หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับแก้การทำงานเครื่องผสมยาง

สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RUB-RUB-3-005ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับแก้การทำงานเครื่องผสมยาง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานการผสมยาง ระดับ 3



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะ (UOC) นี้จะต้องสามารถ ตรวจปรับ ตั้งค่าระยะห่าง ของลูกกลิ้งบดยางและค่ามาตรฐานต่างๆ สามารถแก้ปัญหาไฟฟ้าดับกรณีฉุกเฉินได้ และต้องสามารถสอบผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาผลิตภัณฑ์ยางพารา สาขาอุตสาหกรรมยางล้อ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1.1.1.3.1 ตรวจสอบ / ปรับตั้งระยะห่างของลูกกลิ้งบดยาง (เครื่องบดยางหรือทวินสกรู)

1.1 สามารถตรวจสอบระยะห่างเทียบกับค่ามาตรฐาน

1.1.1.3.1.01 145989
1.1.1.3.1 ตรวจสอบ / ปรับตั้งระยะห่างของลูกกลิ้งบดยาง (เครื่องบดยางหรือทวินสกรู)

1.2 ปรับตั้งระยะห่างตามมาตรฐานกําหนด

1.1.1.3.1.02 145990
1.1.1.3.1 ตรวจสอบ / ปรับตั้งระยะห่างของลูกกลิ้งบดยาง (เครื่องบดยางหรือทวินสกรู)

1.3 สามารถตรวจสอบขนาดความหนายางคอมพาวด์หลังการปรับตั้ง

1.1.1.3.1.03 145991
1.1.1.3.2 ปรับตั้ง แก้ไข ค่าควบคุมเครื่อง ตามคู่มือปฏิบัติงาน

2.1 สามารถเทียบข้อมูลมาตรฐานค่าควบคุมเครื่องตรงกับแผนการผลิต

1.1.1.3.2.01 145992
1.1.1.3.2 ปรับตั้ง แก้ไข ค่าควบคุมเครื่อง ตามคู่มือปฏิบัติงาน

2.2 ป้อนค่าควบคุมได้ถูกต้องตามข้อมูลมาตรฐานที่กําหนด

1.1.1.3.2.02 145993
1.1.1.3.2 ปรับตั้ง แก้ไข ค่าควบคุมเครื่อง ตามคู่มือปฏิบัติงาน

2.3 สามารถตรวจสอบยืนยันข้อมูลที่ป้อนเข้าเครื่องผสมยาง

1.1.1.3.2.03 145994
1.1.1.3.2 ปรับตั้ง แก้ไข ค่าควบคุมเครื่อง ตามคู่มือปฏิบัติงาน

2.4 บันทึกข้อมูลมาตรฐานเครื่องในการผลิตลงในรายงาน

1.1.1.3.2.04 145995
1.1.1.3.2 ปรับตั้ง แก้ไข ค่าควบคุมเครื่อง ตามคู่มือปฏิบัติงาน

2.5 สามารถปรับตั้งเครื่องจักรสําหรับการผสมยาง ตลอดกระบวนการผลิต ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.3.2.05 145996
1.1.1.3.3 ตรวจสอบสัญญาณความผิดปกติ (Alarm) ของเครื่องจักร

3.1 ตรวจสอบสัญญาณผิดปกติของเครื่องจักรได้

1.1.1.3.3.01 145997
1.1.1.3.3 ตรวจสอบสัญญาณความผิดปกติ (Alarm) ของเครื่องจักร

3.2 ปรับแก้ไขสัญญาณความผิดปกติของเครื่องจักรตามมาตรฐานได้

1.1.1.3.3.02 145998
1.1.1.3.3 ตรวจสอบสัญญาณความผิดปกติ (Alarm) ของเครื่องจักร

3.3 สามารถตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเบื้องต้นได้

1.1.1.3.3.03 145999
1.1.1.3.4 กรีดยาง (เครื่องบดยางหรือทวินสกรู)

4.1 สามารถตรวจสอบสภาพความคม ความสมบูรณ์ มีดกรีดยาง

1.1.1.3.4.01 146000
1.1.1.3.4 กรีดยาง (เครื่องบดยางหรือทวินสกรู)

4.2 สามารถลับคมมีดกรีดยางให้คม

1.1.1.3.4.02 146001
1.1.1.3.4 กรีดยาง (เครื่องบดยางหรือทวินสกรู)

4.3 กรีดยางตามตําแหน่งได้ถูกต้องตามมาตรฐาน

1.1.1.3.4.03 146002
1.1.1.3.4 กรีดยาง (เครื่องบดยางหรือทวินสกรู)

