หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมกิจกรรมในงานซ่อมบํารุง

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-RUB-3-024ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมกิจกรรมในงานซ่อมบํารุง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างซ่อมบํารุงเครื่องจักรผลิตยาง ระดับ 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านการประเมินหน่วยสมรรถนะ (UOC) นี้จะต้องสามารถสั่งซื้อเครื่องอุปกรณ์ การดําเนินการซ่อมบํารุงได้ และต้องสามารถสอบผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาอุตสาหกรรมยางล้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.3.1.1.1 จัดทําเอกสารการสั่งซื้อและขอซื้ออะไหล่สําหรับการซ่อมบํารุง และปรับปรุงตามแผน

1.1 ข้อมูลรายละเอียดของเครื่องจักร การบํารุงรักษา การตรวจสอบ ประเภทของเอกสารตามชนิด ลักษณะงานของเครื่องจักรได้รับการรวบรวมอย่างครบถ้วน

1.3.1.1.1.01 147273
1.3.1.1.1 จัดทําเอกสารการสั่งซื้อและขอซื้ออะไหล่สําหรับการซ่อมบํารุง และปรับปรุงตามแผน

1.2 ระบุเกี่ยวกับมาตรฐานของชิ้นส่วนอะไหล่ของเครื่องจักร

1.3.1.1.1.02 147274
1.3.1.1.1 จัดทําเอกสารการสั่งซื้อและขอซื้ออะไหล่สําหรับการซ่อมบํารุง และปรับปรุงตามแผน

1.3 อะไหล่ในการบํารุงรักษาได้รับการจัดแบ่งหมวดหมู่ และสํารวจความต้องการในการใช้

1.3.1.1.1.03 147275
1.3.1.1.1 จัดทําเอกสารการสั่งซื้อและขอซื้ออะไหล่สําหรับการซ่อมบํารุง และปรับปรุงตามแผน

1.4 มีการจัดทําข้อตกลงในการจัดซื้อ จัดหาอะไหล่กับฝ่ายจัดซื้อ ตามแผน

1.3.1.1.1.04 147276
1.3.1.1.2 จัดทําเอกสารการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์สําหรับการซ่อมบํารุง และปรับปรุง

2.1 ข้อมูลรายละเอียดสถานะของเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบํารุงได้รับการรวบรวมอย่างครบถ้วน

1.3.1.1.2.01 147277
1.3.1.1.2 จัดทําเอกสารการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์สําหรับการซ่อมบํารุง และปรับปรุง

2.2 ข้อมูลของเครื่องจักรได้รับการรวบรวมและระบุประเภทของเครื่องจักร

1.3.1.1.2.02 147278
1.3.1.1.2 จัดทําเอกสารการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์สําหรับการซ่อมบํารุง และปรับปรุง

2.3 เครื่องจักรได้รับการลําดับความสําคัญให้สอดคล้องกับแผนการผลิต (การใช้เครื่องจักร) ของฝ่ายผลิต

1.3.1.1.2.03 147279
1.3.1.1.2 จัดทําเอกสารการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์สําหรับการซ่อมบํารุง และปรับปรุง

2.4 เครื่องมือ อุปกรณ์ได้รับการแยกประเภทตามชนิด และลักษณะการบํารุงรักษาเครื่องจักร ตามแผน

1.3.1.1.2.04 147280

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะวิธีการบํารุงรักษาเครื่องจักร

2. ทักษะการซ่อมบํารุงและวิธีการทํางาน

3. ทักษะการติดต่อสื่อสารภายในองค์กร

4. ทักษะการใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์อย่างปลอดภัย

5. ทักษะการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เช่น บันทึกผล และพิมพ์งานได้บ้าง (ถ้ามี) เป็นต้น

6. ทักษะการใช้โปรแกรมควบคุมเครื่องจักรในการทํางานได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับ 5 ส.

