หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตามและประเมินผลความมีประสิทธิภาพของการฝึกอบรม

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-6-083ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตามและประเมินผลความมีประสิทธิภาพของการฝึกอบรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการกำหนดรายการการฝึกอบรม การติดตามการฝึกอบรม การประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม และการจัดเตรียมรายงานเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของการฝึกอบรม การให้คำแนะนำในการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมและข้อกำหนดเกี่ยวกับการประเมินผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2.08.094.01 กำหนดรายการการฝึกอบรม ที่จะถูกติดตามและประเมินผล 1.1จัดหาเอกสารประกอบการวางแผนที่เกี่ยวข้องกับการจัดฝึกอบรมในองค์กร 2.08.094.01.01 46899
2.08.094.01 กำหนดรายการการฝึกอบรม ที่จะถูกติดตามและประเมินผล 1.2 ชี้แจงผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการฝึกอบรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง 2.08.094.01.02 46900
2.08.094.01 กำหนดรายการการฝึกอบรม ที่จะถูกติดตามและประเมินผล 1.3 กำหนดผลลัพธ์การฝึกอบรมเฉพาะส่วนงานที่ระบุโดยองค์กร 2.08.094.01.03 46901
2.08.094.01 กำหนดรายการการฝึกอบรม ที่จะถูกติดตามและประเมินผล 1.4 กำหนดผลลัพธ์การฝึกอบรมเฉพาะส่วนงานที่จะถูกตรวจสอบและประเมินผล 2.08.094.01.04 46902
2.08.094.01 กำหนดรายการการฝึกอบรม ที่จะถูกติดตามและประเมินผล 1.5 กำหนดช่วงเวลาในการดำเนินการและกระบวนการในการประเมินผล 2.08.094.01.05 46903
2.08.094.02 ติดตามประสิทธิภาพการฝึกอบรม 2.1 ทบทวนข้อมูลที่รวบรวม เกี่ยวกับการฝึกอบรมที่จะถูกติดตาม 2.08.094.02.01 46904
2.08.094.02 ติดตามประสิทธิภาพการฝึกอบรม 2.2ประชุมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือเกี่ยวกับข้อมูลการฝึกอบรมที่จะถูกติดตาม 2.08.094.02.02 46905
2.08.094.02 ติดตามประสิทธิภาพการฝึกอบรม 2.3 สร้างความมั่นใจว่า ข้อมูลของการฝึกอบรมที่จะถูกติดตามทำให้การประเมินผลเกิดประสิทธิภาพ 2.08.094.02.03 46906
2.08.094.02 ติดตามประสิทธิภาพการฝึกอบรม 2.4 สร้างข้อมูลอิสระที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม 2.08.094.02.04 46907
2.08.094.02 ติดตามประสิทธิภาพการฝึกอบรม 2.5เปรียบเทียบข้อมูลการฝึกอบรมทั่วไปกับข้อมูลการฝึกอบรมที่ถูกติดตาม 2.08.094.02.05 46908
2.08.094.02 ติดตามประสิทธิภาพการฝึกอบรม 2.6 แก้ไขขั้นตอนการเก็บข้อมูล ตามความเหมาะสม 2.08.094.02.06 46909
2.08.094.03 ประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 3.1 ประเมินผลการฝึกอบรม เปรียบเทียบกับความจำเป็นขององค์กร 2.08.094.03.01 46910
2.08.094.03 ประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 3.2 ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของของผู้อบรมและผู้ประเมิน 2.08.094.03.02 46911
2.08.094.03 ประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 3.3ตรวจสอบประสิทธิภาพของทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรมและการจัดประเมิน 2.08.094.03.03 46912
2.08.094.03 ประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 3.4 ระบุถึงผลลัพธ์ด้านบวกและด้านลบที่นำไปสู่ความสำเร็จของการฝึกอบรม 2.08.094.03.04 46913
2.08.094.03 ประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 3.5 ระบุถึงผลด้านบวกและด้านลบ เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนการประเมินผล 2.08.094.03.05 46914
2.08.094.03 ประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 3.6 ระบุหัวข้อการอบรมใหม่และ/หรือเป้าหมายของการฝึกอบรมและการประเมินผลในอนาคต 2.08.094.03.06 46915
2.08.094.03 ประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 3.7 กำหนดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดเป็นประโยชน์ในอนาคตสำหรับการฝึกอบรมและประเมินผลภายในองค์กร 2.08.094.03.07 46916
2.08.094.04 จัดเตรียมรายงานเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 4.1 จัดทำรายงานอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 2.08.094.04.01 46917
2.08.094.04 จัดเตรียมรายงานเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 4.2 ให้คำแนะนำในการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมและข้อกำหนดเกี่ยวกับการประเมินผล 2.08.094.04.02 46918
2.08.094.04 จัดเตรียมรายงานเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 4.3 เผยแพร่รายงาน 2.08.094.04.03 46919
2.08.094.04 จัดเตรียมรายงานเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของการฝึกอบรม 4.4 รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงาน 2.08.094.04.04 46920

