หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า (Air Inlet Section)

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EGS-5-259ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า (Air Inlet Section)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษากังหันแก๊ส ระดับ 5



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถเตรียมงานการถอดชิ้นส่วนในระบบนำอากาศเข้าในส่วนที่กีดขวางการยก Gas Turbine Compressor Casing ออก โดยสามารถวางแผนการใช้และควบคุมกำลังคนเพื่อเข้าปฏิบัติงานให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ปรากฎใน Instruction manual ใน Section ของ ควบคุมการถอด-ประกอบ Inlet Duct กำหนด List รายการเครื่องมือ และเครื่องมือพิเศษที่ต้องใช้ในแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถตรวจสภาพของอุปกรณ์ เช่น Bolt & Nut สภาพความเสียหายของ Duct เป็นต้น ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนชิ้นส่วน เพื่อให้ Inlet Duct มีสภาพพร้อมในการกลับเข้าใช้งานได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พลังงานและพลังงานทดแทน สาขางานระบบผลิตไฟฟ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ.  25562. กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.  25523.  กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 25474.  มาตรฐานการดำเนินการและการทดสอบ 5. มาตรฐานการทำงานบนที่สูง การตรวจสอบนั่งร้าน6. กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PGS-MC06-5-003-01 เตรียมงานบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า

1. อธิบายขั้นตอนการทำงาน ข้อควรระวังที่กำหนดไว้ในคู่มือ ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-003-01.01 152008
PGS-MC06-5-003-01 เตรียมงานบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า

2. อธิบายวิธีใช้งาน ข้อควรระวังในการใช้งาน การบันทึกค่า สำหรับเครื่องมือ และเครื่องมือวัดที่ต้องใช้ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-003-01.02 152009
PGS-MC06-5-003-01 เตรียมงานบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า

3.  อ่านแบบเครื่องกลและคู่มือของกังหันแก๊สสำหรับระบบนำอากาศเข้าสำหรับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-003-01.03 152010
PGS-MC06-5-003-01 เตรียมงานบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า

4.  วางแผนกำลังคนให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ต้องใช้ในการบำรุงรักษา เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายและมีความปลอดภัยกับทีมงาน และอุปกรณ์

PGS-MC06-5-003-01.04 152011
PGS-MC06-5-003-01 เตรียมงานบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า

5. วางแผนการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ  และสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงาน

PGS-MC06-5-003-01.05 152012
PGS-MC06-5-003-02 ควบคุมการถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Disassembly and Remove)

1. อธิบายขั้นตอนการถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้าได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-003-02.01 152013
PGS-MC06-5-003-02 ควบคุมการถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Disassembly and Remove)

2. เลือกและเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงานถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้าได้อย่างถูกต้องตามคู่มือ กฎระเบียบความปลอดภัยและข้อแนะนำของวิศวกรควบคุมงาน

PGS-MC06-5-003-02.02 152014
PGS-MC06-5-003-02 ควบคุมการถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Disassembly and Remove)

3. ควบคุมการถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้าให้ถูกต้องตามขั้นตอนและปลอดภัย

PGS-MC06-5-003-02.03 152015
PGS-MC06-5-003-03 ควบคุมการตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้า (Inspection)

1. อธิบายขั้นตอนการตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้าที่ต้องดำเนินการได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-003-03.01 152016
PGS-MC06-5-003-03 ควบคุมการตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้า (Inspection)

2. เลือกและเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงานตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้าที่ต้องดำเนินการได้ถูกต้องตามคู่มือและข้อแนะนำของวิศวกรควบคุมงาน

PGS-MC06-5-003-03.02 152017
PGS-MC06-5-003-03 ควบคุมการตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้า (Inspection)

3. ควบคุมการตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้าให้ถูกต้องตามขั้นตอนและปลอดภัย

PGS-MC06-5-003-03.03 152018
PGS-MC06-5-003-03 ควบคุมการตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้า (Inspection)

4. วิเคราะห์แนวทางแก้ไขความผิดปกติของระบบนำอากาศเข้า

PGS-MC06-5-003-03.04 152019
PGS-MC06-5-003-04 ควบคุมการตั้งค่า การปรับแก้ไข และซ่อมแซมระบบนำอากาศเข้า (Set up and Corrective adjust)

1. อธิบายขั้นตอนการตั้งค่าและปรับแก้ไขระบบนำอากาศเข้าได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-003-04.01 152020
PGS-MC06-5-003-04 ควบคุมการตั้งค่า การปรับแก้ไข และซ่อมแซมระบบนำอากาศเข้า (Set up and Corrective adjust)

2. เลือกและเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงานตั้งค่าและปรับแก้ไขระบบนำอากาศเข้าได้ถูกต้องตามคู่มือและข้อแนะนำของวิศวกรควบคุมงาน

PGS-MC06-5-003-04.02 152021
PGS-MC06-5-003-04 ควบคุมการตั้งค่า การปรับแก้ไข และซ่อมแซมระบบนำอากาศเข้า (Set up and Corrective adjust)

3. จัดเตรียมพื้นที่การทำงาน สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงานและเตรียมชิ้นงานเบื้องต้น ตามข้อกำหนดที่ได้รับจากหน่วยงานซ่อมแซม อื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-003-04.03 152022
PGS-MC06-5-003-04 ควบคุมการตั้งค่า การปรับแก้ไข และซ่อมแซมระบบนำอากาศเข้า (Set up and Corrective adjust)

4. ควบคุมการตั้งค่า การปรับแก้ไขและซ่อมแซมระบบนำอากาศเข้าให้ถูกต้องตามขั้นตอนและปลอดภัย

PGS-MC06-5-003-04.04 152023
PGS-MC06-5-003-05 ควบคุมการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Assembly and Install)

1. อธิบายขั้นตอนการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้าได้อย่างถูกต้อง

PGS-MC06-5-003-05.01 152024
PGS-MC06-5-003-05 ควบคุมการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Assembly and Install)

2. เลือกและเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติงานประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้าได้อย่างถูกต้องตามคู่มือ กฎระเบียบความปลอดภัยและข้อแนะนำของวิศวกรควบคุมงาน

PGS-MC06-5-003-05.02 152025
PGS-MC06-5-003-05 ควบคุมการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Assembly and Install)

3. ควบคุมการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้าให้ถูกต้องตามขั้นตอนและปลอดภัย

PGS-MC06-5-003-05.03 152026
PGS-MC06-5-003-05 ควบคุมการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Assembly and Install)

4. สรุปและรายงานผลการบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้าได้ถูกต้องครบถ้วน

PGS-MC06-5-003-05.04 152027

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  1.  



1. ความรู้เกี่ยวกับกันหันแก๊ส (Gas Turbine) ประกอบด้วย หลักการทำงานของกังหันแก๊ส และ โครงสร้างอุปกรณ์ภายใน โดยแต่ละอุปกรณ์ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกันอย่าง



2. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุศาสตร์ ประกอบด้วย หลักการขยายตัวของโลหะ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่อได้รับความร้อน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการทำงานด้านเทคนิค (Technical Skills)




  1. ทักษะอ่านแบบเครื่องกลและคู่มือ

  2. ทักษะการวางแผนกำลังคนและการเข้าทำงาน

  3. ทักษะการควบคุมการปฏิบัติงานบำรุงรักษา

  4. ทักษะการใช้เครื่องมือ เช่น รอก สลิง ประแจ เป็นต้น

  5. ทักษะการใช้เครื่องมือวัด เช่น เวอร์เนียร์ หวีวัดเกลียว เป็นต้น

  6. ทักษะการใช้เครื่องมือพิเศษ (Spectal Tool) เช่น Beam สำหรับยก Casing หรือ เครื่องมือถอด Bolt พิเศษ

  7. ทักษะถ่ายทอดและสอนงานบำรุงรักษา

  8. ทักษะการจัดเตรียมชิ้นส่วนอะไหล่ และวัสดุสิ้นเปลือง

  9. ทักษะการสรุปงาน



ทักษะในการทำงาน (Soft Skills)




  1. ทักษะการติดต่อประสานงาน

  2. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

  3. ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน

  4. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น (Team Working)

  5. ทักษะการนำเสนองาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ข้อควรระวังที่กำหนดไว้ในคู่มือ

  2. วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องมือวัด และเครื่องมือพิเศษ (Spectal Tool) สำหรับงานบำรุงรักษา

  3. ขั้นตอนการถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วน

  4. ขั้นตอนการตรวจสอบ

  5. ขั้นตอนการตั้งค่าและปรับแก้ไข

  6. ขั้นตอนการซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วน

  7. ขั้นตอนการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วน

  8. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

  9. ความรู้เกี่ยวกับงานยก งานเคลื่อนย้ายอุปกรณ์

  10. ความรู้เกี่ยวกับสัญญาเกี่ยวกับงานบำรุงรักษากังหันแก๊ส

  11. คำศัทพ์ภาษาอังกฤษทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน

  12. ความรู้ความสามารถด้านการใช้โปรแกรมเอกสารบนคอมพิวเตอร์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ





  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)




  4. หลักฐานการอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) โดยไม่ต้องประเมินในหน่วยสมรรถนะ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม





 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ





  1. หลักฐานการศึกษา




  2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)




  3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)




  4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี) 




  5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) การปฏิบัติงาน (ถ้ามี)





(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ประเมินเข้ารับการประเมินสามารถนำหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้มาประกอบในการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลตามรายละเอียดที่แสดงใน check-list รายการ



(ง) วิธีการประเมิน



        1. พิจารณาหลักฐานความรู้ ที่ผู้เข้ารับการประเมินนำมาแสดง เช่น ใบรับรองฯ



        2. พิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงาน แสดงหลักฐานการผ่านการอบรม/ใบรับรองจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

        ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะถูกประเมินทักษะในการดำเนินการบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้าของกังหันแก๊ส ประกอบด้วยการเตรียมงานบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า ถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า ตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้า ตั้งค่าและปรับแก้ไขระบบนำอากาศเข้า ซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า และประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า



(ก) คำแนะนำ



      ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า (Air Inlet Section) โดยต้องทราบถึงขั้นตอนของการถอดประกอบชิ้นส่วนที่กีดขวางการยก Casing ของเครื่องกังหันแก๊ส การ Set up Sling & Come along บน Lifting Beam รวมทั้งการใช้เครื่องมือในการถอด Bolt & Nut ได้อย่างปลอดภัย ควบคุมการยกชิ้นส่วนดังกล่าวโดยประสานการทำงานร่วมกับ Overhead Crane Operator ในระหว่างการ remove & Install ได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย รวมทั้งสามารถตรวจสภาพความเสียหายของชิ้นส่วนอุปกรณ์ในระบบ เพื่อพิจารณาซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ ทั้งนี้เพื่อให้อุปกรณ์มีความปลอดภัยไม่เกิดการแตกหักชำรุดระหว่างการเดินเครื่อง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ส่วนประกอบระบบนำอากาศเข้ากังหันแก๊ส ประกอบด้วย Inlet Duct, Inlet Screen, Inlet Plenum และ Inlet Casing

  2. แบบเครื่องกลและคู่มือ ประกอบด้วย Instruction Manual, WI, AAR-BAR และ Inspection Sheet

  3. หน่วยงานต่างๆ คือ หน่วยงานอื่นที่ต้องประสานงานหรือขอสนับสนุนเพื่อให้งานดำเนินการได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น ประสานหน่วยงานเดินเครื่องเพื่อขอเปิด Work Order, ประสานหน่วยงานทางไฟฟ้าเพื่อถอดอุปกรณ์ Instrument, ประสานงานหน่วยงานทดสอบ เพื่อทำการทดสอบวัสดุ เป็นต้น

  4. การเลือกและเตรียมเครื่องมือ คือ สามารถ List เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรมการถอด, ตรวจสอบ, ซ่อมแซม และประกอบ ทั้งหมดได้อย่างถูกต้อง เช่น งานยกอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักประมาณ 10 ton จุดยก 4 จุด จะต้องใช้ รอกขนาด 5 ton, สลิง 5 ton และ Shackle 5 ton อย่างละ 4 ตัว (จะต้องอ้างอิงจาก Instruction Manual เป็นหลัก) เป็นต้น

  5. เครื่องมือ (Standard Tool) คือ เครื่อมือทั่วไปที่ใช้ในการถอด-ประกอบ อุปกรณ์

  6. เครื่องมือวัด ใช้สำหรับสนับสนุนงาน ถอด-ตรวจสอบ-ประกอบ และอื่นๆ เช่น Vanier Caliper, Inside และ Outside Micrometer เป็นต้น

  7. เครื่องมือพิเศษ (Special Tool) คือ เครื่องมือที่ออกแบบมาทำงานเฉพาะอุปกรณ์นั้นๆ อาจจะมีมาตั้งแต่ติดตั้งเครื่อง หรือสร้างขึ้นมาใหม่ เช่น Beam สำหรับยกอุปกรณ์ หรือ เครื่องมือสำหรับถอด Bolt พิเศษ เป็นต้น

