หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-4-013ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้มีความรู้ในด้านการป้องกันอุบัติเหตุเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับผู้สูงอายุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10302.01 เฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุโดยสาเหตุจากพฤติกรรมผู้สูงอายุเอง 1. ผู้สูงอายุได้รับการติดตามดูแลพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด 10302.01.01 17016
10302.01 เฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุโดยสาเหตุจากพฤติกรรมผู้สูงอายุเอง 2. ผู้สูงอายุได้รับการป้องกันและสังเกตอันตรายที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการล้ม 10302.01.02 17017
10302.02 เฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุจากสิ่งแวดล้อมที่อันตรายกับผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. ผู้สูงอายุได้รับความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ 10302.02.01 17018
10302.02 เฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุจากสิ่งแวดล้อมที่อันตรายกับผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ผู้สูงอายุได้รับการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในบริเวณที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ 10302.02.02 17019

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ไม่มี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุ

2. ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุด้านสิ่งแวดล้อม



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

            ไม่มี

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือผลการสังเกตจากการปฏิบัติงานจริง

    2. ผลการทดสอบความรู้

    3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

    4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

        (ค) คำแนะนำในการประเมิน

             ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

(ง) วิธีการประเมิน

    1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

    2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก) คำแนะนำ

     ไม่มี

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. การป้องกันอุบัติเหตุ หมายถึง การป้องกันอุบัติเหตุโดยการเปลี่ยนแปลงที่ตัวบุคคล เช่น การอยู่ในที่ร่มไม่ไปในที่มีแดดจัดของผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นต้น

    2. การป้องกันอุบัติเหตุด้านสิ่งแวดล้อม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เช่น การจัดสิ่งของที่มีความหนักไว้บริเวณด้านล่าง เพื่อป้องกันการหล่นของสิ่งของ เป็นต้น



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