หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดตารางทำงานและมอบหมายงานให้พนักงาน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-5-074ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดตารางทำงานและมอบหมายงานให้พนักงาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดตารางทำงานและมอบหมายงานให้พนักงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการระบุบทบาทของตารางการทำงาน การอธิบายมิติต่าง ๆ ของการดำเนินงานตามเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้ การจัดทำตารางการทำงาน การปรับปรุงข้อมูลพนักงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ1229 (ISCO-88:TH) สำรองบัตรโดยสาร3414 (ISCO-88:TH) ที่ปรึกษาการเดินทางท่องเที่ยว

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2.16.108.01 ระบุบทบาทของตารางการปฎิบัติงาน 1.1อธิบายการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ของตารางการทำงาน 2.16.108.01.01 47568
1.2อธิบายสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการปรับปรุงตารางการปฎิบัติงาน 2.16.108.01.02 47569
1.3ระบุบุคคลากรที่ต้องรับผิดชอบในการจัดทำตารางการปฎิบัติงาน 2.16.108.01.03 47570
1.4ระบุผลกระทบต่องบประมาณค่าแรงงานจากการจัดตารางการปฏิบัติงาน 2.16.108.01.04 47571
1.5จัดทำรูปแบบของตารางการปฎิบัติงานที่แตกต่างกัน 2.16.108.01.05 47572
1.6ระบุปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรพนักงานในตารางการทำงาน 2.16.108.01.06 47573
2.16.108.02 อธิบายเกี่ยวกับการใช้งานในเงื่อนไขการว่าจ้างงานต่างๆ 2.1อธิบายขอบเขตของเงื่อนไขการจ้างงานที่ใช้อยู่ในอุตสาหกรรม 2.16.108.02.01 47574
2.2แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างรูปแบบการจ้างงานต่าง ๆ 2.16.108.02.02 47575
2.3แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างอัตราค่าจ้างแต่ละอัตรา 2.16.108.02.03 47576
2.4ระบุสิทธิการลาที่ได้รับ 2.16.108.02.04 47577
2.5ระบุสวัสดิการอาหารและเวลาพักที่ได้รับ 2.16.108.02.05 47578
2.6ระบุเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับ 2.16.108.02.06 47579
2.7บ่งชี้ข้อกำหนดด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตารางการปฎิบัติงาน 2.16.108.02.07 47580
2.8ระบุข้อกำหนดที่ปรับใช้กับและเหตุการณ์/การปฏิบัติงานเฉพาะและสถานการณ์ต่างๆ 2.16.108.02.08 47581
2.16.108.03 จัดทำตารางการปฎิบัติงาน 3.1จัดทำตารางการปฎิบัติงานที่สอดคล้องกับความต้องการด้านการดำเนินงานขององค์กร 2.16.108.03.01 47582
3.2แจกจ่ายตารางการปฎิบัติงานให้แก่พนักงาน 2.16.108.03.02 47583
2.16.108.04 ปรับข้อมูลพนักงานให้เป็นปัจจุบัน 4.1ตรวจสอบและอนุมัติใบลงเวลาเพื่อการจ่ายเงิน 2.16.108.04.01 47584
4.2ดูแลรักษาข้อมูลพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำตารางการปฎิบัติงาน 2.16.108.04.02 47585

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ความสามารถในการใช้เครื่องมือ/โปรแกรมสำเร็จรูปที่จำเป็นสำหรับการจัดตารางการทำงาน

  • ความสามารถในการประมวลผล/คิดวิเคราะห์ความต้องการพนักงานและลักษณะบริการที่ต้องการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดตารางทำงานและมอบหมายงานให้พนักงาน

  • ความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

  • ความรู้เกี่ยวกับอัตราค่าจ้าง เงื่อนไข และสภาพการจ้างงาน

  • ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดตามกฎหมายแรงงาน และระเบียบเกี่ยวกับการจ้างงานที่ส่งผลกระทบต่อการจัดตารางการทำงาน และเวลาปฏิบัติงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

  • ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลสอบข้อเขียน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



    การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน




  • ข้อสอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์

  • การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

  • การประเมินด้วยบุคคลที่ 3

  • การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

  • การจำลองสถานการณ์ และบทบาทสมมติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



การใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ของตารางการทำงาน อ้างอิงถึง




