หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาระบบท่อหม้อไอน้ำ (Boiler Tube & Header)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-265ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาระบบท่อหม้อไอน้ำ (Boiler Tube & Header)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษาหม้อไอน้ำ ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถควบคุมงานบำรุงรักษาระบบท่อหม้อไอน้ำ บำรุงรักษาภาชนะรับแรงดัน บำรุงรักษาระบบท่อส่งไอน้ำ บำรุงรักษาระบบเผาไหม้ของหม้อไอน้ำ รวมถึงบำรุงรักษาระบบเป่าเขม่าเพื่อทำความสะอาดท่อหม้อไอน้ำได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
 1. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 25512. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร  จัดการ  และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ.  25583. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร  จัดการ  และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.  25564. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร  ปนจั่น  และหม้อน้ำ พ.ศ.  25525. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 25476. กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและตรวจทดสอบหม้อไอน้ำ7. มาตรฐานการดำเนินการและการทดสอบ เช่น ASME  AWS  ISO8. กฏหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC06-5-008-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header

1. อ่าน P&ID และ Boiler Sectional Drawing ของระบบหม้อไอน้ำได้

PGS-MC06-5-008-01.01 152104
PGS-MC06-5-008-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header

2. วางแผนจัดลำดับขั้นตอนการทำงาน และวิธีการตรวจสภาพอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-008-01.02 152105
PGS-MC06-5-008-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header

3. เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-008-01.03 152106
PGS-MC06-5-008-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header

4. ตรวจสอบ Boiler Tube และ Header ได้ตามแผนที่กำหนด

PGS-MC06-5-008-01.04 152107
PGS-MC06-5-008-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header

5. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขยายผลการตรวจสอบเมื่อพบความเสียหาย

PGS-MC06-5-008-01.05 152108
PGS-MC06-5-008-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header

6. จำแนกชนิดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ Tube หรือ Header ได้

PGS-MC06-5-008-01.06 152109
PGS-MC06-5-008-01 ควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header

7. รายงานการตรวจสภาพอุปกรณ์ และความเสียหายที่เกิดขึ้น

PGS-MC06-5-008-01.07 152110
PGS-MC06-5-008-02 ควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย

1. วางแผนจัดลำดับขั้นตอนการซ่อมแก้ไขอุปกรณ์ที่เสียหาย

PGS-MC06-5-008-02.01 152111
PGS-MC06-5-008-02 ควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย

2. จัดหาและเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือและอะไหล่สำหรับการปฏิบัติงาน

PGS-MC06-5-008-02.02 152112
PGS-MC06-5-008-02 ควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย

3. ประเมินความเสี่ยงในการทำงานก่อนเข้าปฏิบัติงาน

PGS-MC06-5-008-02.03 152113
PGS-MC06-5-008-02 ควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย

4. ควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข boiler Tube และ Header ตามข้อกำหนด

PGS-MC06-5-008-02.04 152114
PGS-MC06-5-008-02 ควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย

5. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบคุณภาพงานตามข้อกำหนด

PGS-MC06-5-008-02.05 152115
PGS-MC06-5-008-02 ควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย

6. รายงานผลการปฏิบัติงานซ่อมและแก้ไข

PGS-MC06-5-008-02.06 152116
PGS-MC06-5-008-03 ควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test

1. วางแผนจัดลำดับขั้นตอนการดำเนินการทำ  Hydrostatic Test

PGS-MC06-5-008-03.01 152117
PGS-MC06-5-008-03 ควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test

2. จัดหาและเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการปฏิบัติงานทดสอบ

PGS-MC06-5-008-03.02 152118
PGS-MC06-5-008-03 ควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test

3. ประเมินความเสี่ยงในการทำงานก่อนเข้าปฏิบัติงาน

PGS-MC06-5-008-03.03 152119
PGS-MC06-5-008-03 ควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test

4. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนการปฏิบัติงาน

PGS-MC06-5-008-03.04 152120
PGS-MC06-5-008-03 ควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test

5. ควบคุมการปฏิบัติงานในการทำ  Hydrostatic Test ได้อย่างปลอดภัย

PGS-MC06-5-008-03.05 152121
PGS-MC06-5-008-03 ควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test

6. รายงานผลการปฏิบัติงานการทำ  Hydrostatic Test

PGS-MC06-5-008-03.06 152122

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  1.  



1. ความรู้ด้านเครื่องจักรกล 



2. ความรู้ด้านหลักการของงานบำรุงรักษา (Maintenance Concept)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)




  1. ทักษะการอ่าน P&ID และ Boiler Sectional Drawing ของระบบหม้อไอน้ำ

  2. ทักษะการวางแผนการทำงานและจัดกำลังคนในงานบำรุงรักษาระบบท่อหม้อไอน้ำ

  3. ทักษะการควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube และ Header

  4. ทักษะแยกแยะลักษณะความเสียหายของอุปกรณ์เบื้องต้น  โดย Visual Inspection

  5. ทักษะควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข เชื่อม Boiler Tube และ Header

  6. ทักษะควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test

  7. ทักษะประเมินความเสี่ยงและควบคุมในการทำงานได้อย่างปลอดภัยทั้งด้านทรัพย์สินและบุคคล

  8. ทักษะจัดทำรายงานการตรวจสภาพ การซ่อมแก้ไข และสามารถนำเสนอผลสรุปได้

  9. ทักษะการใช้งานด้านเครื่องมือกลและเครื่องมือวัด เช่น เครื่องมือลมต่าง ๆ เครื่องเจียรเครื่องวัดความหนา ไม้บรรทัดเหล็ก ตลับเมตร เวอร์เนียร์เป็นต้น

