หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รักษาความปลอดภัยบริเวณที่ทำงานและผู้คน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-1-103ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รักษาความปลอดภัยบริเวณที่ทำงานและผู้คน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการรักษาความปลอดภัยบริเวณที่ทำงานและผู้คน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรับมือกับอัคคีภัยและเหตุการณ์เตือนภัยอื่น ๆ การรับมือกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การดำเนินการอพยพ การดำเนินงานธุรการที่เกี่ยวข้อง และการรับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH) 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.04.142.1 รับมือกับอัคคีภัยและเหตุการณ์เตือนภัยอื่น ๆ 1.1 ระบุสภาพโดยธรรมชาติและจุดติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย 1.04.142.1.01 44955
1.04.142.1 รับมือกับอัคคีภัยและเหตุการณ์เตือนภัยอื่น ๆ 1.2 ติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน 1.04.142.1.02 44956
1.04.142.1 รับมือกับอัคคีภัยและเหตุการณ์เตือนภัยอื่น ๆ 1.3 ให้ความช่วยเหลือหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินในการเข้าถึงพื้นที่และการอำนวยความสะดวกอื่นๆ 1.04.142.1.03 44957
1.04.142.1 รับมือกับอัคคีภัยและเหตุการณ์เตือนภัยอื่น ๆ 1.4ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น 1.04.142.1.04 44958
1.04.142.2 รับมือกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย 2.1 จัดหน่วยตรวจตราหรือลาดตระเวนเพื่อติดตาม/บ่งชี้บุคคลที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 1.04.142.2.01 44959
1.04.142.2 รับมือกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย 2.2 ปิดกั้นพื้นที่เสี่ยงภัย 1.04.142.2.02 44960
1.04.142.2 รับมือกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย 2.3 รับมือกับสิ่งของต้องสงสัย 1.04.142.2.03 44961
1.04.142.2 รับมือกับภัยคุกคามต่อความปลอดภัย 2.4 รับมือกับคำขู่วางระเบิด 1.04.142.2.04 44962
1.04.142.3 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.1 ระบุลักษณะและขอบเขตของเหตุการณ์ฉุกเฉิน 1.04.142.3.01 44963
1.04.142.3 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.2 ติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน 1.04.142.3.02 44964
1.04.142.3 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.3 นำแผนบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉินไปใช้ปฏิบัติ 1.04.142.3.03 44965
1.04.142.3 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.4 ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น 1.04.142.3.04 44966
1.04.142.3 รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน 3.5 รักษาสวัสดิภาพสูงสุดในสถานการณ์ฉุกเฉิน 1.04.142.3.05 44967
1.04.142.4 ดำเนินการอพยพ 4.1 ยึดถือและปฏิบัติตามข้อกำหนดของแผนการบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเคร่งครัด 1.04.142.4.01 44968
1.04.142.4 ดำเนินการอพยพ 4.2 ระงับความตื่นเต้น ตระหนกตกใจ พยายามควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบ 1.04.142.4.02 44969
1.04.142.4 ดำเนินการอพยพ 4.3 ระบุเส้นทางอพยพที่จะใช้อพยพ 1.04.142.4.03 44970
1.04.142.4 ดำเนินการอพยพ 4.4 ตรวจสอบบุคคลที่อาจจะถูกละทิ้ง/หลงลืมอยู่ในพื้นที่ 1.04.142.4.04 44971
1.04.142.4 ดำเนินการอพยพ 4.5 นับหรือตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่ได้รับการอพยพ 1.04.142.4.05 44972
1.04.142.5 ดำเนินงานธุรการที่เกี่ยวข้อง 5.1 จัดทำเอกสารและรายงานที่จำเป็น 1.04.142.5.01 44973
1.04.142.5 ดำเนินงานธุรการที่เกี่ยวข้อง 5.2 ประสานงานกับฝ่ายบริหารเพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงยกระดับการดูแลความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าและพนักงาน 1.04.142.5.02 44974
1.04.142.6 รับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 6.1 ควบคุมสถานการณ์ 1.04.142.6.01 44975
1.04.142.6 รับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 6.2 ติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน 1.04.142.6.02 44976
1.04.142.6 รับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 6.3 ติดต่อประสานงานฝ่ายบริหาร 1.04.142.6.03 44977
1.04.142.6 รับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 6.4 ปกป้อง/รักษาสถานที่เกิดเหตุ 1.04.142.6.04 44978
1.04.142.6 รับมือกับเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 6.5 ปลอบประโลมผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเสียชีวิต 1.04.142.6.05 44979