  • การจัดการและบริหารพนักงานขององค์กรเพื่อให้สามารถให้บริการได้ตามที่ต้องการ

  • การสร้างสมดุลระหว่างพนักงานที่มีประสบการณ์กับพนักงานใหม่หรือยังไม่มีประสบการณ์

  • การสื่อสารความต้องการในการจ้างพนักงานแก่พนักงานที่เกี่ยวข้อง

  • การควบคุมค่าแรงงาน

  • การให้ความช่วยวางแผนเวลาที่ไม่ได้ปฏิบัติงานของพนักงาน



สถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการปรับปรุงตารางการปฎิบัติงาน อาจครอบคลุม




  • แผนกของตนเอง/แผนกบริหารรายได้ภายในองค์กร

  • สถานการณ์ขององค์กร

  • หน้าที่ในโครงการเฉพาะ เช่น งานอีเว้นท์ และการประชุมต่าง ๆ



บุคคลากรที่ต้องรับผิดชอบในการจัดทำตารางการปฎิบัติงาน อาจครอบคลุม




  • เจ้าของและผู้จัดการ

  • ผู้บังคับบัญชาและหัวหน้าแผนก



ผลกระทบต่องบประมาณค่าแรงงานจากการจัดตารางการปฏิบัติงาน อ้างอิงถึง




  • การจัดเตรียมงบประมาณค่าแรงงาน

  • การคำนวณสัดส่วนของค่าแรงงาน

  • การประเมินค่าใช้จ่ายจากตารางการปฏิบัติงาน

  • การเปรียบเทียบตารางการปฏิบัติงานที่ประเมินค่าใช้จ่ายแล้วกับความต้องการ/ข้อจำกัดของค่าแรงงาน

  • การแสดงถึงงบประมาณค่าแรงงาน ที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างต่อเนื่อง

  • เทคนิคการพยุงงบประมาณค่าแรงงานให้อยู่ภายใต้การควบคุม



รูปแบบของตารางการปฏิบัติงาน อ้างอิงถึง




  • รูปแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิก

  • การใช้เวลาแบบนานาชาติในรูปแบบของงบประมาณ

  • การอธิบายอักษรย่อในตารางการปฏิบัติงานที่ใช้โดยทั่วกัน

  • ข้อกำหนดขั้นพื้นฐานของตารางการปฏิบัติงานของพนักงาน

  • โปรแกรมสำหรับจัดทำตารางการปฏิบัติงาน

  • ตารางการปฏิบัติงานแบบหมุนเวียน



ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรพนักงาน อาจครอบคลุม




  • การผสานความแตกต่างของพนักงานเข้าด้วยกัน เช่น ผสานระหว่างพนักงานใหม่และพนักงานที่มีประสบการณ์ ผสานระหว่างพนักงานที่มีความแตกต่างทางเพศ ผสานระหว่างพนักงานที่มีความแตกต่างในอายุ ผสานระหว่างกลุ่มทักษะ ผสานระหว่างภาษาที่ใช้พูด

  • ระดับการให้บริการ เช่น ช่วงในและนอกฤดูกาลท่องเที่ยว

  • การทำงานที่หลากหลายและสูงขึ้นของพนักงาน

  • ความต้องการเชิงปฏิบัติงานของสถานที่ทำงานและความคาดหวังของลูกค้า



ขอบเขตของเงื่อนไขการจ้างงาน อาจครอบคลุม




  • รางวัล

  • ข้อตกลง

  • สัญญาการว่าจ้าง



รูปแบบการจ้างงาน อาจครอบคลุม




  • ความแตกต่างระหว่างพนักงานเต็มเวลา (Full-time Staff) พนักงานไม่เต็มเวลา (Part-time Staff) พนักงานชั่วคราว (Casual Staff) เช่นในเรื่องของคำจำกัดความ ชั่วโมงการทำงาน ช่วงของการทำงาน รวมถึงการกระจายชั่วโมงทำงาน และข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชำระค่าปรับ

  • ประเภทของพนักงานที่ว่าจ้าง เช่น ความแตกต่างระหว่างบทบาทและระดับ

  • เนื้องานที่จัดสรรแก่พนักงานประเภทต่าง ๆ

  • จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน รวมถึงการพิจารณาการแบ่งกะของการทำงาน การทำงานล่วงเวลาที่สมเหตุสมผล การกระจายชั่วโมงการทำงาน และการทำงานควบกะของการทำงาน



อัตราค่าจ้าง อาจครอบคลุม




  • อัตราการจ่ายเงิน รวมถึงอัตราโบนัสและค่าปรับ วันหยุดสุดสัปดาห์ วันหยุดราชการ

  • การพัก มื้ออาหาร และการจ่ายค่าทำงานล่วงเวลา

  • การพิจารณาเรื่องเวลาที่เกี่ยวโยงกับการจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าปรับ

