หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เขียนรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-RUB-4-023ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เขียนรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ยาง ระดับ 4



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านการประเมินหน่วยสมรรถนะ (UOC) นี้จะต้องสามารถเข้าใจแบบ คู่มือการตรวจสอบประเมินผล วิเคราะห์ปัญหา รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ และต้องสามารถสอบผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาอุตสาหกรรมยางล้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.2.1.2.1 ศึกษาและทําความเข้าใจแบบ (DWG) และSPEC

1.1 สามารถบอกรายละเอียดมาตรฐานข้อกําหนด ของรายการตรวจสอบ

1.2.1.2.1.01 147247
1.2.1.2.1 ศึกษาและทําความเข้าใจแบบ (DWG) และSPEC

1.2 สามารถบอกชนิดและประเภทของเอกสารการตรวจสอบตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์

1.2.1.2.1.02 147248
1.2.1.2.1 ศึกษาและทําความเข้าใจแบบ (DWG) และSPEC

1.3 เลือกใช้แบบฟอร์มมาตรฐานการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ถูกต้อง

1.2.1.2.1.03 147249
1.2.1.2.1 ศึกษาและทําความเข้าใจแบบ (DWG) และSPEC

1.4 สามารถใช้เครื่องมือตรวจสอบ/ทดสอบที่ได้รับได้อย่างเหมาะสม ตามค่าพิกัดความเผื่อที่กําหนด และจุดที่ทําการตรวจสอบ

1.2.1.2.1.04 147250
1.2.1.2.1 ศึกษาและทําความเข้าใจแบบ (DWG) และSPEC

1.5 สามารถเลือกใช้คู่มือการปฏิบัติงานที่ได้รับการกําหนดอย่างถูกต้อง

1.2.1.2.1.05 147251
1.2.1.2.2 จัดทําเอกสาร มาตรฐานการตรวจสอบและทดสอบ (control Plan : Inspection standard : check sheet)

2.1 บอกรายละเอียดจุดควบคุมคุณภาพได้ถูกต้อง

1.2.1.2.2.01 147252
1.2.1.2.2 จัดทําเอกสาร มาตรฐานการตรวจสอบและทดสอบ (control Plan : Inspection standard : check sheet)

2.2 บอกหลักการจัดทําแบบฟอร์มตามมาตรฐาน IATF 16949 หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของยางล้อ (มอก หรือ E-mark หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้อง

1.2.1.2.2.02 147253
1.2.1.2.2 จัดทําเอกสาร มาตรฐานการตรวจสอบและทดสอบ (control Plan : Inspection standard : check sheet)

2.3 บอกข้อกําหนดของลูกค้าได้

1.2.1.2.2.03 147254
1.2.1.2.2 จัดทําเอกสาร มาตรฐานการตรวจสอบและทดสอบ (control Plan : Inspection standard : check sheet)

2.4 จัดทําเอกสารมาตรฐานการตรวจสอบถูกต้อง ครบถ้วน

1.2.1.2.2.04 147255
1.2.1.2.3 ศึกษาและทําความเข้าใจคู่มือการสอบเทียบเครื่องมือวัด

3.1 สามารถบอกชนิดเครื่องมือวัด/ทดสอบของเครื่องมือแต่ละชนิด

1.2.1.2.3.01 147256
1.2.1.2.3 ศึกษาและทําความเข้าใจคู่มือการสอบเทียบเครื่องมือวัด

3.2 สามารถบอกขีดความสามารถของเครื่องมือวัด/ทดสอบ

1.2.1.2.3.02 147257
1.2.1.2.3 ศึกษาและทําความเข้าใจคู่มือการสอบเทียบเครื่องมือวัด

3.3 สามารถบอกอุปกรณ์อ้างอิงที่ใช้ในการสอบเทียบเครื่องมือวัด/ทดสอบ

1.2.1.2.3.03 147258
1.2.1.2.3 ศึกษาและทําความเข้าใจคู่มือการสอบเทียบเครื่องมือวัด

3.4 สามารถบอกพิกัดความเผื่อที่ยินยอมให้ผิดพลาดได้ของเครื่องมือวัด/ทดสอบ

1.2.1.2.3.04 147259
1.2.1.2.3 ศึกษาและทําความเข้าใจคู่มือการสอบเทียบเครื่องมือวัด

3.5 สามารถบอกวิธีการชี้บ่งผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด/ทดสอบที่ผ่านการสอบเทียบ

