หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานปรุงอาหารอย่างปลอดภัย

สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ THR-FOS-1-001ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานปรุงอาหารอย่างปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานอาหารริมบาทวิถี คุณวุฒิวิชาชีพชั้น 1



ISCO-08 รหัสอาชีพ 5212 ผู้จำหน่ายอาหารตามถนน


1 5212 ผู้จำหน่ายอาหารตามถนน

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้ใช้ทักษะและความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานปรุงอาหารอย่างปลอดภัย เพื่อให้งานปรุงอาหารนั้นดำเนินงานไปอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ควบคู่กับความปลอดภัยที่ได้จากการปฏิบัติตนของผู้ปฏิบัติงานปรุงอาหารหน่วยสมรรถนะนี้เหมาะกับผู้เข้ารับการประเมินที่มีทักษะและเทคนิคในการปฏิบัติงานปรุงอาหาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาหารริมบาทวิถี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25502. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 25223. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และ    พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25604. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 25455. ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10111 เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งาน 1.จัดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมและการปรุงอาหารได้ครบถ้วน 10111.01 73492
10111 เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งาน 2. เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทำจากวัสดุคงทนไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร และไม่ก่อให้เกิดการสะสมของเศษอาหาร 10111.02 73493
10111 เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ได้เหมาะสมกับการใช้งาน 3. ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการทำงานได้ตรงตามลักษณะการ ใช้งาน 10111.03 73494
10112 คัดเลือก ตรวจเช็ค เตรียม และเก็บรักษาวัตถุดิบและเครื่องปรุงสำหรับปรุงอาหาร 1.คัดเลือกและตรวจเช็ควัตถุดิบและเครื่องปรุงที่มีคุณภาพสำหรับการปรุงอาหาร 10112.01 73495
10112 คัดเลือก ตรวจเช็ค เตรียม และเก็บรักษาวัตถุดิบและเครื่องปรุงสำหรับปรุงอาหาร 2. ล้างทำความสะอาดวัตถุดิบที่เป็นอาหารสดเพื่อลดสิ่งสกปรกและสารเคมีตกค้าง 10112.02 73496
10112 คัดเลือก ตรวจเช็ค เตรียม และเก็บรักษาวัตถุดิบและเครื่องปรุงสำหรับปรุงอาหาร 3. เตรียมวัตถุดิบตามรายการอาหารที่กำหนดไว้ 10112.03 73497
10112 คัดเลือก ตรวจเช็ค เตรียม และเก็บรักษาวัตถุดิบและเครื่องปรุงสำหรับปรุงอาหาร 4.เลือกสภาวะและสถานที่ในการเก็บวัตถุดิบและเครื่องปรุงในการปรุงอาหารได้อย่างเหมาะสมและถูกสุขลักษณะ 10112.04 73498
10112 คัดเลือก ตรวจเช็ค เตรียม และเก็บรักษาวัตถุดิบและเครื่องปรุงสำหรับปรุงอาหาร 5. เลือกอุปกรณ์ที่สะอาด ทำจากวัสดุที่มีความปลอดภัยและมีขนาดเหมาะสมในการจัดเก็บวัตถุดิบ 10112.05 73499
10113 ปรุงอาหารอย่างปลอดภัย 1.ปรุงอาหารที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 10113.01 73500
10113 ปรุงอาหารอย่างปลอดภัย 2. จัดเก็บอาหารปรุงสำเร็จในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด ไว้ตลอดเวลา 10113.02 73501
10113 ปรุงอาหารอย่างปลอดภัย 3. ทำให้อาหารสุกอย่างทั่วถึง โดยใช้อุณหภูมิตามหลักสุขาภิบาลอาหาร 10113.03 73502
10113 ปรุงอาหารอย่างปลอดภัย 4. ใช้เขียงและมีดที่มีสภาพดีและแยกตามประเภทอาหาร 10113.04 73503
10113 ปรุงอาหารอย่างปลอดภัย 5. ปฏิบัติตามขั้นตอนการปรุงอาหารเพื่อให้อาหารปรุงสำเร็จมีความปลอดภัยและไม่มีการปนเปื้อนจากสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ 10113.05 73504
10113 ปรุงอาหารอย่างปลอดภัย 6. ไม่ใช้สารกัดบูดเป็นส่วนผสมในอาหาร 10113.06 73505