  10. ทักษะการจัดเตรียมชิ้นส่วนอะไหล่ และวัดสุสิ้นเปลื้องสำหรับงานบำรุงรักษาระบบท่อหม้อไอน้ำ

  11. ทักษะการสรุปงาน



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)




  1. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

  2. ทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน 

  3. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

  4. ทักษะการนำเสนอผลงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. หลักการตรวจสภาพ Boiler Tube และ Header

  2. หลักการตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header

  3. ความรู้ด้านมาตฐานการออกแบบอุปกรณ์และระบบหม้อไอน้ำ เบื้องต้น

  4. ความรู้ด้านหน้าที่และหลักการทำงานของ Boiler Tube, Header

  5. ความรู้ด้านการอ่านแบบ และวงจรการทำงานอุปกรณ์ หม้อไอน้ำ

  6. ความรู้ด้านวัสดุ (Material) อุตสาหกรรม

  7. ความรู้เกี่ยวกับลักษณะความเสียหาย (Failure Mode) ของ Boiler Tube, Headerและการแก้ไข

  8. ความรู้ในการวางแผนงานบำรุงรักษา

  9. ความรู้ด้านงานเชื่อมโลหะ

  10. ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือกล เครื่องมือวัดละเอียด

  11. ความรู้ด้านวิธีการทดสอบวัสดุ แบบทำลายและไม่ทำลาย

  12. ความรู้ด้านการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test

  13. ความรู้ด้านการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมความปลอดภัยในลักษณะงานเฉพาะ

  14. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

  15. ความรู้ความสามารถด้านการใช้โปรแกรมเอกสารบนคอมพิวเตอร์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ



1. หลักฐานการศึกษา



2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)



3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)



4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 



5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



         ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



      1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



      2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการบำรุงรักษาระบบท่อหม้อไอน้ำ ประกอบด้วย ควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube และHeader ควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย และควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test



(ก) คำแนะนำ



     ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษาระบบท่อหม้อไอน้ำ (Boiler Tube & Header)  โดยต้องทราบถึงหลักของการดำเนินการของงานบำรุงรักษา การบันทึกข้อมูลและจัดทำรายงานอย่างครบถ้วน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ส่วนประกอบระบบท่อหม้อไอน้ำในส่วน ท่อ และ Header ประกอบด้วย ท่อ Economizer, ท่อ Evaporator หรือท่อ Water Wall, ท่อ Superheater และท่อ Reheater รวมถึง  Header ต่างๆ ที่ต่ดกับชุดท่อแต่ละชุด

  2. เครื่องมือ เช่น เครื่องมือที่ใช้ในการเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ เครื่องมือทำความสะอาด เครื่องเจียร เครื่องมือลมต่างๆ  และเครื่องมือวัด เช่นเครื่องวัดความหนา เป็นต้น

  3. วิธีการตรวจสภาพอุปกรณ์ ได้แก่การตรวจสภาพโดยพินิจ หรือโดยใช้สายตา และการตรวจสภาพโดยไม่ทำลาย เช่นการตรวจสอบแนวเชื่อมโดย Penetrant Testing (PT)  Ultrasonic Testing  (UT) และ Magnetic Testing (MT)

  4. ลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ Tube หรือ Header เช่น การสึกกร่อน(Erosion) การกัดกร่อน (Corrosion) การบวม (Swelling) การเสียรูป (Deform) การแตก (Crack) ความเสียจากความร้อน (Thermal Damage) การล้า (Fatigue) เป็นต้น

  5. จัดหาและเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือและอะไหล่ คือสามารถเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการตรวจสภาพ ตามลักษณะความเสียหายที่คาดว่าจะพบ และจัดเตรียมอะไหล่ในการแก้ไขหากพบความเสียหายได้ถูกต้อง

  6. ประเมินความเสี่ยงในการทำงาน ต้องสามารถเข้าใจวิธีการทำงาน และประเมินแหล่งกำเนิดอันตรายจากการทำงาน โอกาสในการเกิด และผลกระทบหากเกิดอันตรายนั้นๆ และสามารถควบคุม หรือกำจัดความเสี่ยงนั้น ๆ ได้

  7. จัดหาและเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการปฏิบัติงานทดสอบ คือสามารถเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทดสอบ เช่นหากทำการเชื่อมต้องรู้ว่าจะตรวจสอบแนวเชื่อมในเรื่องใดบ้าง รวมถึงกำหนดวิธีการ และเครื่องมืออย่างไร

  8. การควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test หมายถึง การวางแผนการดำเนินการทำ  Hydrostatic Test ตามลำดับขั้นตอนตามคู่มือกำหนด ในการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการปฏิบัติงานก่อนทดสอบต้องมีการประเมินความเสี่ยงในการทำงาน เพื่อการทดสอบที่จะต้องมีความปลอดภัยทุกครั้ง ประสานงานผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการ  บันทึกผลการทดสอบและจัดทำรายงานให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงไฟฟ้าและสอดคล้องกับมาตรฐานและกฎหมายที่กำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1.  



18.1 เครื่องมือประเมิน การควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการตรวจสภาพ Boiler Tube, Header โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



18.2 เครื่องมือประเมิน การควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมงานตัดเปลี่ยน ซ่อมแก้ไข Boiler Tube, Header ที่พบความเสียหาย โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



18.3 เครื่องมือประเมิน การควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การปฏิบัติงานควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำ Hydrostatic Test

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการทดสอบอุปกรณ์ด้วยการทำHydrostatic Test โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



 



 



ยินดีต้อนรับ