หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผน ปฏิบัติงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-5-058ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผน ปฏิบัติงาน และประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการวางแผนการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน การจัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ3414 (ISCO-88:TH) ที่ปรึกษาการเดินทางท่องเที่ยว 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2.08.095.01 วางแผนการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน 1.1 กำหนดบริบทที่จะใช้ในการประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงาน 2.08.095.01.01 46921
2.08.095.01 วางแผนการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน 1.2 ระบุความแตกต่างของตัวเลือกที่ใช้ในการประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงาน 2.08.095.01.02 46922
2.08.095.01 วางแผนการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน 1.3 แบ่งปันข้อมูลการประเมินผลการปฏิบัติงานระหว่างพนักงาน ที่จะได้รับการประเมิน 2.08.095.01.03 46923
2.08.095.01 วางแผนการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน 1.4 กำหนดจุดหมายเบื้องต้นของการประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงานแต่ละคน 2.08.095.01.04 46924
2.08.095.01 วางแผนการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน 1.5 จัดเตรียมเอกสารในการบันทึกสถิติการประเมินผลการปฏิบัติงานและข้อมูลการปฏิบัติงาน 2.08.095.01.05 46925
2.08.095.01 วางแผนการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน 1.6 ออกแบบแผนปฏิบัติการ เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน 2.08.095.01.06 46926
2.08.095.02 จัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 2.1 รวบรวมหลักฐานการปฏิบัติงานของพนักงาน 2.08.095.02.01 46927
2.08.095.02 จัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 2.2 ตีความข้อมูลการปฎิบัติงานของพนักงาน 2.08.095.02.02 46928
2.08.095.03 ประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 3.1 เตรียมความพร้อมในการสัมภาษณ์เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน 2.08.095.03.01 46929
2.08.095.03 ประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 3.2 ทบทวนผลการปฎิบัติงานของพนักงานแต่ละคน 2.08.095.03.02 46930
2.08.095.03 ประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 3.3 เตรียมเป้าหมายการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในช่วงถัดไป 2.08.095.03.03 46931

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ความสามารถในการใช้หลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานที่หลากหลาย

  • ความสามารถในการใช้เทคนิคการประชุม การสื่อสาร การเจรจาต่อรอง การให้คำปรึกษา และการควบคุมการทำงาน

  • ความสามารถในการบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลการทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของพนักงาน

  • ความสามารถในการวางแผนและจัดตารางเวลาการปฏิบัติงานของพนักงาน ครอบคลุม การฝึกอบรม การฝึกงาน การให้คำปรึกษา การสอนงาน การฝึกอบรมออกเวลางาน การฝึกฝน

  • ความสามารถในการวางแผนและการให้คำปรึกษา การประชุม/การสัมภาษณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้ด้านนโยบายและขั้นตอนขององค์ฏร ที่เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

  • ความรู้ในการใช้เอกสาร ที่สามารถนำมาเป็นแนวทางในการประเมินและเป็นข้อมูล



 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

  • ผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3

  • ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

  • ผลการจำลองสถานการณ์และบทบาทสมมุติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลสอบข้อเขียน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



    การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน




  • ข้อสอบข้อเขียน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • การสัมภาษณ์

  • การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง

  • การประเมินด้วยบุคคลที่ 3

  • การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ

  • การจำลองสถานการณ์ และบทบาทสมมติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



      ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



กำหนดบริบทที่จะใช้ในการประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงาน อาจครอบคลุม




  • การจัดแนวทางการปฏิบัติงานของพนักงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของแผนกและองค์กร ที่ระบุในแผนการดำเนินธุรกิจ

  • การเพิ่มศักยภาพของพนักงานแต่ละคน

  • การระบุเป้าหมายการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน

  • การรวบรวมความต้องการในการฝึกอบรมของพนักงานแต่ละคน เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรมภายใน



ตัวเลือกที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ควรครอบคลุม




  • การวัดตามเกณฑ์

  • การประเมินตนเอง

  • การประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน

  • การสังเกตของผู้จัดการ/เจ้าของ

  • การวิเคราะห์ทางสถิติ

  • วิธีการให้คะแนน

  • วิธีการจัดอันดับหรือการเปรียบเทียบ

  • ระบบเฉพาะขององค์กร



แบ่งปันข้อมูลการประเมินผลการปฏิบัติงาน อาจครอบคลุม




  • แจ้งแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน เมื่อสัมภาษณ์พนักงานใหม่ รวมทั้ง เมื่อจัดกิจกรรมของพนักงานทั่วไป ครอบคลุม การฝึกอบรม การสรุปงาน การประชุม

  • อธิบายกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ที่ใช้กับพนักงานทุกคน รวมทั้ง หัวหน้างาน และผู้จัดการ

  • พูดคุยกับพนักงานแต่ละคนเพื่อ

  • กำหนดจุดสำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

  • อธิบายถึงการสนับสนุนที่เตรียมให้กับพนักงาน

  • สร้างความมั่นใจ ให้กับพนักงานว่า งานจะไม่ถูกคุกคามจากกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • ยืนยันว่าพนักงานทุกคน รวมทั้ง ฝ่ายบริหาร จะได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • แจ้งพนักงานล่วงหน้าถึงการประชุมและกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • ใช้พนักงานที่มีประสบการณ์/ผู้บริหารระดับสูง ในการช่วยให้พนักงานใหม่ เห็นถึงผลประโยชนที่จะไดรับจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • พัฒนาเอกสารสำคัญ/สัญญาในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน จัดทำข้อตกลงระหว่างพนักงานและผู้บังคับบัญชา เกี่ยวกับประเด็นที่จะได้รับการประเมินและวิธีการในการตัดสิน



