หน่วยสมรรถนะ
ตรวจวัดพลังงานระบบปรับอากาศ
สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | GPW-EME-3-088ZB |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ตรวจวัดพลังงานระบบปรับอากาศ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2562 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้ปฏิบัติงานตรวจวัดพลังงานไฟฟ้า ISCO-08 2133 เจ้าหน้าที่ข้อมูลและประสานงานด้านอนุรักษ์พลังงาน 2133 นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ 1 2133 ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบและอุปกรณ์ในระบบปรับ อากาศได้อย่างถูกต้อง สามารถตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ประกอบ ก่อนการใช้งาน สามารถตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบและอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย พร้อมทั้งอ่านและบันทึก ผลการวัดพลังงานของระบบและอุปกรณ์ บำรุงรักษาเครื่องมือวัดพลังงานและอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง หลังการใช้งาน |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
-N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
10.1 พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน10.2 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงาน ควบคุมและอาคารควบคุม10.3 กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อ |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
11111 เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ | 1. ใช้เครื่องมือตรวจวัดประสิทธิภาพพลังงานสำหรับระบบทำความเย็นและปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย | 11111.01 | 61387 |
11111 เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ | 2. อ่านค่าและบันทึกค่าที่ได้จากการตรวจวัดประสิทธิภาพพลังงานสำหรับระบบทำความเย็นและปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน | 11111.02 | 61388 |
11111 เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ | 3. บำรุงรักษาเครื่องมือวัดพลังงานสำหรับระบบทำความเย็นและปรับอากาศได้ อย่างถูกต้อง | 11111.03 | 61389 |
11112 ตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ | 1. ใช้เครื่องมือตรวจวัดพลังงานระบบการกระจายอากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย | 11112.01 | 61390 |
11112 ตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ | 2. อ่านค่าและบันทึกค่าที่ได้จากการตรวจวัดพลังงานระบบการกระจายอากาศได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน | 11112.02 | 61391 |
11113 ตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ | 1. ใช้เครื่องมือวัดพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย |
11113.01 | 147950 |
11113 ตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ | 2. อ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน |
11113.02 | 147951 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
-N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ มีความสามารถในการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ 1. การเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ 2. การตรวจวัดการใช้พลังงานระบบปรับอากาศ 3. การตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ (ข) ความต้องการด้านความรู้ มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นในการตรวจวัดเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 2. หลักการคำนวณพื้นฐานทางพลังงาน 3. เครื่องมือวัดพลังงานในระบบปรับอากาศ 4. วิธีการใช้เครื่องมือวัดพลังงานในระบบปรับอากาศ 5. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือวัดพลังงานในระบบปรับอากาศ 6. การเก็บ บำรุง รักษา เครื่องมือวัดพลังงานในระบบปรับอากาศ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ 2. เอกสารรับรองผลการประเมินจากการปฏิบัติงานจริง หรือ 3. แบบบันทึผลการสาธิตการปฏิบัติงาน หรือ 4. แบบบันทึกผลการจำลองสถานการณ์ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. หลักฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือ 2. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านพลังงาน หรือ 3. เอกสารรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือ 4. แบบบันทึกผลการสอบข้อสอบข้อเขียน (ค) คำแนะนำในการประเมิน ประเมินเกี่ยวกับการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ การตรวจวัดการใช้พลังงาน ของระบบปรับอากาศ และการตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ โดยพิจารณาจาก หลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาหลักฐานความรู้ 2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะการ เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ และเครื่องมือวัดอุปกรณ์ในระบบ โดยจะต้องตรวจสอบ ความพร้อมของเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ประกอบที่เลือกก่อนใช้ ลงมือปฏิบัติงานตรวจวัดการใช้พลังงานของ ระบบและอุปกรณ์ อ่านพร้อมทั้งบันทึกค่า โดยหลังการใช้งานเครื่องมือวัดจะต้องบำรุงรักษาเครื่องมือวัดและ อุปกรณ์ประกอบ พร้อมทั้งจัดเก็บอย่างถูกต้อง รายละเอียดในการประเมินในข้อ 18 (ก) คำแนะนำ 1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ ตรวจวัด การใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ และตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ สามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของ ระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้อง เช่น เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้า เครื่องวัดกำลังไฟฟ้า เครื่องวัดความชื้นสัมพัทธ์เครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความเร็วลม เป็นต้น สามารถตรวจสอบความพร้อมของ เครื่องมือวัดพลังงานก่อนการใช้งานได้อย่างถูกต้อง