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการใช้ชุดปฐมพยาบาลและเครื่องมือดับเพลิง

-    ทักษะการสื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ

-    ทักษะการประเมินความเสี่ยงและภัยคุกคามในสถานที่ทำงาน

-    ทักษะในการเขียนรายงานหรือการสื่อสารด้วยการเขียน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและวิธีการปฏิบัติงานขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน

-    ความรู้เกี่ยวกับการตั้งค่าอุปกรณ์/เครื่องมือรักษาความปลอดภัยใหม่ รวมถึงการปิดสัญญาณเตือนภัย

-    ความเข้าใจในมิติด้านความปลอดภัยที่ปรากฏในแผนบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึงความรู้เกี่ยวกับแผนผังของพื้นที่/ที่ทำการ และจุดที่ตั้งของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย 

-    ความเข้าใจในภารกิจการรักษาความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด

-    ความรู้ ความเข้าใจในหลักการบริหารความปลอดภัยที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรม

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    ผลการสัมภาษณ์

-    ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง)    วิธีการประเมิน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

สภาพโดยธรรมชาติและจุดติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย อาจเกี่ยวข้องกับ

    การระบุถึงสาเหตุที่ทำให้สัญญาณเตือนภัยทำงาน เช่น ไฟไหม้ การบุกรุก ควัน ก๊าซรั่ว

    การระบุจุดที่ติดตั้ง แผนก ชั้น ห้อง ที่สัญญาณเตือนภัยทำงาน

    การระบุจำนวนจุดที่สัญญาณเตือนภัยปรากฏขึ้น

    การระบุประเภทของการเตือนภัยที่สามารถได้ยินได้  



การติดต่อประสานงานหน่วยงานให้บริการฉุกเฉิน อาจรวมถึง

    การประสานงานทางโทรศัพท์กับหน่วยงานดับเพลิง ตำรวจ แพทย์ฉุกเฉิน รถพยาบาล 

    การใช้ช่องทางการสื่อสารในองค์กรในสภาวะฉุกเฉิน เช่น การติดต่อสายตรงกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

    การติดต่อประสานงานกับผู้บริหาร

    การแจ้งเตือนหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง





การให้ความช่วยเหลือหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินในการเข้าถึงพื้นที่และการอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาจรวมถึง

    การมอบหมายความรับผิดชอบให้แก่บุคคลผู้ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานให้บริการฉุกเฉินและนำพาไปสู่จุดเกิดเหตุ

    การประสานงาน/ร้องขอให้ลูกค้าเคลื่อนย้ายยานพาหนะที่จอดกีดขวาง

    การประสานงานเคลื่อนย้ายยานพาหนะขององค์กร

    การปลดล็อคประตูและเคลื่อนย้ายเครื่องกีดขวางต่าง ๆ

    การเปิดเส้นทางเข้าสู่พื้นที่เกิดเหตุ

    การจัดหาแผนผังอาคารสำหรับจุดเกิดเหตุ



การให้การช่วยเหลือเบื้องต้น อาจแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ โดยอาจจะรวมถึง

    การให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    การต่อสู้กับอัคคีภัย

    การดำรงรักษาสถานการณ์ไม่ให้เลวร้าย/รุนแรงเพิ่มขึ้น

    การปลอบประโลมและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์

    การเคลื่อนย้ายผู้คนออกจากจุดเกิดเหตุ

    การดำรงรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยของบุคคลอื่น 



พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจรวมถึง

    พฤติกรรมก้าวร้าว หยาบคายและต่อต้านสังคม รวมถึงการโต้เถียงกับลูกค้าหรือพนักงานอื่น

