หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-MAI-4-086ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          3123   ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงทางรถไฟ ชั้น 4 (Track Maintenance Skilled Technician IV)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการควบคุมการปฏิบัติงาน และตรวจสอบหลังการซ่อมบำรุงทางรถไฟให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้และได้มาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร รวมทั้งสามารถประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และสื่อสาร สั่งการ กำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          3123 หัวหน้าคุมงานด้านการก่อสร้าง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20909.1 ประสานงานและกำกับดูแลการเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางรถไฟ 1) ประสานการปิดพื้นที่เพื่อเข้าปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟได้ตามกระบวนการขององค์กร 20909.1.01 133895
20909.1 ประสานงานและกำกับดูแลการเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางรถไฟ 2) ระบุพิกัดตำแหน่ง/สถานที่ที่จะดำเนินการซ่อมบำรุงทางรถไฟได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน 20909.1.02 133896
20909.1 ประสานงานและกำกับดูแลการเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงคันทางรถไฟ 3) ควบคุมการติดตั้งป้ายเตือนและสิ่งป้องกันอันตรายให้แล้วเสร็จก่อนการปฏิบัติงาน 20909.1.03 133897
20909.2 ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ 1) ควบคุมการขนย้ายเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงทางรถไฟเข้าพื้นที่ปฏิบัติงาน 20909.2.01 133898
20909.2 ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ 2) ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟให้เป็นไปตามมาตรฐานการซ่อมบำรุงทาง 20909.2.02 133899
20909.2 ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ 3) บ่งชี้ความผิดปกติของทางรถไฟได้ 20909.2.03 133900
20909.2 ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ 4) ตัดสินใจ สั่งการและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าระหว่างการซ่อมบำรุงทางรถไฟได้อย่างทันท่วงที 20909.2.04 133901
20909.2 ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ 5) ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟในสภาวะฉุกเฉิน 20909.2.05 133902
20909.3 ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา 1) ประเมินความก้าวหน้าเชิงปริมาณของงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ 20909.3.01 133903
20909.3 ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา 2) วิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึกผลการซ่อมบำรุงทางรถไฟ 20909.3.02 133904
20909.3 ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา 3) จัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงได้ตามรูปแบบขององค์กร 20909.3.03 133905
20909.3 ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา 4) นำเสนอผลการซ่อมบำรุงทางรถไฟต่อผู้บังคับบัญชาได้ตามขั้นตอนขององค์กร 20909.3.04 133906

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000   ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน  



00001   ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย



00002   ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย



00003   ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ  

  2. ทักษะการเป็นหัวหน้างาน

  3. ทักษะการประสานงานในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบ

  5. ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้า

  6. ทักษะการควบคุมงาน

  7. ทักษะการสอนงาน

  8. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของทางรถไฟด้วยสายตา

  9. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของทางรถไฟโดยใช้เครื่องมือ

  10. ทักษะการประเมินความผิดปกติของทางรถไฟ

  11. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  12. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงทาง

  13. ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดทำรายงานและเอกสารนำเสนอ

  14. ทักษะการนำเสนองาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  2. เครื่องมือและเครื่องจักรกลซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  3. ข้อกำหนดและค่ามาตรฐานเกี่ยวกับทางรถไฟ

  4. การควบคุมงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  5. การวางแผนงานการซ่อมบำรุงตามวาระ

  6. กระบวนการขออนุมัติเข้าปฏิบัติงานซ่อมบำรุง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ  



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการซ่อมบำรุงทางรถไฟ หรือ

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงทางรถไฟ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีทักษะในการตรวจวินิจฉัยและประเมินความผิดปกติของทางรถไฟด้วยตาเปล่าและการใช้เครื่องมือ สามารถควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี รวมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยหลังการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน และจัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงได้ตามแบบฟอร์มของหน่วยงาน/สถานประกอบการ  นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การชำรุดของแนวทางอาจเกิดจาก:

    • หินโรยทางมีน้อย

    • อัดหินแน่นไม่สม่ำเสมอกัน

    • หัวต่อรางแคบเกินไป

    • ขันสลักเกลียวต่อรางแน่นเกินไป

    • รางคด

    • ยกโค้งไว้ไม่ถูกต้อง

    • วางรางในทางโค้งโดยไม่ได้รูปค้าที่ถูกต้อง



  2. การตรวจสอบแนวราง:

    • ด้วยตาเปล่า

    • โดยรถตรวจสภาพทาง

    • วัดความถูกต้องของตำแหน่งราง



  3. การวัดค่าความคลาดเคลื่อนของแนวราง (ค.ค.ค.):

    • ทั้งทางตรงและทางโค้ง

    • วัดสอบด้วยเส้นเชือกยาว 10 เมตร

    • วัดสอบทุกระยะ 5 เมตร



  4. ขอบเขตการควบคุมงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ:

    • ประสานงานและกำกับดูแลการเตรียมสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน

    • ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟทั้งในวาระปกติ และวาระฉุกเฉิน

    • ตัดสินใจ สั่งการ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการปฏิบัติงานซ่อมทางรถไฟ

    • ประเมินคุณภาพของงานซ่อมทางรถไฟ

    • วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และนำเสนอผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา



  5. เครื่องมือที่ต้องใช้:

    • Manual Tools

    • Small Power Tools

    • เครื่องมือในงานสำรวจ



  6. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:

    • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

    • การให้สัญญานมือ



  7. การแจ้งข้อมูล:

    • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

    • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

    • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



  8. เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติงาน: 

    • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

    • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

    • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าอละดวงตา เช่น แว่นกันแดด, แว่นตานิรภัย, หน้ากากกันฝุ่น

    • หมวกนิรภัย

    • ถุงมือ

    • รองเท้านิรภัย

    • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

    • ไฟฉาย



  9. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:

    • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

    • คู่มือนายตรวจทาง

    • มาตรฐานการซ่อมบำรุงทางรถไฟ

    • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

    • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

    • คำแนะนำด้านเทคนิค

    • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน 

    • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน 

    • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร 

    • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน

    • ตารางการเดินรถ




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. เครื่องมือประเมินการประสานงาน และกำกับดูแลการเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • สัมภาษณ์

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



  2. เครื่องมือประเมินการควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • สัมภาษณ์

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



  3. เครื่องมือประเมินการตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    • สัมภาษณ์

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)





ยินดีต้อนรับ