้งพนักงานใหม่

  • ผู้บริหารและพนักงานระดับอาวุโส

  • ผู้บังคับบัญชาอื่น ๆ

  • พนักงานในตำแหน่งงานใหม่



ทรัพยากร อาจครอบคลุมถึง




  • เวลา

  • สถานที่ที่เหมาะสมและมีความเป็นส่วนตัว

  • อุปกรณ์และวัสดุในการฝึกอบรม

  • สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

  • การให้การสนับสนุนจากองค์กร



ทักษะระหว่างบุคคล อาจครอบคลุมถึง




  • ทักษะการสื่อสารทางวาจาและไม่ใช่ทางวาจา

  • การเจรจาต่อรองและทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

  • การฝึกอบรมการให้คำปรึกษาและการฝึกทักษะ

  • ทักษะการฟังและทักษะการซักถาม

  • ทักษะการสร้างแรงบันดาลใจ

  • ทักษะการวิเคราะห์

  • ความสามารถในการเห็นอกเห็นใจกับคน

  • ความสามารถในการพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้คนที่ทำให้เกิดความไว้วางใจและความเชื่อมั่น

  • ความสามารถในการรักษาความเชื่อมั่น

  • ชั้นเชิงในการเจรจาต่อรอง

  • ทักษะในการช่วยหลือเพื่อนร่วมงาน



สถานการณ์หรือเหตุการณ์นอกเวลาการปฏิบัติงาน อาจครอบคลุมถึง




  • ปัญหาครอบครัว/ปัญหาคู่สมรส

  • ปัญหาทางการเงิน

  • ปัญหาสุขภาพส่วนบุคคล

  • ปัญหายาเสพติด



กลไกสำหรับการสนับสนุน/การเรียนรู้นอกเวลาการปฏิบัติงานอย่างมีโครงสร้าง อาจครอบคลุมถึง




  • การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานสนับสนุนหรือจากบุคคลภายนอก

  • การประชุมกลุ่ม

  • การประชุมอย่างเป็นทางการ

  • การอภิปรายกลุ่ม

  • การให้คำปรึกษา

  • การช่วยเหลือตนเองของกลุ่ม

  • การฝึกอบรมเพิ่มเติมและตรงเป้าหมาย

  • การกำหนดเป้าหมายให้ตรงกับประสบการณ์การทำงาน



โครงร่างและวัตถุประสงค์ อาจครอบคลุมถึง




  • การตั้งเป้าหมายส่วนตัว

  • การแนะแนวอาชีพ

  • การปรับเปลี่ยนของการฝึกอบรมที่มีอยู่

  • การตั้งกรอบเวลาในการบรรลุเป้าหมาย

  • การจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

  • การประสานความช่วยเหลือเสริมนอกเวลาการปฏิบัติงาน

  • การบูรณาการการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบอื่น ๆ กับกิจกรรมการสนับสนุน/การเรียนรู้นอกเวลาการปฏิบัติงาน

  • การปรับโครงร่างและวัตถุประสงค์ในปัจจุบันให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล



ปรับเปลี่ยนการสนับสนุน/การเรียนรู้นอกเวลาการปฏิบัติงานอย่างมีโครงสร้าง อาจหมายถึง




  • การเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานหรือบุคคล/กลุ่มบุคคล

  • ประเด็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น และความต้องการที่กำลังเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสโดยผู้ประสานงาน

  • การแก้ไขประเด็นปัญหา

  • การตอบสนองต่อความต้องการในสถานที่ทำงาน เช่น พนักงานใหม่ การซื้อขายที่เพิ่มขึ้นปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน



การสนับสนุน/การเรียนรู้ระหว่างการปฏิบัติงาน อาจเกี่ยวข้องกับ




  • การให้คำปรึกษาในการทำงานและการสอนงาน

  • การปรับเป้าหมายและความรับผิดชอบในการทำงานที่มีอยู่

  • การจัดฝึกอบรมเสริม

  • การใช้ประโยชน์จากพนักงานอื่น ๆ เพื่อช่วยในการให้การสนับสนุน

  • การปรับเปลี่ยนสถานที่ทำงาน อุปกรณ์ และเครื่องมือทางกายภาพที่มีอยู่

  • การให้กำลังใจและสร้างแรงจูงใจ

  • การเชิดชู การให้รางวัล และการเฉลิมฉลองความสำเร็จ



บูรณาการการสนับสนุน/การเรียนรู้ในระหว่างการปฏิบัติงานและนอกเวลาการปฏิบัติงานเข้าด้วยกัน อาจครอบคลุมถึง




  • ประสานงานกับผู้ให้การฝึกอบรม ผู้บังคับบัญชา และพนักงานอื่น ๆ

  • การให้ความช่วยเหลือในเรื่องการจัดตารางเวลาการทำงานใหม่

  • การปรับเปลี่ยนปริมาณงานของพนักงานในปัจจุบัน

  • การให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม

  • การประเมินมูลค่าพนักงานเป็นสินทรัพย์ของธุรกิจ

  • การรองรับความแตกต่างของแต่ละบุคคลในด้านความต้องการ ความชอบในการเรียนรู้ จำนวนครั้งในการฝึกอบรม และวิธีการในการฝึกอบรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