4.4 กรีดยางตามระยะเวลาที่ถูกต้องตามมาตรฐาน

1.1.1.3.4.04 146003
1.1.1.3.5 แก้ปัญหาในกรณีแก้เหตุฉุกเฉินไฟฟ้าดับหรือไฟตก

5.1 สามารถปฏิบัติตามแผนฉุกเฉิน เมื่อไฟดับ หรือ ไฟตก

1.1.1.3.5.01 146004
1.1.1.3.5 แก้ปัญหาในกรณีแก้เหตุฉุกเฉินไฟฟ้าดับหรือไฟตก

5.2 สามารถแจ้ง / รายงานผลการปฏิบัติแผนฉุกเฉิน

1.1.1.3.5.02 146005
1.1.1.3.6 ตรวจสอบปรับตั้งความยาวของยางตามคู่มือการปฏิบัติงาน

6.1 สามารถปรับตั้งเครื่องผสมยางตามมาตรฐานกําหนด

1.1.1.3.6.01 146006
1.1.1.3.6 ตรวจสอบปรับตั้งความยาวของยางตามคู่มือการปฏิบัติงาน

6.2 สามารถตรวจสอบความยาวของยางให้ได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

1.1.1.3.6.02 146007

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการควบคุมเครื่องจักร

2. ทักษะการใช้เครื่องมือช่าง

3. ทักษะการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม เช่น บันทึกผล และพิมพ์งานได้บ้าง (ถ้ามี) เป็นต้น

4. ทักษะการใช้โปรแกรมควบคุมเครื่องจักรในการทํางานได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับ การสื่อสารภาษาอังกฤษและศัพท์เทคนิค

2. ความรู้เกี่ยวกับ สัญลักษณ์ สัญญาณ Alarm ของเครื่องจักร

3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้/การอ่านค่า เครื่องมือวัดพื้นฐาน

4. ความรู้เกี่ยวกับการขั้นตอนการลับคม มีดกรีดยาง

5. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคู่มือแผนฉุกเฉิน

6. ความรู้เกี่ยวกับคู่มือในการปฏิบัติงาน

7. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการทํางานของเครื่องจักร

8. ความรู้เกี่ยวกับหน่วยวัดปริมาณ ตามมาตรฐานสากลที่ใช้ในอุตสาหกรรมยาง

9. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การปรับตั้งเครื่องจักร

10. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยเบื้องต้นในการทํางานในโรงงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. ใบรับรองการทํางานที่เกี่ยวข้องมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา (อุตสาหกรรมยางล้อ) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. เอกสารรับรองการอบรม 5 ส

     2. ใบรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานที่เกี่ยวข้อง

     3. ใบรับรองการอบรมในวิชาที่เกี่ยวข้อง

     4. เอกสารรับรองการอบรมความปลอดภัยและอาชีวะอนามัยเบื้องต้น

(ค) คําแนะนําในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินจะต้องประเมินในทุกหัวข้อ สมรรถนะย่อย โดยสามารถประเมินรวมกัน เพียงครั้งเดียวแต่ต้องสามารถชี้ชัด วัดผลได้ว่าได้มีการประเมินในหัวข้อสมรรถนะย่อยนั้นๆ และผ่านเกณฑ์ที่กําหนด

(ง) วิธีการประเมิน

     1. ประเมินจากผลการสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     2. ประเมินจากสังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบงานจริง

     3. ประเมินจากผลการสอบทฤษฎี

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

     กระบวนการงานผสมวัตถุดิบจนสําเร็จเป็นยางคอมพาวด์ ที่ถูกจัดเก็บในคลังหรือสถานที่ที่พร้อมนําออกมาใช้งาน

(ก) คําแนะนํา

     1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสําคัญเกี่ยวกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต

     2. ผู้เข้ารับการประเมินควรมีพื้นฐานทางช่างทั่วไป

(ข) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงถึงคุณสมบัติที่ต้องการในอาชีพ ได้แก่ คุณลักษณะที่มี

     ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และมีจิตสํานึกด้านความปลอดภัยในการทํางาน

(ค) คําอธิบายรายละเอียด

     ให้ความสําคัญกับข้อกําหนด และมาตรฐานการผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบทฤษฎี

     - แบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก

2. สัมภาษณ์เชิงเทคนิค

     - แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์

3. สังเกตการปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการจริง

     - แบบฟอร์มประเมินการปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