หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดให้มีการรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-1-106ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดให้มีการรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยในที่ทำงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน การพัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย การจัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย การจัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย การจัดให้มีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย การสอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการประเมินความมีประสิทธิผลของงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)พ่อครัว - 5122 (ISCO-88 : TH) หรือ 3434 (ISCO-08 : TH)พ่อครัวขนมปังอบ - 7412 (ISCO-88 : TH)พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม - 5123 (ISCO-88 : TH) หรือ 5131 (ISCO-08 : TH)  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.04.139.1 ระบุหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน 1.1 ระบุสิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของนายจ้าง 1.04.139.1.01 44878
1.04.139.1 ระบุหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน 1.2 ระบุสิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของลูกจ้าง 1.04.139.1.02 44879
1.04.139.1 ระบุหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน 1.3 จัดทำนโยบายด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 1.04.139.1.03 44880
1.04.139.2 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 2.1 จัดเตรียมคำบรรยายลักษณะงานที่สอดคล้องกับหน้าที่รับผิดชอบด้านสุขอนามัยความมั่นคงและความปลอดภัย 1.04.139.2.01 44881
1.04.139.2 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 2.2 สถาปนาความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร 1.04.139.2.02 44882
1.04.139.2 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 2.3 สร้างโครงสร้างรายงานผลการดำเนินงานด้านสุขอนามัยความมั่นคงและความปลอดภัย 1.04.139.2.03 44883
1.04.139.2 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 2.4 เผยแพร่ข้อมูลด้านสุขอนามัยความมั่นคงและความปลอดภัย 1.04.139.2.04 44884
1.04.139.2 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 2.5 เสนอการฝึกอบรมด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 1.04.139.2.05 44885
1.04.139.2 พัฒนาและดำรงรักษากรอบการปฏิบัติงานเพื่อคงไว้ซึ่งข้อกำหนดด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 2.6 พัฒนาการเก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับสุขอนามัยความมั่นคงและความปลอดภัย 1.04.139.2.06 44886
1.04.139.3 จัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 3.1 ดำเนินการตรวจสอบสถานที่ทำงานในส่วนที่เกี่ยวกับกายภาพ 1.04.139.3.01 44887
1.04.139.3 จัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 3.2 สนับสนุนให้พนักงานรายงานความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตราย 1.04.139.3.02 44888
1.04.139.3 จัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 3.3 วิเคราะห์รายงานบันทึกภายในองค์กร 1.04.139.3.03 44889
1.04.139.3 จัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 3.4 ระบุความเสี่ยงในขั้นตอนการวางแผนและการจัดซื้อ 1.04.139.3.04 44890
1.04.139.3 จัดให้มีกระบวนการระบุความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 3.5 ติดตามประเมินแหล่งที่มาของความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายในสถานที่ปฏิบัติงาน 1.04.139.3.05 44891
1.04.139.4 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 4.1 ระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน 1.04.139.4.01 44892
1.04.139.4 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 4.2 กำหนดตารางเวลาการประเมินความเสี่ยง 1.04.139.4.02 44893
1.04.139.4 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 4.3 ดำเนินการให้มีกิจกรรมการประเมินความเสี่ยง 1.04.139.4.03 44894
1.04.139.4 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 4.4 บันทึกแนวความคิดที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมเพื่อประเมินความเสี่ยง 1.04.139.4.04 44895
1.04.139.4 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 4.5 อำนวยความสะดวกโดยการให้คำปรึกษาที่มีประโยชน์และมีประสิทธิผล 1.04.139.4.05 44896
1.04.139.4 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 4.6 ยึดถือหลักการให้ความปลอดภัยโดยรวมมากกว่าการสร้างความปลอดภัยส่วนบุคคล 1.04.139.4.06 44897
1.04.139.4 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 4.7 จัดลำดับและความสำคัญของความเสี่ยงระดับต่างๆ 1.04.139.4.07 44898
1.04.139.4 จัดให้มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 4.8 สรุปผลการประเมินความเสี่ยงและดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสม 1.04.139.4.08 44899
1.04.139.5 จัดให้มีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 5.1 วางแผนเพื่อนำกิจกรรมควบคุมมาใช้ปฏิบัติ 1.04.139.5.01 44900
1.04.139.5 จัดให้มีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 5.2 ริเริ่มกิจกรรมควบคุม 1.04.139.5.02 44901
1.04.139.5 จัดให้มีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 5.3 ติดตามประเมินกิจกรรมควบคุม 1.04.139.5.03 44902
1.04.139.5 จัดให้มีกระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย 5.4 ทำการแก้ไขข้อผิดพลาดในกรณีที่จำเป็น 1.04.139.5.04 44903
1.04.139.6 สอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 6.1 กำหนดวิธีการแจ้งการบาดเจ็บความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ต่าง ๆ 1.04.139.6.01 44904
1.04.139.6 สอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 6.2 สอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ต่างๆ 1.04.139.6.02 44905
1.04.139.6 สอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 6.3 ระบุสาเหตุของการบาดเจ็บความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ต่าง ๆ 1.04.139.6.03 44906
1.04.139.6 สอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 6.4 ดำเนินมาตรการแก้ไขความผิดพลาด 1.04.139.6.04 44907
1.04.139.7 ประเมินความมีประสิทธิผลของงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 7.1 ทบทวนและประเมินประสิทธิผลของระบบที่ใช้ 1.04.139.7.01 44908
1.04.139.7 ประเมินความมีประสิทธิผลของงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 7.2 ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในกรณีที่จำเป็น 1.04.139.7.02 44909
1.04.139.7 ประเมินความมีประสิทธิผลของงาน อาชีวอนามัยและความปลอดภัย 7.3 ประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และข้อกำหนดภายในองค์กร 1.04.139.7.03 44910

