หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รับและเก็บรักษาสินค้า

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-1-096ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รับและเก็บรักษาสินค้า

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

พนักงานบริการส่วนหน้าในโรงแรม - 4222 (ISCO-88 : TH) หรือ 4224 (ISCO-08 : TH)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการรับและเก็บรักษาสินค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินการตรวจรับสินค้า การจัดเก็บสินค้า การดูแลรักษาสินค้าและสถานที่จัดเก็บ รวมถึงการจัดทำเอกสารและบันทึกข้อมูลในระบบงานที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มสาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
แม่บ้านในโรงแรม - 5121 (ISCO-88 : TH) หรือ 5151 (ISCO-08 : TH)พ่อครัว - 5122 (ISCO-88 : TH) หรือ 3434 (ISCO-08 : TH)พ่อครัวขนมปังอบ - 7412 (ISCO-88 : TH)ที่ปรึกษาการเดินทางท่องเที่ยว - 3414 (ISCO-88 : TH)  

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.06.218.1 ดำเนินการตรวจรับสินค้า 1.1 ตรวจสอบข้อมูลสินค้าที่จะรับเข้า 1.06.218.1.01 45440
1.06.218.1 ดำเนินการตรวจรับสินค้า 1.2 จัดเตรียมสถานที่สำหรับการรับสินค้า 1.06.218.1.02 45441
1.06.218.1 ดำเนินการตรวจรับสินค้า 1.3 ตรวจสอบว่าการรับสินค้าเป็นของสถานที่ที่ถูกต้อง 1.06.218.1.03 45442
1.06.218.1 ดำเนินการตรวจรับสินค้า 1.4 ตรวจสอบคุณสมบัติของสินค้าที่รับเทียบกับเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง 1.06.218.1.04 45443
1.06.218.1 ดำเนินการตรวจรับสินค้า 1.5 นับจำนวนสินค้าที่ได้รับเปรียบเทียบกับจำนวนที่สั่ง 1.06.218.1.05 45444
1.06.218.1 ดำเนินการตรวจรับสินค้า 1.6 ระบุความแตกต่างระหว่างสินค้าที่ได้รับกับเอกสารหลักฐาน 1.06.218.1.06 45445
1.06.218.1 ดำเนินการตรวจรับสินค้า 1.7 ส่งมอบสินค้าส่งคืนให้แก่ผู้ขาย 1.06.218.1.07 45446
1.06.218.1 ดำเนินการตรวจรับสินค้า 1.8 ติดตามแก้ไขความแตกต่างระหว่างจำนวนสินค้าที่ได้รับและเอกสารหลักฐาน 1.06.218.1.08 45447
1.06.218.1 ดำเนินการตรวจรับสินค้า 1.9 บริหารจัดการสินค้าส่วนเกินขององค์กร 1.06.218.1.09 45448
1.06.218.1 ดำเนินการตรวจรับสินค้า 1.10 ป้องกันสินค้าที่ได้รับไม่ให้เสียหายหรือสูญหาย 1.06.218.1.10 45449
1.06.218.2 จัดเก็บสินค้า 2.1 เคลื่อนย้ายสินค้าไปยังสถานที่ปฏิบัติงาน/ใช้งาน 1.06.218.2.01 45450
1.06.218.2 จัดเก็บสินค้า 2.2 คำนึงถึงข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเหมาะสม 1.06.218.2.02 45451
1.06.218.2 จัดเก็บสินค้า 2.3 เปิด/แกะหีบห่อสินค้าที่จำเป็น 1.06.218.2.03 45452
1.06.218.2 จัดเก็บสินค้า 2.4 เก็บสินค้าในสถานที่จัดเก็บ 1.06.218.2.04 45453
1.06.218.2 จัดเก็บสินค้า 2.5 เก็บขยะมูลฝอยออกจากสถานที่จัดเก็บสินค้า 1.06.218.2.05 45454
1.06.218.2 จัดเก็บสินค้า 2.6 ติดฉลาก/ป้ายเพื่อระบุตัวสินค้า 1.06.218.2.06 45455
1.06.218.3 ดูแลรักษาสินค้าและสถานที่จัดเก็บ 3.1 ดูแลรักษาการจัดเก็บสินค้าตามข้อกำหนดขององค์กรหรือเงื่อนไขการจัดเก็บสินค้า 1.06.218.3.01 45456
1.06.218.3 ดูแลรักษาสินค้าและสถานที่จัดเก็บ 3.2 ตรวจสอบจำนวน สภาพของสินค้าและสถานที่จัดเก็บ 1.06.218.3.02 45457
1.06.218.3 ดูแลรักษาสินค้าและสถานที่จัดเก็บ 3.3 ดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสินค้า 1.06.218.3.03 45458
1.06.218.3 ดูแลรักษาสินค้าและสถานที่จัดเก็บ 3.4 ทำความสะอาดและจัดระเบียบสถานที่จัดเก็บสินค้า 1.06.218.3.04 45459
1.06.218.3 ดูแลรักษาสินค้าและสถานที่จัดเก็บ 3.5 ระบุอัตราการใช้สินค้า 1.06.218.3.05 45460
1.06.218.4 จัดทำเอกสารและบันทึกข้อมูลในระบบงานที่เกี่ยวข้อง 4.1 ตรวจสอบและยืนยันสินค้ากับเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง 1.06.218.4.01 45461
1.06.218.4 จัดทำเอกสารและบันทึกข้อมูลในระบบงานที่เกี่ยวข้อง 4.2 บันทึกข้อมูลในระบบงานเพื่อปรับปรุงยอดคงเหลือของสินค้า 1.06.218.4.02 45462
1.06.218.4 จัดทำเอกสารและบันทึกข้อมูลในระบบงานที่เกี่ยวข้อง 4.3 ลงนามรับสินค้าในเอกสารของผู้ขายเพื่อดำเนินการจ่ายเงิน 1.06.218.4.03 45463