    การปฏิเสธการเคลื่อนย้ายออกจากสถานที่เมื่อได้รับการร้องขอ

    มึนเมาสุรา

    การขู่กรรโชก และก่อความรุนแรง

    การแต่งกายที่ไม่ถูกต้องเหมาะสมตามข้อกำหนดการแต่งกายของสถานที่

    การที่มีจำนวนลูกค้าในห้องพักมากเกินความจุของห้อง

    ลูกค้าที่ส่งเสียงดัง เอะอะ โวยวาย



การปิดกั้นพื้นที่เสี่ยงภัย อาจรวมถึง

•     การจำกัดหรือห้ามการเข้าออกพื้นที่อันตราย

•     การเคลื่อนย้ายสิ่งของที่เป็นอันตรายไปยังสถานที่ที่ปลอดภัย

•     การสร้างสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันการเข้าออกพื้นที่



การรับมือกับสิ่งของต้องสงสัย อาจรวมถึง

    การอพยพผู้คนออกจากพื้นที่

    การแจ้ง/รายงานให้ผู้บริหาร หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทราบ

    การสอบถามหาเจ้าของสิ่งของ

    การไม่เคลื่อนย้ายสิ่งของต้องสงสัยจนกว่าจะได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ให้เคลื่อนย้ายได้ 

การรับมือกับคำขู่วางระเบิด อาจรวมถึง

    ให้ถือปฏิบัติว่าคำขู่ที่ได้รับเป็นเรื่องจริง

    บันทึกรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรายละเอียดของผู้โทรเข้ามา

    แจ้งเตือนผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้อง

    รักษาความสงบและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

    อพยพผู้คนออกจากสถานที่

    ให้การช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตามที่ได้รับการร้องขอ

    ไม่แตะต้องสิ่งของที่คาดว่าจะเป็นระเบิด และทำการปิดกั้นพื้นที่จนกว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึง



ลักษณะและขอบเขตของเหตุการณ์ฉุกเฉิน อาจรวมถึง

•     อัคคีภัย

•     การทะเลาะวิวาท การต่อสู้กัน หรือการเผชิญหน้ากัน 

•     ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

•     การถูกล้อมพื้นที่ไว้

•     การโจรกรรม ปล้นจี้ 

•     การรั่วไหลของแก๊ส

•     การระเบิด

•     การรบกวนหรือก่อกวนลูกค้า

•     สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเยียวยา เช่น การบาดเจ็บ การลื่นล้ม การล้มป่วย หรือผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกาย/เหยื่อจากการโจมตี

•     การระบุตำแหน่งสถานที่ที่เกิดเหตุ จำนวน/ตัวเลขที่เกี่ยวข้อง และศักยภาพในการยกระดับความรุนแรงหรือเพิ่มความรุนแรงทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลง



แผนการบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Management Plan) เกี่ยวกับ

    เป็นชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อให้พนักงานปฏิบัติตามในกรณีที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นภายในองค์กร 

    โดยในแผนดังกล่าวมีการจัดสรรบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ ให้แก่พนักงาน

    เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมาภายหลังให้น้อยที่สุด

    การรับมือกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือน และทำความเสียหายให้กับธุรกิจ โดยภัยที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเหตุการณ์ใหญ่ ๆ ในระดับภัยพิบัติ

    แผนการตระเตรียมทีมงานกู้ภัย (Emergency Response Team) เครื่องไม้เครื่องมือ และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อการกู้ภัย

    แผนจัดการป้องกันกับผลกระทบจากอุบัติภัยหรือภัยพิบัติหรือวิกฤติที่เกิดขึ้นเพื่อจำกัดความเสียหายมิให้แผ่ขยายเกินกว่าที่ควรจะเป็น



การรักษาสวัสดิภาพสูงสุดในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาจรวมถึง

    ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของบุคคลมากกว่าความปลอดภัยของทรัพย์สิน