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักการด้านเทคนิคการจัดการคู่มือความปลอดภัย

-    ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัย

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความมั่นคง

-    ความรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและปลอดภัย

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดความปลอดภัย

-    ความรู้เกี่ยวกับการประเมินภัยคุกคามหรือสิ่งที่เป็นอันตราย ความเสี่ยงรูปแบบต่าง ๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงาน

-    ความรู้เกี่ยวกับมาตรการ วิธีการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการควบคุมภัยคุกคามและความเสี่ยง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-     แฟ้มสะสมผลงาน 

-     ผลการสัมภาษณ์ 

-     ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-     ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-     ผลการสอบข้อเขียน 

-     ผลการสัมภาษณ์ 

-     ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน

-     ข้อสอบข้อเขียน 

-     แฟ้มสะสมผลงาน 

-     การสัมภาษณ์ 

-     การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-     การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของนายจ้าง อาจเกี่ยวข้องกับ

    วัตถุประสงค์ทางกฎหมายที่สำคัญ

    ข้อกฎหมายที่บังคับใช้ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย

    แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดที่อุตสาหกรรมนำมาใช้ปฏิบัติ

    หน้าที่ในการดูแลของนายจ้างที่พึงมีต่อลูกจ้างและผู้อื่น



สิทธิและหน้าที่รับผิดชอบของลูกจ้าง อาจเกี่ยวข้องกับ

    ข้อกฎหมายที่บังคับใช้ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย

    แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดที่อุตสาหกรรมนำมาใช้ปฏิบัติ

    หน้าที่ในการดูแลของลูกจ้างที่พึงมีต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน และผู้อื่น



นโยบายด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย อาจครอบคลุมถึง




  •     การบริหารจัดการความปลอดภัย

  •     การยกหรือขนย้ายสิ่งของในการปฏิบัติงาน

  •     การใช้และการจัดเก็บสารเคมี

  •     การใช้สิ่งของที่เป็นอันตราย

  •     การปฏิบัติหน้าที่โดยลำพัง

  •     การจัดการความรุนแรง การข่มขู่ และการล่วงละเมิด

  •     การจัดสถานที่ทำงานให้เป็นสถานที่ที่ปลอดภัย โดยคำนึงถึงสิ่งที่เป็นอันตรายทางสิ่งแวดล้อม สิ่งที่เป็นอันตรายทางชีวภาพ เครื่องมือและอุปกรณ์ การใช้สารเคมีอย่างผิดวิธี  บทบาทและหน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารและลูกจ้าง



การจัดเตรียมคำบรรยายลักษณะงาน อาจครอบคลุมถึง




  •     การระบุบทบาททางด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัยของพนักงาน

  •     การเขียนคำอธิบายหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทางด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย



ความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร ควรครอบคลุมถึง




  •     การให้ความร่วมมือกันในการปฏิบัติหน้าที่

  •     การมีส่วนร่วมของทั้งสองฝ่าย

  •     การให้คำปรึกษา

  •     การจัดให้มีโครงสร้างคณะกรรมการดูแลด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย



โครงสร้างรายงานผลการดำเนินงานด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย ควรครอบคลุมถึง




  •     การจัดตารางการประชุม รวมถึงวันที่ เวลา และหัวข้ออภิปราย

  •     การกำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ

  •     การกำหนดรูปแบบการจดบันทึกการประชุม ประเด็นที่อภิปราย และการตัดสินใจ

  •     การกำหนดให้มีกระบวนการรายงานและเผยแพร่ข้อมูลไปสู่พนักงานในระดับต่าง ๆ  



การเผยแพร่ข้อมูล อาจครอบคลุมถึง




  •     ข้อมูลในรูปของสิ่งพิมพ์ เช่น เอกสาร/คู่มือ/แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย ป้าย/แผ่นพับติดไว้ในสถานที่ต่าง ๆ การให้คำแนะนำทางด้านความปลอดภัย เป็นต้น

  •     การจัดให้มีการอบรมพนักงานในด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย

  •     การประชุมที่เป็นวาระสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัยโดยเฉพาะ



การฝึกอบรมด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

•    การสอนงาน โดยผู้เชี่ยวชาญภายนอก หรือบุคลากรภายในองค์กรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อให้บุคลากรมีทักษะ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย

•    การฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะ ซึ่งอาจจะหมายถึง การฝึกอบรมภายนอกองค์กร ได้แก่ การส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรม/ที่จัดโดยหน่วยงานภายนอก หรือการฝึกอบรมภายในองค์กร ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่จัดขึ้นเองภายในองค์กร โดยวิทยากรภายในหรือวิทยากรภายนอก

 

ข้อมูลและเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย อาจครอบคลุมถึง 




  •     รายงานการตรวจสอบ

  •     รายงานการควบคุมภายใน 

  •     รายงานการประเมินความเสี่ยง

  •     รายงานการวิเคราะห์ภัยคุกคาม 

  •     รายงานการบาดเจ็บ

  •     รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ

  •     รายงานการประชุมของคณะกรรมการด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยขององค์กร

  •     รายงานสรุปผลการฝึกอบรม 

  •     มาตรฐานการปฏิบัติงาน

  •     แผนภาพกระบวนการทำงานในการแก้ไขปัญหา

  •     รายงานการติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย

  •     รายงานการบริหารและควบคุมความเสี่ยง

  •     แผนการจัดการด้านความปลอดภัย

  •     แผนการจัดการในภาวะฉุกเฉิน เช่น การอพยพลี้ภัย อัคคีภัย การรั่วของก๊าซ การปล้น การรักษาพยาบาลฉุกเฉิน พายุ

  •     ใบรับรองทางการแพทย์ของพนักงาน

  •     บันทึกและประกาศนียบัตรการฝึกอบรม

  •     รายงานการซ่อมบำรุงอุปกรณ์/เครื่องจักร

  •     รายงานจากที่ปรึกษา

  •     รายงานการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก

  •     ทะเบียนของสารควบคุม/สิ่งที่เป็นอันตราย

  •     ใบข้อมูลความปลอดภัยของวัสดุ

  •     รายละเอียดของคุณสมบัติที่เหมาะสมในการจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์

  •     การทดสอบท่อความดัน

  •     บันทึกการซ้อมหนีไฟ

  •     รายงานการปฐมพยาบาลและรายงานทางการแพทย์  



การตรวจสอบสถานที่ทำงาน ควรครอบคลุมถึง




  •     การบูรณาการกิจกรรมการตรวจสอบสถานที่ทำงานในกิจกรรมประจำวันในสถานที่ทำงาน

  •     การจัดเตรียมตารางการตรวจสอบ

  •     การจัดสรรหน้าที่ในการตรวจสอบ

  •     การให้ฝ่ายบริหารมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ

  •     การทำบันทึกการตรวจสอบสิ่งที่พบเห็น

  •     การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย

  •     การวิเคราะห์รายงานบันทึกภายในองค์กร เช่น รายงานอุบัติเหตุ เหตุการณ์เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ การบาดเจ็บ ข้อร้องเรียนจากลูกค้า



