หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงหินโรยทาง (Ballast)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-MAI-3-073ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงหินโรยทาง (Ballast)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          3112   ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงทางรถไฟ ชั้น 3 (Track Maintenance Technician III)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการซ่อมบำรุงหินโรยทาง (Ballast) ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยภายใต้นโยบายและข้อกำหนดของสถานที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถจัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงาน และจัดทำเอกสารเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเสร็จสมบูรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          3112 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมโยธา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20904.1 เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงหินโรยทาง 1) เตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงหินโรยทาง (Ballast) ได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน 20904.1.01 133829
20904.1 เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงหินโรยทาง 2) ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงหินโรยทาง (Ballast) 20904.1.02 133830
20904.2 อัดหิน (Tie Tamping) 1) ปรับระดับสันรางให้ได้ทั้งระดับตามยาวและระดับตามขวางก่อนการอัดหิน 20904.2.01 133831
20904.2 อัดหิน (Tie Tamping) 2) เลือกใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการอัดหินได้เหมาะสมกับงาน 20904.2.02 133832
20904.2 อัดหิน (Tie Tamping) 3) อัดหินได้ตามค่าพิกัด/มาตรฐานที่กำหนด 20904.2.03 133833
20904.3 ล้างหิน เพิ่มหิน เกลี่ยและแต่งหิน 1) ทำความสะอาดหินตามขอบเขตพื้นที่ของการทำความสะอาดหินแต่ละระดับ 20904.3.01 133834
20904.3 ล้างหิน เพิ่มหิน เกลี่ยและแต่งหิน 2) เติมหินโรยทางให้เป็นไปตามค่าพิกัด/มาตรฐานที่กำหนด 20904.3.02 133835
20904.3 ล้างหิน เพิ่มหิน เกลี่ยและแต่งหิน 3) เกลี่ยและแต่งหินโรยทางให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด 20904.3.03 133836
20904.4 เปลี่ยนหิน 1) ปาดหินโรยทางเดิมออกโดยใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสม 20904.4.01 133837
20904.4 เปลี่ยนหิน 2) บดอัดและปรับระดับดินพื้นทางเดิมก่อนปูหินโรยทางใหม่ 20904.4.02 133838
20904.4 เปลี่ยนหิน 3) ปูหินโรยทางใต้หมอนให้ได้ความหนาตามค่าพิกัดหรือค่ามาตรฐานที่กำหนด 20904.4.03 133839
20904.4 เปลี่ยนหิน 4) อัดหินโรยทางให้ได้ตามค่าพิกัด/มาตรฐานโดยใช้เครื่องมือ/เครื่องจักรได้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน 20904.4.04 133840
20904.5 ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบำรุง 1) ตรวจสอบความเรียบร้อยหลังการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงหินโรยทาง 20904.5.01 133841
20904.5 ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบำรุง 2) ตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นที่ปฏิบัติงานก่อนเปิดใช้ทาง 20904.5.02 133842
20904.5 ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบำรุง 3) บันทึกผลการซ่อมบำรุงลงในแบบฟอร์มที่กำหนด 20904.5.03 133843

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000   ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน  



00001   ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย



00002   ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย



00003   ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน  

  2. ทักษะการปฏิบัติงานตามคู่มือ/แผนงานในการซ่อมบำรุงหินโรยทางอย่างเคร่งครัด

  3. ทักษะการประสานงานและทำงานร่วมกับผู้อื่นในระหว่างการซ่อมบำรุงหินโรยทางอย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้าในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงหินโรยทาง

  5. ทักษะการอ่านค่าพิกัด/ค่ามาตรฐานต่างๆ ของวัสดุและงานที่เกี่ยวข้อง

  6. ทักษะการใช้เครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงหินโรยทาง

  7. ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบโดยปราศจากการบาดเจ็บของตนเองและผู้อื่น หรือเกิดความเสียหายของเครื่องมือและอุปกรณ์

  8. ทักษะการยกราง-อัดหิน

  9. ทักษะการทำความสะอาดหิน/ล้างหิน  

  10. ทักษะการลงหินโรยทาง  

  11. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  12. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงทาง

  13. ทักษะการเขียนรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  2. ชนิดและขนาดของหินโรยทาง

  3. ค่าพิกัดที่ยอมให้/ค่ามาตรฐานของหินโรยทาง

  4. วิธีการทำความสะอาดหินโรยทาง

  5. การลงหิน อัดหิน และเปลี่ยนหินโรยทาง

  6. เครื่องมือเครื่องจักรที่ต้องใช้ในการลงหินโรยทาง

  7. การรวบรวมข้อมูลและเขียนรายงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ  



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการซ่อมบำรุงทางรถไฟ หรือ

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงทางรถไฟ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถปฏิบัติงานซ่อมบำรุงหินโรย ได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนและมาตรฐานที่กำหนด มีทักษะในการอัดหิน ล้างหิน เพิ่มหิน เกลี่ยและแต่งหิน และเปลี่ยนหิน รวมทั้งสามารถเลือกใช้เครื่องมือเครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเหมาะสม  นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. งานที่เกี่ยวข้องกับหินโรยทาง:

    • งานอัดหิน

    • งานล้างหิน เพิ่มหิน เฉลี่ยและแต่งหินโรยทาง

    • งานเปลี่ยนหินโรยทาง



  2. งานอัดหิน อาจทำโดย:

    • ใช้บิเตอร์มือ

    • ใช้เครื่องอัดหินขนาดเบา เช่น แจ็คสัน สตูเม็ค เป็นต้น

    • ใช้เครื่องจักรกลบำรุงทางหนัก



  3. ค่าพิกัดที่ยอมให้หินพร่องจากหลังหมอน:

    • ทางโค้งรัศมีน้อยกว่า 600 ม. ไม่เกิน 2 ซม.

    • ทางโค้งรัศมีมากกว่า 600 ม. ไม่เกิน 3 ซม.

    • ทางหลีก ไม่เกิน 4 ซม.



  4. ขอบเขตพื้นที่ของการทำความสะอาดหินโรยทาง:

    • ทำความสะอาดหินเฉพาะบริเวณหัวหมอน

    • ทำความสะอาดหินบางส่วน

    • ทำความสะอาดหินทุกส่วน



  5. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้อาจรวมถึง:

    • Hand Tools

    • Ballast Sled

    • คราด (Ballast Forks)



  6. วัสดุอาจรวมถึง:

    • กรวด (Gravel Ballast)

    • หินคลุก (Crushed Rock Ballast)



  7. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:

    • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

    • การให้สัญญานมือ



  8. การแจ้งข้อมูล:

    • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

    • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

    • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



  9. เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติงาน: 

    • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

    • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

    • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา เช่น แว่นกันแดด, แว่นตานิรภัย, หน้ากากกันฝุ่น

    • หมวกนิรภัย

    • ถุงมือ

    • รองเท้านิรภัย

    • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

    • ไฟฉาย

    • ป้ายสัญญานต่างๆ

    • ธงสัญญาน: สีเขียว สีแดง



  10. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:

    • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

    • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

    • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

    • คำแนะนำด้านเทคนิค 

    • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน 

    • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน 

    • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

    • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน 




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. เครื่องมือประเมินการเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง

    1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2.  สัมภาษณ์



  2. เครื่องมือประเมินการอัดหิน

    1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2. สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง



  3. เครื่องมือประเมินการล้างหิน เพิ่มหิน เกลี่ยและแต่งหิน

    1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2. สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง



  4. เครื่องมือประเมินการเปลี่ยนหิน

    1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2. สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง



  5. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบำรุง

    1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

    2. สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง 





ยินดีต้อนรับ