1.2.1.2.3.05 147260
1.2.1.2.3 ศึกษาและทําความเข้าใจคู่มือการสอบเทียบเครื่องมือวัด

3.6 สามารถสอบเทียบเครื่องมือวัด/ทดสอบที่ได้รับตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

1.2.1.2.3.06 147261
1.2.1.2.4 ประเมินผลและรายงานการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

4.1 สามารถประเมินและรายงานผลการตรวจวัดเบื้องต้น

1.2.1.2.4.01 147262
1.2.1.2.4 ประเมินผลและรายงานการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

4.2 สามารถประเมินและรายงานผลการสอบเทียบเบื้องต้น

1.2.1.2.4.02 147263
1.2.1.2.4 ประเมินผลและรายงานการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์

4.3 สามารถประเมินและรายงานผลการทดสอบเบื้องต้น

1.2.1.2.4.03 147264
1.2.1.2.5 วิเคราะห์ปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์

5.1 วิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการ(Cpk) ได้ตามตามคู่มือการปฏิบัติงานได้

1.2.1.2.5.01 147265
1.2.1.2.5 วิเคราะห์ปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์

5.2 วิเคราะห์หาสาเหตุได้อย่างถูกต้อง

1.2.1.2.5.02 147266

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เช่น บันทึกผล และพิมพ์งานได้บ้าง (ถ้ามี) เป็นต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษ และศัพท์เทคนิค

2. ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์

3. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลผลการประเมินระบบการวัด

4. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินระบบการวัด ( Measurement Evaluation )

5. ความรู้เกี่ยวกับการลงบันทึกแบบฟอร์มตามมาตรฐาน

6. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบผลิตภัณฑ์

7. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านแบบสัญลักษณ์งานเขียนแบบ คุณภาพผิว พิกัดความเผื่อ ตาแหน่ง

มาตรส่วน ขนาด

8. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิต

9. ความรู้เกี่ยวกับคู่มือการจัดทําเกณฑ์การสอบเทียบเครื่องมือวัด/ทดสอบ

10. ความรู้เกี่ยวกับชนิดของเครื่องมือวัด/ทดสอบ

11. ความรู้เกี่ยวกับจุดควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์

12. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการสุ่มตรวจสอบผลิตภัณฑ์

13. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเอกสารในระบบ IATF 16949 หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของยางล้อ (มอก) หรือ E-mark หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

14. ความรู้เกี่ยวกับข้อกําหนดของลูกค้า

15. ความรู้เกี่ยวกับคู่มือการสอบเทียบเครื่องมือวัด/ทดสอบ

16. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการเก็บรักษาบันทึกผลที่ระบุในมาตรฐาน IATF 16949

17. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการสอบเทียบที่ระบุในบันทึกผลการสอบเทียบเครื่องมือวัด/ทดสอบ

18. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเบื้องต้นในการทํางานในโรงงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. ใบรับรองการทํางานที่เกี่ยวข้อง

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. เอกสารรับรองการอบรม 5 ส

     2. ใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานที่เกี่ยวข้อง

     3. ใบรับรองการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง

     4. เอกสารรับรองการอบรมความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยเบื้องต้น

(ค) คําแนะนําในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินจะต้องประเมินในทุกหัวข้อ สมรรถนะย่อย โดยสามารถประเมินรวมกันเพียงครั้งเดียวแต่ต้องสามารถชี้ชัด วัดผลได้ว่าได้มีการประเมินในหัวข้อสมรรถนะย่อยนั้นๆ และผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

(ง) วิธีการประเมิน

     1. ประเมินจากผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     2. ประเมินจากสังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบงานจริง

     3. ประเมินจากผลการสอบทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

     กระบวนการผลิตยางฉาบผ้าใบจนเสร็จสิ้นได้ผลผลิตที่ถูกจัดเก็บในคลังหรือสถานที่ที่พร้อมนําออกมาใช้งาน

(ก) คําแนะนํา

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสําคัญเกี่ยวกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต

     2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีพื้นฐานทางช่างทั่วไป

(ข) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงถึงคุณสมบัติที่ต้องการในอาชีพ ได้แก่ คุณลักษณะที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และมีจิตสํานึกด้านความปลอดภัยในการทํางาน

(ค) คําอธิบายรายละเอียด

     ให้ความสําคัญกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบทฤษฎี

     - แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. สัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     - แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

3. สังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการจริง

     - แบบฟอร์มประเมินการปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