การสนับสนุนให้พนักงานรายงานความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตราย อาจครอบคลุมถึง




  •     การจัดให้มีการประชุมในสถานที่ทำงานเป็นประจำ

  •     การพัฒนาคณะกรรมการและโครงสร้างด้านสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย

  •     การสร้างความมั่นใจว่าพนักงานไม่ตกเป็นเหยื่อ

  •     การสร้างช่องทางการรายงานสำหรับผู้ไม่ประสงค์ออกนาม เช่น กล่องคำแนะนำ



การดำเนินการตรวจสอบสถานที่ทำงาน และสนับสนุนให้พนักงานรายงานความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตราย โดยพิจารณาอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งแบ่งได้ 4 ด้าน ดังนี้

•    อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางเคมี (Chemical Environmental Hazards) เกิดจากการใช้สารเคมีในการทำงาน หรือมีสารเคมีที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตของงาน รวมทั้งวัตถุพลอยได้จากการผลิต เช่น กลุ่มสารเคมีที่เป็นพิษ ก๊าซพิษ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ตัวทำละลาย ฝุ่นละอองที่ทำให้เกิดโรคปอด สารเคมีที่ก่อมะเร็ง

•    อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environmental Hazards) คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ประกอบอาชีพนั้น จะอยู่ในลักษณะของการได้รับหรือสัมผัสกับสภาพแวดล้อมในลักษณะที่ไม่พอดีหรือผิดจากปกติธรรมดา อันตรายทางด้านกายภาพ ได้แก่ เสียง แสงสว่าง ความสั่นสะเทือน อุณหภูมิที่ผิดปกติ ความดันบรรยากาศที่ผิดปกติ รังสี 

•    อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางชีวภาพ (Biological Environmental Hazards) เกิดจากการทำงานที่ต้องเสี่ยงต่อการสัมผัสและได้รับอันตรายจากสารทางด้านชีวภาพ (Biohazardous Agents) แล้วสารชีวภาพนั้นทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย หรือมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น เช่น เชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ฝุ่นละอองจากส่วนของพืชหรือสัตว์ การติดเชื้อจากสัตว์หรือแมลง การถูกทำร้ายจากสัตว์หรือแมลง 

•    อันตรายจากสภาพแวดล้อมทางด้านการยศาสตร์ (Ergonomics) เป็นอันตรายที่เกิดจากการใช้ท่าทางทำงานที่ไม่เหมาะสม วิธีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง การปฏิบัติงานที่ซ้ำซาก และความไม่สัมพันธ์กันระหว่างคนกับงานที่ทำ 



รายงานบันทึกภายในองค์กร อาจครอบคลุมถึง




  •     รายงานบันทึกสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย

  •     รายงานการบาดเจ็บ

  •     รายงานการตรวจสอบ

  •     ใบบันทึกการวิเคราะห์ความปลอดภัยของงาน

  •     ใบบันทึกคำร้องเรียน



การระบุความเสี่ยงในขั้นตอนการวางแผนและการจัดซื้อ หมายถึง องค์กรได้จัดให้มีมาตรฐานการปฏิบัติงานสำหรับการจัดซื้อและการจัดจ้าง ในส่วนที่จะมีผลต่อการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดย 

•    การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ต้องพิจารณาถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น และมีการดำเนินการเพื่อป้องกันอันตราย โดยกำหนดข้อมูลรายละเอียดความต้องการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมทั้งตรวจรับตามข้อมูลรายละเอียดที่กำหนดไว้

•    ในกรณีที่เป็นสารเคมีอันตรายต้องมีเอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสารเคมี เพื่อจะได้ใช้สารเคมีนั้นอย่างถูกต้องและปลอดภัย

•    ในกรณีที่เป็นอุปกรณ์ หรือเครื่องมือ เครื่องจักร ต้องมีเอกสารคู่มือการใช้งานที่ถูกต้องและปลอดภัย

•    การจัดซื้ออุปกรณ์ตรวจวัดที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ต้องพิจารณาถึงการสอบเทียบ (Calibration) อุปกรณ์ตรวจวัด เพื่อความถูกต้องในการตรวจวัด และต้องมีเอกสารคู่มือการใช้งาน

