หน่วยสมรรถนะ
ส่งเสริมด้านการออกกำลังกายและด้านจิตใจของผู้สูงอายุอย่างถูกต้องและเหมาะสม
สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | HLT-ZZZ-2-006ZA |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ส่งเสริมด้านการออกกำลังกายและด้านจิตใจของผู้สูงอายุอย่างถูกต้องและเหมาะสม |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
|
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
เป็นผู้มีความรู้ทางด้านการออกกำลังกาย จิตใจ ที่ถูกหลักและมีความปลอดภัยเหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อส่งเสริมสภาพร่างกายของผู้สูงอายุ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
10106.01 ส่งเสริมด้านการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม | 1.ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม | 10106.01.01 | 16934 |
10106.01 ส่งเสริมด้านการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม | 2.ประเมินอายุและโรคประจำตัวของผู้สูงอายุเพื่อกำหนดการออกกำลังกายตามคุณลักษณะของแต่ละบุคคล | 10106.01.02 | 16935 |
10106.01 ส่งเสริมด้านการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม | 3.ปฐมพยาบาลผู้สูงอายุเบื้องต้นได้หากเกิดภาวะที่ไม่พึงประสงค์ จากการออกกำลังกาย | 10106.01.03 | 16936 |
10106.02 ดูแลจิตใจของผู้สูงอายุโดยมีเจตคติที่ดี | 1. กระตุ้นสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกันเอง | 10106.02.01 | 16937 |
10106.02 ดูแลจิตใจของผู้สูงอายุโดยมีเจตคติที่ดี | 2. ให้ความใส่ใจผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ | 10106.02.02 | 16938 |
10106.02 ดูแลจิตใจของผู้สูงอายุโดยมีเจตคติที่ดี | 3. ให้ความเป็นมิตรต่อผู้สูงอายุและเป็นที่ปรึกษาเพื่อปรับทุกข์ได้ | 10106.02.03 | 16939 |
10106.02 ดูแลจิตใจของผู้สูงอายุโดยมีเจตคติที่ดี | 4. ผู้ดูแลสามารถตอบสนองข้อเรียกร้องได้ | 10106.02.04 | 16940 |
10106.02 ดูแลจิตใจของผู้สูงอายุโดยมีเจตคติที่ดี | 5. ปฏิบัติต่อผู้สูงอายุ โดยที่มีเจตคติที่ดีและกล่าวแต่ความจริงอยู่เสมอ | 10106.02.05 | 16941 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ ไม่มี (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายชะลอความเสี่อมของร่างกาย 2. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลด้านจิตใจ โดยที่มีเจตคติที่ดี |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) ไม่มี (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลการสัมภาษณ์และ/หรือ ผลจากการสังเกตจากการปฏิบัติงานจริง 2. ผลการทดสอบความรู้ 3. แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) และ/หรือ 4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนดผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน 1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานจริงที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบบันทึกรายการจากการสังเกตและเอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ 2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์และ/หรือแบบทดสอบความรู้แฟ้มสะสมผลงานและ/หรือเอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยีทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (ก) คำแนะนำ ไม่มี (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. การออกกำลังกายชะลอความเสี่ยงของร่างกาย หมายถึง ความเสื่อมของร่างกายเป็นสิ่งที่เกิดจากพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละเวลา ทั้งอาหารการกิน การทำกิจกรรมในแต่ละวัน การนอนหลับพักผ่อน หากทำอย่างไม่ถูกต้อง ร่างกายจะเสื่อมลงเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงใช้การออกกำลังกายซึ่งสามารถช่วยให้ร่างกายมีความยืดหยุ่น เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และช่วยให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง ร่างกายชะลอการเสื่อมสภาพได้อย่างมีประสิทธิผล 2. การดูแลด้านจิตใจ โดยที่มีเจตคติที่ดี หมายถึง การนำส่งเสริมและฟื้นฟูสมรรถภาพทางทัศนคติ ให้เห็นคุณค่าของตนเอง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และได้รับสิทธิในการตัดสินใจ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
กระบวนการและวิธีการประเมินให้ดูในคู่มือการประเมิน |