หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์หาสาเหตุความผิดปกติและแก้ปัญหาในระบบ PLC

สาขาวิชาชีพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ AMP-ZZZ-4-024ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์หาสาเหตุความผิดปกติและแก้ปัญหาในระบบ PLC

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพออกแบบโปรแกรมควบคุมลําดับขั้น ชั้น 4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้และทักษะในการวิเคราะห์สาเหตุความผิดปกติของ PLC และอุปกรณ์ต่อร์วม หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit, CPU) หลักของระบบโปรแกรมเมเบิ้ลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (programmable logic controller, PLC) รวมทั้งซอฟต์แวร์(Software) การแก้ไขความผิดปกติของระบบ PLCและอุปกรณ์เชื่อมต่อ และจําลองโปรแกรม (Simulation program) พร้อมทั้งทดสอบหลังการแก้ไขได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
030111 วิเคราะห์สาเหตุความผิดปกติของ Hardware 1) วิเคราะห์ปัญหาด้านการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับอินพุท เอ้าท์พุท โมดุล ระบบ PLC 030111.01 84649
030111 วิเคราะห์สาเหตุความผิดปกติของ Hardware 2) วิเคราะห์ปัญหาด้าน CPU หลักของ PLC 030111.02 84650
030111 วิเคราะห์สาเหตุความผิดปกติของ Hardware 3) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากอุปกรณ์ภายนอกที่มาต่อเชื่อม 030111.03 84651
030112 วิเคราะห์สาเหตุความผิดปกติของ Software 1) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากค้างสเต็ปการใช้งานโปรแกรม 030112.01 84652
030112 วิเคราะห์สาเหตุความผิดปกติของ Software 2) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากข้อมูลที่สะสมใน Memory และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล 030112.02 84653
030112 วิเคราะห์สาเหตุความผิดปกติของ Software 3) วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากสัญญาณรบ กวนที่ทำให้โปรแกรมผิดปกติ 030112.03 84654
030113 แก้ไขความผิดปกติของระบบ PLC 1) แก้ไขความผิดปกติของซอฟต์แวร์ในโปรแกรมเมเบิ้ลลอจิกคอนโทรลเลอร์ 030113.01 84655
030113 แก้ไขความผิดปกติของระบบ PLC 2) แก้ไขการตั้งค่าการติดต่อสื่อสาร (Communication) ระหว่าง PLC กับ Computer 030113.02 84656
030113 แก้ไขความผิดปกติของระบบ PLC 3) ใช้ฟังก์ชั่นการตรวจสอบสถานะ (Monitoring function) ในการหาจุดผิดปกติของระบบ PLC 030113.03 84657
030113 แก้ไขความผิดปกติของระบบ PLC 4) จำลองโปรแกรม (Simulation program) ระบบ PLC 030113.04 84658

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีความรู้พื้นฐานโครงสร้างของ PLC ไฟฟ้าและอุปรกณ์ควบคุมทางไฟฟ้า


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ใช้เครื่องมือตรวจสอบหาสาเหตุความผิดปกติของHardware ด้านการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับ
อินพุท เอ้าท์พุท โมดุล ระบบ PLC, CPU หลักของ PLC และอุปกรณ์ภายนอกที่มาต่อเชื่อม

2. ตรวจสอบและทดสอบหาสาเหตุความผิดปกติของSoftware ด้านปัญหาที่เกิดจากการเขียน
โปรแกรมค้างสเต็ป, ข้อมูลที่สะสมใน Memory และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และสัญญาณรบ กวน
ที่ทําให้โปรแกรมทํางานผิดปกติ

3. แก้ไขความผิดปกติของซอฟต์แวร์ในโปรแกรมเมเบิ้ลลอจิกคอนโทรลเลอร์ได้

4. แก้ไขการตั้งค่าการติดต่อสื่อสาร (Communication) ระหว่าง PLC กับ Computerได้ 5. ใช้ฟังก์ชั่นการตรวจสอบสถานะ (Monitoring function) ในการหาจุดผิดปกติของระบบ
PLCได้

6. จําลองโปรแกรม (Simulation program) ระบบ PLC ได

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เข้าใจโครงสร้างและการทํางานของ PLC

2. เข้าใจหลักการทํางานของอุปกรณ์ภายนอกและผลกระทบของสัญญาณรบกวน

3. ระบุหน้าที่คําสั่งโปรแกรม PLC

4. อ่านการทํางานของโปรแกรมใน PLC

5. อ่านแบบวงจร สัญลักษณะระบบ PLC 

6. ระบุขั้นตอนการติดต่อสื่อสารระหว่าง PLC กับ Computer

7. บอกขั้นตอนการแก้ไขโปรแกรมในขณะออนไลน์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก.) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

แบบฟอร์มบันทึกการปฏิบัติงาน

(ข.) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

N/A

(ค.) คําแนะนําในการประเมิน 

เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก.) คําแนะนํา 

ผู้เข้ารับการประเมินต้องเข้าใจโครงสร้างและหลักการทํางานของ PLC อุปกรณ์ภายนอกได้เป็นอย่างดี การเชื่อมต่อ PLC กับอุปกรณ์ภายนอกที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเข้าใจการตั้งค่าในการเชื่อมต่อระหว่าง PLC กับ คอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์หาสาเหตุและแก้ไขความผิดปกติของระบบ PLC ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

(ข.) คําธิบายรายละเอียด

1. ต้องวิเคราะห์สาเหตุความผิดปกติของระบบ PLC และอุปกรณ์ต่อร่วม เช่น อุปกรณ์อินพุท (เช่น Sensor switch) เอาท์พุท (เช่น ชุดขับความเร็วมอเตอร์ SSR) แหล่งจ่าย สายสัญญาณ

2. ต้องมีความรู้ในการเขียนแบบวงจรระบบ PLC และอุปกรณ์ต่อร่วม

3. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการปรับตั้งค่าในระบบ PLC และอุปกรณ์ต่อร่วม

4. มีความรู้ในการทดสอบการทํางานหลังการแก้ไข

5. บอกสัญลักษณ์และการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและคําสั่งพื้นฐานของ PLC และอุปกรณ์ต่อร่วม 

6. อ่านคู่มือ อ่านแบบและเข้าใจ Name plate ของตัว PLC อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่อร่วมได้

7. เข้าใจหลักการทํางานของชุดคําสั่งภายใน PLC และอุปกรณ์ต่อร่วมตั้งค่าการติดต่อสื่อสาร (Communication) ระหวาง PLC กับ Computer


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน


- แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก และ/หรือ

- แบบทดสอบแบบเติมคําหรือตอบสั้น

2. สาธิตการปฎิบัติงาน

- แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