จัดเตรียมเอกสารในการบันทึก ควรเกี่ยวข้องกับ




  • เตรียมรายการตรวจสอบ

  • เตรียมแบบฟอร์มการเก็บข้อมูล



ออกแบบแผนปฏิบัติการ ควรครอบคลุม




  • ระบุทรัพยากรที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน

  • ระบุช่วงเวลาในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน ครอบคลุม วันและเวลาในการฝึกอบรม ข้อมูลที่จำเป็นต้องทราบก่อนการประเมิน การสัมภาษณ์/การประชุมกับพนักงานแบบไม่เป็นทางการ การควบคุม การฝึกอบรมภายนอก

  • ระบุตัวบุคคลที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรม

  • ระบุกิจกรรมที่ใช้ ระหว่างการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงาน

  • ทำความตกลงกับพนักงานแต่ละคน ในการประเมินการปฏิบัติงาน ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ เป้าหมาย และช่วงเวลา



รวบรวมหลักฐานการปฏิบัติงาน อาจครอบคลุม




  • จัดเตรียมตามแผนดำเนินการกับพนักงานแต่ละบุคคล

  • สร้างความมั่นใจว่า องค์ประกอบของการปฏิบัติงาน ได้ที่ถูกรวบรวมไว้เป็นข้อมูล

  • ใช้รูปแบบที่สร้างความมั่นใจว่า ข้อมูลที่จำเป็นถูกจัดเก็บ

  • ใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อให้ได้ข้อมูลการประเมินแบบ 360 องศา

  • สร้างความมั่นใจว่า เป็นข้อมูลที่เก็บเป็นไปตามวัตถุประสงค์

  • มีส่วนร่วมกับกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลอื่น ๆ



ตีความข้อมูลการปฏิบัติงานของพนักงาน อาจครอบคลุม




  • ระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของพนักงานแต่ละคน

  • ตัดสินใจและพัฒนาข้อสรุปบนพื้นฐานของวัตถุประสงค์

  • หาข้อมูลสนับสนุน เพื่อตรวจสอบข้อสรุป

  • ลบข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง

  • เปรียบเทียบข้อมูลผลการปฏิบัติงานจริงกับเป้าหมายและสถิติที่กำหนดไว้

  • รักษาความเป็นส่วนตัวและความลับของข้อมูล



เตรียมความพร้อมในการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน อาจครอบคลุม




  • พัฒนาแผนการสัมภาษณ์ เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

  • สร้างความคุ้นเคยกับข้อเท็จจริงที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน ครอบคลุม ข้อมูลที่นำมาใช้ ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานถูกระบุในเอกสาร/สัญญาของพนักงาน

  • การระบุหลักฐานที่จำเป็นในระหว่างการสัมภาษณ์

  • การระบุแผนการดำเนินการสำหรับพนักงาน ระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • การจัดทำข้อเสนอแนะสำหรับพนักงานแต่ละคน

  • การระบุสถานที่และเวลา สำหรับการประเมินผลพนักงานด้วยการสัมภาษณ์



ทบทวนผลการปฎิบัติงานของพนักงาน อาจครอบคลุม




  • ประชุมส่วนตัวกับพนักงานแต่ละคน

  • ทบทวนวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในเอกสาร/สัญญาการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน  

  • แจ้งพนักงานเกี่ยวกับกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน

  • อธิบายข้อมูล ข้อเท็จจริง ข้อมูลทางสถิติที่บันทึกไว้ ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ระบุ และระยะเวลาที่กำหนด

  • อธิบายและตีความของข้อเท็จจริงและข้อมูลทางสถิติ

  • จัดเตรียมโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูล

  • แสดงความยินดีกับพนักงานที่มีผลการประเมินในเชิงบวก

  • ให้กำลังใจพนักงานที่มีผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์การปฏิบัติงานที่ตั้งไว้

  • ให้คำปรึกษาพนักงานที่มีผลการประเมินต่ำกว่าเกณฑ์การปฏิบัติงานที่ตั้งไว้

  • เสนอการสนับสนุนแก่องค์กรและพนักงาน ในการบรรลุมาตฐานการปฏิบัติงาน



เตรียมเป้าหมายการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในช่วงถัดไป อาจครอบคลุม




  • การขยายเป้าหมายปัจจุบัน

  • การแนะนำเป้าหมายใหม่ รวมทั้ง เกณฑ์การปฏิบัติงานที่แก้ไข

  • การกำหนดระยะเวลา ที่ควรใช้เกณฑ์การปฏิบัติงาน  

  • การระบุการสนับสนุนและทรัพยากรที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมาย/เกณฑ์การปฏิบัติงาน

  • การรับการยินยอมเกี่ยวกับเป้าหมายใหม่ จากพนักงาน

  • การลงนามในเอกสาร/สัญญาการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

  • การเก็บแฟ้มข้อมูลเอกสาร/สัญญาการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