หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนา รวมถึงตรวจสอบและประเมินผลโครงการ

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-5-062ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนา รวมถึงตรวจสอบและประเมินผลโครงการ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้ เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนา รวมถึงตรวจสอบและประเมินผลโครงการ ซึ่งครอบคลุมถึงการการจัดโครงการฝึกอบรม การตรวจสอบโครงการฝึกอบรม การประเมินโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้า5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมอบ3414 (ISCO-88:TH) ที่ปรึกษาการเดินทางท่องเที่ยว

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2.08.228.01 จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 1.1ระบุกิจกรรมลงในแผนงานการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน 2.08.228.01.01 46990
2.08.228.01 จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 1.2จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมในโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน 2.08.228.01.02 46991
2.08.228.01 จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 1.3ระบุทรัพยากรที่จำเป็นในการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน 2.08.228.01.03 46992
2.08.228.01 จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 1.4 กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบเพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ของการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน 2.08.228.01.04 46993
2.08.228.01 จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 1.5 แจ้งบุคคลที่เกี่ยวข้องถึงบทบาทและความรับผิดชอบ 2.08.228.01.05 46994
2.08.228.01 จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 1.6 ฝึกอบรมพนักงานในการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงานตามความจำเป็น 2.08.228.01.06 46995
2.08.228.01 จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 1.7 จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงานตามที่ระบุไว้ในแผนงาน 2.08.228.01.07 46996
2.08.228.02 ตรวจสอบโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 2.1 ติดตามความคืบหน้าในการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน 2.08.228.02.01 46997
2.08.228.02 ตรวจสอบโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 2.2 บันทึกการตรวจสอบโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน 2.08.228.02.02 46998
2.08.228.02 ตรวจสอบโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 2.3 ระบุความคลาดเคลื่อนจากแผนงานการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน 2.08.228.02.03 46999
2.08.228.02 ตรวจสอบโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 2.4 สำรวจความคลาดเคลื่อนที่ระบุไว้ 2.08.228.02.04 47000
2.08.228.02 ตรวจสอบโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 2.5 ดำเนินการแก้ไขความคลาดเคลื่อนที่ระบุไว้ 2.08.228.02.05 47001
2.08.228.03 ประเมินโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 3.1 ทบทวนการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงานตามที่ระบุไว้ 2.08.228.03.01 47002
2.08.228.03 ประเมินโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 3.2 เปรียบเทียบผลลัพธ์ของโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงานกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.08.228.03.02 47003
2.08.228.03 ประเมินโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 3.3 รวบรวมคำแนะนำที่สะท้อนกลับจากผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน 2.08.228.03.03 47004
2.08.228.03 ประเมินโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 3.4 จัดทำรายงานการประเมินผลการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน 2.08.228.03.04 47005
2.08.228.03 ประเมินโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 3.5 เผยแพร่รายงานการประเมินผล 2.08.228.03.05 47006
2.08.228.03 ประเมินโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 3.6 จัดเก็บรายงานการประเมินผล 2.08.228.03.06 47007
2.08.228.03 ประเมินโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในที่ทำงาน 3.7 ทำการปรับเปลี่ยนโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงานตามผลที่ได้จากกระบวนการประเมิน 2.08.228.03.07 47008

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ความสามารถหลักในการประยุกต์การใช้งานกับผู้มีส่วนได้เสีย

  • ความสามารถในการใช้เทคนิคการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตรวจสอบและการประเมินผลโปรแกรม

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับนโยบายขององค์กรและวิธีการในเรื่องการฝึกอบรมและการพัฒนา

  • ความรู้เกี่ยวกับการฝึกอบรมและการพัฒนาโปรแกรมและแผนงานที่มีอยู่ภายในองค์กร

  • ความรู้ในการฝึกอบรมและความจำเป็นสำหรับการพัฒนาองค์กร

  • ความรู้เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการส่งมอบการฝึกอบรมและการพัฒนาโปรแกรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • แฟ้มสะสมงาน

  • ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลข้อสอบข้อเขียน

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน




  • ข้อสอบข้อเขียน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

  • การประเมินด้วยบุคคลที่ 3

  • การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



     ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  • กิจกรรม อาจครอบคลุม

    • การฝึกอบรมอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมทั้งการเรียนรู้ด้วยตนเองในที่ทำงาน การเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

    • การปฏิบัติและการการฝึก

    • การให้การฝึกอบรมภายนอกและภายในองค์กร

    • การให้คำปรึกษา

    • การสอน

    • การฝึกการใช้ทัศนศึกษา วิทยากร การเรียนรู้จากประสบการณ์

    • การมีส่วนร่วมกับองค์กรอื่น ๆ

    • การแลกเปลี่ยนบทบาท รวมถึงโอกาสที่จะทำหน้าที่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น การแลกเปลี่ยนการทำงานและปฏิบัติงานระหว่างองค์กร

    • การเข้าร่วมของผู้เข้าร่วมในการประชุมสัมมนาและและประชุมเชิงปฏิบัติการ



  • แผนงาน อ้างถึง แผนการพัฒนาโดยองค์กรเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของการฝึกอบรมและการพัฒนาโปรแกรม อาจครอบคลุม

    • การระบุข้อมูลทั่วไปและความต้องการพนักงาน

    • ระยะเวลาสำหรับการดำเนินงาน

    • ทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน

    • บทบาทและความรับผิดชอบ

    • ความก้าวหน้าสำหรับโครงการ

    • เป้าหมาย จุดประสงค์ และผลที่คาดหวังของตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI) สำหรับโครงการ

    • วันที่ที่ตรวจสอบ

    • การบันทึกและกระบวนการประเมินผล

    • ขอบเขตที่เกี่ยวข้องของผู้มีอำนาจ



  • จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม อาจครอบคลุม

    • การระบุความจำเป็นเร่งด่วน เช่น ความต้องการของแผนงาน ความปลอดภัย ความต้องการในการบริการ ความเสี่ยง การขาดแคลนบุคลากรที่ระบุไว้ในโครงการที่จะมาถึง และอื่น ๆ

    • การประเมินความจำเป็นในการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและอื่น ๆ

    • การประเมินการพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับเวลา

    • การระบุค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

    • การกำหนดทรัพยากรที่ต้องใช้

    • การกำหนดข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน เช่น การสำรองข้อมูล ระดับความต้องการทางธุรกิจ ข้อบังคับทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตหรือใบรับรอง นโยบายขององค์กร และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงการให้บริการไปยังลูกค้าภายในและภายนอกองค์กร



  • ทรัพยากร อาจครอบคลุม

    • ทรัพยากรทางกายภาพ

    • ทรัพยากรมนุษย์

    • ทรัพยากรทางการเงิน

    • ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับเวลา



  • บทบาทและความรับผิดชอบ อาจครอบคลุม

    • การพัฒนาเนื้อหาของโครงการ

    • การพัฒนาสื่อและทรัพยากรที่สนับสนุนการฝึกอบรม

    • การวิจัยในโอกาสการฝึกอบรมและพัฒนา

    • การอธิบายความต้องการของบุคคลและกลุ่มบุคคล

    • การจัดหาสื่อและทรัพยากรที่สามารถจัดซื้อได้

    • การระบุสถานที่ที่จะใช้ในการจัดโครงการ

    • การระบุเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการโครงการ

    • การพัฒนาโครงสร้างในการสนับสนุนสำหรับผู้เข้าร่วมสำหรับการดำเนินงานโครงการ



  • บุคคลที่เกี่ยวข้อง อาจครอบคลุม

    • ผู้ให้การฝึกอบรมและผู้ประเมิน

    • ผู้เข้าร่วมในโครงการ

    • ผู้ประสานงานการฝึกอบรม

    • ผู้บังคับบัญชา

    • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานอาวุโส

    • ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและทางเทคนิค



  • ฝึกอบรมพนักงาน อาจครอบคลุม

    • การแจ้งพนักงานเกี่ยวกับกฎระเบียบภายในที่เกี่ยวข้องกับโครงการฝึกอบรมและพัฒนา เช่น ภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ การระดมทุน งานด้านเอกสาร การบันทึกข้อมูล

    • การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติงานโดยผู้เชี่ยวชาญตามความจำเป็น

    • การจัดหลักสูตรอบรมแก่ผู้ให้การฝึกอบรม ผู้ให้คำปรึกษา และอื่น ๆ



  • จัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงาน ควรครอบคลุม

    • การปฏิบัติตามแนวทางที่นำเสนอในแผนงานที่เกี่ยวข้อง

    • การปรับการดำเนินงานอย่างทันท่วงทีในกรณีที่มีประเด็นที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้น

    • การตอบสนองต่อความต้องการส่วนบุคคลของผู้เข้าร่วม และการจัดการบริการเพื่อรองรับความแตกต่างของแต่ละบุคคลในขอบเขตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

    • การหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่ไม่ได้รับการอนุญาตและขัดแย้งกับคำสั่งที่มีอยู่ในแผนงานที่ได้รับการอนุมัติและจัดทำขึ้น



  • ติดตามความคืบหน้าในการจัดโครงการ อาจครอบคลุม

    • การบันทึกอย่างต่อเนื่อง และปรับเพิ่มข้อมูลในการบันทึกให้เป็นปัจจุบันตามความจำเป็น

    • การสำรวจค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ

    • การประสานงานกับผู้เข้าร่วม

    • การสังเกตการณ์ส่วนบุคคล

    • การประสานงานกับบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ เช่น พนักงานภายในองค์กร คู่ค้าั และลูกค้า ตามความเหมาะสม

    • การเปรียบเทียบความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงกับที่คาดการณ์ไว้



  • บันทึกการตรวจสอบ อาจครอบคลุม

    • การบันทึกข้อมูลเชิงสถิติ เช่น ระยะเวลาที่ใช้ ค่าใช้จ่าย จำนวนพนักงานที่ใช้ ปัจจัยที่สิ้นเปลือง และปัจจัยที่ใช้งาน

    • การบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่น การอ้างอิงถึงมาตรฐานการให้บริการ ระดับความพึงพอใจ และประเด็นเกี่ยวกับมูลค่า

    • การใช้รูปแบบการบันทึกด้วยสิ่งพิมพ์และ/หรืออิเล็กทรอนิกส์

    • การเตรียมการบันทึกให้พร้อมสำหรับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร



  • ระบุความคลาดเคลื่อน ควรครอบคลุม

    • การสังเกตผลที่เกิดขึ้นจริงและมีนัยสำคัญในเชิงบวกหรือเชิงลบ เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมาย ผลที่คาดไว้ และตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI) ที่กำหนดไว้ในตอนแรก



  • สำรวจความคลาดเคลื่อน อาจครอบคลุม

    • การดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อค้นหาสาเหตุที่เป็นต้นตอของความคลาดเคลื่อนที่มีนัยสำคัญในเชิงบวกหรือเชิงลบ จากเป้าหมาย ผลที่คาดไว้ และตัวชี้วัดประสิทธิภาพ (KPI) ที่กำหนดไว้ในตอนแรก

    • การวิเคราะห์การดำเนินงานต่าง ๆ

    • การตรวจสอบบุคคลที่เกี่ยวข้องในโครงการ เช่น ผู้ให้การฝึกอบรม และอื่น ๆ รวมถึงผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม

    • การตรวจสอบสถานที่จัดงาน และสื่อและทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน

    • การสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วม

    • การระบุถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นในบริบทของการดำเนินงานขององค์กรที่จัด

    • การตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าผลที่ระบุไว้สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจริง



  • ดำเนินการแก้ไข อาจครอบคลุม

    • การปรับแผนงานที่จัดทำขึ้นในบริบทที่กว้างที่สุด

    • การเพิ่มและ/หรือปรับการจัดหาทรัพยากร รวมถึงทรัพยากรทางกายภาพ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับเวลา

    • การยกเลิก ปรับเปลี่ยน หรือแก้ไขโครงสร้างและองค์ประกอบของกลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในโครงการฝึกอบรมและพัฒนา

    • การเปลี่ยนประเด็นที่เน้นย้ำของโครงการไปตามข้อมูลที่ค้นพบ

    • การทำให้ผู้มีส่วนได้เสียหลักมีส่วนร่วมในกระบวนการ

    • การยกเลิกหรือเลื่อนการดำเนินโครงการออกไป



  • ทบทวนการจัด อาจครอบคลุม

    • การสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วม

    • การสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่พบ

    • การพิจารณาสภาพแวดล้อมของการดำเนินงานโครงการฝึกอบรมและพัฒนาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่ได้รับการแก้ไขเพื่อระบุสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงในการจัดโครงการในอนาคต

    • การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดและข้อมูลที่ได้รับการบันทึกระหว่างการดำเนินงานโครงการ

    • การระบุแผนการเชิงธุรกิจและเชิงกลยุทธ์ขององค์กร



  • เปรียบเทียบผลลัพธ์ของโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในสถานที่ทำงานกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ อาจครอบคลุม

    • การเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจริงกับเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้

    • การระบุประเด็นความคลาดเคลื่อนที่มีนัยสำคัญ

    • การแยกปัจจัยที่ไม่สามารถจับต้องได้แต่ส่งผลกระทบต่อผลโดยรวมของโครงการ

    • การสังเกตปัจจัยที่ผิดปกติและส่งผลกระทบในการดำเนินงานโครงการ เช่น การระบุผลกระทบที่เกิดขึ้น

    • การคำนวณผลลัพธ์ที่ได้ชองประสิทธิภาพของทรัพยากรที่ใช้ ต่อเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ และอื่น ๆ



  • รวบรวมคำแนะนำที่สะท้อนกลับ อาจครอบคลุม

    • การจัดประชุมเพื่อทบทวนการดำเนินงานและขอข้อเสนอแนะ

    • การจัดเตรียมแบบการประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะ

    • การอำนวยความสะดวกการให้ข้อเสนอแนะผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

    • การให้ความเชื่อมั่นว่าได้รับทุก ๆ ข้อเสนอแนะ หากเหมาะสม



  • รายงานการประเมินผล อาจครอบคลุม

    • การสรุปโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในเบื้องต้น รวมถึงผลลัพธ์ที่คาดหวัง

    • ทรัพยากรที่ใช้

    • บุคคลที่เกี่ยวข้อง

    • ปัญหาและประเด็นที่พบเจอ

    • ผลลัพธ์จริงที่เกิดขึ้นจริง

    • ประเด็นที่ระบุ และการฝึกอบรมและพัฒนาที่รอดำเนินการ

    • คำแนะนำสำหรับการเปลี่ยนแปลงและการดำเนินงานโครงการฝึกอบรมและพัฒนาในอนาคต



  • เผยแพร่รายงานการประเมินผล อาจครอบคลุม

    • การกระจายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และ/หรือสื่อสิ่งพิมพ์

    • การอธิบายรายงาน

    • การยกตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงของประเด็นและปัญหาต่าง ๆ

    • การตีความข้อมูลที่ปรากฏในรายงาน

    • การเอื้อต่อการตั้งคำถาม

    • การอำนวยความสะดวกในการอภิปรายและการโต้วาที

    • การขอความเห็นชอบและการอนุมัติสำหรับคำแนะนำที่ปรากฏในรายงาน





 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