หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบการออกแบบระบบทางกลของ work cell กระบวนการผลิตระบบอัตโนมัติ

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MCT-ZZZ-5-052ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบการออกแบบระบบทางกลของ work cell กระบวนการผลิตระบบอัตโนมัติ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3119 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมระบบ (ยกเว้นคอมพิวเตอร์)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การตรวจสอบการออกแบบระบบทางกลของ work cell กระบวนการผลิตระบบอัตโนมัติ โดยจำลองการเคลื่อนที่ของกลไกการทำงาน การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ จำลองความเสียหายจากแรง static ที่เกิดขึ้นของชิ้นงาน ความเสียหายจากแรง dynamic ความเสียหายจากอุณหภูมิ การจำลองแรงของต้นกำลัง เช่น มอเตอร์ ระบบนิวเมติกส์ ระบบไฮดรอลิกส์โดยใช้โปรแกรม สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบการชนกัน (Interfearce) ของกลไก รวมถึงวิเคราะห์กำลังของต้นกำลังในระบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักบูรณาการระบบการผลิต (Systems Integrator)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
SI03331 จำลองการทำงานของกลไกเป็นไปตามที่ได้ออกแบบโดยใช้โปรแกรม simulation 1.1 สามารถจำลองการเคลื่อนที่ของกลไกการทำงานได้ SI03331.01 134447
SI03331 จำลองการทำงานของกลไกเป็นไปตามที่ได้ออกแบบโดยใช้โปรแกรม simulation 1.2 สามารถจำลองการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์เพื่อทดสอบการเคลื่อนที่ร่วมกับชิ้นส่วนกลไกที่ได้ออกแบบใน Work cell ได้ SI03331.02 134448
SI03331 จำลองการทำงานของกลไกเป็นไปตามที่ได้ออกแบบโดยใช้โปรแกรม simulation 1.3 สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบการชนกัน (Interfearce) ของกลไกได้ SI03331.03 134449
SI03332 จำลองความเสียหายของชิ้นส่วนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (CAE Simulation) 1.1 สามารถจำลองความเสียหายจากตัวแปรที่กำหนดด้าน static ที่เกิดขึ้นของชิ้นงานได้ SI03332.01 134450
SI03332 จำลองความเสียหายของชิ้นส่วนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (CAE Simulation) 1.2 สามารถจำลองความเสียหายจากแรง dynamic ที่เกิดขึ้นของชิ้นงานได้ SI03332.02 134451
SI03333 จำลองกำลังของอุปกรณ์ต้นกำลังว่าเพียงพอต่อระบบโดยใช้ Motion simulation 1.1 สามารถจำลองแรงของต้นกำลัง เช่น มอเตอร์ ระบบนิวเมติกส์ ระบบไฮดรอลิกส์โดยใช้โปรแกรมจำลองได้ SI03333.01 134452
SI03333 จำลองกำลังของอุปกรณ์ต้นกำลังว่าเพียงพอต่อระบบโดยใช้ Motion simulation 1.2 สามารถวิเคราะห์กำลังของต้นกำลังในระบบได้ SI03333.02 134453

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะการใช้โปรแกรมเขียนจำลองความเสียหายของชิ้นส่วน

2) ทักษะการใช้โปรแกรมจำลองการทำงานของกลไก

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ทักษะการใช้โปรแกรมเขียนจำลองความเสียหายของชิ้นส่วน

2) ทักษะการใช้โปรแกรมจำลองการทำงานของกลไก

1) อุปกรณ์ทางกล กลไก ระบบนิวเมติกส์ ไฮดรอลิกส์

2) การทำงานของเครื่องจักรและ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

3) ค่าความเสียหายของวัสดุ Safety factor

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2) ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3) ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4) ใบรับรองการผ่านงาน

5) แฟ้มสะสมผลงาน

6) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2) เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3) เอกสารการจัดทำคู่มือหรือรายงานโครงการ

4) เอกสารการสอนงาน

5) หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากตรวจสอบการออกแบบระบบทางกลในระบบอัตโนมัติ โดยพิจารณาจากทำข้อสอบปฏิบัติ หรือการสังเกตจากการจากจำลองการปฏิบัติงาน

(ง) วิธีการประเมิน

1. ข้อสอบข้อเขียน

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

3. แฟ้มสะสมผลงาน

4. การสัมภาษณ์

5. การนำเสนอ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) โปรแกรม Simulation หมายถึง โปรแกรมจำลองความเสียหายของชิ้นส่วนๆต่างๆ ก่อนการผลิต เพื่อหาจุดผิดพลาดในการออกแบบช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำงานได้

2) Motion simulation หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการจำจองการทำงานของกลไกก่อนการผลิต เพื่อหาจุดผิดพลาดในการออกแบบช่วยทำให้ลดค่าใช้จ่าย และเวลาในการทำงานได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

3. แฟ้มสะสมผลงาน

4. การสัมภาษณ์

5. การนำเสนอ

 



ยินดีต้อนรับ