  8. สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การขอใช้รถ Folk Lift รถบรรทุก  ไฟฟ้า  Service Air  น้ำประปา แก๊ส ไนโตรเจน สถานที่ทำงาน หรือสถานที่วางของ เป็นต้น

  9. การเคลื่อนย้ายชิ้นส่วน คือ หลังจากถอดชิ้นส่วนลงมาวางที่ Lay Down Area แล้ว เนื่องจากมีขนาดใหญ่และพื้นที่ Lay Down Area ไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องทำการชิ้นส่วนย้ายออกจาก Lay Down Area โดยใช้รถ Trailer หรือ รถบรรทุก เพื่อนำไปวางในพื้นที่อื่นๆ เป็นต้น

  10. ความผิดปกติ คือ ผลการตรวจสอบจาก Inspection Sheet, การสังเกต หรือจากประสบการณ์ แล้วพบว่า ไม่เป็นไปตาม Criteria เช่น พบผิวรอยต่อระหว่าง Flange มีรอบครูดเสียหาย ส่งผลให่เกิดการรั่วในระหว่างการเดินเครื่องได้ ซึ่งต้องทำการบันทึกและรายงานผู้บัญคับบัญชาตามลำดับ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขและป้องกัน

  11. วิเคราะห์แนวทางแก้ไขความผิดปกติ คือ การหาสาเหตุของความผิดปกติ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขและป้องกันในอนาคต เช่น รอยครูดระหว่าง Flange เกิดจากทำการยกอุปกรณืโดยไม่ได้ทำการรั้ง Flange ให้แยกออกจากกัน แนวทางการแก้ไขอาจจะเชื่อมซ่อม และแนวทางป้องกัน ต้องทำการรั้ง Flange ให้ห่างจากกันก่อนยก เป็นต้น

  12. การตั้งค่าและปรับแก้ไข คือ ขั้นตอนการประกอบอุปกรณ์จะต้องทำการตั้งค่า Gap, Clearance หรือระยะต่างๆ ให้ถูกต้องตาม Instruction Manual เช่น การกวด Bolt จะต้องวัดค่าการยืดหลังจากกวดแล้วให้ได้ตามที่กำหนดทุกตัว เป็นต้น

  13. การซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหาย คือ ในกรณีที่พบชิ้นส่วนที่เสียหาย ให้ทำการวิเคราะห์ (จะต้องอ้างอิงจาก Instruction Manual เป็นหลัก) แล้วตัดสินใจทำการซ่อมกรณีที่เสียหายเล็กน้อยและสามารถ หรือ ทำการเปลี่ยน ในกรณีที่เสียหายมากและมี Spare Part เช่น Stud Bolt ที่ถอดออกมาพบเกลียวเสียหายมาก มีความเสี่ยงเกลียวติดในการถอดครั้งต่อไป และมี Spare Part จึงตัดสินใจทำการเปลี่ยนของใหม่ เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน การเตรียมงานบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การปฏิบัติงานเตรียมงานบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การปฏิบัติงานเตรียมงานบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเตรียมงานบำรุงรักษาระบบนำอากาศเข้า โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



18.2 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Disassembly and Remove)




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การควบคุมการถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Disassembly and Remove)

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การควบคุมการถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Disassembly and Remove)

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการถอดและเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Disassembly and Remove) โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



18.3 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้า (Inspection)




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การควบคุมการตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้า (Inspection)

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การควบคุมการตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้า (Inspection)

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการตรวจสภาพระบบนำอากาศเข้า (Inspection) โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



18.4 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการตั้งค่า การปรับแก้ไข และซ่อมแซมระบบนำอากาศเข้า (Set up and Corrective adjust)




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การควบคุมการตั้งค่า การปรับแก้ไข และซ่อมแซมระบบนำอากาศเข้า (Set up and Corrective adjust)

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การควบคุมการตั้งค่า การปรับแก้ไข และซ่อมแซมระบบนำอากาศเข้า (Set up and Corrective adjust)

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการตั้งค่า การปรับแก้ไข และซ่อมแซมระบบนำอากาศเข้า (Set up and Corrective adjust) โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



18.5 เครื่องมือประเมิน ควบคุมการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Assembly and Install)




  1. ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การควบคุมการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Assembly and Install)

  2. ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การควบคุมการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Assembly and Install)

  3. การสัมภาษณ์ เช่น การสอบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการควบคุมการประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนของระบบนำอากาศเข้า (Assembly and Install) โดยมีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ประกอบการสัมภาษณ์



 



 



ยินดีต้อนรับ