หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัยเบื้องต้น

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-1-104ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัยเบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัยเบื้องต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือกและจัดเตรียมอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน การใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย และการบำรุงรักษาอุปกรณ์และทรัพยากร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.04.141.1 เลือกและจัดเตรียมอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน 1.1 ระบุและเลือกใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยตามหน้าที่งานหรือคำสั่งที่ได้รับมอบหมายและตามข้อกำหนดขององค์กร 1.04.141.1.01 44941
1.04.141.1 เลือกและจัดเตรียมอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน 1.2 ดำเนินขั้นตอนการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนการใช้งาน 1.04.141.1.02 44942
1.04.141.1 เลือกและจัดเตรียมอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน 1.3 บ่งชี้แก้ไขหรือเปลี่ยนแทนอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ชำรุดเสียหายหรือทำงานผิดปกติ 1.04.141.1.03 44943
1.04.141.1 เลือกและจัดเตรียมอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน 1.4 ระบุและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงความต้องการการฝึกอบรม(จัดตารางฝึกอบรม) 1.04.141.1.04 44944
1.04.141.2 ใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย 2.1 เลือก ใช้ และรักษาอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลรวมถึงชุดนิรภัยที่เหมาะสม 1.04.141.2.01 44945
1.04.141.2 ใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย 2.2 ปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อกำหนดของหน่วยงานภายใน 1.04.141.2.02 44946
1.04.141.2 ใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย 2.3 ใช้งานเครื่องมือ/อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอย่างปลอดภัยและภายใต้การควบคุม 1.04.141.2.03 44947
1.04.141.2 ใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย 2.4 ติดตามตรวจสอบอุปกรณ์ระบบเฝ้าระวัง 1.04.141.2.04 44948
1.04.141.2 ใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย 2.5 ทดสอบระบบเตือนภัยตามระเบียบ/ข้อกำหนดขององค์กร 1.04.141.2.05 44949
1.04.141.3 บำรุงรักษาอุปกรณ์และทรัพยากร 3.1 ส่งคืนอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยในสภาพที่พร้อมใช้งาน 1.04.141.3.01 44950
1.04.141.3 บำรุงรักษาอุปกรณ์และทรัพยากร 3.2 ทำความสะอาดรักษาและจัดเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือรักษาความปลอดภัย 1.04.141.3.02 44951
1.04.141.3 บำรุงรักษาอุปกรณ์และทรัพยากร 3.3 รายงานเครื่องมือ/อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่เสียหายหรือไม่สามารถใช้งานได้ 1.04.141.3.03 44952
1.04.141.3 บำรุงรักษาอุปกรณ์และทรัพยากร 3.4 จัดให้มีระบบสำรองสำหรับเครื่องมือ/อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่เสียหายหรือไม่สามารถใช้งานได้ 1.04.141.3.04 44953
1.04.141.3 บำรุงรักษาอุปกรณ์และทรัพยากร 3.5 จัดทำเอกสารและรายงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย 1.04.141.3.05 44954

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะในการนำเทคนิคการรักษาความปลอดภัยมาใช้เพื่อดำรงรักษาความปลอดภัยสูงสุด

-    ทักษะการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนการบันทึกหรือใส่ข้อมูลที่จำเป็นลงในเครื่องมือดังกล่าว

-    ทักษะในการดูแลรักษา ซ่อมแซมอุปกรณ์/เครื่องมือรักษาความปลอดภัยเบื้องต้น และสามารถบ่งชี้สถานการณ์ที่ต้องการการดูแลรักษาโดยหน่วยงานภายนอก

-    ทักษะและความสามารถในการบ่งชี้อุปกรณ์/เครื่องมือรักษาความปลอดภัยในสภาวะการทำงานที่ผิดปกติ หรือไม่ทำงาน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติงานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของอาคารสถานที่และความปลอดภัยส่วนบุคคล ตลอดจนเทคนิคการต่อสู้กับอัคคีภัย

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาความปลอดภัย 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    การสัมภาษณ์

