หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาระบบท่อส่งไอน้ำ (Power Piping)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-267ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาระบบท่อส่งไอน้ำ (Power Piping)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษาหม้อไอน้ำ ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถควบคุมการตรวจสภาพ  ควบคุมงานซ่อมแก้ไข รวมถึงควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 1. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 25512. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร  จัดการ  และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ.  25583. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร  จัดการ  และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.  25564. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  ปนจั่น  และหม้อน้ำ พ.ศ.  25525. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 25476. กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและตรวจทดสอบหม้อไอน้ำ7. มาตรฐานการดำเนินการและการทดสอบ เช่น ASME  AWS  ISO8. กฏหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC06-5-010-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

1. อ่าน P&ID และ Pipe Isometric Diagram ของระบบท่อส่งไอน้ำได้

PGS-MC06-5-010-01.01 152141
PGS-MC06-5-010-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

2. วางแผนจัดลำดับขั้นตอนการทำงาน และวิธีการตรวจสภาพอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-010-01.02 152142
PGS-MC06-5-010-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

3. เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-010-01.03 152143
PGS-MC06-5-010-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

4. ตรวจสภาพ  Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger ตามที่กำหนด

PGS-MC06-5-010-01.04 152144
PGS-MC06-5-010-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

5. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายผลการตรวจสอบเมื่อพบความเสียหาย

PGS-MC06-5-010-01.05 152145
PGS-MC06-5-010-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

6. จำแนกชนิดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger ได้

PGS-MC06-5-010-01.06 152146
PGS-MC06-5-010-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

7. รายงานการตรวจสภาพอุปกรณ์ และความเสียหายที่เกิดขึ้น

PGS-MC06-5-010-01.07 152147
PGS-MC06-5-010-02 ควบคุมงานซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

1. วางแผนจัดลำดับขั้นตอนการซ่อมแก้ไขอุปกรณ์ที่เสียหาย

PGS-MC06-5-010-02.01 152148
PGS-MC06-5-010-02 ควบคุมงานซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

2. จัดหาและเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือและอะไหล่สำหรับการปฏิบัติงาน

PGS-MC06-5-010-02.02 152149
PGS-MC06-5-010-02 ควบคุมงานซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

3. ประเมินความเสี่ยงในการทำงานก่อนเข้าปฏิบัติงาน

PGS-MC06-5-010-02.03 152150
PGS-MC06-5-010-02 ควบคุมงานซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

4. ควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger ตามแผนที่กำหนด

PGS-MC06-5-010-02.04 152151
PGS-MC06-5-010-02 ควบคุมงานซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

5. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบคุณภาพงานตามข้อกำหนด

PGS-MC06-5-010-02.05 152152
PGS-MC06-5-010-02 ควบคุมงานซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

6. รายงานการตรวจสภาพอุปกรณ์ และความเสียหายที่เกิดขึ้น

PGS-MC06-5-010-02.06 152153
PGS-MC06-5-010-03 ควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

1. วางแผนจัดลำดับขั้นตอนการดำเนินการในการทดสอบอุปกรณ์

PGS-MC06-5-010-03.01 152154
PGS-MC06-5-010-03 ควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

2. เครื่องมือสำหรับการปฏิบัติงานทดสอบ

PGS-MC06-5-010-03.02 152155
PGS-MC06-5-010-03 ควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

3. ประเมินความเสี่ยงในการทำงานก่อนเข้าปฏิบัติงาน

PGS-MC06-5-010-03.03 152156
PGS-MC06-5-010-03 ควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการปฏิบัติงาน

PGS-MC06-5-010-03.04 152157
PGS-MC06-5-010-03 ควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

5. ควบคุมการปฏิบัติงานทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger ได้อย่างปลอดภัย

PGS-MC06-5-010-03.05 152158
PGS-MC06-5-010-03 ควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

6. รายงานผลการปฏิบัติงานการทดสอบและปรับค่าตามข้อกำหนด

PGS-MC06-5-010-03.06 152159

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)




  1. ทักษะการวางแผนการทำงานและจัดกำลังคนในงานบำรุงรักษา Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

  2. ทักษะการควบคุมการตรวจสภาพ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

  3. ทักษะการแยกแยะลักษณะความเสียหายของอุปกรณ์เบื้องต้นได้  โดย Visual Inspection

  4. ทักษะการถควบคุมงาน ซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger ที่พบความเสียหาย

  5. ทักษะการประเมินความเสี่ยงและควบคุมในการทำงานได้อย่างปลอดภัยทั้งด้านทรัพย์สินและบุคคล

  6. ทักษะการจัดทำรายงานการตรวจสภาพ การซ่อมแก้ไข และสรุปผลได้



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)




  1. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

  2. ทักษะนำเสนอผลงาน

  3. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

  4. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ด้านหลักการของงานบำรุงรักษา (Maintenance Concept)

  2. ความรู้ด้านมาตฐานการออกแบบ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger เบื้องต้น

  3. ความรู้ด้านหน้าที่และหลักการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

  4. ความรู้ด้านการตรวจสอบและปรับตั้ง Pipe Support, Pipe Hanger

  5. ความรู้ด้านการอ่านแบบ และวงจรการทำงานอุปกรณ์ หม้อไอน้ำ

  6. ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานบำรุงรักษาหม้อไอน้ำ

  7. ความรู้ด้านวัสดุ (Material) อุตสาหกรรม และมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