    เคลื่อนย้ายลูกค้าออกจากพื้นที่ ซึ่งรวมถึงการใช้กำลังอย่างเหมาะสมในกรณีจำเป็น

    การป้องกันหรือห้ามผู้คนเข้าสู่พื้นที่ ซึ่งรวมถึงการใช้กำลังอย่างเหมาะสมในกรณีจำเป็น



การระงับความตื่นเต้น ตระหนกตกใจ พยายามควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบ อาจรวมถึง

    การแสดงความมั่นใจและควบคุมอากัปกิริยาให้เป็นปกติ

    ดำรงรักษาจิตใจให้สงบ

    สร้างความเชื่อมั่นให้แก่บุคคลที่แสดงอาการเศร้าเสียใจหรือกังวลใจ หวาดกลัว และตื่นตระหนก



การระบุเส้นทางอพยพที่จะใช้อพยพ อาจรวมถึง

    อ้างอิงจากบุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับพื้นที่/สถานที่

    ใช้ความรู้ในการบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกอบกับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับสถานที่และลูกค้า

    การคาดการณ์การแพร่กระจายหรือการขยายวงของเหตุฉุกเฉิน

    เปิดทางเลือกหลาย ๆ ทางสำหรับการกำหนดเส้นทางการอพยพออกจากอาคาร/สถานที่

    ดำเนินการตัดสินใจอย่างทันท่วงทีและแจ้งการตัดสินใจดังกล่าวให้ผู้อื่นทราบ



การตรวจสอบบุคคลที่อาจจะถูกละทิ้ง/หลงลืมอยู่ในพื้นที่ อาจรวมถึง

•     การค้นหาผู้ที่อาจจะติดอยู่ในอาคาร/ห้อง 

•     ดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยส่วนบุคคล

•     ไม่ควรให้ผู้อื่นอยู่ในความเสี่ยง



การจัดทำเอกสารและรายงานที่จำเป็น อาจเกี่ยวกับ

    รวบรวมและนำเสนอข้อมูลการเคลื่อนที่ของยานพาหนะและของบุคคล

    จัดทำบันทึกรายละเอียดเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมถึงทะเบียนการเข้า-ออก

    จัดทำรายงานตามคำขอพิเศษจากผู้บริหารหรือหน่วยงานราชการ

    จัดทำรายงานประเมินความเสียหายหรือความสูญเสียที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานบันทึกผลการตรวจตราลาดตระเวน ระบุปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย การฝ่าฝืนและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

    ให้การช่วยเหลือในการจัดทำคำร้องขอค่าสินไหมจากบริษัทประกันภัย

    บันทึกรวบรวมคำให้การของพยาน



การควบคุมสถานการณ์ในกรณีที่มีผู้เสียชีวิต อาจเกี่ยวกับ 

    การทำให้แน่ใจว่าไม่มีผู้ใดได้เห็นผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากผู้ที่เห็นเหตุการณ์

    ให้เกียรติและความเคารพอย่างเหมาะสมแก่ผู้ตาย

    ปิดประตูทั้งหมด

    จัดวางอุปกรณ์กีดขวางที่จำเป็น และปรับเปลี่ยนเส้นทางการสัญจรตามความเหมาะสม

    จำกัดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามจากการเสียชีวิต

การปกป้อง/รักษาสถานที่เกิดเหตุ อาจรวมถึง

    การสร้างสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันการเข้าออกพื้นที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาต

    ไม่แตะต้องสิ่งใด ๆ ในสถานที่เกิดเหตุ

    ไม่อนุญาตให้เคลื่อนย้ายสิ่งใด ๆ ออกจากพื้นที่

    ถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุ

    จดบันทึกชื่อพยานบุคคลและผู้ที่เกี่ยวข้อง

    ป้องกันหลักฐานชิ้นสำคัญจากการรบกวนหรือปนเปื้อน



การปลอบประโลมผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเสียชีวิต อาจรวมถึง

    การให้คำปรึกษา 

    การให้การปฐมพยาบาล หรือนำส่งโรงพยาบาลตามความเหมาะสม

    การแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม

    การสร้างความมั่นใจและแสดงอาการอันสงบ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