และบำรุงรักษาเครื่องมือวัดพลังงานและอุปกรณ์ประกอบ ได้อย่างถูกต้อง 2. ตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ สามารถใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และสามารถอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของระบบปรับอากาศได้อย่าง ถูกต้องและครบถ้วน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากำลังไฟฟ้า ค่าความเร็วรอบ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ ค่า อุณหภูมิ ค่าความเร็วลม เป็นต้น พร้อมทั้งระบุค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นในการตรวจวัดเพื่อการอนุรักษ์พลังงานได้ 3. ตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ สามารถใช้เครื่องมือวัดพลังงานของ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และสามารถอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัด พลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่า กำลังไฟฟ้า ค่าความเร็วลม ค่าความชื้นสัมพัทธ์ ค่าอุณหภูมิ เป็นต้น พร้อมทั้งระบุค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็นใน การตรวจวัดเพื่อการอนุรักษ์พลังงานได |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
-N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
18.1 เครื่องมือประเมิน เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ 1) ข้อเขียนแบบปรนัย เป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดพลังงานและ ค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ความรู้และความเข้าใจในการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานของ ระบบปรับอากาศ ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดพลังงานก่อนการใช้งานได้อย่าง ถูกต้อง และบำรุงรักษาเครื่องมือวัดพลังงานและอุปกรณ์ประกอบได้อย่างถูกต้อง 2) การสาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการให้ผู้เข้ารับการประเมินสาธิตแสดงการเลือกใช้เครื่องมือ วัดพลังงานที่จะนำไปใช้งานเพื่อวัดพลังงานของระบบปรับอากาศ โดยสาธิตขั้นตอนการ เลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานระบบปรับอากาศ ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัด พลังงานก่อนการใช้งาน และบำรุงรักษาเครื่องมือวัดพลังงานและอุปกรณ์ประกอบ หรือ การจำลองสถานการณ์เป็นการจำลองเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้เครื่องมือวัด พลังงานของระบบปรับอากาศ เพื่อใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมิน โดยให้ผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติการเลือกใช้เครื่องมือวัดพลังงานระบบปรับอากาศ ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดพลังงานก่อนการใช้งาน และบำรุงรักษาเครื่องมือวัด พลังงานและอุปกรณ์ประกอบ 18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจวัดการใช้พลังงานของระบบปรับอากาศ 1) ข้อเขียนแบบปรนัย เป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก ประกอบด้วยรายละเอียดเนื้อหาดังนี้ ความรู้และความเข้าใจในขั้นตอนการใช้เครื่องมือวัด พลังงานของระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จาก การวัดพลังงานของระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ความรู้เกี่ยวกับ ค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากำลังไฟฟ้า ค่าความเร็ว รอบ ค่าความชื้นสัมพัทธ์ ค่าอุณหภูมิ ค่าความเร็วลม เป็นต้น 2) การสาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการให้ผู้เข้ารับการประเมินสาธิตแสดงการตรวจวัดการใช้ พลังงานของระบบปรับอากาศ โดยสาธิตขั้นตอนใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับ อากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของ ระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน หรือ การจำลองสถานการณ์เป็นการจำลองเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดการใช้พลังงาน ของระบบปรับอากาศ เพื่อใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมิน โดยให้ผู้เข้า รับการประเมินปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดพลังงานของระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและ ปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของระบบปรับอากาศได้อย่าง ถูกต้องและครบถ้วน 18.3 เครื่องมือประเมิน ตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ 1) ข้อเขียนแบบปรนัยเป็นการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก ประกอบด้วย รายละเอียดเนื้อหาดังนี้ ความรู้และความเข้าใจในขั้นตอนการตรวจวัดการใช้พลังงานของอุปกรณ์ ในระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงาน ของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ความรู้เกี่ยวกับค่าพารามิเตอร์ที่ เกี่ยวข้อง เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดันไฟฟ้า ค่ากำลังไฟฟ้า ค่าความเร็วรอบ ค่าความชื้น สัมพัทธ์ ค่าอุณหภูมิ ค่าความเร็วลม เป็นต้น 2) การสาธิตการปฏิบัติงาน เป็นการให้ผู้เข้ารับการประเมินสาธิตแสดงการตรวจวัดการใช้ พลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ โดยสาธิตขั้นตอนใช้เครื่องมือวัดพลังงานของ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จาก การวัดพลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน หรือ การจำลองสถานการณ์เป็นการจำลองเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดการใช้พลังงาน ของอุปกรณ์ในระบบปรับอากาศ เพื่อใช้ในการประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมิน โดยให้ผู้เข้ารับการประเมินปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดพลังงานของอุปกรณ์ในระบบปรับ อากาศได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย และอ่านและบันทึกค่าที่ได้จากการวัดพลังงานของ อุปกรณ์ในระบบปรับอากาศได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน |