หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลระบบการฝึกอบรม

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-5-057ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลระบบการฝึกอบรม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประเมินผลระบบการฝึกอบรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการประเมิน การให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร การจัดการเก็บบันทึกการประเมิน การควบคุมกระบวนการประกันคุณภาพ การรายงานผลการปฎิบัติงานตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2.08.093.01 เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการประเมิน 1.1กำหนดวัตถุประสงค์ของระบบการประเมิน 2.08.093.01.01 46879
2.08.093.01 เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการประเมิน 1.2เตรียมเอกสารและแจกจ่ายข้อมูลสำคัญและกระบวนการเกี่ยวกับระบบการประเมินไปยังผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 2.08.093.01.02 46880
2.08.093.01 เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการประเมิน 1.3จัดทำขั้นตอนในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับลักษณะที่สำคัญของระบบประเมิน 2.08.093.01.03 46881
2.08.093.02 ให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร 2.1 ตรวจสอบมาตรฐานสมรรถนะของผู้ประเมินให้เป็นไปตามข้อกำหนด2.2 ระบุการฝึกอบรมที่จำเป็นสำหรับผู้ประเมิน 2.08.093.02.01 46882
2.08.093.02 ให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร 2.3 จัดการประเมินอย่างเหมาะสม 2.08.093.02.02 46883
2.08.093.02 ให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร 2.4จัดให้มีการเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ประเมิน 2.08.093.02.03 46884
2.08.093.02 ให้การสนับสนุนผู้ประเมินขององค์กร 2.5 อำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อเครือข่ายกลุ่มผู้ประเมิน 2.08.093.02.04 46885
2.08.093.03 จัดการเก็บบันทึกการประเมิน 3.1 ระบุและพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลภายในองค์กร ที่จำเป็นในการสนับสนุนระบบการประเมิน 2.08.093.03.01 46886
2.08.093.03 จัดการเก็บบันทึกการประเมิน 3.2ระบุถึงข้อกำหนดที่จำเป็นในการจัดเก็บข้อมูลการประเมินให้สมบูรณ์ 2.08.093.03.02 46887
2.08.093.03 จัดการเก็บบันทึกการประเมิน 3.3 จัดเก็บข้อมูลการประเมิน 2.08.093.03.03 46888
2.08.093.03 จัดการเก็บบันทึกการประเมิน 3.4 ทบทวนและศึกษาระบบการจัดเก็บข้อมูลการประเมิน 2.08.093.03.04 46889
2.08.093.04 ควบคุมกระบวนการประกันคุณภาพ 4.1 กำหนดกระบวนการประกันคุณภาพสำหรับระบบการประเมิน 2.08.093.04.01 46890
2.08.093.04 ควบคุมกระบวนการประกันคุณภาพ 4.2 ดำเนินการตรวจสอบภายในของระบบการประเมิน 2.08.093.04.02 46891
2.08.093.04 ควบคุมกระบวนการประกันคุณภาพ 4.3ใช้ผลการตรวจสอบการประกันคุณภาพเพื่อปรับปรุงระบบการประเมิน 2.08.093.04.03 46892
2.08.093.04 ควบคุมกระบวนการประกันคุณภาพ 4.4 ทบทวนผลการใช้งานของกระบวนการประกันคุณภาพให้มีความคล่องตัวต่อระบบการประเมิน 2.08.093.04.04 46893
2.08.093.05 รายงานผลการปฏิบัติงาน ตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร 5.1 ระบุถึงผลลัพธ์เพื่อแสดงให้เห็นว่าระบบการประเมินได้ถูกนำไปใช้ 2.08.093.05.01 46894
2.08.093.05 รายงานผลการปฏิบัติงาน ตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร 5.2 ทบทวนการปฎิบัติงานของระบบการประเมิน 2.08.093.05.02 46895
2.08.093.05 รายงานผลการปฏิบัติงาน ตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร 5.3ให้คำแนะนำสำหรับนำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลงระบบการประเมิน 2.08.093.05.03 46896
2.08.093.05 รายงานผลการปฏิบัติงาน ตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร 5.4 จัดทำและเผยแพร่รายงาน 2.08.093.05.04 46897
2.08.093.05 รายงานผลการปฏิบัติงาน ตามระบบการประเมินการฝึกอบรมและการดำเนินงานขององค์กร 5.5 แก้ไขระบบการประเมินที่ใช้อยู่จากผลการตอบรับต่อรายงาน 2.08.093.05.05 46898

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ความสามารถในการใช้เทคนิคการออกแบบ การพัฒนา การตรวจสอบ และการประเมินผล/การวิเคราะห์

  • ความสามารถในการใช้เทคนิค กลยุทธ์ และวิธีการการประกันคุณภาพ

  • ความสามารถในการขอความคิดเห็น

  • ความสามารถในการสร้างและรักษาระบบการบันทึกที่มีประสิทธิภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและกระบวนการขององค์กรในการฝึกอบรมและการประเมินผล

