หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-5-066ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การรับรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของจดหมายธุรกิจ มีความเข้าใจระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ การประยุกต์ใช้ระเบียบแบบแผนของการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2.10.118.01 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของจดหมายธุรกิจ 1.1 เข้าใจการใช้จดหมายธุรกิจที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจในสถานการณ์ต่างๆ 2.10.118.01.01 47194
2.10.118.01 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของจดหมายธุรกิจ 1.2 บ่งชี้วัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจกับจดหมายที่ส่งให้ลูกค้า 2.10.118.01.02 47195
2.10.118.01 รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ของจดหมายธุรกิจ 1.3 บ่งชี้วัตถุประสงค์ของการใช้จดหมายระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง 2.10.118.01.03 47196
2.10.118.02 เข้าใจแบบแผนการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 2.1 เลือกใช้รูปแบบจดหมายธุรกิจที่เหมาะสม 2.10.118.02.01 47197
2.10.118.02 เข้าใจแบบแผนการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 2.2 อธิบาย/ขยายความความสำคัญของทัศนคติในการเขียน (Tone)จดหมายธุรกิจ 2.10.118.02.02 47198
2.10.118.02 เข้าใจแบบแผนการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 2.3 อภิปรายรูปแบบของภาษาที่นิยมในการเขียนจดหมายธุรกิจ 2.10.118.02.03 47199
2.10.118.02 เข้าใจแบบแผนการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 2.4 วางแผนการเขียนตอบจดหมายธุรกิจ 2.10.118.02.04 47200
2.10.118.03 ประยุกต์ใช้แบบแผนการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 3.1 ประยุกต์ใช้รูปแบบการเขียนจดหมายธุรกิจที่เหมาะสม 2.10.118.03.01 47201
2.10.118.03 ประยุกต์ใช้แบบแผนการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 3.2 สร้างบรรยากาศที่เหมาะสมและเป็นมืออาชีพเมื่อต้องเขียนจดหมายธุรกิจ 2.10.118.03.02 47202
2.10.118.03 ประยุกต์ใช้แบบแผนการเขียนจดหมายธุรกิจเป็นภาษาอังกฤษ 3.3 ใช้ระดับภาษาที่เหมาะสม สะกดคำถูกต้องเครื่องหมายวรรคตอน และไวยากรณ์ 2.10.118.03.03 47203

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ความสามารถในการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้รูปแบบจดหมายธุรกิจที่เหมาะสม

  • ความสามารถในการวางแผนการโต้ตอบจดหมายที่ส่งออก

  • ความสามารถในการเลือกใช้ทัศนคติในการเขียน (Tone) ของจดหมายธุรกิจ

  • ความสามารถในการเลือกใช้ภาษาที่เหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวกับการเขียนจดหมายธุรกิจ

  • ความรู้เกี่ยวกับการใช้จดหมายธุรกิจในสถานการณ์ต่าง ๆ

  • ความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ การสะกดคำถูกต้อง การใช้เครื่องหมายวรรคตอน และไวยากรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

  • ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

  • ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลสอบข้อเขียน

  • ผลการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน




  • ข้อสอบข้อเขียน

  • การสัมภาษณ์

  • การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

  • ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

  • การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • การใช้จดหมายธุรกิจที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจในสถานการณ์ต่าง ๆ อาจครอบคลุม

    • การอธิบายข้อกำหนดและเงื่อนไข

    • การแจ้งหรือร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่ผิดพลาดหรือไม่มีคุณภาพ หรือการขอคืนเงิน

    • การติดตามการอภิปรายที่เป็นทางการและไม่ทางการ เพื่อทำให้การตัดสินใจเป็นระเบียบแบบแผน

    • การให้ใบแสดงราคา

    • การให้อนุมัติหรือปฏิเสธสินเชื่อ

    • การแจ้งรายละเอียดของสินค้า หรือจดหมายส่งเสริมการขาย

    • การแนะนำบุคคลหรือพนักงานที่รับผิดชอบ หรือนโยบายขององค์กร

    • การเชิญเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

    • การชักจูงเพื่อส่งเสริมการขาย หรือจดหมายแจ้งข้อเสนอทางการตลาดและการขาย



  • วัตถุประสงค์ของการดำเนินธุรกิจกับจดหมายที่ส่งให้ลูกค้า อาจครอบคลุม

    • การยืนยันการจอง การแจ้งกำหนดการเดินทาง และการชำระค่าสินค้าและบริการ

    • การเชิญร่วมกิจกรรม

    • การนำเสนอข้อเสนอพิเศษและส่วนลด

    • การชักจูง

    • การให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดและเงื่อนไข

    • การตอบข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะ และข้อซักถาม

    • การกล่าวขอบคุณและต้อนรับลูกค้าใหม่



  • วัตถุประสงค์ของการใช้จดหมายระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง อาจครอบคลุม