  • การระบุอัตราการจ่ายเงินที่แตกต่างกันออกไป เช่นจ่ายให้ใคร เมื่อไหร่ และอย่างไร

  • การใช้วิธีการจ่ายเงินในอัตราสูงเพื่อสมทบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (Over-award Payments) หรือวิธีที่ใกล้เคียง

  • การใช้วิธีการจ่ายเงินตามรายการจริง เช่น การลาป่วย วันหยุด การลาคลอดบุตร การเกษียณอายุ



สิทธิการลา อาจครอบคลุม




  • การลาพักร้อน

  • การลาป่วย

  • การลาหยุดเนื่องจากการเสียชีวิตของญาติมิตรที่ใกล้ชิด

  • การลาหยุดเพื่อดูแลคนป่วยในบ้าน

  • การลาคลอดบุตร การลาหยุดเพื่อเลี้ยงดูบุตร

  • การลาเรียน

  • การลาหยุดโดยไม่รับค่าจ้าง



สวัสดิการอาหารและเวลาพัก อาจครอบคลุม




  • เวลาที่กำหนดให้พักและรับประทานอาหาร

  • ระยะเวลาในการรับประทานอาหารและเวลาพักอื่น ๆ

  • สิ่งที่จัดเตรียมระหว่างเวลาพักรับประทานอาหารขึ้นอยู่กับองค์กร



เบี้ยเลี้ยง อาจครอบคลุม




  • เบี้ยเลี้ยงค่ามื้ออาหาร

  • เบี้ยเลี้ยงค่าปฐมพยาบาล

  • เบี้ยเลี้ยงค่าเสื้อผ้า

  • เบี้ยเลี้ยงค่าเครื่องมือและอุปกรณ์

  • เบี้ยเลี้ยงค่าเดินทาง



ข้อกำหนดด้านกฎหมาย อ้างอิงถึง




  • ข้อกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในประเทศที่ต้องปฏิบัติตาม อาจครอบคลุม



      • ข้อกำหนดในการไม่เลือกปฏิบัติ

      • การจัดสรรโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน

      • ข้อจำกัดในเรื่องของความสัมพันธ์ในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ

      • ข้อกำหนดในการเยียวยาอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ







เหตุการณ์/การปฏิบัติงานเฉพาะและสถานการณ์ต่าง ๆ อาจครอบคลุม




  • การพักงาน

  • การจ่ายค่าชดเชยอุบัติเหตุ

  • การแจ้งเพื่อยกเลิกการว่าจ้างงาน

  • การถูกปลดออกจากงาน



จัดทำตารางการปฎิบัติงาน อาจครอบคลุม




  • การจัดเตรียมตารางการปฏิบัติงานที่ระบุลงในอัตราค่าจ้าง

  • ระดับงบประมาณว่าจ้าง ซึ่งต้องใช้อัตราค่าจ้างในปัจจุบันและค่าปรับหรือการจ่ายเงินอื่น ๆ ในการคำนวณตารางการปฏิบัติงาน

  • ความสามารถในการบรรลุระดับของการให้บริการที่ต้องการตลอดในช่วงของการปฏิบัติงาน

  • การครอบคลุมการให้บริการตลอดวันและช่วงเวลาในการปฏิบัติงาน รวมถึงกิจกรรมก่อนเวลาเปิดทำการ เวลาพัก/รับประทานอาหาร ขั้นตอนการปิดทำการ และการสลับกะของพนักงาน



แจกจ่ายตารางการปฎิบัติงาน อ้างอิงถึง




  • การปฏิบัติตามเงื่อนไขของการว่าจ้างงานที่ต้องแจ้งพนักงานให้ทราบล่วงหน้า

  • การจัดเตรียมตารางการปฏิบัติงานในรูปแบบที่เสนอไว้

  • การอธิบายความหมายต่าง ๆ ที่ปรากฏในตารางการปฏิบัติงาน



อนุมัติใบลงเวลาเพื่อการจ่ายเงิน อาจครอบคลุม




  • การตรวจสอบบัตรตอกเวลาการเข้างาน-ออกงาน

  • การตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบลงเวลา

  • การอธิบายข้อซักถามจากเจ้าหน้าที่แผนกทรัพยากรมนุษย์และ/หรือแผนกบัญชี



ข้อมูลพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำตารางการปฎิบัติงาน อาจครอบคลุม




  • ข้อมูลการป่วยของพนักงาน

  • ข้อมูลการใช้วันลาหยุด

  • ช้อมูลการฝึกอบรมของพนักงาน

  • เอกสารการตักเตือนและมาตรการทางวิจัย

  • เอกสารจากฝ่ายบุคคลเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่งของพนักงาน การฝึกอบรม การปลดออกจากงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน