หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastening System)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-MAI-3-070ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastening System)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          3112  ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงทางรถไฟ ระดับ 3 (Track Maintenance Technician III)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastening System) ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยภายใต้นโยบายและข้อกำหนดของสถานที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถจัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastening System) และจัดทำเอกสารเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเสร็จสมบูรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          3112 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมโยธา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
          N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
          N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20901.1 เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง 1) ระบุพิกัดตำแหน่ง/สถานที่ที่จะดำเนินการซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน 20901.1.01 133795
20901.1 เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง 2) เตรียมเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้เหมาะสมกับงาน 20901.1.02 133796
20901.1 เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง 3) เตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการซ่อมบำรุงชุดอุปกรณ์ยึดเหนี่ยวรางได้เหมาะสมกับงาน 20901.1.03 133797
20901.2 ถอดเปลี่ยนเครื่องยึดเหนี่ยวราง 1) ถอดเครื่องยึดเหนี่ยวรางและอุปกรณ์ประกอบรางได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือการติดตั้ง 20901.2.01 133798
20901.2 ถอดเปลี่ยนเครื่องยึดเหนี่ยวราง 2) เปลี่ยนเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้ถูกต้องตามวิธีการที่ระบุในคู่มือการติดตั้ง 20901.2.02 133799
20901.2 ถอดเปลี่ยนเครื่องยึดเหนี่ยวราง 3) ปรับตั้งเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้ตามค่าพิกัด/มาตรฐานที่กำหนด 20901.2.03 133800
20901.3 ปรับตั้งเครื่องยึดเหนี่ยวราง 1) บ่งชี้ความผิดปกติของเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้ 20901.3.01 133801
20901.3 ปรับตั้งเครื่องยึดเหนี่ยวราง 2) ใช้เครื่องมือตรวจสอบหาความผิดปกติของเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้ 20901.3.02 133802
20901.3 ปรับตั้งเครื่องยึดเหนี่ยวราง 3) ปรับตั้งเครื่องยึดเหนี่ยวรางได้ตามค่าพิกัด/มาตรฐานที่กำหนด 20901.3.03 133803
20901.4 ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบำรุง 1) ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องยึดเหนี่ยวรางหลังการปฏิบัติงาน 20901.4.01 133804
20901.4 ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบำรุง 2) ตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นที่ปฏิบัติงานก่อนเปิดใช้ทาง 20901.4.02 133805
20901.4 ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบำรุง 3) บันทึกผลการซ่อมบำรุงลงในแบบฟอร์มที่กำหนด 20901.4.03 133806

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน                                                      



00001  ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย                     



00002  ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย                                                   



00003  ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน                           

  2. ทักษะการปฏิบัติงานตามคู่มือ/แผนการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง         

  3. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ                

  4. ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง         

  5. ทักษะการอ่านค่าพิกัด/ค่ามาตรฐานต่างๆ ของวัสดุและงานที่เกี่ยวข้อง                   

  6. ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบโดยปราศจากการบาดเจ็บของตนเองและผู้อื่น หรือเกิดความเสียหายของเครื่องมือและอุปกรณ์

  7. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง                   

  8. ทักษะการซ่อมแซม/เปลี่ยนเครื่องยึดเหนี่ยวราง                                              

  9. ทักษะการปรับตั้งเครื่องยึดเหนี่ยวราง                                                         

  10. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล                                         

  11. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงทาง                           

  12. ทักษะการเขียนรายงาน                                                                    

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ                                        

  2. วิธีการถอดเปลี่ยนเครื่องยึดเหนี่ยวราง                                                      

  3. ประเภทของเครื่องยึดเหนี่ยวราง                                                             

  4. ส่วนประกอบของอุปกรณ์ประกอบราง                                                      

  5. ข้อกำหนด/มาตรฐานของเครื่องยึดเหนี่ยวราง                                               

  6. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในงานซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง                         

  7. การรวบรวมข้อมูลและเขียนรายงาน                                                         


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ                                 

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ                         

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ                                                          

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ       



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ                                                               

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการซ่อมบำรุงทางรถไฟ หรือ                 

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงทางรถไฟ         



(ค) คำแนะนำในการประเมิน 



          ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้    



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น             

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้สอบสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)                                                                          


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถปฏิบัติงานซ่อมบำรุงเครื่องยึดเหนี่ยวราง (Rail Fastening System) ได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนและมาตรฐานที่กำหนดในคู่มือการปฏิบัติงาน เลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องยึดเหนี่ยวราง และพื้นที่ปฏิบัติงานก่อนเปิดใช้ทาง นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย                   

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้          



(ข)   คำอธิบายรายละเอียด




  1. เครื่องยึดเหนี่ยวรางรวมถึง:

    • เครื่องยึดหมอน (Sleeper Fasteners) 

    • เครื่องยึดเหนี่ยวรางแบบยืดหยุ่นได้

    • อุปกรณ์ประกอบราง 

    • สมอยึดราง



  2. ประเภทของเครื่องยึดเหนี่ยวราง:

    • เครื่องยึดเหนี่ยวรางสำหรับหมอนไม้ เช่น ตะปูราง, ตะปูสปริง, สลักเกลียวปล่อย, Clip wooding, Rex lock in, Lockspikes, ลิ่มพลาสติก, สมอกันรางเดิน สมอกันรางแยก

    • เครื่องยึดเหนี่ยวรางสำหรับหมอนคอนกรีต เช่น RN.Clip, Rex lock in, Hambo, Fist, DE.clip, Vossloh, Pandrol

    • เครื่องยึดเหนี่ยวรางสำหรับหมอนเหล็ก ได้แก่ Rex lock in



  3. ส่วนประกอบของอุปกรณ์ประกอบราง:

    • เหล็กประกับราง (Fishplates)

    • สลักเกลียวต่อราง (Fishbolts)

    • แหวนสปริง (Spring Washers)

    • แหวนกันคลาย

    • วัสดุทางอื่นๆ ได้แก่ จานรองราง และแผ่นยางรองราง



  4. เครื่องมือที่ต้องใช้:

    • Manual Tools

    • Basic Hand Tools

    • Small Power Tools

    • Torque Wrench



  5. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:

    • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

    • การให้สัญญานมือ



  6. การแจ้งข้อมูล:

    • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

    • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

    • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



  7. เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติงาน: 

    • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

    • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

    • อุปกรณ์ป้องกันดวงตา อาทิ แว่นกันแดด, แว่นตานิรภัย, หน้ากากกันฝุ่น

    • หมวกนิรภัย

    • ถุงมือ

    • รองเท้านิรภัย

    • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

    • ไฟฉาย

    • ป้ายสัญญานต่างๆ

    •  ธงสัญญาน: สีเขียว สีแดง



  8. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:

    • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

    • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

    • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

    • คำแนะนำด้านเทคนิค

    • มาตรฐานเครื่องยึดเหนี่ยวราง 

    • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน 

    • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน 

    • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร 

    • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
          N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
          N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. เครื่องมือประเมินการเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุง                           

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       

    • สัมภาษณ์                                                                                       



  2. เครื่องมือประเมินการถอดเปลี่ยนเครื่องยึดเหนี่ยวราง                                              

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       

    • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง

    • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)                                                    



  3. เครื่องมือประเมินการปรับตั้งเครื่องยึดเหนี่ยวราง                                                  

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       

    • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง                                                     



  4. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบำรุง                       

    • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก                                                       

    • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง 





ยินดีต้อนรับ