2. ความรู้เกี่ยวกับ Breakdown และ Preventive

3. ความรู้เกี่ยวกับ Facility

4. ความรู้เกี่ยวกับ กระบวนการผลิต ขึ้นรูปโลหะ

5. ความรู้เกี่ยวกับ การสื่อสารภาษาอังกฤษและศัพท์เทคนิค

6. ความรู้เกี่ยวกับ แบบงานเครื่องกล

7. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการซ่อมบํารุงเครื่องจักร

8. ความรู้เกี่ยวกับการคํานวณระยะเวลาในการปรับปรุง

9. ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บในพื้นที่จัดเก็บที่ถูกต้องเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน

10. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทําและการจัดเก็บเอกสารงานซ่อมบํารุง ตามระบบมาตรฐาน

11. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ใบสั่งงาน

12. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกผลการตรวจสอบข้อบกพร่องในกระบวนการ

13. ความรู้เกี่ยวกับการแยกชนิดความแตกต่างของอุปกรณ์จากลักษณะเฉพาะทางด้านไฟฟ้าเครื่องกล และอิเล็กทรอนิกส์

14. ความรู้เกี่ยวกับการแยกประเภทการซ่อมบํารุงตามลักษณะงาน

15. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ระยะเวลาในการซ่อมบํารุง

16. ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

17. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแผนการซ่อมบํารุง

18. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน และกฎระเบียบต่างๆ

19. ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของอะไหล่ ชิ้นส่วนเครื่องกล และเครื่องมือ อุปกรณ์

20. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องกลต่างๆ (Machine Shop) งานเชื่อม

21. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ อุปกรณ์ อะไหล่ วัสดุในงานซ่อมบํารุง รวมถึงเครื่องมือพิเศษในงานซ่อมบํารุง

22. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่วยวัด ทางด้านเครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ และไฟฟ้า

23. ความรู้เกี่ยวกับในรายงานการซ่อมบํารุงเครื่องจักร

24. ความรู้เกี่ยวกับประเภท ชนิด ลักษณะการทํางานของเครื่องจักร

25. ความรู้เกี่ยวกับแผนการซ่อมบํารุงและการบํารุงรักษา

26. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาของเครื่องจักร

27. ความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะและการวัดของเครื่องจักร

28. ความรู้เกี่ยวกับสารหล่อลื่น

29. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทํางานของวงจรต่างๆ

30. มีความรู้เกี่ยวกับความสามารถ อายุเฉลี่ยของชิ้นส่วน อะไหล่เครื่องจักร

31. มีความรู้เกี่ยวกับซอฟแวร์ในการบํารุงรักษา

32. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเบื้องต้นในการทํางานในโรงงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. ใบรับรองการทํางานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. เอกสารรับรองการอบรม 5 ส

     2. ใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานที่เกี่ยวข้อง

     3. ใบรับรองการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง

     4. เอกสารรับรองการอบรมความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยเบื้องต้น

(ค) คําแนะนําในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินจะต้องประเมินในทุกหัวข้อ สมรรถนะย่อย โดยสามารถประเมินรวมกันเพียงครั้งเดียวแต่ต้องสามารถชี้ชัด วัดผลได้ว่าได้มีการประเมินในหัวข้อสมรรถนะย่อยนั้นๆ และผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

(ง) วิธีการประเมิน

     1. ประเมินจากผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     2. ประเมินจากสังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบงานจริง

     3. ประเมินจากผลการสอบทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

     กระบวนการผลิตยางฉาบผ้าใบจนเสร็จสิ้นได้ผลผลิตที่ถูกจัดเก็บในคลังหรือสถานที่ที่พร้อมนําออกมาใช้งาน

(ก) คําแนะนํา

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสําคัญเกี่ยวกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต

     2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีพื้นฐานทางช่างทั่วไป

(ข) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงถึงคุณสมบัติที่ต้องการในอาชีพ ได้แก่ คุณลักษณะที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และมีจิตสํานึกด้านความปลอดภัยในการทํางาน

(ค) คําอธิบายรายละเอียด

     ให้ความสําคัญกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบทฤษฎี

     - แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. สัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     - แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

3. สังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการจริง

     - แบบฟอร์มประเมินการปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