หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลป้องกันสภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-ZZZ-3-007ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลป้องกันสภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     ผู้มีความรู้ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยมีการดูแลผู้สูงอายุที่มีการเจาะคอ สายสวนปัสสาวะ ให้เหมาะสมในแต่ละส่วน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10107.01 ดูแลและกระตุ้นการขับเสมหะของผู้สูงอายุด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัย 1.สังเกตลักษณะการหายใจของผู้สูงอายุว่ามีภาวะการหายใจลำบากหรือมีเสียงดังในขณะหายใจเข้าและออก 10107.01.01 16942
10107.01 ดูแลและกระตุ้นการขับเสมหะของผู้สูงอายุด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัย 2.สังเกตความผิดปกติของเสมหะของผู้สูงอายุและรายงานผลให้ถูกต้องและเหมาะสม 10107.01.02 16943
10107.01 ดูแลและกระตุ้นการขับเสมหะของผู้สูงอายุด้วยวิธีการที่ถูกต้องและปลอดภัย 3.ประเมินสถานการณ์ในการกระตุ้นการขับเสมหะให้ผู้สูงอายุด้วยความ ระมัดระวัง เพื่อป้องกันการเกิดการอุดตัน การขย้อนหรืออาเจียน 10107.01.03 16944
10107.02 ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการสวนสายปัสสาวะให้กับผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ ถูกต้องและปลอดภัย* 1.ดูแลสายสวนปัสสาวะของผู้สูงอายุเพื่อให้ปัสสาวะไหลผ่านสายสวนได้อย่างสะดวก 10107.02.01 16945
10107.02 ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการสวนสายปัสสาวะให้กับผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ ถูกต้องและปลอดภัย* 2.ทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะของผู้สูงอายุตามหลักสุขลักษณะอนามัย 10107.02.02 16946
10107.02 ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการสวนสายปัสสาวะให้กับผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ ถูกต้องและปลอดภัย* 3.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสายสวนปัสสาวะของผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความสำคัญของการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล 10107.02.03 16947
10107.02 ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการสวนสายปัสสาวะให้กับผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ ถูกต้องและปลอดภัย* 4.สังเกตอาการแสดงที่ผิดปกติของผู้สูงอายุด้วยวิธีการซักถามหริอสังเกตอาการแสดงเพื่อป้องกันการติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะ 10107.02.04 16948
10107.02 ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการสวนสายปัสสาวะให้กับผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ ถูกต้องและปลอดภัย* 5.บันทึกปริมาณน้ำที่ได้รับเข้าและออกจากร่างกายของผู้สูงอายุในแต่ละวันได้ 10107.02.05 16949
10107.02 ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการสวนสายปัสสาวะให้กับผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ ถูกต้องและปลอดภัย* 6. ดูแลไม่ให้น้ำปัสสาวะของผู้สูงอายุไหลย้อนกลับเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ 10107.02.06 16950
10107.03 ดูแลทำความสะอาดท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูงอายุอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และปลอดภัย* 1.ดูแลความสะอาดของอุปกรณ์ที่สอดเข้าสู่ร่างกายผู้สูงอายุให้ถูกสุขลักษณะ อนามัย 10107.03.01 16951
10107.03 ดูแลทำความสะอาดท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูงอายุอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และปลอดภัย* 2.ประเมินภาวะผิดปกติของผู้สูงอายุที่มีอุปกรณ์ท่อสอดเข้าสู่ร่างกาย 10107.03.02 16952
10107.03 ดูแลทำความสะอาดท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้สูงอายุอย่างถูกสุขลักษณะอนามัย และปลอดภัย* 3.ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้สอดเข้าสู่ร่างกายของผู้สูงอายุโดยวิธีการและขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะ 10107.03.03 16953
10107.04 ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ขับถ่ายแบบเปิดลำไส้ใหญ่ทางหน้าท้องของผู้สูงอายุ ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม* 1.สังเกตอาการผิดปกติในบริเวณผิวหนังรอบทวารเทียมของผู้สูงอายุอยู่เสมอ 10107.04.01 16954
10107.04 ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ขับถ่ายแบบเปิดลำไส้ใหญ่ทางหน้าท้องของผู้สูงอายุ ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม* 2.แก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อเกิดความผิดปกติที่อาจเกิดอันตรายแก่ผู้สูงอายุ โดยช่วยเหลือเบื้องต้นและรายงานต่อหัวหน้างาน 10107.04.02 16955
10107.04 ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ขับถ่ายแบบเปิดลำไส้ใหญ่ทางหน้าท้องของผู้สูงอายุ ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม* 3.ทำความสะอาดบริเวณทวารเทียมของผู้สูงอายุโดยวิธีการที่ถูกต้องและตามหลักสุขลักษณะอนามัย 10107.04.03 16956
10107.04 ดูแลและทำความสะอาดอุปกรณ์ขับถ่ายแบบเปิดลำไส้ใหญ่ทางหน้าท้องของผู้สูงอายุ ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม* 4.ทำความสะอาดถุงบรรจุของเสียบริเวณทวารเทียมและกำจัดของเสียภายในถุงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือมากเท่าที่จำเป็น 10107.04.04 16957
10107.05 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* 1.สังเกตแผลที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุได้ เพื่อประเมินวิธีการที่จะใช้ในการทำแผล 10107.05.01 16958
10107.05 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* 2.เลือกอุปกรณ์หรือยาที่ใช้ในการทำแผลของผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับชนิดของบาดแผล 10107.05.02 16959
10107.05 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* 3.สามารถทำแผลให้ผู้สูงอายุตามลักษณะของแผลได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 10107.05.03 16960
10107.05 ทำแผลเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ โดยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักเทคนิคการทำแผลเบื้องต้น* 4.สามารถดำเนินการปิดผ้าพันแผลและรักษาความสะอาดของแผลให้กับผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อ 10107.05.04 16961

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ไม่มี

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการกระตุ้นการขับเสมหะ

2. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะ

3. ความรู้เกี่ยวกับการทำความสะอาดผู้ป่วยที่มีท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกาย

4. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่มีลำไส้ใหญ่เปิดหน้าท้อง



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          ไม่มี

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

 1. ผลการสังเกตการณ์ปฏิบัติงานจริง

 2. ผลการทดสอบความรู้

 3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ

 4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน

          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง

     (ง) วิธีการประเมิน

  1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ

  2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง



15. ขอบเขต (Range Statement)

     ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

    (ก) คำแนะนำ

         ไม่มี

    (ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. การกระตุ้นการขับเสมหะ หมายถึง การกระตุ้นการทำงานของเยื่อบุในระบบทางเดินหายใจในการกำจัดเสมหะ และเพื่อให้ร่างกายเพิ่มสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ปริมาณเสมหะมากขึ้น ทำให้ไอเอาเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น

2. การทำความสะอาดสายสวนปัสสาวะ หมายถึง การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์และบริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะให้สะอาดเพื่อป้องกันภาวะการติดเชื้อแทรกซ้อน

        3. การทำความสะอาดผู้ป่วยที่มีท่อที่สอดใส่เข้าสู่ร่างกาย หมายถึง การทำความสะอาดบริเวณที่มีการสอดท่อเข้าสู่ร่างกาย และเปลี่ยนผ้าก๊อสทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1-2 ครั้ง ในท่อบางชนิดสามารถถอดล็อคออกจากกันเพื่อให้สะดวกต่อการทำความสะอาดได้

        4. การดูแลผู้ป่วยที่มีลำไส้ใหญ่เปิดหน้าท้อง หมายถึง การให้การดูผู้ป่วยที่มีทวารเทียมโดยบริเวณหน้าท้องโดยสุขลักษณะที่เหมาะสม ซึ่งควรจะได้รับการทำความสะอาดที่สม่ำเสมอ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน



ยินดีต้อนรับ