  8. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะความเสียหาย (Failure Mode) ของ B Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger และการแก้ไข

  9. ความรู้ในการวางแผนงานบำรุงรักษา

  10. ความรู้ด้านงานเชื่อมโลหะเบื้องต้น

  11. ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือกล เครื่องมือวัดละเอียด

  12. ความรู้ด้านวิธีการทดสอบวัสดุ แบบทำลายและไม่ทำลาย

  13. ความรู้ด้านการตรวจสอบและทดสอบอุปกรณ์

  14. ความรู้ด้านการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมความปลอดภัยในลักษณะงานเฉพาะ

  15. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

  16. ความรู้ความสามารถด้านการใช้โปรแกรมเอกสารบนคอมพิวเตอร์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ





  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม




  5. หลักฐานการอบรมหลักสูตรความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะความรู้พื้นฐานโรงไฟฟ้า





(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ





  1. หลักฐานการศึกษา




  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)




  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 




  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)





(ค) คำแนะนำในการประเมิน



        ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



       1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



       2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการบำรุงรักษาระบบท่อส่งไอน้ำ (Power Piping)และอุปกรณ์ประกอบ 



(ก) คำแนะนำ



     ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษาอุปกรณ์ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger โดยต้องทราบถึงหลักของการดำเนินการของงานบำรุงรักษา การบันทึกข้อมูลและจัดทำรายงานอย่างครบถ้วน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ส่วนประกอบ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger ได้แก่ Water Pipe ในระบบ Feed Water  Steam Pipe  พร้อมทั้ง Pipe Support, Pipe Hanger ของท่อกลุ่มดังกล่าวด้วย

  2. เครื่องมือ เช่น เครื่องมือในการตรวจสอบระดับ และตำแหน่งของ Pipe ในขณะ Hot และ Cold Condition เครื่องมือในการตรวจสอบ Spring Hanger เป็นต้น

  3. วิธีการตรวจสภาพอุปกรณ์ ได้แก่การตรวจสภาพโดยพินิจ หรือโดยใช้สายตา และการตรวจสภาพโดยไม่ทำลาย เช่นการตรวจสอบแนวเชื่อมโดย Penetrant Testing (PT)  Ultrasonic Testing  (UT) และ Magnetic Testing (MT)  วิธีการตรวจสอบระดับและตำแหน่งของ Pipe ในขณะ Hot และ Cold Condition

  4. ลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger เช่น การกัดกร่อน (Corrosion) การเสียรูป (Deform) การแตก (Crack) ความเสียจากความร้อน (Thermal Damage) การขยายตัวไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ เป็นต้น

  5. จัดหาและเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือและอะไหล่ คือสามารถเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการตรวจสภาพ ตามลักษณะความเสียหายที่คาดว่าจะพบ และจัดเตรียมอะไหล่ในการแก้ไขหากพบความเสียหายได้ถูกต้อง

  6. ประเมินความเสี่ยงในการทำงาน ต้องสามารถเข้าใจวิธีการทำงาน และประเมินแหล่งกำเนิดอันตรายจากการทำงาน โอกาสในการเกิด และผลกระทบหากเกิดอันตรายนั้นๆ และสามารถควบคุม หรือกำจัดความเสี่ยงนั้นๆ ได้

  7. จัดหาและเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการปฏิบัติงานทดสอบ คือสามารถเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทดสอบ เช่นหากทำการเชื่อมต้องรู้ว่าจะตรวจสอบแนวเชื่อมในเรื่องใดบ้าง รวมถึงกำหนดวิธีการ และเครื่องมืออย่างไร

  8. งานควบคุมการตรวจสภาพ  Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger คือ การปฏิบัติงานในการตรวจสภาพผู้ควบคุมงานจะต้องอ่านแบบของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger  ของระบบหม้อไอน้ำได้และดำเนินวางแผนจัดลำดับขั้นตอนการทำงาน และเลือกวิธีการตรวจสภาพอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จำแนกลักษณะความเสียหาย ความผิดปกติ และสามารถนำผลจากการรวจสอบบันทึกและรายงาน พร้อมเตรียมงานแก้ไขได้ตามลำดับ

  9. งานควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger ที่พบความเสียหาย คือการวางแผนจัดลำดับขั้นตอนการซ่อมแก้ไข         จัดหาและเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือและอะไหล่ก่อนดำเนินการตรวจสอบ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger ตามแผนที่กำหนด หากพบความเสียหายเพิ่มสามารถประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายผลการตรวจสอบความเสียหาย สามารถปรับตั้ง และแก้ไขความผิดปกติได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน การควบคุมการตรวจสภาพ  Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมการตรวจสภาพ  Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมการตรวจสภาพ  Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเตรียมงานบำรุงรักษาระบบเผาไหม้ โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



18.2 เครื่องมือประเมิน การควบคุมงานซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมงานซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมงานซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมงานซ่อมแก้ไข Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



18.3 เครื่องมือประเมิน การควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบการทำงานของ Pipe, Pipe Support, Pipe Hanger โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



 



 



ยินดีต้อนรับ