-    การสาธิตการปฏิบัติงาน

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย อาจครอบคลุมถึง 

    อุปกรณ์การสื่อสาร เช่น วิทยุสื่อสารประชาชน (วอแดง) โทรศัพท์ประจำที่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องกระจายเสียง (โทรโช่ง) ระบบเสียงประกาศสาธารณะ (Public Address System)

    อุปกรณ์สำนักงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร

    อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เช่น กล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหว ระบบตรวจจับการบุกรุก ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ระบบเตือนภัย ระบบการควบคุมการเข้าออก

    เครื่องมืออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และชุดป้องกันสำหรับการสวมใส่ 

    เครื่องดับเพลิง

    ชุดปฐมพยาบาล 



การใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยตามหน้าที่งานที่ได้รับมอบหมาย อาจครอบคลุมถึง

    งานการตรวจตรารักษาความปลอดภัยของอาคารและสถานที่

    งานการควบคุมฝูงชน

    งานการให้การคุ้มกัน/รักษาความปลอดภัยแก่บุคคลและทรัพย์สิน

    งานการควบคุมดูแลทางเข้า-ออก และการเข้าถึงสถานที่

    การตอบสนองต่อสัญญาณเตือนภัย

    งานการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง 



คำสั่งที่ได้รับมอบหมาย อาจเกี่ยวข้องกับ

•     คำสั่งจากหัวหน้างานหรือผู้บริหาร

•     คำร้องขอจากลูกค้า

•     งานที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ภายในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

•     หน้าที่งานและขั้นตอนการปฏิบัติงาน

•     ข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพยากรและเครื่องมืออุปกรณ์

•     ข้อกำหนดในการจัดทำรายงานและเอกสารต่าง ๆ

•     ข้อกำหนดเกี่ยวกับตารางเวลาในการตรวจซ่อมบำรุง

•     ข้อกำหนดเกี่ยวกับชุดป้องกันภัยส่วนบุคคลและเครื่องมืออุปกรณ์ป้องกัน



ข้อกำหนดขององค์กร อาจครอบคลุมถึง

•     ข้อกำหนดทางกฎหมาย นโยบายและวิธีปฏิบัติงานขององค์กร รวมถึงแนวทางการปฏิบัติงานส่วนบุคคล

•     เป้าหมาย วัตถุประสงค์ แผน ระบบและกระบวนการขององค์กร

•     กฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

•     สิทธิและความรับผิดชอบของนายจ้างและลูกจ้าง

•    แผนธุรกิจและผลการดำเนินงานทางธุรกิจ

•     นโยบายและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ

•     นโยบายและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล รวมถึงการมอบหมายงานให้แก่ผู้อื่น

•     มาตรฐานและกระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

•     มาตรฐานการให้บริการลูกค้า

•     นโยบายและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

•     วิธีการปฏิบัติงานในการอพยพและการรับมือกับเหตุฉุกเฉิน

•     การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังรอบคอบ 

•    มาตรฐานทางจริยธรรมและจรรยาบรรณ

•     ช่องทางการสื่อสารและกระบวนการรายงาน



การตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนการใช้งาน อาจเกี่ยวข้องกับ

    การตรวจสอบสมุดบันทึก/ปูม (Log Book) หรือทะเบียนการซ่อมบำรุง

    การอ่านทำความเข้าใจคู่มือการใช้งาน

    การทำความสะอาด การปรับแต่ง หรือการซ่อมแซมเบื้องต้น

    การดูแลรักษายานพาหนะเบื้องต้น เช่น การตรวจสอบระดับน้ำมัน น้ำมันเครื่อง ระดับน้ำ แรงดันลมยาง

    การบ่งชี้และการจำแนกอุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัยหรืออุปกรณ์ที่ไม่สามารถใช้งานได้ อุปกรณ์ที่ชำรุด อุปกรณ์ที่ต้องการการซ่อมแซมหรือการเปลี่ยนแทน 



อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ชำรุดเสียหายหรือทำงานผิดปกติ อาจเกี่ยวข้องกับ

