หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบ จัดทำ และนำเสนอรายงานรูปแบบต่าง ๆ

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-HOH-4-037ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบ จัดทำ และนำเสนอรายงานรูปแบบต่าง ๆ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

5123 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   หน่วยสมรรถนะนี้เป็นหน่วยที่เกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นในการออกแบบ จัดทำ และนำเสนอรายงานรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกแบบรายงาน การจัดทำรายงาน การนำเสนอรายงานรูปแบบต่าง ๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
4222 (ISCO-88:TH) พนักงานบริการส่วนหน้าของโรงแรม5121 (ISCO-88:TH) แม่บ้านในโรงแรม5122 (ISCO-88:TH) พ่อครัว7412 (ISCO-88:TH) พ่อครัวขนมปังอบ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
2.06.240.01 ออกแบบรายงานในรูปแบบต่าง ๆ 1.1 กำหนดมาตรฐานการจัดทำรายงาน 2.06.240.01.01 46763
2.06.240.01 ออกแบบรายงานในรูปแบบต่าง ๆ 1.2 ออกแบบและพัฒนาเค้าโครงการนำเสนอ (Template) 2.06.240.01.02 46764
2.06.240.01 ออกแบบรายงานในรูปแบบต่าง ๆ 1.3 พัฒนาข้อความมาตรฐานสำหรับรายงาน 2.06.240.01.03 46765
2.06.240.01 ออกแบบรายงานในรูปแบบต่าง ๆ 1.4 สร้างความมั่นใจว่า ใช้รูปแบบรายงานที่มีมาตรฐาน 2.06.240.01.04 46766
2.06.240.01 ออกแบบรายงานในรูปแบบต่าง ๆ 1.5 พัฒนากลยุทธ์ในการดูแลและปรับปรุงรูปแบบรายงานอย่างสม่ำเสมอ 2.06.240.01.05 46767
2.06.240.02 จัดเตรียมรายงานรูปแบบต่าง ๆ 2.1 พัฒนารายงานตามข้อกำหนดหรือความต้องการ 2.06.240.02.01 46768
2.06.240.02 จัดเตรียมรายงานรูปแบบต่าง ๆ 2.2 บ่งชี้แหล่งข้อมูลหรือรายงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายงานขั้นสุดท้าย 2.06.240.02.02 46769
2.06.240.02 จัดเตรียมรายงานรูปแบบต่าง ๆ 2.3 วิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับรายงาน 2.06.240.02.03 46770
2.06.240.02 จัดเตรียมรายงานรูปแบบต่าง ๆ 2.4 จัดทำรายงาน 2.06.240.02.04 46771
2.06.240.03 นำเสนอรูปแบบรายงานรูปแบบต่าง ๆ 3.1 แจกจ่ายรายงานตามความต้องการของหน่วยงานภายใน 2.06.240.03.01 46772
2.06.240.03 นำเสนอรูปแบบรายงานรูปแบบต่าง ๆ 3.2 นำเสนอด้วยวาจาเพื่อสร้างความเข้าใจในรายงาน 2.06.240.03.02 46773

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  • ความสามารถในการใช้ระบบเก็บรักษาข้อมูล รวมทั้ง การจัดทำแผ่นงาน ระบบฐานข้อมูล การบันทึกและการดึงข้อมูล

  • ความสามารถในการวิจัยและเขียนรายงาน รวมทั้ง ทักษะการประเมินผลและการวิเคราะห์

  • ความสามารถในการเตรียมและนำเสนอทางวาจา

  • ทักษะการใช้แป้นพิมพ์ และความสามารถในการพิสูจน์อักษร การแก้ไข และทักษะการจัดทำรายงาน เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบและโครงร่างรายงาน ตามความจำเป็น

  • ทักษะการอ่านออกเขียนได้และด้านตัวเลข

  • ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการจัดทำรายงาน เช่น Microsoft Word  Microsoft Powerpoint และ Microsoft Excel