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเตรียมและการประกอบอาหารอย่างถูกวิธีและปลอดภัย



2. ทักษะการประเมินเพื่อพิจารณาคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเตรียมและการประกอบอาหาร



4. ทักษะในการปรุงอาหารให้มีความปลอดภัย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการเตรียมและการประกอบอาหาร



2. ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมืออุปกรณ์ในการเตรียมและการประกอบอาหาร



3. ความรู้เกี่ยวกับการคัดเลือก ตรวจเช็ค เตรียม และเก็บรักษาวัตถุดิบและเครื่องปรุง



4. ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมอาหารตามกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น หั่น สับ ซอย เป็นต้น



5. ความรู้เกี่ยวกับการปรุงอาหารที่ปลอดภัยตามหลักสุขาภิบาล



 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     วิดิโอหรือภาพถ่ายแสดงการปฏิบัติงานหรือแฟ้มสะสมผลงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     ใบรับรองการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      N/A



(ง) วิธีการประเมิน



          - การสัมภาษณ์ผู้ขอรับการประเมิน



          - การประเมินจากการจำลองสถานการณ์ (role play)



          - วิดิโอหรือภาพถ่ายแสดงการปฏิบัติงานหรือแฟ้มสะสมผลงานหรือหลักฐานเอกสารต่าง ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



     หากผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติตามเกณฑ์บางข้อไม่สมบูรณ์ ผู้ประเมินต้องให้คำแนะนำในการพัฒนาการปฏิบัติงานในเกณฑ์ที่ไม่สมบูรณ์นั้น โดยชี้แจงรายละเอียดในหัวข้อนั้นๆ เพื่อให้ผ็เข้ารับการประเมินมีความเข้าใจและสอบถามซ้ำทวนความเข้าใจ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



     - การเลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ในการเตรียมและการปรุงอาหารต้องเลือกให้ถูกต้องตามลักษณะการใช้งาน เลือกใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่เป็นวัสดุไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหาร เช่น เขียง มีด หม้อ ทัพพี ตะหลิว จาน ชาม ถ้วย ตะเกียบ ที่คีบ ช้อน ซ้อม เป็นต้น เครื่องมืออุปกรณ์ในการเตรียมและการปรุงอาหารต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน สะอาด ไม่เกิดการปนเปื้อน และมีจำนวนเพียงพอ



    - วัตถุดิบที่นำมาใช้ต้องผ่านการเตรียมอย่างถูกสุขลักษณะและปลอดภัย วัตถุดิบที่ใช้ต้องล้างก่อนนำมาประกอบอาหารไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ ผัก หรือผลไม้



     - การจัดเก็บวัตถุดิบต้องถูกต้องเหมาะสมกับวัตถุดิบแต่ละชนิด เช่น ผักจัดใส่ถุงหรือกล่องเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและการสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ควรนำไปเก็บรวมกับอาหารที่มีกลิ่นเช่นเนื้อสัตว์ ควรแยกวัตถุดิบของสดและของสุกออกจากกันอย่างชัดเจน กรณีจำเป็นต้องเก็บรวมกันต้องใส่ภาชนะเพื่อป้องกันการปนเปื้อน



     - การปรุงหรือการจัดวางอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร เช่น ปรุงอาหารในพื้นที่ที่สะอาด ปราศจากแมลงและสัตว์พาหะนำโรค ผู้สัมผัสอาหารสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสอาหาร ใช้เขียงและมีดที่มีสภาพดีและแยกตามประเภทอาหาร          


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. หลักฐานความรู้ที่ต้องการ  ประเมินจากการสัมภาษณ์และประเมินจากการจำลองสถานการณ์ (role play)     



2. วิดิโอหรือภาพถ่ายแสดงการปฏิบัติงานหรือแฟ้มสะสมผลงานหรือหลักฐานเอกสารต่าง ๆ



ยินดีต้อนรับ