•     ชิ้นส่วนบางชิ้นขาดหายไป

•     แบตเตอรี่หมด

•     อุปกรณ์ที่ยังไม่ได้รับการตรวจซ่อมบำรุงตามกำหนด

•     อุปกรณ์ที่ยังไม่สามารถใช้งานได้



การแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงความต้องการการฝึกอบรม “ผู้ที่เกี่ยวข้อง” ในที่นี้อาจรวมถึง  

•     พนักงานรักษาความปลอดภัย

•     หัวหน้างานและผู้บริหาร

•     ผู้ผลิตอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัย

•     บริษัทที่ให้บริการรักษาความปลอดภัย และบริษัทที่ปรึกษา 



อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล อาจหมายถึง

    เสื้อเกราะป้องกันส่วนบุคคล

    เกราะกำบัง/โล่

    หน้ากาก หรือกระบังป้องกันใบหน้า 

    รองเท้านิรภัย

    เครื่องป้องกันศีรษะ

    แว่นตานิรภัย 

    สนับเข่า

    ถุงมือ



กฎหมายหรือข้อกำหนดของหน่วยงานภายใน อาจรวมถึง

•     กฎหมาย กฎระเบียบ และแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย

•     ใบอนุญาตในการใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย

•     การปฏิบัติตามมาตรฐานต่าง ๆ และสัญญาหรือข้อผูกมัดที่ได้รับการรับรองต่าง ๆ รวมถึง

มาตรฐานการประกันคุณภาพ 



การใช้งานเครื่องมือ/อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย อาจรวมถึง

•     การป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ตามชุดคำสั่งและมาตรฐานการปฏิบัติงาน

•     การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ/อุปกรณ์ เช่น  ระบบเตือนการบุกรุก ระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย

•     การฝึกซ้อมใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ    

•     การใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือรักษาความปลอดภัยพิเศษและที่มีความเฉพาะเจาะจงในการใช้งาน

 

การติดตามตรวจสอบอุปกรณ์ระบบเฝ้าระวัง อาจรวมถึง

    การตั้งค่าอุปกรณ์/เครื่องมือตามแนวทางที่ผู้ผลิตกำหนด (คู่มือการใช้งาน)

    การกำหนดตารางการทำงานและระยะเวลาการติดตามตรวจสอบ

    ปฏิบัติหน้าที่ติดตามตรวจสอบตามกำหนดการ/ตารางเวลาที่ระบุไว้

    การจัดทำบันทึกหลักฐานการติดตามตรวจสอบ

•     การตรวจสอบและประเมินข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ

•     การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลตามความเหมาะสม



การทดสอบระบบเตือนภัย อาจรวมถึง

    ทดสอบตามกำหนดการ/ระเบียบ/ข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    ขอความร่วมมือ/รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกในกรณีที่ตรวจพบความผิดพลาดหรือการทำงานที่ไม่ปกติของระบบเตือนภัย เพื่อดำเนินการแก้ไข

    จัดทำหลักฐานบันทึกการทดสอบ





การจัดทำเอกสารและรายงาน อาจเกี่ยวข้องกับ

•     รายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน

•     รายงานผลการตรวจสอบวินิจฉัยความผิดปกติของเครื่องมือ/อุปกรณ์

•     รายงานการเตือนภัยที่เกิดขึ้น

•     รายงานการซ่อมแซม

•     รายงานคำแนะนำในการซ่อมแซมหรือการทิ้งเครื่องมือ/อุปกรณ์

•     รายงานผลการตรวจสอบและการทดสอบ

•     รายงานการเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์และวัสดุที่ใช้

•     รายงานเกี่ยวกับต้นทุนของเครื่องมือ/อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ต้นทุนในการดูแลบำรุงรักษา หรือต้นทุนในการใช้งาน

    การรายงานเมื่อระบบสามารถทำงานได้ตามปกติ

    การรายงานกรณีที่ระบบไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เพื่อดำเนินการแก้ไข

    การจัดทำบันทึกการขัดข้องให้ผู้บริหารรับทราบในกรณีที่การรายงานผลการดำเนินการอุปกรณ์ไม่สามารถทำให้สำเร็จในเวลาที่กำหนด

    การจัดทำบันทึกการเสียหายให้ผู้บริหารรับทราบในกรณีที่ความเสียหายยังไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน 



ยินดีต้อนรับ