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

-    ทักษะการใช้แนวปฏิบัติการเก็บรักษาอาหารและเครื่องดื่มให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามกฎหมาย

-    ทักษะการใช้ระบบงาน/โปรแกรมการควบคุมสินค้าคงคลัง

-    ทักษะการประยุกต์ใช้ขั้นตอนการยกขนที่ปลอดภัย รวมถึงการใช้เครื่องมือ/เครื่องทุ่นแรงและยานพาหนะขนส่ง

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

-    ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสินค้าและการบริหารจัดการคลังสินค้า

-    ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและบทบาทของงานเอกสารที่เกี่ยวกับสินค้า

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดตามกฎหมายสำหรับการเก็บรักษาสินค้าที่ผ่านกระบวนการปรุง

-    ความรู้เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของสินค้าและขั้นตอนการดำเนินงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

-    แสดงความสามารถในการรับ ตรวจสอบ บันทึกการรับ-จ่ายสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม หรือรายการสินค้าประเภทอื่น

-    แสดงความสามารถในการติดตาม และแก้ไขการส่งมอบสินค้าที่มีปัญหา เช่น สินค้าเสื่อมสภาพ เอกสารผิดพลาด ราคาไม่ถูกต้อง สินค้าที่ส่งไม่ถูกต้องตามรายการที่สั่ง เป็นต้น

-    แสดงความสามารถในการจัดวางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม หรือรายการสินค้าประเภทอื่น ในพื้นที่จัดเก็บที่เหมาะสม ตามข้อกำหนดของการจัดการอาหารอย่างปลอดภัย ตั้งแต่การบันทึกสินค้า และการเคลื่อนย้ายสินค้า

-    แสดงความสามารถในการปรับปรุงยอดคงเหลือของสินค้าในระบบงานทั้งที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบ manual ทั้งการรับสินค้าและการเคลื่อนย้ายสินค้าเสื่อมสภาพ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

-    แสดงความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสินค้าและการบริหารจัดการคลังสินค้า

-    ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและบทบาทของงานเอกสารที่เกี่ยวกับสินค้า

-    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดตามกฎหมายสำหรับการเก็บรักษาสินค้าที่ผ่านกระบวนการปรุง

-    ความรู้เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยของสินค้าและขั้นตอนการดำเนินงาน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน

-    แฟ้มสะสมผลงาน

-    การสัมภาษณ์

-    การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง  

-    การสาธิตการปฏิบัติงาน

-    ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

-    การประเมินด้วยบุคคลที่ 3 

-    การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

-    การจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุต

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ 

ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

เอกสารภายในที่เกี่ยวข้อง หมายรวมถึง

    ใบสั่งซื้อ (Purchase Order)

    คำสั่งซื้อค้างส่ง (Standing Orders)  

    ระบบงานบริหารสินค้าคงคลัง ทั้งที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์หรือระบบ manual 