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  • ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติขององค์กร ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงาน การใช้ข้อมูลภายในองค์กร รูปแบบเอกสารการนำเสนอ ข้อกำหนดด้านระดับชั้นความลับสำหรับข้อมูลภายในองค์กร

  • ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรายงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

  • ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3

  • ผลการประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  • ผลสอบข้อเขียน

  • ผลการสัมภาษณ์

  • ผลการประเมินด้วยบุคคลที่ 3



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



     การประเมินควรให้ความสำคัญกับบริบทเฉพาะของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การโรงแรม และภัตตาคาร



(ง) วิธีการประเมิน




  • ข้อสอบข้อเขียน

  • แฟ้มสะสมผลงาน

  • การสัมภาษณ์

  • การสังเกตการณ์ ณ หน้างานจริง 

  • ผลงานหรือชิ้นงานที่ทำสำเร็จแล้ว

  • การประเมินด้วยบุคคลที่ 3

  • การประเมินจากโครงการที่รับผิดชอบ


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



     ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



มาตรฐานการจัดทำรายงาน อาจเกี่ยวข้องกับ




  • ระบุข้อกำหนดขององค์กรเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล การจัดเก็บ ผลผลิต และคุณภาพของรูปแบบรายงานและการผลิตรายงาน

  • ประเมินความสามารถด้านสารสนเทศขององค์กร ที่มีผลกระทบต่อรูปแบบและการผลิตรายงาน

  • ระบุประเภทของรายงานที่องค์กรใช้อหรือต้องการใช้ ครอบคลุม รายงานการบริหารการเงิน รายงาน รายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร รายงานด้านสถิติของผลประกอบการ รายงานสถานการณ์ในแต่ละวัน 

  • จัดทำรายงานที่สอดคล้องกับระเบียบทางกฎหมาย

  • จัดทำรายงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดภายในองค์กร ครอบคลุม

    • โครงร่างรายงานมาตรฐานขององค์กร

    • ระดับของภาษาที่ใช้ และรูปแบบของรายงาน

    • คุณภาพการพิมพ์ (สี-ขาวดำ)

    • การใช้ซอฟต์แวร์การจัดหน้า

    • การใช้กระดาษรีไซเคิล รวมทั้ง กิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวกับการพิมพ์ การผลิตรายงาน และการประหยัดพลังงาน

    • การพิมพ์รูปภาพ

    • การใช้สื่อผสม

    • การผลิตการนำเสนอรายงาน

    • การพิมพ์รายงานมากกว่าหนึ่งสำเนา

    • รูปแบบรายงานแบบอิเล็กทรอนิกส์และ/หรือแบบรูปเล่ม





เค้าโครงการนำเสนอ (Template) จะครอบคลุมประเด็นการออกแบบและโครงสร้าง เช่น  




  • หน้ากระดาษ ท้ายกระดาษ (Headers and Footers)

  • การตั้งค่าหน้ากระดาษ (ระยะย่อหน้า ระยะระหว่างบรรทัด หัวข้อเรื่อง การอ้างหัวข้อเรื่อง หัวข้อย่อย)

  • การใช้สัญลักษณ์องค์กร

  • สารบัญ

  • การจัดเค้าโครงรายงานให้ตรงกับผู้อ่าน วัตถุประสงค์ และข้อกำหนดของข้อมูล

  • การสร้างความมั่นใจว่า รูปแบบลายลักษณอักษรมีคุณภาพ

  • การสร้างความมั่นใจว่า ลักษณะ รูปแบบ โครงร่างสอดคล้องกับรายงานอื่น ๆ ภายในองค์กร

  • การสร้างความมั่นใจว่า รายงานได้มีการทดสอบ/ทบทวน รวมทั้ง คำแนะนำที่สะท้อนกลับจากผู้อ่าน ได้ถูกนำมาแก้ไข เพื่อให้การนำเสนอเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด



พัฒนากลยุทธ์ในการดูแลและปรับปรุงรูปแบบรายงานอย่างสม่ำเสมอ ควรเกี่ยวข้องกับ




  • ตรวจสอบรายงาน ให้เป็นไปตามรูปแบบมาตรฐานที่กำหนด

  • ตรวจสอบคุณภาพรายงาน

  • ตรวจสอบการฝึกอบรมได้ถูกจัดขึ้น เพื่อพัฒนาทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเป็น

  • จัดเตรียมคู่มือมาตรฐานการจัดทำรายงาน

  • จัดทำรายการตรวจสอบมาตรฐานการจัดทำรายงาน

  • ประเมินรายงานกับเกณฑ์ในรายการมาตรฐานของรายงาน

  • เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและแผนขององค์กร กับมาตรฐานการจัดทำรายงานปัจจุบัน

  • สอบถามความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปรับปรุงเค้าโครงอย่างสม่ำเสมอ



พัฒนารายงานตามข้อกำหนด อาจครอบคลุม




  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดทำรายงานกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและ/หรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • จัดทำสารบัญของรายงาน รวมทั้ง คำชี้แจงในการละเว้นข้อมูลบางอย่าง

  • กำหนดรูปแบบ (Format) ของรายงาน หากไม่ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานการจัดทำรายงาน ขององค์กร



แหล่งข้อมูล อาจครอบคลุม




  • งานภาคสนาม

  • งานวิจัย

  • หนังสือ/ตำราที่ตีพิมพ์

  • รายงานทางวิชาการ

  • รายงานในภาคอุตสาหกรรม

  • เพื่อนร่วมงาน

  • ฐานข้อมูลขององค์กร

  • ข้อมูลสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต

  • หนังสือพิมพ์และวารสาร

  • สือสิ่งพิมพ์ในอุตสาหกรรม

  • ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ



วิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็น อาจครอบคลุม




  • ยืนยันความถูกต้องของข้อมูลว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และข้อกำหนด รวมทั้ง กรอบเวลา ข้อกำหนดด้านเอกสาร คำสั่งทางวาจาและลายลักษณ์อักษร แนวทางการควบคุมภายในองค์กร เอกสารในระบบคอมพิวเตอร์

  • ระบุรูปแบบที่ถูกใช้และกำหนดโดยองค์กร



แจกจ่ายรายงาน อาจครอบคลุม




  • แจกจ่ายรายงาน ตามแนวนโยบายขององค์กร

  • จัดส่งรายงานไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง

  • จัดส่งสำเนาทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามรายชื่อ

  • ตรวจสอบด้านความปลอดภัยและการเก็บรักษาความลับ

  • ยืนยันการได้รับรายงาน จากผู้รับ

  • แจกจ่ายในกำหนดเวลาที่เหมาะสม ให้ผู้อ่านมีเวลาเพียงพอสำหรับการศึกษา ก่อนจัดการประชุม



นำเสนอรายงานด้วยวาจา อาจครอบคลุม




  • ใช้ภาษาและน้ำเสียงที่ใช้ให้เหมาะสมกับผู้ฟัง

  • เตรียมเอกสารการนำเสนอที่จำเป็น

  • จัดลำดับการนำเสนออย่างเหมาะสม มีสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ผู้ฟัง และเนื้อหา

  • ซักซ้อมการนำเสนอ

  • จัดทำอุปกรณ์ที่จะใช้ในการนำเสนอ

  • ปฏิบัติตามมาตฐานขององค์กรและ/หรืออุตสาหกรรม ที่เกี่ยวกับการนำเสนอทางวาจา

  • ตอบคำถามที่ได้รับอย่างถูกต้องและเหมาะสม

  • ติดตามให้ข้อมูลและคำถามที่ได้เพิ่มเติมจากการนำเสนอ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