หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบการประกอบทางกล

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MCT-ZZZ-3-030ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบการประกอบทางกล

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3119 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมระบบ (ยกเว้นคอมพิวเตอร์)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การตรวจสอบการประกอบทางกล โดยการปรับตั้งความแม่นยำทางกลของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม โดยต้องระบุเครื่องมือสำหรับปรับตั้งชิ้นส่วนทางกล และระบุเครื่องมือปรับตั้งระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทำการวัด ทดสอบ บันทึกผล ข้อมูลในระบบทางกล ผลการติดตั้งระบบทางกลตามแบบพิกัดความเผื่อ และผลการปรับตั้งค่าเริ่มต้น (Mastering Position) ระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักบูรณาการระบบการผลิต (Systems Integrator)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
SI01331 ปรับตั้งความแม่นยำทางกลของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 1.1 ระบุเครื่องมือสำหรับปรับตั้งชิ้นส่วนทางกลได้ SI01331.01 134262
SI01331 ปรับตั้งความแม่นยำทางกลของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม 1.2 ระบุเครื่องมือปรับตั้งความแม่นยำของระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมได้ SI01331.02 134263
SI01332 วัด ทดสอบ บันทึกผลข้อมูลในระบบทางกล 1.1 สามารถวัด และบันทึกผลการการติดตั้งระบบทางกลตามแบบพิกัดความเผื่อได้ SI01332.01 134264
SI01332 วัด ทดสอบ บันทึกผลข้อมูลในระบบทางกล 1.2 สามารถวัด และบันทึกผลการปรับตั้งค่าเริ่มต้น (Mastering Position) ระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรม SI01332.02 134265

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) การใช้เครื่องมือวัดทางกล

2) การบันทึกผลการวัด และทดสอบ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) ความรู้พื้นฐานระบบทางกล
2) ระบบทางกลหุ่นยนต์อุตสาหกรรม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
1) แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน
2) ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน
3) ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ
4) ใบรับรองการผ่านงาน
5) แฟ้มสะสมผลงาน
6) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
1) เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน
2) เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม
3) เอกสารการจัดทำคู่มือหรือรายงานโครงการ
4) เอกสารการสอนงาน
5) หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้โดยมุ่งเน้นความเกี่ยวข้องกับการติดตั้ง รื้อถอน ระบบทางกลและการวัด ทดสอบ ในระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
(ง) วิธีการประเมิน
1) ข้อสอบข้อเขียน
2) การสาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ
N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1) เครื่องมือปรับตั้งชิ้นส่วนทางกล หมายถึง ที่วัดระดับน้ำ ตลับเมตร
2) เครื่องมือปรับตั้งความแม่นยำของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เช่น Dial gauge, Laser Tracker
3) ค่าเริ่มต้น Mastering position หมายถึง การกำหนดค่าตำแหน่งพารามิเตอร์ทางเรขาคณิตในโครงสร้างจลนศาสตร์ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม และเพิ่มความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่งของแขนกลของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก
2. การสาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