การจัดเตรียมสถานที่รับสินค้า หมายถึง 

    การทำความสะอาดบริเวณรับสินค้า

    เคลื่อนย้ายสิ่งของให้พ้นจากทางสัญจรบริเวณที่รับสินค้า

    ตรวจสอบ/ยืนยันเพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าเงื่อนไขการดำเนินงานพร้อมสำหรับการรับสินค้า เช่น มีเจ้าหน้าที่ตรวจคุณภาพสินค้าประจำการ เครื่องชั่งน้ำหนักพร้อมใช้งาน รายละเอียดสินค้าที่สั่งซื้อพร้อมให้ตรวจสอบ 

    ตรวจสอบ/ยืนยันเพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าข้อกำหนดด้านความปลอดภัยยังคงได้รับการปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ และตลอดเวลา



รายการสินค้า หมายถึง

    อาหารและเครื่องดื่ม

    อุปกรณ์ต่าง ๆ

    อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาด

    เครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงาน



การตรวจสอบการส่งมอบ หมายถึง

    สินค้าที่ส่งมอบเป็นสินค้าที่ได้สั่งไว้

    สินค้าถูกส่งมอบให้กับหน่วยงานที่ถูกต้อง



การตรวจสอบการรับสินค้าเทียบกับเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อ ทำให้เชื่อมั่นในประเด็นต่อไปนี้

    รายการสิ่งของทั้งหมดที่ต้องการถูกสั่งซื้อ

    รายการสิ่งของทั้งหมดที่สั่งซื้อได้ถูกส่งมอบ

    รายการสิ่งของทั้งหมดที่ส่งมอบอยู่ในสภาพดี ที่สามารถรับสินค้าได้

    สิ่งของที่ได้รับเป็นจำนวนที่ถูกต้อง

    สิ่งของที่ได้รับอยู่ในสภาพที่ถูกต้อง

    ราคาสินค้าเป็นราคาที่ถูกต้อง

    การประยุกต์ใช้ข้อกำหนดด้านอาหารปลอดภัยในการตรวจสอบอาหารและเครื่องดื่ม ตั้งแต่การตรวจสอบอุณหภูมิตามความเหมาะสม การตรวจสอบอายุของสินค้า สภาพหีบห่อบรรจุภัณฑ์ และสภาพโดยรวมของสินค้า

    สินค้าที่ไม่ได้คุณภาพถูกส่งคืน 



การตรวจสอบสินค้าที่รับเทียบกับรายการสั่งสินค้า หมายถึง 

    รายการสินค้าทั้งหมดที่สั่งซื้อได้ถูกส่งมอบ

    รายการสินค้าที่รับมอบต้องเป็นรายการที่สั่งซื้อเท่านั้น

    การส่งมอบเป็นไปตามข้อกำหนดการสั่งซื้อ เช่น ยี่ห้อ ประเภท คุณภาพ ปริมาณ ต้นทุน และข้อกำหนดอื่น ๆ ด้านการสั่งซื้อ 



การระบุความแตกต่างของการส่งมอบ ครอบคลุมทั้งข้อมูลในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เช่น ขนาดบรรจุ คุณภาพสินค้า เป็นต้น ความแตกต่างของการส่งมอบควรบันทึกไว้ในเอกสารการส่งมอบและระบบการบริหารสินค้าคงคลัง และแจ้งเจ้าหน้าที่จัดส่งสินค้าหากเป็นไปได้



เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 

    ใบส่งสินค้า 

    ใบกำกับภาษี 

    ใบสั่งซื้อ 

    แคตตาล็อกสินค้า 

    ข้อกำหนดคุณภาพของสินค้า 



สินค้าที่ส่งคืน อาจมีสาเหตุมาจาก 

    การระเหย/ระเหิดและทำให้สินค้าได้รับความเสียหาย 

    สินค้าหมดอายุ 

    สินค้าถูกเรียกคืน 

    สินค้าเกินกว่าปริมาณที่สั่ง 

    คุณภาพไม่เป็นที่น่าพอใจ 



การติดตามความแตกต่างของการส่งมอบ หมายถึง

    ร้องขอใบลดหนี้ (Credit Notes) จากผู้ขาย 

    สั่งสินค้าเพิ่มจากผู้ขายรายอื่นเพื่อชดเชยจำนวนสินค้าที่ขาดหาย

    สั่งสินค้าที่ทดแทนกันได้จากผู้ขายรายเดียวกันหรือรายอื่น 

    แจ้งฝ่ายบัญชีการเงิน

    จดบันทึกการดำเนินกิจกรรมบนเอกสารที่เกี่ยวข้องหรือในระบบงานของหน่วยงาน

    แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น การส่งมอบขาดจำนวน การส่งมอบล่าช้า การรับมอบสินค้าทดแทน เป็นต้น