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ความสามารถในการใช้หลักการของการฝึกอบรมและการประเมินผล

  • ความสามารถในการระบุความต้องการด้านการฝึกอบรมขององค์กร

  • ความสามารถในการระบุความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน

  • ความสามารถในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล

  • ความสามารถในการใช้ทักษะการวางแผน การวิจัย การสื่อสาร การเจรจาต่อรอง การประเมินผล การวิเคราะห์ และการทบทวน

  • ความสามารถในการสร้างและรักษาระบบการบันทึกการฝึกอบรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและกระบวนการขององค์กรในการฝึกอบรมและการประเมินผล

  • ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและข้อกำหนดของประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมด้านวิชาชีพที่ได้รับการรับรองและไม่ได้รับการรับรอง รวมทั้ง กฎหมายที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมสัมพันธ์

  • ความรู้เกี่ยวกับหลักการประกันคุณภาพและการปฏิบัติงาน

  • ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการแก้ไขปรับปรุง

  • ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมภายในองค์กร

  • ความรู้เรื่องเกี่ยวกับข้อกำหนดความเป็นส่วนตัว การเก็บรักษาความลับ และการเข้าถึงบันทึกข้อมูลการฝึกอบรม

     


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3

  • ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลสอบข้อเขียน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



    การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน




  • ข้อสอบข้อเขียน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • การสัมภาษณ์

  • การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

  • การประเมินด้วยบุคคลที่ 3

  • การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



     ไม่มี



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



รายการการฝึกอบรม ที่จะถูกติดตามและประเมินผล อาจครอบคลุม




  • การฝึกอบรมแบบในเวลาปฏิบัติงาน (On-the-job) และนอกเวลาปฏิบัติงาน (Off-the-job)

  • หลักสูตรที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

  • หลักสูตรระยะสั้น

  • การฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง

    • การฝึกอบรมมีสร้างขึ้นเป็นพิเศษ ตามความต้องการของแต่ละบุคคล

    • การจัดอบรมให้กับบุคคลหรือกลุ่ม

    • การจัดอบรมในหนึ่งหรือหลายสถานที่

    • การฝึกอบรมที่พัฒนาโดย องค์กร อุตสาหกรรม ผู้ให้บริการการฝึกอบรม บุคคลที่สามหรือการจัดภายใต้การร่วมมือ

    • กิจกรรมการฝึกอบรมและการประเมินผล





เอกสารประกอบการวางแผน อาจเกี่ยวข้องกับ




  • แผนธุรกิจ

  • แผนเชิงกลยุทธ์

  • แผนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมเฉพาะด้าน

  • เอกสารหลักสูตร

  • มาตรฐานสมรรถนะและ/หรือเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม

  • นโยบายและกระบวนการขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการ ฝึกอบรม

  • รายงานการประชุมเกี่ยวกับการวางแผน



ชี้แจงผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการฝึกอบรม อาจเกี่ยวข้องกับ




  • ประชุมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อการตีความและอธิบายผลลัพธ์ที่ตั้งใจ

  • หาความชัดเจนในจุดที่ยังคลุมเครือ

  • ระบุและรับรายละเอียดเกี่ยวกับการการพิจารณาและผลลัพธ์เพิ่มเติม หลังจากการอนุมัติหลักสูตรการฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ

  • การพัฒนาบริบทให้เหมาะสม สำหรับการประเมิน

  • การจัดระดับความสำคัญของผลลัพธ์ที่คาดหวัง



บุคคลที่เกี่ยวข้อง อาจเกี่ยวข้องกับ




  • ผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน

  • พนักงานฝ่ายสนับสนุน

  • ผู้เชี่ยวชาญ

  • ที่ปรึกษา

  • ผู้หัวหน้างานและผู้จัดการ

  • พนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์

  • ตัวแทนจากผู้ให้บริการฝึกอบรมจากภายนอก ที่เกี่ยวข้องในการจัดฝึกอบรม และ/หรือประเมิน