•    การจัดจ้างผู้รับเหมา และผู้รับเหมาช่วง ต้องจัดจ้างโดยพิจารณาถึงความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการขององค์กร ในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และต้องมีการกำหนดวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งมีการดำเนินการเพื่อควบคุมดูแลการทำงานของผู้รับเหมาและผู้รับเหมาช่วงให้เป็นไปตามวิธีปฏิบัติที่กำหนด 



แหล่งที่มาของความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายในสถานที่ปฏิบัติงาน อาจรวมถึง

•    จากตัวแทนจำหน่ายหรือองค์กร หรือหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

•     จากบุคคลหรือองค์กรเครือข่ายต่าง ๆ 

•     จากการลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

•     จากสมาคม/สมาพันธ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

•     จากการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ตทั้งในประเทศและต่างประเทศ



กิจกรรมการประเมินความเสี่ยง อาจรวมถึง

•     การติดต่อประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงานอื่น ๆ 

•    การจัดทำการวิจัยและอ่านผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

•      การทดสอบ/ทดลอง

•     การตรวจเยี่ยมชมหน่วยงานอื่น ๆ 

•     การปรึกษาหารือกับพนักงานและผู้บริหาร

•     การใช้บริการจากที่ปรึกษาภายนอก

•     การพิจารณาถึงลำดับความสำคัญของมาตรการควบคุมต่าง ๆ ที่มีอยู่



บันทึกแนวความคิดที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุม รวมถึง

•     การจดบันทึกรายงานผลการประชุม

•     การแจกจ่ายรายงานบันทึกผลการประชุม

•     การเก็บรักษาเอกสารบันทึกรายงานผลการประชุมเพื่อใช้ในการอ้างอิงต่อไป



การให้คำปรึกษาที่มีประโยชน์และมีประสิทธิผล ควรรวมถึง

•     การแบ่งปันข้อมูล

•     การเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็น

•     การนำเอาความคิดเห็นของพนักงานมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ

•     พนักงานที่แสดงความคิดเห็นจะต้องมีความเป็นอิสระจากอิทธิพลหรือความกดดันของผู้บริหาร



การยึดถือหลักการให้ความปลอดภัยโดยรวมมากกว่าการสร้างความปลอดภัยส่วนบุคคล หมายถึง

•    การที่นายจ้างให้ความสำคัญในการจัดทำระบบรักษาความปลอดภัยและป้องกันความเสี่ยงในขณะปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นการรับประกันความปลอดภัยของพนักงานหรือลูกจ้างในขณะปฏิบัติงาน มากกว่าการวางใจในตัวพนักงานแต่ละคน หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานควรขึ้นอยู่กับระบบการทำงานมากกว่าตัวบุคคล



การจัดลำดับและความสำคัญของความเสี่ยงระดับต่าง ๆ ควรพิจารณาถึง

•    ผลที่ตามมาหลังจากเกิดอุบัติเหตุ

•    ผลที่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดอุบัติเหตุ

•    โอกาสหรือความน่าจะเป็นในการเกิดอุบัติเหตุ



กระบวนการควบคุมความเสี่ยงและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัย ความมั่นคงและความปลอดภัย อาจเกี่ยวข้องกับ




  •     การระบุสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด และการดำเนินการเพื่อป้องกันผลกระทบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น 

  •     การวิเคราะห์สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเพื่อระบุถึงสาเหตุ และแนวทางการดำเนินการ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

  •     การประเมินความจำเป็นในการดำเนินการเพื่อป้องกันการเกิดสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

  •     การบันทึกผลการดำเนินการแก้ไขและป้องกัน

  •     การทบทวนประสิทธิผลของการดำเนินการแก้ไขและป้องกัน



การวางแผนเพื่อนำกิจกรรมควบคุมมาใช้ปฏิบัติ อาจรวมถึง

•     การอนุมัติงบประมาณในการซื้อหรือทำการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยง

•     การมอบหมายความรับผิดชอบในการดำเนินการต่าง ๆ

•     การจัดทำแผนงานและระยะเวลาในการดำเนินการ

•     การจัดการอบรมให้แก่พนักงาน

•     การสร้างความคุ้นเคยหรือความเคยชินให้แก่พนักงาน

•    การทดลองการใช้งานหรือการทดลองดำเนินการ



การริเริ่มกิจกรรมควบคุม อาจครอบคลุมถึง

•     การดำเนินการมาตรการแก้ไขชั่วคราว

•     การดำเนินการตามมาตรการแบบค่อยเป็นค่อยไป

•     การนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ ใหม่ ๆ ออกมาใช้อย่างช้า ไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใด

•     การดำเนินการตามแผนที่วางไว้

•     การดำเนินการตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และข้อกำหนดภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ



การติดตามประเมินกิจกรรมควบคุม อาจครอบคลุมถึง

•     การได้รับข้อเสนอแนะจากพนักงาน ลูกค้า หรือบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม

•     การใช้ผู้สังเกตการณ์

•     การตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ที่ถูกมอบหมายให้ดำเนินงานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย

•     การวิเคราะห์ผลจากบันทึกและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

•     เพื่อให้มั่นใจว่า มาตรการใหม่ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องสุขอนามัยหรือป้องกันความเสี่ยงไม่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่

การแก้ไขข้อผิดพลาด อาจครอบคลุมถึง

•     การจัดอบรมพิเศษเพิ่มเติม

•     การหยุดใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ดังกล่าวหรือหยุดดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าว

•     ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงหรือสิ่งที่เป็นอันตรายใหม่

•     จัดทำหรือคิดหาทางเลือกใหม่ที่ปลอดภัยกว่าเดิม

•     การปรึกษาหารือกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อระบุถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา

วิธีการแจ้งการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจครอบคลุมถึง

•     การแจ้งภายในและภายนอกองค์กร

•     การแจ้งด้วยการบอกกล่าวด้วยวาจา

•     การแจ้งด้วยการเขียน

•     การระบุถึงความจำเป็นหรือสิ่งที่จำเป็นต้องมีการรายงาน



การสอบสวนการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจครอบคลุมถึง

•     การกั้นเขตอาณาบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ

•     การบันทึกภาพถ่าย

•     การสัมภาษณ์บุคคลหรือพยานที่เกี่ยวข้อง

•     การประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

•     การปรับปรุงแก้ไขบันทึกต่าง ๆ



การระบุสาเหตุของการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วยและเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจเกี่ยวข้องกับ

•     การวิเคราะห์จากเอกสารหรือบันทึกต่าง ๆ ในที่ทำงาน

•     การวิเคราะห์จากพยาน

•     การวิเคราะห์จากบริบทหรือสภาพแวดล้อม

•     การตรวจสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์

•     การปรึกษากับที่ปรึกษาภายนอกองค์กรหรือผู้เชี่ยวชาญ

•     ทำการสรุปจากหลักฐานต่าง ๆ



ประโยชน์ของการสอบสวนและการระบุสาเหตุของการบาดเจ็บ

•    การบันทึกอุบัติเหตุอย่างละเอียดจะช่วยให้สังเกตเห็นการกระทำหรือสภาพที่ไม่ปลอดภัยที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไข การจดบันทึกอุบัติเหตุทำให้ทราบว่าพนักงานฝ่ายใดมักจะเกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุควรตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุอย่างถี่ถ้วนทันที และรายงานเป็นลายลักษณ์อักษร โดยในใบรายงานต้องประกอบด้วย ชื่อที่อยู่ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ เวลาสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุ อธิบายสภาพอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น สาเหตุที่มองเห็นได้จะป้องกันอย่างไร ธรรมชาติของการบาดเจ็บ  การปฐมพยาบาลเบื้องต้น และเวลาการปฏิบัติงานที่เสียไป

การประเมินประสิทธิผลของระบบที่ใช้ ควรจะครอบคลุมถึง

•     การประเมินระดับความร่วมมือและปฏิบัติตามบันทึกและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

•     การเปรียบเทียบระดับความเสี่ยงในปัจจุบันเทียบกับระดับความเสี่ยงก่อนหน้าที่จะมีการดำเนินการเปลี่ยนแปลง

•     การรวบรวมข้อมูลจากพนักงานและผู้บริหาร



การประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย และข้อกำหนดภายในองค์กร อาจครอบคลุมถึง

•     การพิจารณาถึงการเปลี่ยนหรือแก้ไขกฎหมาย รหัส หรือความต้องการภายนอกองค์กรอื่น ๆ 

•     การพิจารณาถึงบันทึกภายในองค์กรและความต้องการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการภายในองค์กร 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