  • ความรู้เกี่ยวกับหลักการการฝึกอบรมและการประเมินวิชาชีพ บนพื้นฐานของความรู้และความสามารถที่จำเป็น

  • ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานสมรรถนะที่เกี่ยวข้องกับองค์กร รวมทั้ง กรอบมาตรฐานสมรรถนะที่ได้รับการรับรอง และมาตรฐานภายใน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3

  • ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลสอบข้อเขียน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



    การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน




  • ข้อสอบข้อเขียน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • การสัมภาษณ์

  • การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

  • การประเมินด้วยบุคคลที่ 3

  • การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



     ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



วัตถุประสงค์ของระบบการประเมิน อาจครอบคลุม




  • รับทราบถึงขีดความสามารถขององค์กรในปัจจุบัน

  • ระบุความต้องการในการฝึกอบรม

  • รักษาระดับทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในสถานที่ทำงาน

  • วินิจฉัยการทำงานของพนักงาน

  • จัดกลุ่มพนักงานให้สัมพันธ์กับระดับค่าตอบแทน

  • ช่วยยืนยันความสามารถของพนักงาน ในการโยกย้ายและ/หรือการเลื่อตำแหน่ง

  • ช่วยในการออกใบรับรองหรือให้รางวัลแก่พนักงานภายในองค์กร

  • ช่วยยืนยันความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของพนักงาน



ข้อมูลสำคัญและกระบวนการเกี่ยวกับระบบการประเมิน อาจครอบคลุม




  • ข้อกำหนดขั้นต่ำเกี่ยวกับสมรรถนะและหลักฐานการรับรองของผู้ประเมิน

  • บันทึกข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการเก็บรักษา รวมทั้ง นโยบายและกระบวนการ การพัฒนาเอกสารประกอบ

  • ระยะเวลาและช่วงเวลาในการประเมิน รวมทั้ง การรวมการประเมินเข้ากับการปฏิบัติงาน ในขณะที่ยังคงมีความยืดหยุ่นและความสมบูรณ์ของระบบการฝึกอบรมและการประเมินภายใน

  • การปรับเปลี่ยนที่สามารถทำได้ในการประเมิน เพื่อให้สอดคล้องกับผู้เข้าร่วม ได้แก่ ภาษา ความรู้ และข้อกำหนดอื่น ๆ

  • ข้อกำหนดด้านกฎหมายเกี่ยวกับ การจ้างงาน ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ข้อกำหนดในการออกใบอนุญาตสถานที่ทำงาน และความเสมอภาค

  • สถานที่จัดการประเมิน ทั้งการประเมินภายในและภายนอก

  • กระบวนการตรวจสอบและการประเมินผล

  • นโยบายขององค์กรและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน รวมทั้ง การร้องทุกข์ การประเมินใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะและผลตอบแทน                                                               



ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย อาจเกี่ยวข้องกับ




  • ผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมิน รวมทั้ง ผู้ฝึกอบรมและผู้ประเมินจากภายนอก

  • ผู้นำคณะทำงาน หัวหน้างาน ผู้จัดการ และเจ้าของธุรกิจ

  • ผู้ประสานงานการฝึกอบรมและการประเมิน

  • ผู้สมัคร ทั้งผู้สมัครที่ผ่านมาและที่กำลังเรียนอยู่

  • ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะสาขาของการประเมิน



ระบบ อาจครอบคลุม




  • การประชุมทั่วไป เกี่ยวกับการประเมิน รวมทั้ง การประชุมวาระพิเศษ

  • รายการวาระการประชุมของพนักงาน เกี่ยวกับการประเมิน

  • การเตรียมจัดทำจดหมายข่าว ทั้งในรูปแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์

  • การพัฒนาเครือข่ายภายในของผู้ประเมิน



มาตรฐานสมรรถนะ เกี่ยวข้องกับ




  • มาตรฐานสมรรถนะที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง

  • สมรรถนะที่ระบุไว้ภายในองค์กร

  • ประสบการณ์ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน



ฝึกอบรมที่จำเป็นสำหรับผู้ประเมิน อาจครอบคลุม




  • การฝึกอบรมจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากภายนอก รวมทั้ง การฝึกอบรมเพิ่มเติมจากภายใน

  • การจัดฝึกอบรมเพิ่มเติม เพื่อทบทวนวิธีการ

  • การจัดฝึกอบรม ตามความจำเป็นที่ระบุในเบื้องต้น

  • การจัดฝึกอบรมเฉพาะ ในกรณีผู้ประเมินไม่คุ้นเคยงาน



การจัดเก็บข้อมูลภายในองค์กร ที่จำเป็น ในการสนับสนุนระบบการประเมิน อาจครอบคลุม




  • ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัคร

  • หลักฐานการฝึกอบรม ที่ต้องยื่นก่อนทำการประเมิน

  • เครื่องมือและรายการการประเมิน

  • สำเนาเอกสารหลักสูตร/แผนการฝึกอบรม

  • หลักฐานที่ถูกใช้ในกระบวนการประเมิน

  • เอกสารที่ใช้ในการบันทึกทรัพยากรและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการประเมิน



ระบุข้อกำหนดที่จำเป็นในการจัดเก็บข้อมูลการประเมิน อาจครอบคลุม




  • อธิบายข้อกำหนดในการเก็บรักษาข้อมูล ให้ผู้ประเมินทราบ

  • จัดเตรียมตัวอย่างของการบันทึกข้อมูลที่ยอมรับได้

  • ตรวจสอบการรวบรวมข้อมูล ที่จัดทำโดยผู้ประเมิน

  • ให้ความสำคัญกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเวลา ที่ใช้ในการทำข้อมูลให้สมบูรณ์ การรวบรวม และการส่งต่อบันทึกการประเมิน

  • ระบุถึงการเตรียมการด้านความปลอดภัยและรักษาความลับ



จัดเก็บข้อมูลการประเมิน อาจครอบคลุม




  • สร้างระบบการจัดเก็บ สำหรับการบันทึกผลการประเมิน ทั้งในรูปแบบกระดาษ รูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ หรือทั้งสองรูปแบบ

  • ปฏิบัติตามข้อกำหนดภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บบันทึกการประเมิน

  • รักษาความปลอดภัยและความลับของการบันทึกการประเมิน

  • ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลการบันทึกประเมิน

  • ง่ายต่อการบันทึกและเก็บรักษาข้อมูลให้ทันสมัย

  • บันทึกการประเมินและการฝึกอบรม

  • สร้างกระบวนการในการตรวจสอบบันทึกการประเมิน



กระบวนการประกันคุณภาพสำหรับระบบการประเมิน อาจครอบคลุม




  • ระบุเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • ตั้งเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

  • ระบุแนวปฏิบัติที่ดี (Best Pracitce) 

  • กำหนดระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง ช่วงเวลาในการส่งผลการประเมิน การส่งต่อเอกสารประกอบ การทบทวน การตรวจสอบ ฯลฯ

  • ระบุกระบวนการประกันคุณภาพ รวมทั้ง การพัฒนาด้านการประกันคุณภาพที่เกี่ยวเนื่องกับการประเมินและการฝึกอบรม

  • สื่อสารไปยังผู้ประเมิน เกี่ยวกับข้อกำหนดในการประกันคุณภาพ รวมทั้ง การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการดำเนินการ



ดำเนินการตรวจสอบภายในของระบบประเมิน อาจครอบคลุม




  • กำหนดเวลาในการตรวจสอบ

  • กำหนดหัวข้อที่จะตรวจสอบ รวมทั้ง ความเป็นไปได้ในการตรวจสอบตามรอบและการตรวจสอบแบบเต็มรูปแบบ

  • การฝึกอบรมพนักงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ

  • การจัดสรรทรัพยากรสำหรับดำเนินการตรวจสอบ

  • การออกแบบ/หรือจัดหาเอกสารที่จำเป็น เพื่อบันทึกข้อมูลการตรวจสอบ

  • การจับประเด็นข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบ



ทบทวนระบบการประเมิน อาจครอบคลุม




  • เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงกับตัวชี้วัดที่ตั้งไว้สำหรับระบบประเมิน

  • ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ประเมิน

  • ตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องมือและวิธีการประเมิน

  • อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ได้เกิดขึ้นในการจัดเตรียมระบบประเมิน

  • ทบทวนข้อร้องเรียนและข้อร้องทุกข์ของผู้สมัคร

  • กำหนดและประเมินจำนวนการทดสอบซ้ำ

  • รวบรวมข้อเสนอแนะเชิงคุณภาพจากผู้ประเมินและผู้สมัคร เกี่ยวกับการทำงานของระบบการประเมิน



ให้คำแนะนำสำหรับนำไปใช้ในการเปลี่ยนแปลง อาจครอบคลุม




  • ดำเนินการระบบการประเมินที่ทำใช้อยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ปรับเปลี่ยนระบบเพื่อรองรับปัญหา

  • ขยายระบบประเมินที่ใช้อยู่

  • ลดขอบเขตของระบบการประเมินที่ใช้อยู่

  • ยกเลิกระบบประเมินที่ใช้อยู่ รวมทั้ง การเปลี่ยนผู้ให้บริการด้านการประเมินจากภายนอก



 แก้ไขระบบการประเมิน อาจครอบคลุม




  • นโยบายและกระบวนการประเมิน

  • เครื่องมือประเมิน

  • ผู้ประเมิน

  • เวลาและสถานที่ประเมิน

  • การสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระบบประเมินไปยังผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้ง การเตรียมการการฝึกอบรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