  • เพื่อนร่วมงานที่ทำงานกับพนักงานที่ได้รับการฝึกอบรม

  • ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ทั้งอดีตและปัจจุบัน

  • ตัวแทนจากฝ่ายกองทุน



ผลลัพธ์การฝึกอบรม อาจครอบคลุม




  • ประสิทธิภาพและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน

  • ประสิทธิภาพของการสนับสนุนจากภายในและภายนอก ที่เตรียมสำหรับผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมและผู้ถูกประเมิน

  • ประสิทธิภาพของนโยบายและกระบวนการภายใน ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมและการประเมินผล

  • จำนวนพนักงานเข้ารับการฝึกอบรม

  • จำนวนและประเภทของหลักสูตรฝึกอบรม

  • อัตราความสำเร็จในแง่ของคุณสมบัติและ/หรือความสามารถที่เพิ่มขึ้น

  • ปัจจัยด้านต้นทุนและเวลา รวมทั้ง ต้นทุนการจ้างบุคลากร การดำเนินการ และการประเมิน

  • ระดับของความสัมพันธ์ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม พันธมิตร หน่วยงานและพนักงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ระดับความพึงพอใจในการเข้าร่วมฝึกอบรม

  • การปฏิบัติตามสัญญาข้อผูกพันภายนอกที่เกี่ยวข้อง

  • เกณฑ์ตามการปฏิบัติงาน เช่น

    • อัตราการการเพิ่มขึ้นของผลผลิต การขาย กำไร

    • อัตราการลดลงของอุบัติเหตุ ขยะ สินค้าและบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน การขาดงานของบุคลากร การลาออกของบุคลากร การใช้พลังงาน ข้อร้องเรียน





กำหนดผลลัพธ์การฝึกอบรมเฉพาะส่วนงานที่จะถูกตรวสอบและประเมินผล อาจครอบคลุม




  • ตรวจสอบและประเมินผลการฝึกอบรมในสถานที่ทำงาน ที่จัดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง

  • ตรวจสอบและประเมินผลการฝึกอบรมในสถานที่ทำงาน ที่จัดขึ้นตามรอบเวลา



ช่วงเวลาในการดำเนินการและกระบวนการในการประเมินผล อาจครอบคลุม




  • การประชุม ทั้งภายในและภายนอก เกี่ยวกับข้อกำหนดในการตรวจสอบและรายงาน รวมทั้ง  กำหนดเวลาสำหรับการส่งต่อคำแนะนำ และผลของกระบวนการประเมิน

  • การจัดสรรทรัพยากร สำหรับกรับวนการตรวจสอบและประเมินผล

  • การจัดสรรบทบาทและความรับผิดชอบ ในกระบวนการตรวจสอบและประเมินผล

  • การรวมกระบวนการตรวจสอบ เข้ากับคำสั่งอื่นในสถานที่ทำงาน



ทบทวนข้อมูลที่รวบรวม อาจครอบคลุม




  • สร้างความมั่นใจว่า ข้อมูลที่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นที่ระบุไว้

  • สร้างความมั่นใจว่า เอกสารที่ใช้ในการบันทึกผลการฝึกอบรมมีความถูกต้อง

  • สร้างความมั่นใจว่า บุคลากรที่รับผิดชอบด้านข้อมูลการฝึกอบรม เข้าใจบทบาทของตน

  • สร้างความมั่นใจว่า บุคลากรที่รับผิดชอบด้านข้อมูลการฝึกอบรม ดำเนินการตามที่คาดไว้ ได้อย่างสมบูรณ์

  • ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกเก็บ เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวและความลับ

  • ประเมินถึงความใช้การได้ของเอกสารที่เก็บรักษา

  • ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่เก็บรักษา



หารือเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลการฝึกอบรม อาจครอบคลุม




  • แสวงหาความชัดเจนของข้อมูล รวมทั้ง คำอธิบายถึงความผิดปกติของผล

  • พิจารณาว่าข้อมูลเพิ่มเติม ที่ผู้ฝึกอบรมบันทึกมีความจำเป็นต้องถูกนำและเก็บรักษาหรือไม่

  • ระบุขอบเขตของเอกสารที่จำเป็น เพื่อทำให้ผลลัพธ์ที่บันทึกมีความถูกต้องและครบถ้วน

  • ครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมและการทำงานที่เกี่ยวข้อง