    • การยืนยันการจ้างงานและต้อนรับพนักงานใหม่

    • การชี้แจงนโยบายและระเบียบขององค์กร

    • การชี้แจงตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบของพนักงาน

    • การแสดงความยินดีและชื่นชมกับความสำเร็จในการปฏิบัติงาน

    • การยืนยันผลการประเมินและแจ้งแผนการฝึกอบรม

    • การว่ากล่าวตักเตือนและ/หรือปลดจากการจ้างงาน



  • รูปแบบจดหมายธุรกิจที่เหมาะสม อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละองค์กรและครอบคลุม

    • การวางเค้าโครง (Layout) ของจดหมาย เช่น ตำแหน่งของที่อยู่ของบริษัท ตำแหน่งและรูปแบบการเขียนวันที่  การเขียนที่อยู่ในเนื้อจดหมาย คำทักทาย เช่น “Dear …”





    • ย่อหน้าบทนำ เนื้อหาของจดหมาย และบทสรุป ซึ่งมักจะจัดชิดซ้าย

    • คำลงท้าย เช่น “Yours faithfully” สำหรับการเขียนถึงบุคคลด้วยชื่อแรก หรือ “Yours sincerely”

    • การลงลายมือชื่อ มักจะลงชื่อเต็มในกรณีที่เขียนจดหมายถึงบุคคลที่ไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว

    • ชื่อของผู้เขียนและตำแหน่งใต้ลายมือชื่อ และมักจะไม่ใส่คำนำหน้า เช่น Ms. หรือ Mr.

    • อักษรย่อในท้ายกระดาษของจดหมาย เช่น cc: และตามด้วยชื่อบุคคลที่ต้องการให้สำเนาของจดหมายส่งไปถึง

    • จดหมายธุรกิจมักจะใช้การพิมพ์โดยคอมพิวเตอร์



  • ทัศนคติในการเขียน (Tone) อาจครอบคลุม

    • บรรยากาศแห่งมิตรภาพ สำหรับกรณีที่ต้องการร้องขอสิ่งใด ตอบรับการร้องขอต่อสิ่งใด ปฏิเสธการร้องขอที่ได้รับ แจ้งข่าวดีและข่าวร้าย

    • ความเป็นมืออาชีพของผู้เขียนจดหมาย และความสุภาพโดยทั่วไป

    • ความสัมพันธ์กับผู้อ่าน



  • ภาษาที่นิยม อาจครอบคลุม

    • เนื้อความที่กระชับ และไม่สับสน/กำกวม

    • การใช้รูปแบบประโยคที่มีประธานเป็นผู้กระทำ (Active Voice) มากกว่ารูปแบบประโยคที่มีประธานเป็นผู้ถูกกระทำ (Passive Voice) เช่น ควรเขียนว่า “I will see to it personally” แทนการเขียนว่า “The matter is being looked into”

    • ภาษาที่ใช้มีคุณภาพและเป็นมิตรต่อผู้อ่าน เช่น ไม่เลือกใช้คำที่คลุมเครือ หรือใช้คำที่สื่อความมากเกินความเป็นจริง ประโยคสั้นกระชับ ตรงประเด็น และความคิดที่ซับซ้อนนำเสนอออกมาให้อ่านง่าย

    • ภาษาที่ใช้ระบุอย่างชัดเจน ไม่ควรนำเสนออย่างกว้างเกินไป เช่น ควรเขียนว่า “Your order should arrive by next Monday” แทนการเขียนว่า “Your order should arrive soon”

    • ภาษาที่ไม่แสดงความแบ่งแยกเพศ เพศสภาพ และการเลือกปฏิบัติ

    • ภาษาที่สุภาพ ไม่สร้างความแตกแยก  หรือสั่งการ/บงการให้กระทำการใด ๆ

    • การเสนอความช่วยเหลือในย่อหน้าสุดท้ายของจดหมาย เช่น “Please do not hesitate to contact us again if you need any help” หรือ “Please let us know if we can be of any assistance in the future”

    • ความเชื่อมโยงที่สอดคล้องกันในประโยค ระหว่างประโยค ในย่อหน้า และในข้อความทั้งหมด ด้วยการใช้คำเชื่อม เครื่องหมาย การอ้างอิง

    • ไวยากรณ์และคำศัพท์ที่ใช้ถูกต้อง



  • วางแผนการเขียนตอบจดหมายธุรกิจ อาจครอบคลุม

    • การทราบถึงวัตถุประสงค์ของจดหมาย

    • การมีความเข้าใจว่าผู้อ่านจดหมายจะเป็นผู้ใด

    • การตัดสินใจในการเขียนเนื้อหาสาระของจดหมายในแต่ละย่อหน้า เช่น บทนำ เนื้อความ และบทสรุป  




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