การบริหารสินค้าส่วนเกิน หมายถึง

    ติดตามปริมาณคงเหลือของสินค้าเพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าสินค้ามียอดคงเหลือไม่เกินไปกว่าระดับที่กำหนด

    ลดปริมาณสินค้าประเภทหนึ่งเพื่อชดเชยสินค้าประเภทอื่นที่มียอดคงเหลือสูงเกินไป

    ส่งคืนสินค้าส่วนเกิน

    แนะนำ/สนับสนุนให้การใช้สินค้าส่วนที่เกิน

    ติดตามวันหมดอายุของสินค้าส่วนที่เกิน



การเคลื่อนย้ายสินค้า อาจทำได้หลายวิธี ซึ่งรวมถึง 

    การใช้รถเข็น การยกขน 

    การเคลื่อนย้ายจากยานพาหนะหนึ่งไปอีกยานพาหนะหนึ่ง

    การเคลื่อนย้ายจะต้องทำให้เชื่อมั่นได้ว่าสินค้าที่ขนย้ายมีความปลอดภัย และเป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง 



สถานที่จัดเก็บสินค้า หมายรวมถึง 

    คลังสินค้าโดยทั่วไป 

    คลังสินค้าที่เป็นของแห้ง 

    คลังสินค้าห้องเย็น 

    คลังสินค้าห้องเยือกแข็ง 

    ห้องผ้า 

    คลังเก็บสารเคมี 

    พื้นที่ปฏิบัติงานใน/นอกองค์กร 



การเปิด/แกะหีบห่อสินค้า หมายถึง 

    การขนย้ายสินค้าแต่ละชิ้นออกจากกล่องบรรจุ ซึ่งรวมถึงการตรวจสอบคุณภาพสินค้าแต่ละชิ้น ในบางกรณีสินค้าอาจจำเป็นต้องบรรจุไว้ในหีบห่อและปกปิดอย่างมิดชิด



ขยะ/ของเสีย/ปฏิกูล อาจหมายถึง 

    หีบห่อ ภาชนะบรรจุ สินค้าที่เสียหาย/เสื่อมสภาพหรือฉลากนิรภัยถูกดึงออก 

    การจัดการของเสียเหล่านี้ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม 

    การติดฉลากสินค้าที่ภาชนะบรรจุและจัดเก็บเข้าชั้นวางสินค้าเพื่อระบุชนิดของสินค้าและวันที่รับมอบ ฉลากสินค้าอาจเป็นได้ทั้งฉลากในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือคู่มือ อย่างไรก็ตาม ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดด้านอาหารปลอดภัย



วิธีการจ่ายสินค้า ขึ้นกับประเภทของสินค้า เช่น 

    First In, First Out

    First In, Last Out

    Last In, First Out

    Last In, Last Out



การตรวจสอบสินค้า หมายถึง 

    การตรวจสอบสถานที่จัดเก็บสินค้า 

    การตรวจสอบวันหมดอายุสินค้า 

    การตรวจประเมินสภาพ/คุณภาพของสินค้า วิธีการจัดเก็บสินค้าเป็นไปอย่างถูกต้อง คลังสินค้าอยู่ในสภาพที่สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย



การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสินค้า หมายถึง 

    การแจ้งให้พนักงานที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงปัญหา 

    การขนย้ายสินค้าไปยังสถานที่จัดเก็บแห่งใหม่/ชั่วคราว 

    การซ่อมบำรุงคลังสินค้า 

    การทำลายสินค้าเสื่อมสภาพ/ของเสีย 

    การคืนสินค้าให้แก่ผู้ขาย 

    การผลักดันการใช้สินค้ารายการใดรายการหนึ่งเป็นการเฉพาะ 



การระบุอัตราการใช้สินค้า มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุ

    สินค้าที่หมุนเวียนเร็วและสินค้าที่หมุนเวียนช้า

    คำแนะนำให้สั่งซื้อเพิ่ม



การบันทึกข้อมูลในระบบงานเพื่อปรับปรุงยอดสินค้าคงเหลือ อาจหมายรวมถึง 

    การปรับปรุงรายละเอียดของสินค้า

    การบันทึกการรับมอบสินค้า

    การบันทึกการตัดจำหน่ายสินค้า หรือสินค้าส่งคืน

    การปรับปรุงราคาต่อหน่วย  

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