  • ระบุถึงความสะดวกในการใช้เอกสารและระบบการเก็บบันทึก

  • พัฒนาวิธีแก้ปัญหาต่อสถานการณ์ที่ทำให้ข้อมูลการบันทึกและวิธีการที่ทำอยู่ เกิดความล้มเหลว ในขั้นตอนการตรวจสอบและการประเมินผล



สร้างข้อมูลอิสระที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม อาจครอบคลุม




  • พัฒนาเอกสารเพิ่มเติมที่เหมาะสม ในการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล เกี่ยวกับผลการฝึกอบรม

  • ประชุมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่ออธิบายถึงข้อมูลเพิ่มเติมที่จะถูกบันทึก

  • เก็บข้อมูลอิสระ เกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผล รวมทั้ง การเพิ่มหัวข้อใหม่สำหรับการเก็บข้อมูล บนพื้นฐานของการฝึกอบรมและ/หรือการเปลี่ยนแปลงในสถานที่ทำงาน

  • รักษาและการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมส่วนบุคคล/ข้อมูลอิสระของผลลัพธ์การฝึกอบรม รวมทั้ง ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรมและสถานที่ทำงาน

  • สร้างความมั่นใจ เกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวและความลับของข้อมูลที่จัดเก็บ



เปรียบเทียบข้อมูลการฝึกอบรม อาจครอบคลุม




  • เปรียบเทียบข้อมูลที่บันทึก โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

  • ประเมินเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่บันทึก โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

  • ระบุความข้อแตกต่าง ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่บันทึก โดยบุคคลที่เกี่ยวข้อง

  • ตรวจสอบข้อแตกต่าง รวมทั้ง หารือกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง

  • กำหนดว่า ข้อมูลเพิ่มเติมจำเป็นต้องดำเนินการ รวมทั้ง พัฒนาการบันทึกและ/หรือเอกสารใหม่หรือไม่



แก้ไขขั้นตอนการเก็บข้อมูล อาจครอบคลุม




  • ประชุมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ และระบุข้อแก้ไขเกี่ยวกับกระบวนการ และ/หรือการใช้เอกสารประกอบ

  • พัฒนากระบวนการและ/หรือเอกสารประกอบที่จำเป็น

  • ทดลองใช้กระบวนการและ/หรือเอกสารประกอบ

  • อธิบายกระบวนการรายงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและ/หรือเอกสารประกอบ

  • รวมกระบวนการและ/หรือเอกสารประกอบ เข้าไปในขั้นตอนการเก็บข้อมูลมาตรฐาน



ประเมินผลการฝึกอบรม เปรียบเทียบกับความจำเป็นขององค์กร อาจครอบคลุม




  • สร้างความมั่นใจว่า ข้อมูลที่เก็บ ถูกส่งต่อตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน

  • จัดประชุมบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือเกี่ยวกับการนำเสนอของข้อมูล ก่อนการประเมินผล  รวมทั้ง การให้กำลังใจของผู้เข้าร่วม เพื่อระบุสถานการณ์ที่ผิดปกติ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการจัดการข้อมูลและการตีความผลลัพธ์

  • เชิญชวนบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความประทับใจของผลการฝึกอบรม

  • เปรียบเทียบข้อมูลจริง กับผลลัพธ์ที่ถูกระบุไว้

  • ตรวจสอบข้อมูลที่ใช้ได้ สำหรับวัตถุประสงค์ของการประเมิน

  • ทำการประเมินผลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

  • สอบถามข้อมูลที่ไม่ชัดเจนหรือข้อสงสัยที่ปรากฎ

  • จัดการข้อมูล รวมทั้ง การแปลข้อมูล การใช้อัตราส่วน การคำนวณเปอร์เซ็นต์ กำหนดข้อมูลที่จะใช้ในการคำนวณและจัดการ

  • มีส่วนร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้แน่ใจถึงความถูกต้องในการคำนวณ และความคิดเห็นที่เกิดขึ้น



ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของของผู้อบรมและผู้ประเมิน อาจครอบคลุม




  • ทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมินแต่ละคน

  • พูดคุยกับผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมและผู้สมัคร

  • เชิญชวนผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมและผู้สมัครแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ฝึกอบรม

  • สนับสนุนให้ผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมินสะท้อนผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเอง

  • ทบทวนจำนวนและประสบการณ์ของผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน

  • พิจารณาการมีส่วนร่วม ทั้งภายในและภายนอก ของผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน

  • ติดตามข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน รวมทั้ง การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงภายใน



ตรวจสอบประสิทธิภาพของทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการฝึกอบรมและการจัดประเมิน อาจครอบคลุม




  • ประเมินภาระทางการเงินกับการฝึกอบรมและการประเมิน รวมทั้ง การจัดสรรทั้งภายในและภายนอก

  • ประเมินจำนวนผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน ที่จะปฏิบัติงานตามความต้องการขององค์กร

  • ประเมินสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับใช้ในการฝึกอบรมและการประเมินผล รวมทั้ง ห้อง อุปกรณ์ วัสดุที่ใช้

  • ประเมินทรัพยากรที่ต้องใช้ในการจัดฝึกอบรม รวมทั้ง เอกสารประกอบคำ สมุดงาน วิดีโอ คู่มือ ฯลฯ

  • ประเมินความช่วยเหลือด้านฝึกอบรมและการประเมิน ที่ทำโดยพนักงานอื่น ๆ ภายในองค์กร รวมทั้ง เนื้อหาการฝึกอบรม ความช่วยเหลือจากพนักงานฝ่ายสนับสนุน ความตั้งใจของผู้บังคับบัญชาในการอนุญาตให้พนักงานเข้าฝึกอบรม ขอบเขตการฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน (On-the-job Training) โดยให้โอกาสในการฝึกฝน การให้คำปรึกษา และการสอนงาน

  • ประเมินปัจจัยด้านเวลาที่ส่งผลกระทบจากการฝึกอบรมและการประเมิน รวมทั้ง ช่วงเวลาในการฝึกอบรมและประเมินผล ผลกระทบของการฝึกอบรมและประเมินต่องบประมาณด้านแรงงาน ในการหาแรงงานทดแทน ผลกระทบในการเพิ่มระดับค่าจ้าง สำหรับพนักงานที่ผ่านการรับรองสมรรถนะ



กำหนดข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดเป็นประโยชน์ในอนาคต สำหรับการฝึกอบรมและประเมินผล อาจครอบคลุม




  • อธิบายสถานการณ์ที่สามารถใช้ในอนาคต เพื่อเตรียมพร้อมในการจัดฝึกอบรมและการประเมิน

  • กำหนดบทเรียน จากการฝึกอบรมและการประเมินที่ผ่านมา รวมทั้ง บทเรียนด้านบวก และด้านลบ



ระบุผลด้านบวกและด้านลบ อาจครอบคลุม




  • บอกจำนวนผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จและ/หรือเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในระบบและกระบวนการฝึกอบรมและการประเมิน รวมทั้ง คำอธิบายของเหตุผลจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • บอกจำนวนผลลัพธ์ที่ล้มเหลวจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในระบบและกระบวนการฝึกอบรมและการประเมิน รวมทั้ง คำอธิบายของเหตุผลจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น



รายงานอย่างเป็นทางการ อาจครอบคลุม




  • การระบุผลการฝึกอบรมและการประเมินที่จะถูกตรวจสอบ รวมทั้ง ผลการฝึกอบรมและการประเมินผล ก่อนการจัดฝึกอบรม

  • ตัวอย่างของข้อมูลที่บันทึก

  • ชื่อของผู้ที่เกี่ยวข้อง

  • ตารางและแผนภูมิ

  • บันทึกและคำอธิบายทเพิ่มเติม

  • ผลการตรวจสอบและวิเคราะห์

  • คำแนะนำ



คำแนะนำในการเปลี่ยนแปลง อาจเกี่ยวข้องกับ




  • การดำเนินการต่อ การขยายขอบเขต หรือระงับการฝึกอบรมและ/หรือการประเมิน ทั้งภายในและภายนอกสถานที่ รวมทั้ง กลุ่มหรือบุคคลจากภายนอกที่เกี่ยวข้อง

  • การเปลี่ยนแปลงผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน

  • การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรและวัตถุดิบที่ใข้ในการฝึกอบรม

  • การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและเครื่องมือการประเมิน

  • การเปลี่ยนแปลงสถานที่และสิ่งแวดล้อมในการฝึกอบรม

  • การเปลี่ยนแปลงกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในการฝึกอบรม

  • การเปลี่ยนแปลงด้านเงินทุน

  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน

  • การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาหลักสูตร

  • การเปลี่ยนแปลงการจัดสรรเวลาที่จะอนุญาตและ/หรือสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมและประเมินผล

  • การเตรียมคำชี้แจงสำหรับคำแนะนำทั้งหมด



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